Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: คน .

Royal Institute Thai-Thai Dict : คน, 1637 found, display 301-350
  1. คมกริบ : ว. คมมาก; ฉลาดทันคน, เฉียบแหลม, ไหวทัน.
  2. คมคาย : ว. ฉลาด, ไหวพริบดี, ทันคน, เช่น วาจาคมคาย พูดจาคมคาย สำนวนภาษาคมคาย, มีแววฉลาด เช่น หน้าตาคมคาย.
  3. ครบมือ : ว. มีอยู่ครบในครอบครอง (ใช้แก่อาวุธและคนตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป มักใช้ในทางไม่ดี) เช่น มีอาวุธครบมือ; มีเครื่องมือเครื่องใช้อย่าง พร้อมเพรียง เช่น ช่างไม้มีอุปกรณ์ครบมือ.
  4. ครอก ๓ : [คฺรอก] ว. เสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงกรนของคนที่หลับ.
  5. ครัว ๒ : [คฺรัว] (ถิ่น-พายัพ) น. ของ, สิ่งของ, เครื่องใช้, เช่น พ่อค้าแม่ค้าขายครัว; ทรัพย์มรดก เช่น ลูกหล้าครัวรอม คือ ลูกคนสุดท้องจะได้รับทรัพย์มรดก มากกว่าผู้อื่น, ขายครัวมายาตัว คือ ขายทรัพย์มรดกเพื่อมารักษาตัว.
  6. คราบ : [คฺราบ] น. หนังหรือเปลือกนอกของสัตว์บางชนิดที่ลอกออกได้ เช่น คราบงู คราบกุ้ง, โดยปริยายหมายถึงลักษณาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น คนบาปในคราบของนักบุญ; รอยเปื้อนติดกรังอยู่ เช่น คราบนํ้า คราบนํ้ามัน.
  7. คราว ๑ : [คฺราว] น. ครั้ง, หน, เช่น คราวหน้า คราวหลัง, รุ่น เช่น เด็ก ๒ คนนี้ อายุคราวเดียวกัน, ใช้เป็นลักษณนาม เช่น สินค้าชนิดนี้ส่งเข้ามา ๓ คราว.
  8. ครึ่งชาติ : น. ลูกที่เกิดจากพ่อแม่ที่เป็นคนต่างชาติกัน, ลูกครึ่ง ก็ว่า.
  9. ครึ่ด : [คฺรึ่ด] ว. ดาษไป, เกลื่อนไป, เช่น คนมากันครึ่ด สีแดงครึ่ด, ครืด ก็ว่า.
  10. ครืด ๑ : [คฺรืด] ว. ดาษไป, เกลื่อนไป, เช่น คนมากันครืด สีแดงครืด, ครึ่ด ก็ว่า.
  11. ครื้นเครง : [คฺรื้นเคฺรง] ว. เสียงดังครึกครื้น, สนุกสนาน เช่น หัวเราะกันอย่าง ครื้นเครง, มีอารมณ์สนุกสนาน เช่น เขาเป็นคนครื้นเครง.
  12. ครือ ๒, ครือ ๆ : [คฺรือ] ว. ไม่คับไม่หลวม เช่น เสื้อครือตัว, พอ ๆ กัน เช่น เด็ก ๒ คนนี้ ขยันครือ ๆ กัน.
  13. คล่อง : [คฺล่อง] ว. สะดวก เช่น หายใจได้คล่องขึ้น, ว่องไว เช่น เด็กคนนี้ใช้คล่อง, ไม่ฝืด เช่น คล่องคอ, ไม่ติดขัด เช่น พูดคล่อง.
  14. คลัก ๑, คลั่ก ๑ : [คฺลัก, คฺลั่ก] ว. ยัดเยียด, ออกันอยู่, รวมกันอยู่มาก ๆ, เช่น หนอนคลัก คนคลั่ก, มาก ๆ เช่น น้ำยาหม้อนี้ข้นคลั่ก.
  15. คลั่ง ๑ : [คฺลั่ง] ก. แสดงอาการผิดปรกติอย่างคนบ้า, เสียสติ; โดยปริยายหมายความ ว่า หลงใหลในบุคคลหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น คลั่งดารา, หมกมุ่นอยู่กับงาน หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น คลั่งอำนาจ คลั่งเล่นกล้วยไม้, คลั่งไคล้ ก็ว่า.
