Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ชั้นเยี่ยม, เยี่ยม, ชั้น , then ชน, ชนยยม, ชั้น, ชั้นเยี่ยม, ยยม, เยี่ยม .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ชั้นเยี่ยม, 9096 found, display 3501-3550
  1. ตะกั่ว : น. แร่จําพวกโลหะ มีลักษณะอ่อน ละลายตัวง่าย มีหลายชนิดด้วยกัน ได้แก่ ตะกั่วเกรียบ คือ ตะกั่วกรอบ ตะกั่วนม คือ ตะกั่วอ่อน; (โบ) ดีบุก เช่น ตะกั่วทุ่ง ตะกั่วป่า (วิทยา) ธาตุลําดับที่ ๘๒ สัญลักษณ์ Pb เป็นโลหะสีขาวแกมนํ้าเงิน ลักษณะเป็นของแข็งเนื้ออ่อน หลอมละลายที่ ๓๒๗.๔?ซ. ใช้ประโยชน์ผสมกับ โลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ สารประกอบของตะกั่วใช้ในอุตสาหกรรมสีทา ตะกั่ว และสารประกอบของตะกั่วเป็นพิษต่อร่างกาย. (อ. lead).
  2. ตะกาด ๒ : น. ชื่อกุ้งขนาดเล็กหลายชนิดในวงศ์ Penaeidae อันดับ Decapoda เช่น ชนิด Metapenaeus ensis พบในบริเวณนํ้ากร่อยและ ชายฝั่งทะเล, ชันกาด ก็เรียก.
  3. ตะกาย : ก. ป่ายปีน เช่น แมวตะกายฝา หมาตะกายเจ้าของ.
  4. ตะเกียบ : น. เครื่องใช้สําหรับคีบอาหารทําด้วยไม้หรืองาเป็นต้นเป็นคู่ ๆ; ชื่อเสาสั้นคู่หนึ่งที่ ฝังลงดินสำหรับขนาบเสากลางซึ่งอยู่เหนือพื้นดินอย่างเสาดอกไม้พุ่ม เสาหงส์ เสาโคม เสาธง ให้ ตั้งตรงมีสลัก ๒ อัน เมื่อถอดสลักอันหนึ่งออกแล้วโน้มเสา กลางลงมาได้; โดยปริยายใช้เรียก ของที่เป็นคู่สําหรับคีบ เช่น ตะเกียบรถ จักรยาน; ครีบคู่ที่อยู่ตรงอกปลา, ขาม้า ก็เรียก; เรียกขาคนที่ ลีบเล็กว่า ขาตะเกียบ; ส่วนล่างของกระดูกเชิงกรานที่แตะพื้นในเวลานั่ง; กระดูกอ่อน ๒ อันที่ก้น ของสัตว์ปีกมีนก เป็นต้น.
  5. ตะแก, ตะแก่ : น. ตัวแก เช่น ตะแก่เสียจริตผิดแล้วเหวย. (สังข์ทอง).
  6. ตะแกรง : [-แกฺรง] น. ภาชนะสานรูปแบน ขอบกลม มีตาห่าง สําหรับร่อนสิ่งของหรือช้อน กุ้งปลาเป็นต้น, โดยปริยายใช้เรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ตะแกรงหน้าหัวรถจักร.
  7. ตะโก ๑ : น. ชื่อไม้ต้นหลายชนิดในสกุล Diospyros วงศ์ Ebenaceae เปลือกสีดํา คลํ้า เช่น ตะโกสวน (D. malabarica Kostel.) ผลคล้ายมะพลับ ตะโกนา (D. rhodocalyx Kurz) ผลเล็ก ผล เปลือก และเนื้อไม้ใช้ทํายาได้.
  8. ตะโก ๒ : น. เสือ เช่น ทับตะโก ว่า ถิ่นของเสือ. (กะเหรี่ยง).
