Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: หนังสือแนะนำ, หนังสือ, แนะนำ , then แนะนำ, หนงสอนนำ, หนังสือ, หนังสือแนะนำ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : หนังสือแนะนำ, 346 found, display 201-250
  1. ป้าย ๑ : น. แผ่นหนังสือหรือแผ่นเครื่องหมายที่บอกให้รู้ เช่น ป้ายชื่อ ห้างร้าน ป้ายจราจร; (กฎ) วัตถุที่แสดงหรือโฆษณาด้วยอักษร ภาพ หรือ เครื่องหมายที่เขียน แกะสลัก จารึก หรือทําให้ปรากฏ ด้วยวิธีอื่น เพื่อแสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายที่ใช้ในการประกอบ การค้าหรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้ หรือโฆษณาการค้า หรือกิจการอื่นเพื่อหารายได้.
  2. ปิดคดี : (กฎ) ก. การที่โจทก์และจําเลยแถลงด้วยปาก หรือหนังสือ หรือทั้ง ๒ อย่างเมื่อสืบพยานจําเลยเสร็จแล้ว เพื่อสรุปประเด็นข้อ เท็จจริงหรือข้อกฎหมายต่อศาลก่อนมีคําพิพากษา.
  3. เป็นหมวดหมู่, เป็นหมวดเป็นหมู่ : ว. เป็นประเภท, เป็นชนิด, เช่น จัดหนังสือให้เป็นหมวดหมู่.
  4. แปรอักษร : ก. ทำให้มีตัวอักษรหรือภาพปรากฏขึ้น โดยใช้คน จำนวนมากที่อยู่บนอัฒจันทร์ ยกกระดาษ ผ้า หรือวัสดุอื่น ๆ ขึ้นมาพร้อม ๆ กัน ให้เห็นเป็นตัวหนังสือหรือภาพ (มักใช้ ประกอบในการเชียร์กีฬา การแสดงกลางแจ้งหรือกิจกรรม สำคัญ ๆ).
  5. แปลงสาร : ก. สั่งอย่างหนึ่งไปทำเสียอีกอย่างหนึ่ง, แก้สาระสำคัญ หรือข้อความในหนังสือจากอย่างหนึ่งไปเป็นอีกอย่างหนึ่ง.
  6. โปตถกะ : [โปดถะกะ] น. หนังสือที่เขียนหรือจาร, คัมภีร์หนังสือ, เล่มหนังสือ. (ป.).
  7. ไปรษณีย์; : (กฎ) จดหมาย ไปรษณียบัตร ไปรษณียบัตรตอบรับ หนังสือกิติยคดี ตัวอย่างหรือแบบสินค้า ของตีพิมพ์ทุกชนิด หนังสือพิมพ์ลงทะเบียน ห่อจดหมาย ห่อพัสดุ ธนาณัติ เช็ค ไปรษณีย์ หรือวัตถุอย่างอื่นที่นํามาใช้ในการสื่อสารไปรษณีย์.
  8. ไปรษณีย-, ไปรษณีย์ : [ไปฺรสะนียะ-, ไปฺรสะนี] น. วิธีการส่งหนังสือและหีบห่อสิ่งของ เป็นต้นโดยมีองค์การที่ตั้งขึ้นเป็นเจ้าหน้าที่รับส่ง. (ส. เปฺรษณีย).
  9. ผูก : ก. เอาเชือกเป็นต้นสอดคล้องกันให้เกิดเป็นเงื่อน เพื่อทําให้มั่นหรือ ติดต่อกันในตัวหรือกับสิ่งอื่น เช่น ผูกเชือก ผูกลวด ผูกโบ, ติดต่อ หรือติดพันกันแน่นกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น ผูกใจ ผูกโกรธ ผูกมิตร, ประกอบเข้า เช่น ผูกประโยค ผูกปริศนา ผูกลาย, ติดพันกันด้วย เรื่องสิทธิและหน้าที่ตามที่ตกลงกัน เช่น ผูกตลาด ผูกท่า; คุ้มครอง (ใช้ในการเล่นหมากรุก) เช่น เอาม้าผูกโคน เอาเรือผูกม้า; ขมวด เช่น ผูกคิ้วนิ่วหน้าไม่พาที. (นิ. นรินทร์); จอง เช่นผูกเวร; ตรงข้าม กับ แก้. น. ลักษณนามเรียกหนังสือใบลานที่ร้อยหูไว้มัดหนึ่ง ๆ ว่า คัมภีร์เทศนาผูกหนึ่ง.
