all-in-one 4 (bind9 - internal/external+dynamic update)

Topic: 
 

ทำ dns server โดยใช้ bind9

จะทำให้สามารถใช้งานได้ทั้งภายใน และภายนอก (ภายนอกไม่ค่อยจำเป็น แต่ติดตั้งไว้เผื่อในอนาคตอาจเพิ่มการ lookup จากเซิร์ฟเวอร์ของเราที่อยู่ภายนอก)
โดยจะแยกไอพีภายในและภายนอกเป็น 2 กลุ่ม
และสร้างกรงขังด้วย (chroot jail)

สมมุติว่า

  • มีโซนภายใน โดเมนหลักเป็น example.com มีชื่อทุกเครื่องในเครือข่าย โดยจะทำ reverse ip ด้วย (คือค้นย้อนกลับจากเลขไอพีได้) และโดเมนรองเป็น example.org มีชื่อเครื่องนี้เครื่องเดียว ไม่ทำค้นย้อน (ทำไม่ได้ เพราะไอพีซ้ำกัน) ทั้งสองโดเมนมีไอพีเป็น 192.168.1.0/24
  • โซนภายนอก โดเมนเป็น example.com และ example.org โดยที่ทุกโดเมนมีไอพีเดียวกัน เพราะถือว่าต่อสาย adsl สายเดียว และแต่ละโดเมนอาจมีหลายชื่อ โดยใช้ CNAME เทียบเอา
    ทุกโดเมนของโซนภายนอก จะไม่ทำค้นย้อน (reverse zone) เพราะเรามีหลายโดเมนแต่มีไอพีเดียว และถึงแม้จะมีโดเมนเดียว ค่าที่โลกภายนอกค้นได้ก็คงไม่ใช่จากเครื่องเราอยู่ดี
  • วงในทำเป็นแบบเปลี่ยนค่าไม่ได้ วงนอกทำเป็นแบบเปลี่ยนค่าได้อย่างง่าย เพื่ออัปเดตตอนสายหลุด

ติดตั้งแพกเกจ แล้วสั่งหยุดการทำงาน
# aptitude install bind9 dnsutils
# /etc/init.d/bind9 stop

เรื่องกรงขัง (chroot jail) จะเก็บไว้ที่ /sys1/sysb/chroot/bind
สร้างไดเรกทอรี่ก่อน แล้วโยงลิงก์ chroot ไปที่ / ให้พิมพ์ง่าย
# mkdir -p /sys1/sysb/chroot/bind
# ln -sf /sys1/sysb/chroot /
# chown root:bind /chroot/bind

แก้ให้อยู่ในกรง
# vi /etc/default/bind9

...
# OPTIONS="-u bind"
OPTIONS="-u bind -t /chroot/bind"
...

แก้ไขผู้ใช้ชื่อ bind ให้ย้ายบ้านไปที่ /chroot/bind แทน
# usermod --home /chroot/bind bind

เตรียมไดเรคทอรี่ย่อยในกรง
# mkdir -p /chroot/bind/{etc,dev,var/{cache,log,run}}
# mkdir -p /chroot/bind/var/cache/bind
# mv /etc/bind /chroot/bind/etc
# ln -sf /chroot/bind/etc/bind /etc
# mknod /chroot/bind/dev/null c 1 3
# mknod /chroot/bind/dev/random c 1 8
# chmod 666 /chroot/bind/dev/{null,random}
# chown -R bind:bind /chroot/bind/var/*

ทำให้ระบบเก็บปูมของ bind (system logging - syslogd)
# vi /etc/default/syslogd

...
# SYSLOGD=""
SYSLOGD="-a /chroot/bind/dev/log"
...

ปรับตั้งระบบปูมของ bind
# vi /etc/bind/named.conf.local

...
logging {
    channel "querylog" { file "/var/log/bind9-query.log"; print-time yes; };
    category queries { querylog; };
};
...

ปรับตั้งประวัติปูมของ bind
# vi /etc/logrotate.d/bind9-query

/chroot/bind/var/log/bind9-query.log {
    weekly
    missingok
    rotate 10
    postrotate
        /etc/init.d/bind9 reload > /dev/null
    endscript
    compress
    notifempty
}

# ln -sf /chroot/bind/var/log/bind9-query.log /var/log/bind9-query.log

แก้ไข options ให้มาเก็บ pid ในกรงขัง
# vi /etc/bind/named.conf.options

...
options {
    directory "/var/cache/bind";
    pid-file    "/var/run/named.pid";
...