  16. คลับคล้าย, คลับคล้ายคลับคลา : [คฺลับคฺล้าย, -คฺลับคฺลา] ก. จำได้แต่ไม่แน่ใจ, จำได้อย่างเลือนลาง, ไม่แน่ใจว่าใช่, เช่น คลับคล้ายว่าเป็นคนคนเดียวกัน, ฉันคลับคล้าย คลับคลาว่าจะเคยพบเขามาก่อน.
  17. คลิง : [คฺลิง] (โบ; กลอน) ก. คลึง เช่น นกปลิงคลิงคน- ธบุษปรัตนบังอร. (สมุทรโฆษ).
  18. คลี : [คฺลี] (โบ) น. ลูกกลม เช่น เล่นคลี โยนคลี, (โบ) การเล่นแข่งขันอย่างหนึ่ง ผู้เล่นขี่ม้าตีลูกกลมด้วยไม้ เช่น ให้พระยาสามนต์คนดี มาตีคลีพนันในสนาม. (สังข์ทอง); (ถิ่น-อีสาน) การเล่นแข่งขันอย่างหนึ่งแต่ละฝ่ายใช้ไม้ตีลูกกลม ซึ่งทำด้วยไม้ขนาดลูกมะนาวหรือโตกว่าเล็กน้อย ฝ่ายที่ตีลูกไปสู่ที่หมาย ทางฝ่ายของตนได้ก่อนเป็นฝ่ายชนะ; การเล่นลูกกลมด้วยลีลาเยื้องกรายเพื่อ บูชาเทพเจ้า เช่น นางเริ่มเดาะคลีบูชาพระศรีเทวี. (กามนิต). (เทียบ ส. คุฑ, คุล, โคล; ป. คุฬ ว่า ลูกกลม).
  19. คลุ้มคลั่ง : ก. กลัดกลุ้มในใจจนแสดงอาการอย่างคนบ้า.
  20. ควบม้า : ก. อาการที่คนขี่หลังม้ากระตุ้นให้ม้าวิ่งไปอย่างเร็ว.
  21. ควักกะปิ : (ปาก) ก. อาการที่รำเอามือวักไปวักมาอย่างคนรำไม่เป็น.
  22. ควาญ : [คฺวาน] น. ผู้เลี้ยงและขี่ขับช้าง, คนบังคับช้าง, ใช้กับสัตว์อื่นก็มี เช่น ควาญแรด. (สมุทรโฆษ), ควาญแกะ ควาญม้า. (ปรัดเล).
  23. ความคิด : น. สิ่งที่นึกรู้ขึ้นในใจ; ความรู้ที่เกิดขึ้นภายในใจ ก่อให้เกิดการแสวงหา ความรู้ต่อไป เช่น เครื่องบินเกิดขึ้นได้เพราะความคิดของมนุษย์; สติ ปัญญาที่จะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างถูกต้องและสมควร เช่น คนทำลาย ของสาธารณะเป็นพวกไม่มีความคิด.
  24. ความรู้สึกช้า : น. ลักษณะอาการที่รับอารมณ์ต่าง ๆ ได้ช้า เช่น เขาเป็นคนมีความรู้สึกช้า ต้องใช้เวลานานกว่าจะเข้าใจ.
  25. ความเห็น : น. ข้อวินิจฉัยหรือความเชื่อที่แสดงออกตามที่เห็น รู้ หรือ คิด เช่น ฉันมีความเห็นว่านักมวยไทยจะเป็นฝ่ายชนะ ผมมีความเห็น ว่าเขาเป็นคนน่าเชื่อถือ.
  26. ควาย : [คฺวาย] น. ชื่อสัตว์เคี้ยวเอื้องชนิด Bubalus bubalis ในวงศ์ Bovidae เป็นสัตว์กีบคู่ รูปร่างใหญ่ สีดําหรือเทา เขาโค้งยาว ที่ใต้คางและหน้าอก มีขนขาวเป็นรูปง่าม; (ปาก) โดยปริยายมักหมายความว่า คนโง่ คนเซ่อ หรือคนตัวใหญ่ แต่ไม่ฉลาด.
