Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ท่องเที่ยว, เที่ยว, ท่อง , then ทยว, ทอง, ท่อง, ทองทยว, ท่องเที่ยว, เที่ยว .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ท่องเที่ยว, 602 found, display 1-50
  1. ท่องเที่ยว : ก. เที่ยวไป.
  2. ท่อง : ก. เดินก้าวไปในนํ้า เช่น ท่องนํ้า; ว่าซํ้า ๆ ให้จําได้ เช่น ท่องหนังสือ.
  3. อันโทล : [โทน] ก. เวียนเกิดเวียนตาย, ท่องเที่ยวในสังสารวัฏ, เช่น หาก เที่ยวในสงสารภพอันโทลเกิดไปมาแล. (จารึกวัดศรีชุม), นางก็ อันโทลไปมาในพิทธยาภพนี้. (ม. คําหลวง ทศพร); ท่องเที่ยว เช่น อย่าดูถูกอันโทลไพร จะเยียไยแก่อกเจ้า. (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์ กลบทเก่า). (ข.).
  4. เที่ยว : ก. กิริยาที่ไปที่โน่นที่นี่เรื่อยไป, มักใช้พูดประกอบกับกริยาอื่น เช่น เที่ยวหา เที่ยวพูด เที่ยวกิน เที่ยวนอน; ไปไหน ๆ เพื่อความเพลิดเพลิน ตามสบาย เช่น ไปเที่ยว เดินเที่ยว ท่องเที่ยว, เตร็ดเตร่ไปเพื่อหาความ สนุกเพลิดเพลินตามที่ต่าง ๆ เช่น เที่ยวงานกาชาด.
  5. นักท่องเที่ยว : (กฎ) น. บุคคลที่เดินทางจากท้องที่อันเป็นถิ่นที่อยู่โดย ปรกติของตนไปยังท้องที่อื่นเป็นการชั่วคราวด้วยความสมัครใจ และ ด้วยวัตถุประสงค์อันมิใช่เพื่อไปประกอบอาชีพหรือหารายได้.
  6. ทัศนาจร : ก. ท่องเที่ยว. น. การท่องเที่ยว, การไปเที่ยวชมภูมิประเทศ หรือโบราณสถานเป็นต้น.
  7. อุตสาหกรรม : [อุดสาหะกํา] น. กิจกรรมที่ใช้ทุนและแรงงานเพื่อผลิต สิ่งของหรือจัดให้มีบริการ เช่น อุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรม ท่องเที่ยว; ชื่อกระทรวงที่มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับการอุตสาหกรรม การมาตรฐานเกี่ยวกับกิจการอุตสาหกรรม และทรัพยากรธรณี.
  8. เที่ยว : น. เรียกการไปยังที่ซึ่งกําหนดไว้ครั้งหนึ่ง ๆ หรือไปกลับรอบหนึ่ง ๆ ว่า เที่ยว เช่น เที่ยวขึ้น เที่ยวล่อง เที่ยวไป เที่ยวกลับ, ลักษณนามบอก อาการเช่นนั้น เช่น ไป ๒ เที่ยว มา ๓ เที่ยว.
  9. ท่องสื่อ : น. ตําแหน่งล่ามจีนครั้งโบราณ เช่น ขุนพจนาพิจิตร ท่องสื่อใหญ่. (พงศ. ร. ๓). (เทียบ จ. ท่อง ว่า ติดต่อ, สื่อ ว่า ธุระ, การงาน).
  10. ขา ๒ : น. พวก, ฝ่าย, เช่น ขานักเลง ขาเจ้าชู้; เรียกผู้ร่วมเล่นการพนันเช่นไพ่ ว่า ขา; คราว, เที่ยว, เช่น ขากลับ ขาเข้า ขาออก; (โบ) สลึง, ใช้เฉพาะ ราคาทองคำที่คิดเป็นราคาเงินบาท เศษที่เป็นสลึงเรียกว่า ขา เช่น ทองคำหนัก ๑ บาท เป็นราคาเงิน ๘ บาท ๒ สลึง เรียกว่า ทองเนื้อแปด สองขา ถ้าเป็นราคาเงิน ๘ บาท ๓ สลึง เรียกว่า ทองเนื้อแปดสามขา
  11. กามาพจร, กามาวจร : ว. ที่ยังข้องอยู่ในกาม, ที่ท่องเที่ยวอยู่ในกามภพ. (ป. กาม + อวจร).