  10. ผูกดอก : (โบ) ก. ทําหนังสือสัญญาเป็นลูกจ้างรับเงินล่วงหน้าแล้ว ให้ดอกเบี้ยแทนรับใช้การงาน.
  11. ฝนแสนห่า ๑ : น. วิธีเขียนหนังสืออย่างหนึ่งใช้ตัวเลขแทนตัวหนังสือ; ชื่อดอกไม้ไฟ ชนิดหนึ่งมีประกายไฟพุ่งออกมาคล้ายไฟพะเนียง แต่หมุนรอบตัว. (รูปภาพ ฝนแสนห่า)
  12. พจนานุกรม : [กฺรม] น. หนังสือว่าด้วยถ้อยคำในภาษาใดภาษาหนึ่ง เรียงตามลำดับตัวอักษร โดยทั่ว ๆ ไปจะบอกความหมายและที่มา ของคำเป็นต้นด้วย.
  13. พยัญชนะ : [พะยันชะนะ] น. เสียงพูดที่เปล่งออกมาโดยใช้อวัยวะส่วนต่าง ๆ ในปากและคอ เช่น เสียง ป โดยทั่วไปจะออกเสียงพยัญชนะร่วมกับ เสียงสระ, เสียงพยัญชนะ ก็เรียก; ตัวอักษรที่ใช้แทนเสียงพยัญชนะ เช่น ก ข, รูปพยัญชนะ ก็เรียก, ตัวหนังสือ เช่น แปลโดยพยัญชนะ; กับข้าวที่ไม่ใช่แกง, คู่กับ สูปะ ซึ่งหมายถึง แกง. (ป. พฺยญฺชน, วฺยญฺชน; ส. วฺยญฺชน); ลักษณะของร่างกาย.
  14. พลิก : [พฺลิก] ก. กลับด้านหนึ่งเป็นอีกด้านหนึ่ง เช่น เรือพลิกท้อง ปลา พลิกท้อง นอนพลิกข้าง พลิกหน้าหนังสือ พลิกถ้อยคํา.
  15. พิธีการ : น. การที่เกี่ยวกับพิธีและแบบหนังสือทางทูต เช่น รมพิธีการทูต.
  16. พิมพ, พิมพ์ : [พิมพะ] น. รูป, รูปร่าง, แบบ, เช่น หยอดวุ้นลงในพิมพ์ หน้าตา เป็นพิมพ์เดียวกัน. ก. ถ่ายแบบ, ใช้เครื่องจักรกดตัวหนังสือหรือ ภาพเป็นต้นให้ติดบนวัตถุ เช่นแผ่นกระดาษ ผ้า, เช่น พิมพ์ผ้า พิมพ์ขนมเป็นรูปต่าง ๆ, (กฎ) ทําให้เป็นตัวหนังสือหรือรูปรอย อย่างใด ๆ โดยการกดหรือการใช้พิมพ์หิน เครื่องกล วิธีเคมี หรือ วิธีอื่นใดอันอาจให้เกิดเป็นสิ่งพิมพ์ขึ้นหลายสําเนา. (ป., ส.).
  17. พิสูจน์อักษร : ก. ตรวจและแก้ไขที่ผิดในการพิมพ์หนังสือ.
  18. พู่กัน : น. เครื่องเขียนหนังสือหรือระบายสี ตอนปลายเป็นพู่ทำด้วย ขนสัตว์.
  19. เพ่ง : ก. จ้องดู, เล็งดู, (ใช้แก่ตา) เช่น เพ่งสายตา เพ่งหนังสือ; มุ่งเฉพาะ อารมณ์ภายใน (ทางใจ) เช่น เพ่งกสิณ; เจาะจง.
  20. เพลงยาว : น. หนังสือหรือจดหมายถึงคู่รัก แต่งเป็นกลอนแสดง ข้อความรักหรือตัดพ้อเป็นต้น. (ตัดมาจาก กลอนเพลงยาว).
  21. เพลา ๓ : [เพฺลา] น. ชื่อกระดาษสาชนิดบาง โบราณใช้ร่างหนังสือด้วยดินสอ ดำหรือใช้ประโยชน์อย่างอื่นเช่นใช้ปิดหุ่นหัวโขนและหุ่นอื่น ๆ เรียกว่า กระดาษเพลา.
