Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: คน .

Royal Institute Thai-Thai Dict : คน, 1637 found, display 1301-1350
  1. สมมต, สมมติ, สมมติ, สมมุติ, สมมุติ : [สมมด, สมมด, สมมดติ, สมมุด, สมมุดติ] ก. รู้สึกนึกเอาว่า เช่น สมมติให้ตุ๊กตาเป็นน้อง. สัน. ต่างว่า, ถือเอาว่า, เช่น สมมุติว่าได้มรดก สิบล้าน จะบริจาคช่วยคนยากจน สมมุติว่าถูกสลากกินแบ่งรางวัลที่ ๑ จะไปเที่ยวรอบโลก. ว. ที่ยอมรับตกลงกันเองโดยปริยายโดยไม่คํานึง ถึงสภาพที่แท้จริง เช่น สมมติเทพ.
  2. สมรรถภาพ : [สะมัดถะ, สะหฺมัดถะ] น. ความสามารถ เช่น เขา เป็นคนมีสมรรถภาพในการทำงานสูงสมควรได้เลื่อนตำแหน่ง.
  3. สมอง : [สะหฺมอง] น. เรียกส่วนที่อยู่ภายในกะโหลกศีรษะ มีลักษณะนุ่ม ๆ หยุ่น ๆ เป็นลูกคลื่น เป็นที่รวมประสาทให้เกิดความรู้สึก ฯลฯ ว่า มันสมอง; โดยปริยายหมายความว่า ปัญญาความคิด เช่น เขาเป็น คนสมองดี, หัวสมอง ก็ว่า, (ปาก) ขมอง.
  4. สมัครพรรคพวก : น. ผู้เข้าร่วมเป็นพวกด้วย เช่น เขาเป็นคนกว้างขวาง มีสมัครพรรคพวกมาก.
  5. สมัยเก่า : น. สมัยโบราณ เช่น ถ้วยชามชุดนี้เป็นของสมัยเก่า. ว. พ้นสมัย, ไม่ใช่สมัยใหม่, ก่อนเวลาปัจจุบัน, เช่น เขามีความคิดอย่างคนสมัยเก่า. สมัยนิยม
  6. สมัยใหม่ : น. สมัยปัจจุบัน เช่น ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ ปรัชญาสมัยใหม่. ว. ทันสมัย เช่น แม้เขาจะอายุมาก แต่เขามีความคิดอย่างคนสมัยใหม่.
  7. สมาคม : [สะมา] น. การประชุม, การเข้าร่วมพวกร่วมคณะ, การคบค้า; แหล่งหรือที่ประชุมของบุคคลหลายคนมาร่วมกันด้วยมีจุดประสงค์ เพื่อประโยชน์บางประการ เช่น เข้าสมาคม สมาคมศิษย์เก่า; (กฎ) นิติบุคคลที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อกระทําการใด ๆ อันมีลักษณะต่อเนื่องร่วมกัน และมิใช่เป็นการหาผลกําไรหรือรายได้มาแบ่งปันกัน สมาคมต้องมี ข้อบังคับและจดทะเบียนตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์. (ป., ส.). ก. คบค้า, คบหา, เช่น อย่าสมาคมกับคนพาล ให้สมาคมกับนักปราชญ์.
  8. สมาคมการค้า : (กฎ) น. สถาบันที่บุคคลหลายคนซึ่งเป็นผู้ประกอบ วิสาหกิจจัดตั้งขึ้นเพื่อทำการส่งเสริมการประกอบวิสาหกิจอันมิใช่ เป็นการหาผลกำไรหรือรายได้แบ่งปันกัน.
  9. สมิง : [สะหฺมิง] น. เสือที่เชื่อว่าเดิมเป็นคนที่มีวิชาอาคมแก่กล้าแล้วต่อมา สามารถจำแลงร่างเป็นเสือได้ หรือเสือที่กินคนมาก ๆ เข้า เชื่อกันว่า วิญญาณคนตายเข้าสิง ต่อมาสามารถจำแลงร่างเป็นคนได้ เรียกว่า เสือสมิง; ตําแหน่งขุนนางผู้ใหญ่ฝ่ายมอญ. (ต. สมิง ว่า พระเจ้าแผ่นดิน, เจ้าเมือง, ผู้ปกครอง).
  10. สมุน ๑ : [สะหฺมุน] น. บริวาร, คนอยู่ในบังคับ, มักเรียกว่า ลูกสมุน.
  11. สมุหนาม : (ไว) น. คํานามที่บอกลักษณะของคน สัตว์ และสิ่งของที่ รวมกันอยู่เป็นหมวด เป็นหมู่ เป็นพวก เช่น กอง หมู่ คณะ ฝูง พวก.