  12. คณ-, คณะ : [คะนะ-] น. หมู่, พวก, (ซึ่งแยกมาจากส่วนใหญ่); กลุ่มคนผู้ร่วมกันเพื่อ การอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น คณะกรรมการ คณะสงฆ์ คณะนักท่องเที่ยว; หน่วยงานในมหาวิทยาลัยหรือสถาบันที่เทียบเท่า ซึ่งรวมภาควิชาต่าง ๆ ที่จัดการเรียนการสอนวิชาในสายเดียวกัน เช่น คณะนิติศาสตร์ คณะ อักษรศาสตร์; กลุ่มคำที่จัดให้มีลักษณะเป็นไปตามแบบรูปของร้อยกรอง แต่ละประเภท ประกอบด้วยบท บาท วรรค และคำ ตามจำนวนที่กำหนด, หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการแต่งฉันท์วรรณพฤติ มี ๘ คณะ คือ ช คณะ ต คณะ น คณะ ภ คณะ ม คณะ ย คณะ ร คณะ ส คณะแต่ละคณะมี ๓ คำ หรือ ๓ พยางค์ โดยถือครุและลหุเป็นหลัก. (ป., ส.).
  13. เงินได้กำบัง : (เศรษฐ) น. รายรับในดุลการชําระเงินระหว่างประเทศอันเกิด จากค่าบริการต่าง ๆ การใช้จ่ายเงินของนักท่องเที่ยว ค่าประกันภัย เป็นต้น.
  14. จตุรภูมิ : [-พูม] น. ภูมิ ๔ คือ ๑. กามาวจรภูมิ ภูมิของผู้ท่องเที่ยวในกามภพ ๒. รูปาวจรภูมิ ภูมิของผู้ท่องเที่ยวในรูปภพ ๓. อรูปาวจรภูมิ ภูมิของผู้ท่องเที่ยว ในอรูปภพ ๔. โลกุตรภูมิภูมิอันพ้นจากโลก.
  15. จาริก, จารึก ๑ : น. ผู้ท่องเที่ยวไปเพื่อสั่งสอนหรือแสวงบุญเป็นต้น. ก. ท่องเที่ยวไป เพื่อสั่งสอนหรือแสวงบุญเป็นต้น.
  16. ทัศนศึกษา : ก. ท่องเที่ยวเพื่อแสวงหาความรู้. น. การเรียนรู้ด้วย การดูการเห็น, การศึกษานอกสถานที่.
  17. นัก ๑ : น. ใช้ประกอบหน้าคําอื่นหมายความว่า ผู้ เช่น นักเรียน, ผู้ชอบ เช่น นักดื่ม นักท่องเที่ยว, ผู้ชํานาญ เช่น นักเทศน์ นักดนตรี นักคํานวณ นักสืบ, ผู้มีอาชีพในทางนั้น ๆ เช่น นักกฎหมาย นักแสดง นักเขียน. (ข.).
  18. รถทัศนาจร : น. รถยนต์ขนาดใหญ่ที่รับผู้โดยสารไปท่องเที่ยว.
  19. ว่ายหล้า : (วรรณ) ก. ท่องเที่ยวไปในแผ่นดิน, เขียนเป็น หว้ายหล้า ก็มี เช่น เปนขุนยศยิ่งฟ้าฤๅบาปจำหว้ายหล้า หล่มล้มตนเดียวฯ. (ลอ).
  20. สถานที่ : น. ที่ตั้ง, แหล่ง, เช่น สถานที่ท่องเที่ยว สถานที่ตากอากาศ สถานที่พักผ่อนย่อนใจ.