  27. ควายเขาเกก : น. ควายที่มีเขาเฉออกไม่เข้ารูปกัน; โดยปริยายหมายถึงคน ที่เป็นอันธพาลเกะกะเกเร, วัวเขาเกก ก็ว่า.
  28. คอเดียวกัน : ว. มีรสนิยมเดียวกัน เช่น คนนี้คอเดียวกัน ไปไหน ไปด้วยกันเสมอ.
  29. คอนเรือ : ก. นั่งที่ท้ายเรือแล้วพายเรือไปคนเดียว.
  30. ค่อม ๑ : ว. เตี้ยผิดธรรมดาและหลังงอ เช่น คนค่อม, เรียกหลังที่งอมากว่า หลังค่อม; ที่มีพันธุ์เตี้ยกว่าธรรมดา (ใช้แก่สัตว์หรือต้นไม้) เช่น ช้างค่อม กล้วยหอมค่อม. ค่อม ๒ น. ชื่อด้วงปีกแข็งชนิด Hypomeces squamosus ในวงศ์ Curculionidae ลําตัวยาวประมาณ ๑ เซนติเมตร หัวยื่นออกไปเป็นงวงสั้น ๆ ตัวและ ปีกสีเขียวเหลือบทอง, ค่อมทอง หรือ ทับเล็ก ก็เรียก.
  31. คอสอง ๑ : น. ผู้ร้องถัดจากคนที่ ๑ ในวงเพลงที่ร้องแก้กันเป็นต้น, ผู้ว่าคล้อยตามอย่างลูกคู่.
  32. คับ : ว. มีขนาดไม่พอดีกัน ทําให้แน่น ตึง หรือ ฝืด สวมหรือใส่ได้โดยยาก เช่น เสื้อคับ หมวกคับ แหวนคับ, ตรงข้ามกับ หลวม. ก. มีลักษณะ หรือปริมาณเกินพอดี เช่น จระเข้คับคลอง ลิ้นคับปาก ฝูงคนคับถนน เสียงคับบ้าน ข้าวคับหม้อ.
  33. คั่ว ๑ : ก. เอาสิ่งของใส่กระเบื้องหรือกระทะตั้งไฟให้ร้อนแล้วคนไปจนสุก หรือเกรียม เช่น คั่วถั่ว คั่วงา, เรียกของที่คั่วแล้ว เช่น ข้าวคั่ว ถั่วคั่ว; เรียกแกงกะทิชนิดหนึ่งคล้ายแกงเผ็ด แต่มีรสออกเปรี้ยว ว่า แกงคั่ว เช่น แกงคั่วผักบุ้ง แกงคั่วมะระ.
  34. คั่ว ๒ : ก. คอยกิน (ใช้ในการเล่นไพ่ผ่องไทยหรือไพ่ผ่องจีนเป็นต้น), โดย ปริยายหมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น สองคนนี้คั่วกันมา หลายปี ก็ยังไม่ได้แต่งงานกัน เขาคั่วตำแหน่งอธิบดีอยู่.
  35. คางคกขึ้นวอ : (สํา) น. คนที่มีฐานะตํ่าต้อย พอได้ดิบได้ดีก็มักแสดง กิริยาอวดดีลืมตัว.
  36. ค่าที่ : สัน. เพราะเหตุว่า เช่น เขาได้รับรางวัลค่าที่เป็นคนซื่อสัตย์.
  37. ค่าย : น. (โบ) ที่ตั้งกองทหาร มีรั้วล้อมรอบ; ที่ตั้งกองทหาร, ที่พักกองทัพ; ที่พักแรมชั่วคราวของคนเป็นจํานวนมาก เช่น ค่ายลูกเสือ ค่ายผู้อพยพ; ฝ่ายที่มีความคิดเห็นแนวเดียวกัน เช่น ค่ายโลกเสรี. (อะหมว่า ล้อม).
  38. คายกคณะ : [คายะกะ-] น. หมู่คนผู้ขับร้อง, พวกขับร้อง, ลูกคู่. (ป., ส.).