  22. ฟองมัน : น. ชื่อเครื่องหมายชนิดหนึ่ง มีรูปอย่างนี้ ๏ ในหนังสือเก่า สําหรับเขียนขึ้นต้นวรรคหรือต้นบรรทัด, ตาไก่ ก็เรียก.
  23. ฟุลสแก๊ป : [ฟุนสะ–] น. กระดาษสีขาว มีเส้นบรรทัด ขนาดประมาณ ๔๓ x ๓๔ เซนติเมตร พับทบกลางใช้สําหรับเขียนหนังสือเป็นต้น. (อ. foolscap).
  24. ภาค, ภาค– : [พาก, พากคะ–] น. ส่วน เช่น ภาคทฤษฎี ภาคปฏิบัติ, ฝ่าย เช่น ภาครัฐบาล ภาคเอกชน ภาคเหนือ ภาคใต้, บั้น, ตอน, เช่น หนังสือภูมิศาสตร์ ภาคต้น หนังสือประวัติศาสตร์ภาคปลาย พงศาวดารภาค ๑, คราว เช่น การศึกษา ภาคฤดูร้อน, ส่วนของประเทศที่แบ่งออกเป็นส่วนย่อยเพื่อสะดวกในด้าน การปกครอง การศึกษา การทหาร เป็นต้น เช่น เจ้าคณะภาค แม่ทัพภาค. (ป.).
  25. ภาษา : น. ถ้อยคำที่ใช้พูดหรือเขียนเพื่อสื่อความของชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เช่น ภาษาไทย ภาษาจีน หรือเพื่อสื่อความเฉพาะวงการ เช่น ภาษา ราชการ ภาษากฎหมาย ภาษาธรรม; เสียง ตัวหนังสือ หรือกิริยา อาการที่สื่อความได้ เช่น ภาษาพูด ภาษาเขียน ภาษาท่าทาง ภาษามือ; (โบ) คนหรือชาติที่พูดภาษานั้น ๆ เช่น มอญ ลาว ทะวาย นุ่งห่มและ แต่งตัวตามภาษา. (พงศ. ร. ๓); (คอม) กลุ่มของชุดอักขระ สัญนิยม และกฎเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นเพื่อสั่งงานคอมพิวเตอร์ เช่น ภาษาซี ภาษา จาวา; โดยปริยายหมายความว่าสาระ, เรื่องราว, เนื้อความที่เข้าใจกัน, เช่น ตกใจจนพูดไม่เป็นภาษา เขียนไม่เป็นภาษา ทำงานไม่เป็นภาษา.
  26. มรณบัตร : [มอระนะบัด] (กฎ) น. หนังสือสําคัญที่นายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่มีคนตาย ออกให้เป็นหลักฐานแสดงรายการคนตายแก่ผู้แจ้ง.
  27. มหาวงศ์ : น. ชื่อหนังสือพงศาวดารลังกา แต่งเป็นภาษาบาลีโดยพระมหานาม เพื่อเรียบเรียงตำนาน พระพุทธศาสนาและเหตุการณ์บ้านเมืองของลังกาทวีปตั้งแต่สมัยแรกเริ่มจนถึงรัชสมัย พระเจ้าคชพาหุ.
  28. มาตรฐาน : [มาดตฺระ-] น. สิ่งที่ถือเอาเป็นเกณฑ์ที่รับรองกันทั่วไป เช่น เวลามาตรฐานกรีนิช, สิ่งที่ถือเอาเป็นเกณฑ์สำหรับเทียบกำหนด ทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ เช่น มาตรฐานอุตสาหกรรม หนังสือนี้ ยังไม่เข้ามาตรฐาน.
  29. มึน : ก. เมาอ่อน ๆ, รู้สึกวิงเวียน เช่น มึนศีรษะ, รู้สึกตื้อในสมอง เช่น อ่านหนังสือมากชักมึน, มึนหัว ก็ว่า.
  30. มืด : ว. ขาดแสงสว่าง เช่น เดือนมืด, มีแสงสว่างน้อย เช่น ไม่ควรอ่าน หนังสือในที่มืด เพราะจะทำให้เสียสายตา, โดยปริยายหมายความว่า เหลือรู้เหลือเห็น เช่น มือมืด. น. เวลาใกล้ฟ้าสาง เช่น ตื่นแต่มืด; ค่ำ เช่น มืดแล้วทำไมไม่เปิดไฟ.