  12. สรรเสริญ : [สันเสิน, สันระเสิน] ก. กล่าวคํายกย่อง เชิดชู หรือ เทิดทูน เช่น สรรเสริญพระพุทธคุณ, กล่าวคําชมด้วยความนิยมพอใจ หรือเยินยอ คุณความดี เช่น สรรเสริญคนที่มีความกตัญญูรู้คุณ, สรเสริญ ก็ใช้.
  13. สระ ๑ : [สะ] น. แอ่งนํ้าขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นเองหรือคนขุด. (ป. สร; ส. สรสฺ).
  14. สร้างเสริม : ก. ทำให้เกิดมีขึ้นและเพิ่มพูนให้มากยิ่งขึ้น เช่น การศึกษา สร้างเสริมคนให้เป็นพลเมืองดี.
  15. สลดใจ : ก. รู้สึกเศร้าใจแกมสังเวช, รู้สึกหดหู่ใจ, เช่น ข่าวแผ่นดินไหว คนตายเป็นหมื่น ๆ ฟังแล้วสลดใจ เห็นสุนัขถูกรถทับตาย รู้สึกสลดใจ.
  16. ส่วนได้ส่วนเสีย : น. ประโยชน์ที่ควรได้ควรเสียซึ่งมีอยู่ในส่วนรวม, การได้การเสียร่วมกับคนอื่น, เช่น เขาไม่สนใจงานนี้เพราะไม่มี ส่วนได้ส่วนเสียด้วย.
  17. ส่วนสัด : น. ขนาดที่พอเหมาะพอดีตามเกณฑ์ที่กําหนดหรือที่นิยม เช่น ผู้หญิงคนนี้มีรูปร่างได้ส่วนสัด; (ศิลปะ) ส่วนที่กําหนดขึ้นให้มี ความสัมพันธ์กันเพื่อให้เกิดความพอดี.
  18. สวบ, สวบ ๆ : ว. เสียงดังอย่างเสียงกรับพวง; เสียงคนหรือสัตว์ยํ่าไปบนใบไม้หรือ สิ่งที่ทําให้เกิดเสียงเช่นนั้น เช่น เสียงเดินบุกป่าดังสวบ ๆ, สวบสาบ ก็ว่า; อาการที่ก้มหน้าก้มตากินเอา ๆ ด้วยความหิวโหยหรือตะกละ ตะกลาม; อาการที่ก้าวเดินจ้ำเอา ๆ.
  19. สวมบท, สวมบทบาท : ก. แสดงบทบาท เช่น สวมบทพระเอก สวม บทบาทผู้ร้าย; แสดงออกในลักษณะที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง เช่น คนใจบาปสวมบทนักบุญ.
  20. สวมรอย : ก. เข้าแทนที่คนอื่นโดยทําเป็นทีให้เข้าใจว่าตนเองเป็น ตัวจริง เช่น ผู้ร้ายสวมรอยเจ้าของบ้านเข้าไปขโมยของ.
  21. สวมหน้ากาก : (สำ) ก. แสดงทีท่าหรือกิริยาอาการที่มิได้เกิดจากนิสัย ใจจริง, แสดงกิริยาท่าทีลวงให้เข้าใจผิด, เช่น ต่างคนต่างสวมหน้ากาก เข้าหากัน, ใส่หน้ากาก ก็ว่า.
  22. สวะ ๒, สวะ ๆ : [สะหฺวะ] (ปาก) ว. เลว, ไร้ประโยชน์, เช่น คนสวะ เรื่องสวะ ๆ; ดาษดื่น, มีมาก, เช่น ของสวะ ๆ.
  23. สวาบ : [สะหฺวาบ] น. ส่วนกายของคนและสัตว์สี่เท้า อยู่ระหว่างชายโครง กับสันกระดูกตะโพก เป็นส่วนที่ไม่มีกระดูก.
  24. สองผม : ว. มีอายุแล้ว หมายถึงคนที่มีผมหงอกบ้างแล้ว เช่นพูดว่า คนสองผม.
  25. สองหน้า : น. ชื่อกลองชนิดหนึ่ง รูปคล้ายเปิงมางแต่ใหญ่กว่า ใช้ตี ทั้ง ๒ ข้าง. (สํา) ว. ที่ทําตัวให้ทั้ง ๒ ฝ่ายต่างเข้าใจผิดกัน โดยหวัง ประโยชน์เพื่อตน เช่น เขาเป็นคนสองหน้า อย่าไว้ใจเขานักนะ.
  26. สอดแทรก : ก. เข้าไปยุ่งในเรื่องที่มิใช่หน้าที่ของตน เช่น เขาชอบไป สอดแทรกในเรื่องส่วนตัวของคนอื่น.