  9. ตะโกก ๑ : น. ชื่อปลานํ้าจืดขนาดกลางบางชนิดและบางสกุล ในวงศ์ Cyprinidae หัวเสี้ยม ลําตัวยาวเรียว แบนข้างเล็กน้อย ครีบหลังมีก้านครีบตอนหน้า แข็ง ยาวคล้ายเงี่ยง พื้นลําตัวด้านหลังและ ครีบสีเทาอมฟ้าส่วนอื่นสีเงิน ที่สําคัญได้แก่ชนิดในสกุล Cyclocheilichthys เช่น ชนิด C. enoplos, C. dumeriliiสกุลอื่น ๆ เช่น ชนิด Cosmochilus harmandi, Albulichthys alburoides.
  10. ตะโกรง : [-โกฺรง] ก. ทะเยอทะยาน, อยากได้. ว. อาการวิ่งโทง ๆ; เต็มไปด้วยความอยาก, ตะกลาม, เช่น ลูกเมียแปรไปเป็นอื่นตื่นตะโกรง. (สุ. สอนเด็ก).
  11. ตะโกรม : [-โกฺรม] น. ชื่อหอยทะเลกาบคู่ในสกุล Crassostrea วงศ์ Ostreidae ลักษณะ เหมือนหอยนางรม แต่มีขนาดใหญ่ มีหลายชนิด เช่น ชนิด Crassostrea iredalei, C. belcheri, นางรมใหญ่ ก็เรียก.
  12. ตะขบ : น. (๑) ชื่อไม้ต้นหลายชนิดในสกุล Flacourtia วงศ์ Flacourtiaceae เช่น ตะขบไทย (F. rukam Zoll. et Moritzi) ต้นมีหนาม ผลกลม สุกสีม่วงแดง หรือแดงเข้ม รสหวาน รากใช้ทํายาได้. (๒) ชื่อไม้ต้นชนิด Muntingia calabura L. ในวงศ์ Tiliaceae ต้นไม่มีหนาม ผลกลม เล็กกว่าตะขบไทย สุกสีม่วงแดง รสหวาน, ตะขบฝรั่ง ก็เรียก.
  13. ตะขาบ ๑ : น. ชื่อสัตว์ที่มีลําตัวและขาเป็นปล้อง มีหลายวงศ์ หัวและลําตัวยาวแบน หรือค่อนข้างแบน มีจํานวนปล้อง ๑๕-๒๓ ปล้อง แต่ละปล้องมีขา ๑ คู่ไป จนถึงปล้องสุดท้ายหรือเกือบสุด ท้ายขามี ๕-๗ ปล้อง ทอดออกไป ด้าน ข้างของลําตัวทั้ง ๒ ข้าง มีเขี้ยวซึ่งเป็นขาคู่แรกบางชนิดมีนํ้าพิษ ทําให้ ผู้ถูกกัดเจ็บปวด เช่น ตะขาบไฟ (Scolopendra morsitans) ในวงศ์ Scolopendridae, กระแอบ หรือ จะขาบ ก็เรียก.
  14. ตะเข็บ ๑ : น. ชื่อสัตว์พวกเดียวกับตะขาบ แต่เรียกแยกโดยถือเอาพวกที่มีขนาดเล็ก เช่น ยาวตํ่ากว่า ๕-๖ เซนติเมตรลงไป ลําตัวเล็ก มีจำนวนปล้อง ๓๑-๑๗๓ ปล้องแต่ละปล้องมีขา ๑ คู่ และขายาวกว่าปล้องลําตัวมาก ที่แพร่หลาย เช่น สกุล Geophilus ในวงศ์ Geophilidae, จะเข็บ หรือ ขี้เข็บ ก็เรียก.
  15. ตะเข็บ ๔ : น. แนวผ้าหรือสิ่งอื่นตอนที่เย็บติดกัน, โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่คล้ายคลึง เช่นนั้น เช่น ตะเข็บรอยต่อจังหวัด.
  16. ตะแคง : ก. เอาข้างลง เช่น นอนตะแคง, หันข้างเข้า เช่น ตะแคงตัวเข้าไป.
  17. ตะติน : (กลอน) ว. เตาะแตะ, ต้อย ๆ, บอกอาการเดิน เช่น แล่นตะตินยงงท่า. (ม. คําหลวง ชูชก).