เสร็จขั้นต้น ทดสอบระบบครั้งแรก
# /etc/init.d/sysklogd restart
# /etc/init.d/bind9 restart

ต้องไม่มีรายงานข้อผิดพลาด

ถ้าเรียบร้อยก็สั่งหยุดบริการ เพื่อปรับตั้งต่อ
# /etc/init.d/bind9 stop

เครือข่ายภายในและภายนอก

ต่อไปเป็นเรื่องการทำให้รองรับเครือข่ายภายในและภายนอก

สร้างไดเรกทอรี่ขึ้นมารองรับ
# mkdir -p /etc/bind/{internal,external}
# cd /etc/bind

สร้างกฎ acl สำหรับเครือข่ายภายใน ตั้งชื่อว่า acl_internal (นอกจากนั้นจะถือว่าเป็น external ทั้งหมด)
และให้มาอ่านไฟล์คอนฟิกที่เราจะสร้างขึ้นภายหลัง ของโซน example.com และ example.org
# vi named.conf.local

...
acl acl_internal {
#    127.0.0.0/8;
    192.168.0.0/16;
};

include "/etc/bind/allzone.conf";
...

หมายเหตุ - ปกติวง 127.0.0.0/8 ควรจะถึอเป็นวงในด้วย แต่ในที่นี้เราจะตัดออกจาก acl_internal เนื่องจากเราไม่สามารถสั่งอัปเดตไอพีจากวงในได้ เพราะตั้งเป็นแบบเปลี่ยนค่าไม่ได้ ดังนั้นเราจะใช้ localhost ในการอัปเดตไอพีที่ถูกเรียกจากวงนอก จึงต้องเว้นไว้ แต่ใส่คอมเมนต์ไว้เพื่อจะได้ไม่หลงลืมข้อนี้

สร้างไฟล์คอนฟิกของ example.com และ example.org รวมกัน ตั้งชื่อว่า allzone.conf โดยตัดเอาเนื้อไฟล์ใน named.conf ในส่วนของการกำหนดโซนมาใส่ไว้
(ถ้ามีการใช้ view เราต้องใส่การกำหนดโซนไว้ภายใต้ view เท่านั้น ไม่สามารถกำหนดแบบซ้อนได้)

ตัดเนื้อไฟล์จาก named.conf ออก
# vi named.conf

...
//-----8<-------------------------------------------
// prime the server with knowledge of the root servers
zone "." {
    type hint;
    file "/etc/bind/db.root";
};

// be authoritative for the localhost forward and reverse zones, and for
// broadcast zones as per RFC 1912

zone "localhost" {
    type master;
    file "/etc/bind/db.local";
};

zone "127.in-addr.arpa" {
    type master;
    file "/etc/bind/db.127";
};

zone "0.in-addr.arpa" {
    type master;
    file "/etc/bind/db.0";
};

zone "255.in-addr.arpa" {
    type master;
    file "/etc/bind/db.255";
};
//------------------------------------------->8-----
...

สร้างไฟล์ allzone.conf ในการกำหนดค่าไฟล์ในการคุมทุกโซน โดยเอาเนื้อจาก named.conf ข้างบนมาใส่ในส่วนของ view internal
# vi allzone.conf

include "/etc/bind/key.conf";

view "internal" {
    match-clients { acl_internal; };

    // ----- PASTE FROM named.conf ----------------------------------------
    // prime the server with knowledge of the root servers
    zone "." {
        type hint;
        file "/etc/bind/db.root";
    };

    // be authoritative for the localhost forward and reverse zones, and for
    // broadcast zones as per RFC 1912

    zone "localhost" {
        type master;
        file "/etc/bind/db.local";
    };

    zone "127.in-addr.arpa" {
        type master;
        file "/etc/bind/db.127";
    };

    zone "0.in-addr.arpa" {
        type master;
        file "/etc/bind/db.0";
    };

    zone "255.in-addr.arpa" {
        type master;
        file "/etc/bind/db.255";
    };
    // ----- END PASTE FROM named.conf ------------------------------------
    zone "example.com" IN {
        type master;
        file "/etc/bind/internal/example.com.zone";
        allow-update { none; };
    };
    zone "1.168.192.in-addr.arpa" IN {
        type master;
        file "/etc/bind/internal/example.com.reverse";
        allow-update { none; };
    };
    zone "example.org" IN {
        type master;
        file "/etc/bind/internal/example.org.zone";
        allow-update { none; };
    };
};

view "external" {
    match-clients { any; };
    zone "example.com" IN {
        type master;
        file "/etc/bind/external/example.com.zone";
        allow-update {
            key allhost.;
        }; 
    };
    zone "example.org" IN {
        type master;
        file "/etc/bind/external/example.org.zone";
        allow-update {
            key allhost.;
        }; 
    };
};