  21. อัทธคู : น. ผู้เดินทาง, นักท่องเที่ยว. (ป.).
  22. นำเที่ยว : ก. พาเที่ยวชมบ้านชมเมือง.
  23. นําเที่ยว นําไป นํามา. : ว. อาการที่ซักหรือถามเป็นเชิงแนะไปในตัว ในคําว่า ซักนํา ถามนํา.
  24. โคจร, โคจร- : [-จอน, -จะระ-] น. อารมณ์ เช่น มีพุทธานุสติเป็นโคจร. (ป., ส.). ก. เดินไปตามวิถี เช่น ดวงอาทิตย์โคจร ดวงจันทร์โคจรรอบโลก, เที่ยว เช่น โคจรมาพบกัน, คํานี้โดยมากใช้แก่ดาวนพเคราะห์, เมื่อ ว่าเฉพาะทางที่พระอาทิตย์โคจร มีจุดสุดอยู่ ๖ แห่งที่อยู่ตรงข้ามกัน เป็นคู่ ๆ คือ ครีษมายัน กับ เหมายัน คู่หนึ่ง, วสันตวิษุวัต กับ ศารทวิษุวัต คู่หนึ่ง, พสุสงกรานต์ ๒ แห่ง คู่หนึ่ง. (ป., ส. โคจร ว่า การเที่ยวไป ของดวงอาทิตย์).
  25. ตระเวน : [ตฺระ-] ก. ไปทั่ว ๆ รอบบริเวณ เช่น ตระเวนป่า พาตระเวนไปทั้งวัน, เที่ยว ตรวจตรา เช่น พลตระเวน, พาไปทั่ว ๆ เพื่อประจาน ในความว่า นํานักโทษ ตระเวนไปทั่วเมือง, ใช้ว่า กระเวน ตะเวน หรือ ทะเวน ก็มี.
  26. ตะบัน ๑ : น. เครื่องตําหมากของคนแก่ มีรูปคล้ายกระบอก โดยมากทําด้วยทองเหลือง มีลูกตะบัน สําหรับตําและมีดากอุดก้น. (เทียบ ข. ตฺบาล่). ก. ทิ่มหรือแทงกด ลงไป, กระทุ้ง; (ปาก) ดึงดัน เช่น ตะบันเถียง. ว. คําประกอบกริยาหมายความ ว่า ไม่มียับยั้ง, เรื่อยไป, เช่น เที่ยวตะบัน เถียงตะบัน. (รูป ภาพ ตะบัน)
  27. แอ่ว : (ถิ่นอีสาน) ก. พูดคุย (ใช้แก่หนุ่มสาว); (ถิ่นพายัพ) เที่ยว, ถ้า ไปเที่ยวเกี้ยวผู้หญิง เรียกว่า แอ่วสาว. น. ชื่อเพลงไทยจำพวกหนึ่ง มีชื่อขึ้นต้นด้วยคำว่า แอ่ว เช่น แอ่วลาว แอ่วเคล้าซอ.
  28. ทอง ๑ : น. ธาตุแท้ชนิดหนึ่งเนื้อแน่นมาก สีเหลืองสุกปลั่ง เป็นโลหะมีค่า เช่น บ่อทอง เหรียญทอง ทองแท่ง ทองลิ่ม, เรียกเต็มว่า ทองคํา; เรียกสิ่งที่ทําด้วยทองเหลืองว่า ทอง ก็มี เช่น กระทะทอง หม้อทอง, โดยปริยายหมายถึงสีเหลือง ๆ อย่างสีทอง เช่น เนื้อทอง ผมทอง แสงทอง, ใช้ประกอบสิ่งต่าง ๆ บางอย่างโดยอนุโลมตามลักษณะสี เป็นชื่อเรียกเฉพาะ เช่น ขนมทอง คือขนมชนิดหนึ่ง รูปวงกลม มีนํ้าตาลหยอดข้างบน, ปลาทอง คือปลาชนิดหนึ่ง ตัวสีเหลือง หรือแดงส้ม.