  18. ตะนอย : น. ชื่อมดหลายสกุลในวงศ์ Formicidae เช่น สกุล Diacamma, Leptogenys, Lobopeltaทุกชนิดมีอวัยวะสําหรับต่อยปล่อยนํ้าพิษทําให้เจ็บปวดได้ ที่พบทั่วไป คือ ชนิด D. rugosum ซึ่งมีลําตัวยาว ๑-๑.๒ เซนติเมตร สีดํา ทํารัง อยู่เป็นฝูงตามกอหญ้า ใต้ก้อนหิน หรือใต้ ดินที่ชื้นต่าง ๆ.
  19. ตะนาว ๒ : น. ชื่อเพลงไทยจำพวกหนึ่ง มีชื่อขึ้นต้นด้วยคำว่า ตะนาว เช่น ตะนาวแปลง.
  20. ตะบม : ว. รํ่าไป, ไม่หยุดหย่อน, เช่น เที่ยวตะบม.
  21. ตะบัน ๑ : น. เครื่องตําหมากของคนแก่ มีรูปคล้ายกระบอก โดยมากทําด้วยทองเหลือง มีลูกตะบัน สําหรับตําและมีดากอุดก้น. (เทียบ ข. ตฺบาล่). ก. ทิ่มหรือแทงกด ลงไป, กระทุ้ง; (ปาก) ดึงดัน เช่น ตะบันเถียง. ว. คําประกอบกริยาหมายความ ว่า ไม่มียับยั้ง, เรื่อยไป, เช่น เที่ยวตะบัน เถียงตะบัน. (รูป ภาพ ตะบัน)
  22. ตะบิด : ก. บิด เช่น โพกผ้าพันตะบิดถือกริชกราย. (อิเหนา).
  23. ตะบี้ตะบัน : (ปาก) ว. ซํ้า ๆ ซาก ๆ, ไม่รู้จักจบจักสิ้น, ไม่เปลี่ยนแปลง, เช่น เถียงตะบี้ตะบัน.
  24. ตะบึง : ว. รีบเร่งไปไม่หยุดหย่อน เช่น ควบม้าตะบึงไป.
  25. ตะแบก : น. ชื่อไม้ต้นหลายชนิดในสกุลLagerstroemia วงศ์ Lythraceae ผิวเปลือก เรียบล่อนเป็นสะเก็ด ดอกสีม่วง เช่น ตะแบกนา (L. floribunda Jack).
  26. ตะไบ : น. เหล็กเครื่องมือใช้ถูไม้หรือโลหะอื่น ๆ ให้เกลี้ยงเกลาเป็นต้น มีหลายชนิด เช่น ตะไบท้องปลิง ตะไบหางหนู. ก. ถูด้วยตะไบ เช่น ตะไบเล็บ.
  27. ตะปบ : ก. ตบด้วยอุ้งมือหรืออุ้งเท้าหน้า เช่น เสือตะปบ, ปบ ก็ว่า.
  28. ตะปลิง : น. เหล็กที่ทำเป็นหมุดแหลมโค้งสำหรับตอกเพลาะกระดานยึดให้แน่นสนิท เช่น ตะปูตะปลิงยิงตรึงกระชับชิด. (ม. ร่ายยาว กุมาร), เขี้ยวตะขาบ ตัวปลิง หรือ ปลิง ก็เรียก.
  29. ตะพง : (แบบ) ว. ตะโพง เช่น แล้วตะพงพายรีบกลับไป. (นิ. เมืองเทศ).
