About Font-III

 

มีเรื่องมาปรึกษาอีกแล้วครับอาจารย์ ...

เนื่องจากกระทู้แจ้งบั๊ก OO เกี่ยวกับปัญหา "สระอำ"

http://www.blognone.com/node/8957#comments

อาจารย์เคยสัญณิษฐานว่าน่าจะมาจากฟอนต์ที่ไม่มีตาราง OpenType ผมเลยค้นหาฟอนต์ไทย Unicode + OpenType ที่ปล่อยให้ดาวน์โหลดมาทดสอบดู เช่น

http://www.thaiprintingfederation.com/webfont/index.htm
http://lanta.giti.nectec.or.th/drupal/?q=node/233
http://lanta.giti.nectec.or.th/drupal/?q=node/234

นอกจาก ฟอนต์ของอาจารย์+ฟอนต์เนคเทค นอกนั้นปรากฏว่าไม่สามารถแก้ปัญหาดังกล่าวได้เลยสักฟอนต์ อยากจะเข้าไปดูในรายละเอียดภายฟอนต์ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร แต่ก็ไม่มีความรู้เลยสักนิด สมมติว่าผมอยากจะนำฟอนต์ Angsana มาเพิ่มเติมตาราง OpenType เข้าไป จะให้อาจารย์ทำให้ก็เกรงใจ มันยากมั้ยครับ ถ้าดูจากพื้นฐานผมแล้ว อาจารย์พอจะไกด์อะไรให้ผมทำเองได้มั่งครับ ...

ขอแสดงความนับถือ

สมเจตน์  นิมิตรพันธ์  

 

ลองดาวน์โหลดที่นี่ครับ
AngsanaNewOpenType.ttf

วิธีการคือ

  1. เปิดไฟล์ฟอนต์ด้วย fontforge
  2. ถ้าจะเปลี่ยนชื่อฟอนต์ ให้ใช้เมนู Element -> Font Info... แล้วไล่แก้ในช่อง Names
  3. สร้างไฟล์ฟอนต์ใหม่ ด้วยเมนู Files -> Generate Fonts...
    กดปุ่ม Options แล้วเลือกกาช่อง OpenType แล้วจึงกด Ok และ Save เพื่อบันทึกฟอนต์ เป็นนามสกุล ttf ครับ

ผมไม่ได้ทดสอบอะไรเลยนะครับ รบกวนฝากทดลองกันเอง (ช่วงนี้มีงานเร่งเยอะมาก)

 

ดาวน์โหลดฟอนต์ที่ลิงค์ให้ ไปทดลอง ผลลัพธ์คือ ได้ผลเหมือนเดิมครับ ...

จากนั้นผมก็เลยนำ angsima.sfd มาเป็นต้นแบบ แล้วคัดลอกชุดอักษรของ Angsana มาแทนที่ตามตำแหน่งเดิม เลยทำให้เข้าใจว่า การตัดแปะที่อาจารย์พูดถึงบ่อย คืออะไร? แล้วก็ Generate ฟอนต์ออกมา ลองนำไปใช้แล้วได้ผลครับ แต่ก็ยังไม่เข้าใจหลักการอยู่ดี เพราะความรู้เป็นศูนย์ คงต้องค่อยๆเรียนรู้การจัดวางตารางของฟอนต์แต่ละแบบ ...

แสดงว่าการนำฟอนต์ต้นแบบ Angsana มาเพิ่มเติมตาราง OpenType เข้าไป ยังไม่สามารถแก้ปัญหาดังกล่าวได้ใช่มั้ยครับอาจารย์ ...

แต่ถือว่าวันนี้ได้วิชาการ "ตัดแปะ" ดีใจมากแล้วนะเนี่ยตัวเอง ...

 

รู้เท่ากันแล้วละ ตัวเอง :)

 

http://www.zabzaa.com/uppic/if/fonts.jpg

วันนี้มีการบ้านมาถามครับอาจารย์ ด้านบนเป็นลิงค์ภาพจาก OO.o 2.4.1 ตัวอย่างข้อความของ Angsima และ Angsana ที่ผมลองทำเป็นตัวอย่างก่อนหน้า ผมสังเกตฟอนต์ที่ผมดัดแปลงวรรณยุกต์บางตัววางตำแหน่งไม่ถูก เช่นตัวไม้ไต่คู้ ็ ผมก็ลองไล่อ่านบทความของอาจารย์ ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นการใช้ฟังค์ชั่น Add anchor โดยดูตัวอย่างจาก Angsima ลองกำหนดค่าใหม่ตาม สร้างฟอนต์แล้วทดลองใช้ แต่ไม่ประสบความสำเร็จครับผม ใช้เวลาคิดเองหลายชั่วโมง ยอมแพ้ครับ ถามอาจารย์ดีกว่า มีข้อแนะนำอย่างไรบ้างครับ ...

มีข้อสังเกตเกี่ยวกับฟอนต์ Angsima ครับ พยัญชนะ ป.ปลา กับวรรณยุกต์หลายตัวยังวางตัวแหน่งไม่สวย เช่น ป.ปลากับไม้เอก ยังซ้อนทับกันอยู่ ฟ้องซะเลย อิ อิ ...

i love u

 

ตรวจดูแล้วพบว่า ผมวางตำแหน่งอักขระถูก แต่ตาราง Lookup ผิด เหมียนเดิม :P
รอแก้ไขนะครับ อาจช้านิดนึง เพราะงานเยอะมั่ก ๆ

 

เกรงใจอาจารย์จริงครับ ไม่ได้หมายความให้อาจารย์มาแก้ฟ้อนต์ครับ ปล.ว่าเห็นผิดสังเกตุ ส่วนความรู้ที่อยากได้คือเรื่องการกำหนดวรรณยุกต์ให้สวยงามกับพยัญชนะบางตัวน่ะครับ ...

ปล.ผมไม่ได้รีบด่วนอะไรครับ อาจารย์ว่างจากธุระก่อนแล้วค่อยตอบครับ เกรงใจจริงๆ ...

 

Syndicate

Subscribe to Syndicate

Who's online

There are currently 0 users online.