ธรรมะ: ปกิณกะ

 

ที่พูดว่าละอวิชชา ไม่ใช่หมายถึงธรรมขั้นสูงแค่ไหนนะ เพราะว่าการละกิเลส มันมี ๓ ขั้น ตทังคปหาน ละชั่วขณะด้วยวิปัสสนาในขณะจิตนั้น ๆ วิกขัมภนปหาน โดยการข่มด้วยสมถะ สมุจเฉทปหาน คือละอย่างถอนรากถอนโคน เมื่อมรรคผลนิพพานเกิด เพราะฉะนั้นการที่เรามาพูดเรื่องละอวิชชาเนี่ย ก็คือละขณะหนึ่งๆ ด้วยวิปัสสนาญาณของเราขณะหนึ่ง ๆ ด้วยตทังคปหานเนี่ยแหละ เราอย่าคิดว่าเป็นเรื่องสูงสุดเอื้อมแล้วก็ไม่ทำ คือเราต้องละขณะหนึ่งให้ได้ ละอวิชชาด้วยการแจ่มแจ้งในปัจจุบันอารมณ์ด้วยจิตที่ถึงพร้อมด้วยสมาธิ ที่ถึงพร้อมด้วยสติและอุเบกขา แจ่มแจ้งอารมณ์ขณะหนึ่งๆ เห็นความเกิดดับเห็นความไม่เที่ยง เป็นทุกข์เป็นอนัตตา แล้วจิตเบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้น เนี่ยละขณะหนึ่งให้มันได้ ถ้าเราละขณะหนึ่งได้ เมื่อบารมีรวมตัวมรรคผลประหารเมื่อไหร่ก็แล้วแต่ท่าน อันนี้ไม่เกี่ยวกับเรา แต่หน้าที่ที่เราต้องทำเนี่ยคือตทังคปหานต้องทำให้ได้ทุกขณะจิต ไม่งั้นไม่เรียกว่าผู้วิปัสสนา

ถ้าเราไปคิดว่าอวิชชามันสูงสุดเอื้อม แล้วไม่ปฏิบัติฆ่ามันเนี่ย แสดงว่าเราไม่ใช่นักวิปัสสนา เพราะว่าการละอวิชชา ไม่ใช่หมายความว่า เราต้องเป็นพระอรหันต์ แต่หมายความว่าการละอย่างเด็ดขาด ไม่เกิดอีกเลยอันนั้นแหละเป็นพระอรหันต์ แต่เราละขณะจิตหนึ่ง อันนี้เป็นหน้าที่ของผู้วิปัสสนา เพราะว่ามันเป็นตทังคปหาน ซึ่งเราต้องทำ เพราะไม่งั้นก็ไม่ใช่เจริญวิปัสสนา กิเลสตัวไหนก็ไม่ยั่นทั้งนั้นแหละมาเจอกันซิ

...

การอยู่ในโลก ถ้าเราอยู่อย่างผู้เรียนรู้นี่สนุก บางทีเราก็เรียนรู้เรื่องเมตตาที่จะแสดงออกไป บางทีเราก็เรียนรู้การวางอุเบกขา บางทีเมื่อรู้แจ่มแจ้งทั้งสองอย่างแล้ว ลองเรียนรู้ที่จะมีเมตตาในขณะที่ควรวางอุเบกขา ก็จะได้รับความเจ็บปวดเด์อดร้อนกลับมา แต่ในเมื่อเราอยู่อย่างเรียนรู้เสียแล้ว การเจ็บปวดเดือดร้อนนั่นก็กลายเป็นเรื่องสนุกไป

_/|\_

 

Syndicate

Subscribe to Syndicate

Who's online

There are currently 0 users online.