  31. มือตก : ว. เสื่อมความสามารถลง เช่น หมู่นี้เล่นบิลเลียดมือตกไป, เสื่อมความนิยม เช่น เขียนหนังสือมือตกไป, เสียมากกว่าได้ ในการเล่นการพนัน เช่น ตอนนี้เขาเล่นไพ่กำลังมือตก.
  32. มุ : ก. ตั้งใจเอาจริงเอาจัง เช่น มุดูหนังสือ มุสู้ มุจะเอาชนะให้ได้, มักใช้เข้าคู่กับคำ มานะ เป็น มุมานะ เช่น เขามุมานะทำงาน.
  33. เมล์ ๒ : น. ของที่ส่งทางไปรษณีย์; เรียกถุงที่ใส่หนังสือส่งทางไปรษณีย์ว่า ถุงเมล์. (อ. mail).
  34. เมล์อากาศ : น. การส่งหนังสือหรือสิ่งของทางเครื่องบิน.
  35. เมื่อย : ก. อาการเพลียของกล้ามเนื้อเมื่อทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งซ้ำ ๆ อยู่เป็นเวลานาน เช่น เดินอยู่นานจนเมื่อย เมื่อยมือเพราะเขียนหนังสือนาน.
  36. แม่พิมพ์ : น. สิ่งที่เป็นต้นแบบ เช่น แม่พิมพ์ตัวหนังสือ, โดยปริยายหมายถึง ครูอาจารย์ซึ่งถือว่าเป็นแบบอย่างความประพฤติของศิษย์.
  37. แมวมอง : น. กองทหารที่มีหน้าที่คอยเหตุ, แมวเซา ก็เรียก; ผู้ที่คอยสังเกตหรือซุ่มดู ว่ามีใครสวยหรือเล่นกีฬาเก่ง แล้วแนะนำให้วงการที่เกี่ยวข้องชักชวนมาเป็นดารา ประกวดความงาม หรือร่วมแข่งขันกีฬา เป็นต้น.
  38. ย้อนต้น : ก. กลับถอยหลังไปที่ตอนต้น, หวนไปข้างต้น, เช่น อ่านหนังสือ ย้อนต้น.
  39. ย่อหน้า : ก. เขียนหรือพิมพ์หนังสือขึ้นบรรทัดใหม่และร่นจากแนวซ้าย สุดเข้าไปพอสมควร เพื่อแสดงว่าขึ้นความตอนใหม่. น. ข้อความตอน ย่อย ๆ ที่แยกออกจากกันด้วยวิธีเขียนย่อหน้า; ในกฎหมายเรียกย่อหน้า ว่า วรรค เช่น มาตรา ๕ วรรค ๒.
  40. ยับย่อย, ยับเยิน : ว. ป่นปี้ เช่น เสียการพนันยับย่อย เสียหายยับเยิน, ย่อยยับ ก็ว่า. ก. ถูกทำลาย, เสียหาย, เช่น เขาเล่นการพนันจนทรัพย์สมบัติของ พ่อแม่ยับย่อยหมด หนังสือยับเยินหมดทั้งเล่ม, ย่อยยับ ก็ว่า.
  41. ยามักการ : น. ชื่อเครื่องหมายบังคับให้อ่านพยัญชนะควบ มีรูปดังนี้ ๎ ใช้ในหนังสือ บาลีรุ่นเก่า เช่น กต๎วา ทิส๎วา ในปัจจุบันใช้เครื่องหมายพินทุแทน เป็น กตฺวา ทิสฺวา.
  42. ยึกยือ : ว. หยิกไปหยิกมา, ไม่ตรง, ไม่เป็นระเบียบ, เช่น เขียนหนังสือเป็นตัว ยึกยือ, กระยึกกระยือ ก็ว่า.