  39. คาราวาน : น. หมู่คนหรือยานพาหนะเป็นต้นซึ่งเดินทางไกลร่วมกันเป็น ขบวนยาว. (อ. caravan).
  40. คาว : น. กลิ่นเหม็นอย่างหนึ่งอย่างกลิ่นปลาสดเนื้อสด; โดยปริยายหมายถึง ความเสื่อมเสีย ความมัวหมอง มลทิน เช่น ราคีคาว คนนั้นยังมีคาว; เรียกกับข้าวว่า ของคาว, คู่กับ ขนม ว่า ของหวาน.
  41. คำขึ้นต้น : น. คำใช้เขียนขึ้นต้นจดหมายถึงผู้รับตามฐานะของผู้รับ แต่ละคน เช่น นมัสการ ใช้เป็นคำขึ้นต้นจดหมายถึงพระภิกษุ เรียน ใช้เป็นคำขึ้นต้นจดหมายถึงบุคคลธรรมดา; คำใช้ขึ้นต้นสำหรับ ร้อยกรองบางประเภท เช่น บัดนั้น เมื่อนั้น ครานั้น สักวา.
  42. ค้ำประกัน : (กฎ) น. ชื่อสัญญาซึ่งบุคคลภายนอกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้คํ้าประกัน ผูกพันตนต่อเจ้าหนี้คนหนึ่ง เพื่อชําระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชําระหนี้นั้น.
  43. คำพ้องความ : น. คำที่เขียนต่างกันแต่มีความหมายเหมือนกันหรือ ใกล้เคียงกันมาก เช่น โคกับวัว ควายกับกระบือ มนุษย์กับคน, ไวพจน์ ก็ว่า.
  44. คิลาน-, คิลานะ : [คิลานะ-] น. คนเจ็บ. (ป.).
  45. คุณ ๑, คุณ- : [คุน, คุนนะ-] น. ความดีที่มีประจําอยู่ในสิ่งนั้น ๆ; ความเกื้อกูล เช่น รู้คุณ. (ป., ส.); คําที่ใช้เรียกนําหน้าบุคคลเพื่อแสดงความยกย่อง เช่น คุณพ่อ คุณแม่ คุณสมร; คํานําหน้าชื่อสตรีที่ยังไม่ได้สมรสและได้รับ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตั้งแต่ชั้นจตุตถจุลจอมเกล้าถึงชั้น ทุติยจุลจอมเกล้า, คำนำหน้าชื่อสตรีที่ยังไม่ได้สมรสและได้รับ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฝ่ายในชั้นทุติยจุลจอมเกล้า วิเศษขึ้นไป; (ไว) คําแต่งชื่อ. ส. คําใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย เป็นคําสุภาพ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒, (ปาก) คําใช้แทนผู้ที่เราพูดถึงด้วยความสุภาพ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓, เช่น คุณอยู่ไหม ช่วยไปเรียนว่ามีคนมาหา.
  46. คุ้น : ก. รู้จักชอบพอกันมานาน เช่น เป็นคนคุ้นกัน, เคยผ่านหูหรือผ่านตา บ่อย ๆ เช่น คุ้นหน้า คุ้นตา คุ้นหู.
  47. คุ้มเกรง : ก. ปกป้องไว้ให้คนอื่นเกรงกลัว.
  48. คุมนุม : (โบ) ก. คุม เช่น อนึ่งวิวาทด่าตีกันแล้วต่างคนต่างมาเรือน ยังผูกใจโกรธคุมนุมโทษไว้วัน. (สามดวง), ยังผูกใจโกรธคุมนุมโทษ ไว้วันหนึ่ง. (กฎ. ราชบุรี).
  49. คู่ความร่วม : (กฎ) น. บุคคลตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป ซึ่งเป็นคู่ความในคดีเดียวกัน คือเป็นโจทก์ร่วมหรือจําเลยร่วม โดยบุคคลเหล่านั้นมีผลประโยชน์ร่วมกัน ในมูลความแห่งคดี.
  50. คู่ใจ : น. คนสนิทที่รู้ใจและไว้วางใจได้.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | [301-350] | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1637

(0.0493 sec)