  27. สอดรู้, สอดรู้สอดเห็น : ก. เที่ยวเข้าไปรู้ในเรื่องของคนอื่น (มักใช้ ในทางไม่ดี) เช่น ใครเขาจะทำอะไรกันที่ไหน ก็เที่ยวไปสอดรู้เขาหมด เขาเป็นคนช่างสอดรู้สอดเห็น มีเรื่องของชาวบ้านมาเล่าเสมอ.
  28. สอนขัน : ว. เรียกไก่อ่อนที่เพิ่งหัดขันว่า ไก่อ่อนสอนขัน หรือ ไก่สอนขัน, โดยปริยายหมายถึงมีประสบการณ์น้อยยังรู้ไม่ทัน เล่ห์เหลี่ยมของคน.
  29. สอนลูกให้เป็นโจร : (สำ) ก. ไม่ว่ากล่าวอบรมสั่งสอนลูกให้เป็นคนดี เมื่อลูกไปลักขโมยของใครมาได้กลับชมเชยว่าเก่ง ในที่สุดลูกก็กลาย เป็นโจร.
  30. สะเก็ด : น. ชิ้นย่อยของไม้หรือหินเป็นต้นที่ตัดหรือแยกออกจากส่วนใหญ่ เช่น สะเก็ดไม้; เลือดและนํ้าเหลืองซึ่งแห้งติดกรังอยู่ที่ปากแผล เช่น สะเก็ดแผล; โดยปริยายหมายความว่า เศษเล็กเศษน้อยซึ่งมีค่าตํ่ากว่า มาตรฐาน, เลว, เช่น คนสะเก็ดอย่างนั้น ใครจะคบด้วย.
  31. สะเงาะสะแงะ : ว. เปะปะอย่างคนเมา เช่น เดินสะเงาะสะแงะ พูดจาสะเงาะสะแงะ.
  32. สะดุด ๒, สะดุด ๆ : ว. ไม่ราบเรียบ (ใช้แก่ภาษาหนังสือทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง) เช่น เรียงความสำนวนนี้อ่านสะดุด ๆ, ตะกุกตะกัก เช่น เด็กคนนี้ยังอ่าน หนังสือสะดุดมาก, ไม่สม่ำเสมอ เช่น เครื่องจักรเดินสะดุด ๆ.
  33. สะดุดตา : ก. กระทบตาชวนให้มอง เช่น ผู้หญิงคนนี้สวยสะดุดตา จริง ๆ วันนี้เขาใส่เสื้อสีสะดุดตา, ชวนให้สนใจ เช่น เขามีบุคลิก ลักษณะเด่นกว่าคนอื่น ๆ เห็นแล้วรู้สึกสะดุดตาทีเดียว, ที่เห็นเด่นชัด เช่น ร้านอาหารร้านนี้ทาสีแดง สะดุดตาแต่ไกล.
  34. สะดุดหู : ก. กระทบหูชวนให้อยากฟัง หรือรู้สึกเคลือบแคลงใจเป็นต้น เช่น ได้ยินเสียงเพลงเขมรไทรโยค รู้สึกสะดุดหูทำให้นึกถึงความหลัง ได้ยินเสียงคนพาลพูดแขวะ รู้สึกสะดุดหูทันที.
  35. สะเด็ดยาด : (ปาก) ว. อย่างที่สุด เช่น ผู้หญิงคนนั้นสวยสะเด็ดยาด.
  36. สะเปะสะปะ : ว. ไม่ตรงเป้า เช่น ชกต่อยสะเปะสะปะ, ไม่ตรงทาง เช่น คนเมาเดิน สะเปะสะปะ, ไม่เป็นระเบียบ เช่น นอนแขนขาก่ายกันสะเปะสะปะ, อาการที่พูดเลอะเทอะเรื่อยเจื้อยไม่มีประเด็น เช่น พูดสะเปะสะปะ.
  37. สะพานลอย : น. สะพานสูงแคบ ๆ ที่สร้างคร่อมขวางถนน ใช้เป็น ทางให้คนเดินข้ามถนน รถสามารถแล่นผ่านใต้สะพานได้, สะพานสูง กว้าง และยาวมาก มักสร้างคร่อมทางรถไฟหรือสี่แยกที่ถนนสาย สําคัญ ๆ ตัดกัน เพื่อให้รถยนต์แล่นผ่านไปมาได้โดยไม่ต้องรอให้ รถไฟผ่านหรือรอสัญญาณไฟ.