  43. ยุ่ง : ว. อาการของสิ่งที่เป็นเส้นเป็นฝอยสับสนพัวพันกันถึงกับต้องสางจึง จะเป็นระเบียบเรียบร้อยได้ เช่น ผมยุ่ง ไหมพันกันยุ่ง, ไม่เรียบร้อย เช่น เขียนหนังสือยุ่งอ่านไม่ออก ข้าวของปนกันยุ่ง, อาการที่ทำให้สับสน เช่น ทำเรื่องยุ่ง, เรียกผู้ที่ชอบทำให้สับสนวุ่นวายว่า ตัวยุ่ง. ก. เข้ามา เกี่ยวข้องพัวพันโดยไม่จำเป็น เช่น อย่าไปยุ่งเรื่องของเขา อย่าไปยุ่งกับ เขา, มีธุระพัวพันมาก เช่น กำลังยุ่งอย่ามากวนใจ, วุ่นวายไม่เป็นปรกติ เช่น ยุ่งกันไปทั้งบ้าน.
  44. เย้ : ว. เอียงจนเสียรูปโดยมีอาการทําท่าจะทลายลง เช่น ห้องแถวเย้จวน จะพัง, เฉ, ไม่ตรง, เบนหรือเอียงไป, เช่น เขียนหนังสือแถวเย้.
  45. โย้ : ว. เอนเพราะไม่ตั้งตรงทรงตัวตามธรรมดาที่ควรเป็น เช่น เรือนโย้ เขียน หนังสือโย้; ยื่นออกกว่าปรกติ เช่น ท้องโย้ พุงโย้.
  46. โย้เย้ : ว. รวนหรือซวนเซมีอาการจะหลุดหรือทลายลง เช่น ฟันโย้เย้ เรือน โย้เย้, ไม่ตรงรูป เช่น เขียนหนังสือโย้เย้.
  47. รง ๒ : น. ชื่อยางไม้ที่ได้จากไม้ต้น ๒ ชนิดในสกุล Garcinia วงศ์ Guttiferae คือ มะพูด (G. dulcis Kurz) และ รง (G. hanburyi Hook.f.) ชนิดแรกให้ยาง สีเขียว ๆ อมเหลืองเรียก รงกา ชนิดหลังให้ยางสีเหลืองเรียก รง ใช้ทำยา และเขียนหนังสือหรือระบายสีรงนั้นถ้าใช้ทองคำเปลวผสมเขียนตัว หนังสือหรือลวดลายต่าง ๆ เรียกว่า รงทอง.
  48. รองทรง : น. ทรงผมผู้ชายที่ตัดข้างล่างสั้นข้างบนยาว; หนังสือสำคัญและสมุดไทย ที่พระมหากษัตริย์ทรงใช้เป็นการส่วนพระองค์ เช่น กฎหมายตรา ๓ ดวง ฉบับรองทรง.
  49. ร้อยกรอง : ก. สอดผูกให้ติดต่อกัน, ร้อย ถัก และเย็บงานประเภทประณีต ศิลป์เช่นดอกไม้ให้เป็นรูปต่าง ๆ, เช่น ร้อยกรองข่ายคลุมไตร ร้อยกรอง สไบ; ตรวจชําระให้ถูกต้อง, สังคายนา, ในคําว่า ร้อยกรองพระธรรมวินัย; แต่งหนังสือดีให้มีความไพเราะ, เรียบเรียงถ้อยคําให้เป็นระเบียบตาม บัญญัติแห่งฉันทลักษณ์. น. คําประพันธ์, ถ้อยคําที่เรียบเรียงให้เป็น ระเบียบตามบัญญัติแห่งฉันทลักษณ์.
  50. ระหว่าง : น. ช่องว่างจากที่หนึ่งถึงอีกที่หนึ่ง เช่น ในระหว่างภูเขา ๒ ลูก, ระยะ เวลาจากระยะหนึ่งถึงอีกระยะหนึ่ง เช่น ระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึง พระอาทิตย์ตก, เวลาช่วงใดช่วงหนึ่ง เช่น ระหว่างสงครามเขายังเรียน หนังสืออยู่, เวลาที่กําลังเป็นไปอยู่ เช่น ระหว่างประชุมฝนตกหนัก ระหว่างนี้เขาไม่ว่าง. บ. คําที่แสดงถึงความสัมพันธ์ของบุคคลหรือ สถาบันเป็นต้นตั้งแต่ ๒ ขึ้นไป เช่น งานมงคลสมรสระหว่างนาย ก กับนางสาว ข แบ่งมรดกในระหว่างลูก ๆ การแข่งขันฟุตบอลระหว่าง มหาวิทยาลัย การประชุมระหว่างชาติ.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | [201-250] | 251-300 | 301-346

(0.0834 sec)