  29. กรอ ๒ : ก. แสดงกิริยาเลียบเคียงกันในเชิงชู้สาว มักเป็นอาการที่ ผู้ชายหนุ่ม ๆ แต่งตัวแล้วชวนเพื่อนกันเที่ยวเกี้ยวผู้หญิง เช่น นักเลงหนุ่มหนุ่มนั้น เที่ยวกรอ. (พิธีทวาทศมาส), บางที ก็ใช้ว่า กรอผู้หญิง. ว. อาการที่ติดพันกันในเชิงชู้สาว เช่น หนุ่มคนนี้มีผู้หญิงติดกรอทีเดียว.
  30. กระเจอะกระเจิง, กระเจิดกระเจิง : ว. แตกหมู่เพ่นพ่านไป, เตลิดไป, เช่น เฒ่าก็เที่ยวสัญจร กระเจอะกระเจิง. (ม. ร่ายยาว ชูชก), กองทัพข้าศึกถูกตีแตก กระเจิดกระเจิงไป.
  31. กระเป๋าเบา : (ปาก) ว. มีเงินในกระเป๋าน้อยลง เช่น ไปเที่ยวเสียกระเป๋าเบาเลย.
  32. กระยาง ๑ : น. ขาหยั่ง เช่น อ้ายเหล่าเที่ยววิด พบหนองป้องปิด ทำเปนเชิงราง เอาไม้สามอัน ปักไว้เปนกระยาง แขวนโพงตรงกลาง สาดน้ำเอาปลา. (คำพากย์เรื่องสุบิน), เขียนเป็น กระหยาง ก็มี เช่น ปักไว้เปนกระหยาง. (สุบินคำพากย์).
  33. กระเวน ๑ : (กลอน) ก. ตระเวน, เที่ยวไป. (เทียบ ข. กฺรแวล ว่า คอยดู, กองตระเวน).
  34. กระสือ ๒ : น. (๑) ชื่อเรียกเห็ดหลายชนิดหลายสกุลและหลายวงศ์ที่เรืองแสง ได้ในเวลากลางคืน อาจเรืองแสงเฉพาะบางส่วนหรือทุกส่วน มีสีแตกต่างกันแล้วแต่ชนิด เช่น ชนิด chlorosplenium aeruginascens (Nyl.) Karst. เรืองแสงสีเขียวในระยะเกิดสปอร์. (๒) ชื่อว่าน ชนิดหนึ่ง ต้นและหัวคล้ายขมิ้นอ้อย สีขาว ฉุนร้อน ตามตํารากบิลว่านว่า เมื่อหัวแก่มีธาตุปรอทลงกิน มีพรายเป็นแสง แมงคาเรืองในเวลากลางคืน ถือกันว่ามีสรรพคุณอยู่คง แต่เป็นกายสิทธิ์ ชอบไปเที่ยวหากินของโสโครก และเข้าสิงกินคนดั่งกระสือ หรือปอบ แล้วบอกชื่อเจ้าของว่านที่ปลูกนั้นว่า เป็นตัวกระสือ หรือผีปอบ ทําให้ขายหน้าจึงไม่ค่อยมีใครกล้าปลูก.
  35. กุณิ, กุณี : น. คนง่อย. (ป., ส.); กระเช้า เช่น แลมีมือกุ?กุณีแลขอขุดธงง ก็ท่องยงงไพรกันดาร เอามูลผลาหารในพนาลี. (ม. คําหลวง วนปเวสน์).
  36. เกร่อ : [เกฺร่อ] ว. ลักษณะบางอย่างที่เกี่ยวกับเรื่องกินเรื่องใช้เป็นต้นที่ คนโดยมากมักทํากัน เช่นกินกันเกร่อ เที่ยวกันเกร่อ ใช้กันเกร่อ.
  37. เกี่ยวก้อย : (สำ) ก. อาการที่แสดงความคุ้นเคยสนิทสนมกัน เช่น เขาเกี่ยวก้อยกันไปเที่ยวเชียงใหม่.