  30. ตะพัก : น. ที่ราบใต้น้ำข้างตลิ่ง มีลักษณะเป็นขั้น ๆ แคบ ๆ ลดต่ำลง เกิดจากแผ่นดิน สูงขึ้นหรือ ต่ำลงเป็นครั้งคราว หรือเกิดจากถูกคลื่นเซาะ อาจสูงหลายเมตร ก็ได้; ตะกอนที่ทับถมในทะเล เป็นรูปขั้นบันได, ผาชันในทะเลที่ถูกคลื่นกัดเซาะ ขยายตัวออกไปจนเป็นลาน ซึ่งเรียกว่า ลานตะพักคลื่นเซาะ; โขดหินหรือ ไหล่เขาที่เป็นขั้น ๆ พอพักได้, ใช้ว่า กระพัก ก็มี, เช่น บ้างก็เป็นกระพัก กระเพิงกระพังพุ. (ม. ร่ายยาว กุมาร).
  31. ตะพัด ๒ : น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Scleropages formosus ในวงศ์ Osteoglossidae หรือชนิดอื่นในสกุลเดียวกันที่พบในประเทศข้างเคียง เป็นปลาโบราณที่ยังมี พืชพันธุ์สืบมาจนถึงปัจจุบัน ลําตัวยาว แบนข้างตลอด แนวด้านข้างของสันหลัง ตรงโดยตลอดแนวสันท้องโค้ง ปากเชิดขึ้น ครีบหลังและครีบก้นอยู่ใกล้ครีบหาง มาก ขอบหางกลมเกล็ดใหญ่ เส้นข้างตัวอยู่ใกล้แนวสันท้อง พื้นลําตัวเป็นสีเงิน อมเทาหรือสีฟ้า พบเฉพาะบริเวณแหล่งนํ้าเขตภูเขาในจังหวัดตราด จันทบุรี และระยอง รวมทั้งบางจังหวัดในเขตภาคใต้ เช่น สุราษฎร์ธานี ขนาดยาวได้ถึง ๙๐ เซนติเมตร.
  32. ตะพาบ, ตะพาบน้ำ : น. ชื่อเต่านํ้าจืดกระดองอ่อนหลายสกุลในวงศ์ Trionychidae กระดองอ่อนนิ่ม มีเชิงแผ่กว้าง ตีนเป็นแผ่นแบนคล้ายพาย หลายชนิดมีจมูกยื่นยาว ในประเทศ ไทยมีหลายชนิด เช่น ตะพาบ (Amyda cartilageneus) ม่านลาย (Chitra chitra), กริว กราว จราว จมูกหลอด หรือปลาฝา ก็เรียก.
  33. ตะพาย : ก. แขวนบ่า, ห้อยเฉียงบ่า, เช่น ตะพายย่าม, สะพาย ก็ว่า; เรียกกิริยาที่เอา เชือกร้อยช่องจมูกวัวควายที่เจาะว่า สนตะพาย, ใช้โดยปริยายแก่คนว่า ถูกสนตะพาย หรือ ยอมให้เขาสนตะพาย หมายความว่าถูกบังคับให้ยอม ทำตามด้วยความจำใจ ความหลง หรือความโง่เขลาเบาปัญญา; เรียกเชือก ที่ร้อยจมูกวัวควายว่า สายตะพาย. น. ช่องจมูกวัวควายที่เจาะสําหรับร้อย เชือก; เรียกลายที่เป็นทางแต่จมูกขึ้นไปทั้ง ๒ ข้างแห่งนกกระทา.
  34. ตะพึด : ว. ตะบึงไป, ไม่หยุดหย่อน, เช่น ขอตะพึด.
  35. ตะเพรา : [-เพฺรา] น. ไม้ขอสําหรับเกี่ยวให้เรือเข้าหรือคํ้าไม่ให้เรือชนกัน เรียกว่า ขอตะเพรา; ลูกกลม ๆ ที่ถักด้วยหวายแล้วยัดด้วยกาบมะพร้าวเป็นต้น แขวนไว้ข้างเรือเพื่อกัน กระแทกเรียกว่า ลูกตะเพรา.
  36. ตะเพียน : น. ชื่อปลานํ้าจืดบางชนิดของบางสกุลในวงศ์ Cyprinidae ส่วนใหญ่อยู่ในสกุล Puntiusและ Cyclocheilichthys หนวดสั้น เกล็ดสีขาวเงินขอบเรียบ ที่มี ลําตัวสั้นป้อม แบนข้าง เช่น ตะเพียนขาว (P. gonionotus) ตะเพียนทอง (P. altus) ตะเพียนหางแดง หรือ กระแห (P. schwanenfeldi) ส่วนที่มี ลําตัวเรียวกว่า เช่น ตะเพียนทราย(P. leiacanthus, C. apogon).