  38. สะสวย : ว. ค่อนข้างสวย, อยู่ในเกณฑ์สวย, (มักใช้แก่ผู้หญิง), เช่น เด็ก ๆ แต่งตัวสะสวย เธอเป็นคนหน้าตาสะสวย.
  39. สะอาด : ว. ไม่สกปรก เช่น เสื้อผ้าสะอาด บ้านเรือนสะอาด น้ำสะอาด, หมดจด, ผ่องใส, เช่น จิตใจสะอาด, ไม่มีตําหนิ, บริสุทธิ์, ไม่ทุจริต, เช่น เขาเป็น คนใจซื่อมือสะอาด.
  40. สะอาดสะอ้าน : ว. สะอาดหมดจด เช่น เด็กคนนี้หน้าตาสะอาดสะอ้าน.
  41. สะอิดสะเอียน : ก. ชวนให้คลื่นไส้อย่างรุนแรง ทั้งโดยตรงและโดยปริยายต่อสิ่งที่ เร้าเร่งให้เกิดอารมณ์เช่นนั้น เช่น เห็นหมาเน่าแล้วสะอิดสะเอียน เห็นคนฉ้อราษฎร์บังหลวงแล้วสะอิดสะเอียนไม่อยากเข้าใกล้.
  42. สะอึกเข้าใส่ : ก. กรากเข้าใส่, พรวดเข้าใส่, เช่น เมื่อมีคนจะทำร้ายนาย ลูกน้องก็สะอึกเข้าใส่ทันที พอถูกฝ่ายหนึ่งชกก็สะอึกเข้าใส่.
  43. สะโอดสะอง : ว. งามอย่างมีรูปร่างระหง เช่น นางแบบคนนี้รูปร่างสะโอดสะอง.
  44. สังกัด : ก. ขึ้นอยู่, รวมอยู่, เช่น กรมวิชาการสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ. น. ส่วนราชการที่มีหน่วยงานย่อย ๆ ขึ้นอยู่ เช่น กรมสามัญศึกษาอยู่ ในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ, โดยปริยายหมายถึงที่อยู่เป็นหลักแหล่ง เช่น เขาเป็นคนไม่มีสังกัด คือ เป็นคนที่ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง หมายถึง คนที่เร่ร่อนพเนจร. (ข. สงฺกาต่).
  45. สังเกต : ก. กําหนดไว้, หมายไว้, เช่น ทำเครื่องหมายไว้เป็นที่สังเกต; ตั้งใจดู, จับตาดู, เช่น ไม่ได้สังเกตว่าวันนี้เขาแต่งตัวสีอะไร สังเกตกิริยาท่าทาง เขาไว้ว่าเป็นคนดีหรือคนร้าย. (ป., ส.).
  46. สังคญาติ : (ปาก) น. บรรดาญาติ, ผู้ที่เกี่ยวข้องเป็นญาติกัน, เช่น คนทั้งหมู่บ้านล้วนเป็นสังคญาติกันทั้งนั้น.
  47. สังคม, สังคม : [คมมะ] น. คนจํานวนหนึ่งที่มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันตามระเบียบ กฎเกณฑ์ โดยมีวัตถุประสงค์สําคัญร่วมกัน เช่น สังคมชนบท; วงการ หรือสมาคมของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เช่น สังคมชาวบ้าน. ว. ที่เกี่ยวกับ การพบปะสังสรรค์หรือชุมนุมชน เช่น วงสังคม งานสังคม. (ป.).
  48. สังโยชน์ : น. เครื่องพัวพัน, เครื่องผูกรัด, หมายเอากิเลสที่ผูกคนไว้กับวัฏสงสาร มี ๑๐ อย่าง มีสักกายทิฐิเป็นต้น พระอริยบุคคลเมื่อละสังโยชน์เป็น ลําดับจนหมดก็เป็นพระอรหันต์. (ป. สํโยชน, สญฺโ?ชน; ส. สํโยชน).
  49. สั่งสอน : ก. ชี้แจงให้เข้าใจและบอกให้ทํา เช่น แม่สั่งสอนลูกให้เป็น คนดี, สอนสั่ง ก็ว่า.
  50. สัญชาต : [ชาตะ, ชาดตะ] ว. เกิดเอง เช่น สัญชาตสระ ว่า สระที่เกิดเอง. (ป.). สัญชาตญาณ [ชาดตะ] น. ความรู้ที่มีมาแต่กําเนิดของคนและสัตว์ ทําให้มีความรู้สึกและกระทําได้เองโดยไม่ต้องมีใครสั่งสอน เช่น สัญชาตญาณในการป้องกันตัว สัญชาตญาณในการรวมหมู่, สัญชาตเวค ก็ว่า. (อ. instinct).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | [1301-1350] | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1637

(0.0359 sec)