  38. ของหายตะพายบาป : (สํา) น. ของหายหรือเข้าใจว่าหายแล้ว เที่ยวโทษผู้อื่น.
  39. คเนจร : [คะเนจอน] ก. เที่ยวซัดเซไป. น. เรียกตัวหนังใหญ่ที่สลักเป็นรูปใน ท่าเดิน. (ลัทธิ). (ส. คคเนจร ว่า ผู้ไปในท้องฟ้า).
  40. คฤหา : (กลอน) น. เรือน เช่น มักเที่ยวสู่คฤหา แห่งท่านนะพ่อ. (โลกนิติ).
  41. ควง : ก. แกว่งหรือทําให้หมุนไปโดยรอบ เช่น ควงกระบอง ควงดาบ ควงจาน, เดินเข้าคู่คลอเคลียกันไป เรียกว่า เดินควงกัน; รวมหรือโยงเข้าในกลุ่ม เดียวกัน เช่น เครื่องหมายปีกกาใช้ควงคำหรือข้อความซึ่งอยู่คนละบรรทัด เข้าด้วยกัน; โดยปริยายหมายถึงคบหาสนิทสนมในเชิงคู่รัก เช่น คู่นี้ควงกัน มาหลายปีแล้ว; เข้าคู่ไปด้วยกัน เช่น ควงกันไปเที่ยว. น. เรียกตะปูที่มีเกลียวว่า ตะปูควง, เรียกเครื่องมือที่ใช้ไขตะปูควงว่า ไขควง; เครื่องมือสำหรับอัด ใบลานเป็นต้นให้แน่น; บริเวณ เช่น ในควงไม้ศรีมหาโพธิ์.
  42. ควายปละ : [-ปฺละ] น. ควายที่เจ้าของปล่อยให้เที่ยวไปตามลําพัง.
  43. โคเพลาะ : [-เพฺลาะ] น. วัวโทนเที่ยวไปโดดเดี่ยว.
  44. จร ๑, จร- : [จอน, จอระ-, จะระ-] ว. ไม่ใช่ประจํา เช่น คนจร รถจร, แทรกแปลกเข้ามา เช่น โรคจร ลมจร. ก. ไป, เที่ยวไป; ประพฤติ. (ป., ส.), ใช้เป็นบทท้าย สมาสก็มี เช่น ขจร = เที่ยวไปในอากาศ, วนจร = เที่ยวไปในป่า, ที่ใช้ควบ กับคําไทยก็มี.
  45. จรก : [จะรก] น. ผู้เที่ยวไป, ผู้เดินไป. (ป., ส.).
  46. จรกลู่ : [จอระกฺลู่] (กลอน) ก. เที่ยวลอยเกลื่อนกลาดอยู่ เช่น จรกลู่ขึ้น กลางโพยมากาศ. (ม. คําหลวง ทศพร).
  47. จรจรัล : [จอระจะรัน, จอนจะรัน] (กลอน) ก. เที่ยวไป, เดินไป, เช่น แม่รักลูกรักจรจรัล พลายพังก็กระสัน. (ดุษฎีสังเวย).
  48. จรดล : [จอระดน] (กลอน) ก. เที่ยวไปถึง. (ป. จร + ตล = พื้น; ข. ฎล = ถึง).
  49. จรบน, จรบัน : [จะระ-] (กลอน) ก. เที่ยวไปเบื้องบน, ฟุ้งไป, บินไป, เช่น ด้วยคันธามลกชําระจรบันสระหอมรส. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์).
  50. จรล่ำ, จรหล่ำ : [จอระหฺล่ำ] (กลอน) ก. เที่ยวไปนาน, ไปช้า, เช่น ในเมื่อ ชีชูชกเถ้ามหลกอการไปแวนนานจรล่ำแล. (ม. คำหลวง ชูชก), เท่าว่า ทางไกลจรล่ำ วันนี้ค่ำสองนางเมือ. (ลอ.), คิดใดคืนมาค่ำ อยู่จรหล่ำต่อ กลางคืน. (ม. คำหลวง มัทรี).
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-602

(0.1702 sec)