สร้างกุญแจสำหรับเปลี่ยนค่าโซน ใช้กุญแจเดียวกันทุกโซน
# dnssec-keygen -r /dev/urandom -a HMAC-MD5 -b 512 -n HOST allhost

Kallhost.+157+38278

และได้ไฟล์ Kallhost.+157+38278.key และ Kallhost.+157+38278.private

ตัวอย่างเนื้อไฟล์ของ Kallhost.+157+38278.key มีดังนี้

allhost. IN KEY 512 3 157 hvql4JlIIajNJzxFLuQQQg4HUNSQExpTuO2kzLudphxHPo3+N976ztqI dPXn2rdvVM6mHSG+0wwhlky+MRwQ+Q==

นำเนื้อไฟล์ของ Kallhost.+157+38278.key ท่อนที่เป็นรหัสมาสร้างไฟล์กุญแจ ตั้งชื่อว่า key.conf
# vi key.conf

key allhost. {
    algorithm HMAC-MD5;
    secret "hvql4JlIIajNJzxFLuQQQg4HUNSQExpTuO2kzLudphxHPo3+N976ztqI dPXn2rdvVM6mHSG+0wwhlky+MRwQ+Q==";
};

ส่วนต่อไปนี้ เขียนไว้เพื่อให้เห็นโครงสร้าง แต่ตอนหน้าจะเขียนเป็นสคริปต์สำหรับผลิตไฟล์โซน และไฟล์รีเวิร์ส หากคร้านที่จะเขียนโซนไฟล์เอง อาจข้ามไปอ่านส่วนขยายตอนหน้าเลยก็ได้ครับ

ต่อไปเป็นการสร้างไฟล์โซนและไฟล์รีเวิร์สโซน

internal
เป็นแบบเปลี่ยนค่าไม่ได้ทั้งหมด example.com ทำทั้ง forward และ reverse
และ example.org ทำ forward อย่างเดียว
มีดังนี้

ไฟล์โซน internal ของ example.com
# vi internal/example.com.zone

$TTL    86400
@       IN      SOA server1.example.com. root.server1.example.com. (
                        41      ; serial (d. adams)
                        3H      ; refresh
                        15M     ; retry
                        1W      ; expiry
                        1D )    ; minimum
@               NS      ns1
server1 IN      A       192.168.1.1
www     IN      CNAME   server1
ftp     IN      CNAME   server1
mail    IN      CNAME   server1
ns1     IN      CNAME   server1
work1   IN      A       192.168.1.101
work2   IN      A       192.168.1.102
work3   IN      A       192.168.1.103

ไฟล์รีเวิร์ส internal ของ example.com
# vi internal/example.com.reverse

$TTL    86400
@       IN      SOA server1.example.com. root.server1.example.com. (
                        41      ; serial (d. adams)
                        3H      ; refresh
                        15M     ; retry
                        1W      ; expiry
                        1D )    ; minimum
@               NS      ns1
1       IN      PTR     server1.example.com.
101     IN      PTR     work1.example.com.
102     IN      PTR     work2.example.com.
103     IN      PTR     work3.example.com.

ไฟล์โซน internal ของ example.org
# vi internal/example.org.zone

$TTL    86400
@       IN      SOA server1.example.org. root.server1.example.org. (
                        42      ; serial (d. adams)
                        3H      ; refresh
                        15M     ; retry
                        1W      ; expiry
                        1D )    ; minimum
@               NS      ns1
server1 IN      A       192.168.1.1
www     IN      CNAME   server1
ns1     IN      CNAME   server1
mail    IN      CNAME   server1
ftp     IN      CNAME   server1
external
เป็นแบบเปลี่ยนค่าได้แบบง่าย ทำ forward อย่างเดียว ทั้ง example.com และ example.org

สร้างโซนไฟล์ external ของ example.com
# vi external/example.com.zone

$TTL    86400
@       IN      SOA server1.example.com. root.server1.example.com. (
                        51      ; serial (d. adams)
                        3H      ; refresh
                        15M     ; retry
                        1W      ; expiry
                        1D )    ; minimum
@               NS      ns1
server1 IN      A       101.102.103.104
www     IN      CNAME   server1
ftp     IN      CNAME   server1
mail    IN      CNAME   server1
ns1     IN      CNAME   server1

สร้างโซนไฟล์ external ของ example.org
# vi external/example.org.zone

$TTL    86400
@       IN      SOA server1.example.org. root.server1.example.org. (
                        52      ; serial (d. adams)
                        3H      ; refresh
                        15M     ; retry
                        1W      ; expiry
                        1D )    ; minimum
@               NS      ns1
server1 IN      A       101.102.103.104
www     IN      CNAME   server1
ns1     IN      CNAME   server1
mail    IN      CNAME   server1
ftp     IN      CNAME   server1