  37. ตะโพง : ว. อาการวิ่งก้าวยาว ๆ หรือวิ่งอย่างกระโดด; โทง ๆ, โหย่ง ๆ, เช่น ก็จะทําคลุมโปง ตะโพงดัน. (ปกีรณําพจนาดถ์), วิ่งตะโพงกอดบาท. (นิทราชาคริต), ตะพง ก็ว่า.
  38. ตะเภา ๓ : น. ชื่อหนูชนิด Cavia porcellus ในวงศ์ Caviidae ลำตัวอ้วนป้อม ขนปุย หางสั้น มีหลายสี เช่น ขาว นํ้าตาล ดํา มีถิ่นกําเนิดในประเทศเปรู มักใช้ในการ ทดลองทางการแพทย์.
  39. ตะรัง : ก. ดั้นไป, เดาไป, ตะบึงไป, เช่น แล้วดําเนินเดินดุ่มสุ่มตะรัง. (คาวี).
  40. ตะรังกะนู : น. เรียกของบางอย่างที่มาจากเมืองตะรังกะนู เช่น ส้มตะรังกะนู พิมเสนตะรังกะนู. (ปัจจุบัน คือ รัฐตรังกานูในประเทศมาเลเซีย).
  41. ตะล่อม ๑ : ก. ทําให้รวมกันเข้ามาเป็นกอง, ทําให้กลมเข้า. ว. ลักษณะการพูดหว่านล้อมหรือ รวบรัดให้เข้าสู่จุดหมายหรือเข้าประเด็น เช่น พูดตะล่อม.
  42. ตะละ : (กลอน) ว. ดุจ, เหมือน, เช่น ลําต้นตะละคันฉัตร; แต่ละ เช่น ตะละคน.
  43. ตะลิบ : ว. ลิบ, ไกล, เช่น ตะลิบหายไปไม่เห็นตัว. (ม. กาพย์ กุมารบรรพ).
  44. ตะลุง ๑ : น. ชื่อมหรสพอย่างหนึ่ง ใช้หนังสลักเป็นรูปภาพขนาดเล็ก คีบด้วยไม้ตับอันเดียว เชิดภายในโรงให้แสงไฟส่องผ่านตัวหนังสร้างเงาให้ปรากฏบนจอผ้าขาวหน้าโรง ใช้ปี่ กลอง และฆ้องคู่บรรเลงประกอบ ผู้เชิดเป็นผู้พากย์ เรียกว่า หนังตะลุง; จังหวัดพัทลุง เช่น ชาตรีมีแต่ล้วนชาวตะลุง. (อิเหนา).
  45. ตะไล ๑ : น. ดอกไม้ไฟชนิดหนึ่ง มีปีกเป็นวงกลม ทําด้วยกระบอกไม้ไผ่บรรจุดินปืนที่ทําด้วยดิน ประสิวกับถ่านไม้ และตอกให้แน่น มีรูชนวนสําหรับจุด.
  46. ตะโหงก ๒ : [-โหฺงก] น. โคนทางมะพร้าวแห้ง; สิ่งที่นูนโหนกขึ้นจากพื้นราบ เช่น หัวตะโหงกตอไม้ ; ก้อนเนื้อที่ต้นคอของสัตว์บางชนิดเช่นวัว, หนอก ก็ว่า.
  47. ตัก ๒ : ก. เอาภาชนะช้อนสิ่งของขึ้นจากที่เดิม เช่น ตักนํ้า ตักแกง ตักดิน. ตักตวง ก. หาประโยชน์ใส่ตัว, กอบโกยมาเป็นของตนเมื่อมีโอกาส. ตักน้ำรดหัวตอ (สํา) ก. แนะนําพรํ่าสอนเท่าไรก็ไม่ได้ผล, ตักนํ้ารดหัวสาก ก็ว่า. ตักน้ำรดหัวสาก (สํา) ก. แนะนําพรํ่าสอนเท่าไรก็ไม่ได้ผล เช่น นํ้ารดหัวสาก สอนเด็ก ปากมาก เลี้ยงลูกใจแข็ง. (สุบิน กลอนสวด), ตักนํ้ารดหัวตอ ก็ว่า. ตักน้ำใส่กะโหลก ชะโงกดูเงา (สํา) ก. ให้รู้จักฐานะของตนและเจียมตัว. ตักบาตร ก. เอาของใส่บาตรพระ. (เทียบ ข. ฎาก่ ว่า วางลง). ตักบาตรอย่าถามพระ (สํา) ก. จะให้อะไรแก่ผู้ที่เต็มใจรับอยู่แล้ว ไม่ควรถาม.
  48. ตั๊กแตน : [ตั๊กกะ-] น. ชื่อแมลงหลายชนิดในหลายวงศ์ ลําตัวยาว มีขนาดต่าง ๆ กัน อาจมีปีกหรือ ไม่มีก็ได้ พวกที่มีปีกจะมี ๒ คู่ คู่แรกค่อนข้างหนา ยาวและแคบ คู่หลังบางและกว้างใหญ่ พับไป อยู่ใต้ปีกคู่แรกได้ ปากเป็นชนิดกัดกิน อกมีลักษณะต่างกันมาก อาจกว้างใหญ่ แคบ ยาว หรือสั้นก็มี ขาอาจ เหมือนกันหมด หรือมีขาหน้าหรือขาหลังใหญ่กว่าคู่อื่น ๆ เช่น ตั๊กแตนผี (Aularchis miliaris) ในวงศ์ Acrididae ตั๊กแตนตําข้าว (เช่น ชนิด Hierodula membranaceus) ในวงศ์ Mantidae ตั๊กแตนใบไม้ (เช่น ชนิด Phyllium pulcherifolium) ในวงศ์ Phasmidae.
  49. ตักษณะ : (แบบ) น. เครื่องตัดและกรางสิ่งของ เช่น มีด พร้า บุ้ง ตะไบ; การตัด, การปอก, การ ทอน. (ส.).
  50. ตั้งแต่ยังเป็นเด็ก. : ว. แนบเนียน เช่น เขาพูดเท็จได้อย่างสนิทสนม เขาชำระแผลให้คนเป็นโรคเรื้อนได้อย่างสนิทสนมโดยไม่รังเกียจ.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | [3501-3550] | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5500 | 5501-5550 | 5551-5600 | 5601-5650 | 5651-5700 | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | 5851-5900 | 5901-5950 | 5951-6000 | 6001-6050 | 6051-6100 | 6101-6150 | 6151-6200 | 6201-6250 | 6251-6300 | 6301-6350 | 6351-6400 | 6401-6450 | 6451-6500 | 6501-6550 | 6551-6600 | 6601-6650 | 6651-6700 | 6701-6750 | 6751-6800 | 6801-6850 | 6851-6900 | 6901-6950 | 6951-7000 | 7001-7050 | 7051-7100 | 7101-7150 | 7151-7200 | 7201-7250 | 7251-7300 | 7301-7350 | 7351-7400 | 7401-7450 | 7451-7500 | 7501-7550 | 7551-7600 | 7601-7650 | 7651-7700 | 7701-7750 | 7751-7800 | 7801-7850 | 7851-7900 | 7901-7950 | 7951-8000 | 8001-8050 | 8051-8100 | 8101-8150 | 8151-8200 | 8201-8250 | 8251-8300 | 8301-8350 | 8351-8400 | 8401-8450 | 8451-8500 | 8501-8550 | 8551-8600 | 8601-8650 | 8651-8700 | 8701-8750 | 8751-8800 | 8801-8850 | 8851-8900 | 8901-8950 | 8951-9000 | 9001-9050 | 9051-9096

(0.2381 sec)