เปลี่ยนเจ้าของและกลุ่ม
# chown -R bind:bind *

ทดสอบขั้นต้น
# /etc/init.d/bind9 restart
ต้องไม่มีรายงานข้อผิดพลาด

เสร็จหมดแล้ว

ทดสอบการอัปเดต

เนื่องจากเราแบ่งเป็นวงในและวงนอก โดยที่สามารถอัปเดตได้เฉพาะวงนอกเท่านั้น ดังนั้นในการสั่งอัปเดต ต้องระบุเซิร์ฟเวอร์เป็น localhost เท่านั้น (ถ้าระบุเซิร์ฟเวอร์เป็น 192.168.1.1 เขาจะไม่ยอมอัปเดตให้)

ทดลองอัปเดต
# nsupdate -d -v -k /etc/bind/Kallhost.+157+38278.private

Creating key...
> server localhost
> update add testing.example.com. 86400 IN A 101.102.103.155
> send
Reply from SOA query:
;; ->>HEADER<<- opcode: QUERY, status: NOERROR, id:  22523
;; flags: qr aa rd ra ; QUESTION: 1, ANSWER: 0, AUTHORITY: 1, ADDITIONAL: 1
;; QUESTION SECTION:
;testing.example.com.           IN      SOA

;; AUTHORITY SECTION:
example.com.            86400   IN      SOA     server1.example.com. root.server1.example.com. 57 10800 900 604800 86400

;; TSIG PSEUDOSECTION:
allhost.                0       ANY     TSIG    hmac-md5.sig-alg.reg.int. 1203992365 300 16 sMkuPmAy7VF1RCoGpHjrXA== 22523 NOERROR 0


Found zone name: example.com
The master is: server1.example.com
Sending update to 127.0.0.1#53
Outgoing update query:
;; ->>HEADER<<- opcode: UPDATE, status: NOERROR, id:  50100
;; flags: ; ZONE: 1, PREREQ: 0, UPDATE: 1, ADDITIONAL: 1
;; ZONE SECTION:
;example.com.                   IN      SOA

;; UPDATE SECTION:
testing.example.com.    86400   IN      A       101.102.103.155

;; TSIG PSEUDOSECTION:
allhost.                0       ANY     TSIG    hmac-md5.sig-alg.reg.int. 1203992365 300 16 pmaYIKqjlgGU+FJvT3uZxA== 50100 NOERROR 0


Reply from update query:
;; ->>HEADER<<- opcode: UPDATE, status: NOERROR, id:  50100
;; flags: qr ra ; ZONE: 0, PREREQ: 0, UPDATE: 0, ADDITIONAL: 1
;; TSIG PSEUDOSECTION:
allhost.                0       ANY     TSIG    hmac-md5.sig-alg.reg.int. 1203992365 300 16 9ca6E1RY9RfHacqi7uSuaQ== 50100 NOERROR 0

> quit

ทั้งหมดต้องไม่มีข้อผิดพลาด

ลองค้นค่าดู
# nslookup testing.example.com localhost

nslookup testing.example.com 
Server:         localhost
Address:        127.0.0.1#53

Name:   testing.example.com
Address: 101.102.103.155

เริ่ม bind ใหม่
# /etc/init.d/bind9 restart

จบส่วนของ name server ปกติ

การอัปเดตไอพีเมื่อสายหลุด

(ส่วนนี้เป็นตอนต่อจากตอนที่แล้ว คือการทำเรื่อง dynamic dns client)

กลับไปแก้ไขไฟล์ d.router-reconnect โดยเพิ่มส่วนของการอัปเดตไอพี
# vi /usr/local/sbin/d.router-reconnect

...
#-------ADDITIONAL BIND9 SCRIPT:------------------

#UPDATE LOCAL BIND9
IP=`/usr/local/sbin/d.router-getip`
KEY="/etc/bind/Kallhost.+157+38278.private"
HOSTNAME=`hostname`

#GET DOMAIN FROM FIRST PROVIDER ONLY
DIR="/etc/ddns/ddns-enabled"
PROVIDER=`ls $DIR | cut -d\  -f1`
. $DIR/$PROVIDER
for i in $UPDATE_DOMAIN; do
    DOMAIN=`echo $i | cut -d: -f1`
    nsupdate -k $KEY << EOF
server localhost
update delete $HOSTNAME.$DOMAIN
update add $HOSTNAME.$DOMAIN. 86400 IN A $IP
send
quit
EOF

done

จบจริง ๆ แล้ว

อ้างอิง

 

Syndicate

Subscribe to Syndicate

Who's online

There are currently 0 users online.