Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: คน .

Royal Institute Thai-Thai Dict : คน, 1637 found, display 951-1000
  1. ไม้แข็ง : น. ไม้ตีระนาดที่ไม่ได้พันด้วยนวม ทำให้มีเสียงกร้าว, โดยปริยาย หมายความว่า วิธีการเฉียบขาด, อำนาจเด็ดขาด, เช่น เด็กคนนี้ต้องใช้ไม้แข็ง จึงจะปราบอยู่.
  2. ไม่ใช่เล่น : ว. เก่ง, พิเศษกว่าธรรมดา, เช่น ฝีปากไม่ใช่เล่น เด็กคนนี้ซนไม่ใช่เล่น.
  3. ไม้นอกกอ : (สํา) น. คนที่ประพฤตินอกแบบแผนของวงศ์ตระกูล (มักใช้ในทางไม่ดี).
  4. ไม้ร่มนกจับ : (สํา) น. ผู้มีวาสนาย่อมมีคนมาพึ่งบารมี.
  5. ไม้ล้มเงาหาย : (สํา) น. คนที่เคยมีวาสนาเมื่อตกตํ่าลงผู้ที่มาพึ่งบารมีก็หายหน้าไป.
  6. ไม้สั้นไม้ยาว : น. เรียกวิธีเสี่ยงทายแบบหนึ่งว่าจับไม้สั้นไม้ยาว คือ ใช้ไม้เล็ก ๆ ขนาดสั้นยาวลดหลั่นกันไป จํานวนเท่าคนที่จะจับ กําปลายไม้ให้โผล่เสมอกัน มักตกลงกันว่า ผู้จับได้ไม้สั้นที่สุดเป็นผู้แพ้.
  7. ไม้เส้า : น. ไม้ยาวสำหรับยื่นไปช่วยคนตกน้ำในเวลาเรือพระประเทียบล่ม, ไม้กระทุ้งให้จังหวะในเรือดั้งในกระบวนพยุหยาตรา; ไม้ยาวสำหรับสอยหรือค้ำ; ไม้ยาวสำหรับชูเพนียดนกต่อขึ้นบนต้นไม้; ไม้ส้าว ก็ว่า.
  8. ยกตัวขึ้นเหนือลม : (สํา) ก. ปัดความผิดให้พ้นตัว, ยกตัวเองให้พ้นผิด, ยกตนเหนือคนอื่น.
  9. ยกเมฆ : ก. เพ่งดูเมฆเมื่อเห็นเป็นรูปอะไรแล้ว ก็ถือเป็นนิมิตเพื่อทำนาย ว่าดีหรือร้าย เช่นในเวลาจะยกทัพ ถ้าเห็นเมฆเป็นรูปพระนารายณ์ ก็ถือ ว่าเป็นนิมิตที่ดี ควรยกทัพได้ เช่น ตรงเข้าไปในป่าแล้วปลุกตัว เป่าทั่ว ด้วยคาถาประกาศิต ขยับยืนยกเมฆดูนิมิต เห็นรูปนารายณ์เรืองฤทธิ์ติด อัมพร. (ขุนช้างขุนแผน), ถ้าเห็นเมฆเป็นรูปคนหัวขาดหรือแขนขาดขา ขาด เป็นนิมิตไม่ดี ไม่ควรยกทัพ แม้ผู้ทรงวิทยาคุณอาจบริกรรมต่อหัว หรือแขนขาให้สมบูรณ์ได้ ถึงกระนั้นก็ไม่ถือว่าเป็นนิมิตที่ดี ไม่ควร ยกทัพ เช่น กอดอกยกเมฆดูนิมิต ก็วิปริตเป็นรูปคนหัวหาย จะยกต่อ คอแขนไม่ติดกาย เถนสำคัญมั่นหมายไม่คืนมา. (ขุนช้างขุนแผน); (สำ) เดาเอา, นึกคาดเอาเอง, กุเรื่องขึ้น.
  10. ยม ๒, ยม : [ยม, ยมมะ] น. เทพเจ้าผู้เป็นใหญ่ประจําโลกของคนตาย; ชื่อดาวเคราะห์ ดวงที่ ๙ ในระบบสุริยะ มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า อยู่ห่างดวงอาทิตย์ประมาณ ๕,๙๐๐ ล้านกิโลเมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลางอยู่ระหว่าง ๒,๕๘๐ ถึง ๓,๕๓๐ กิโลเมตร ทางโคจรเป็นวงรีมาก ทําให้ส่วนหนึ่งของทางโคจรอยู่ภายในวง โคจรของดาวเนปจูน, ดาวพลูโต ก็เรียก. (ป., ส.).
  11. ยมทูต : น. ผู้นําคนตายไปยังบัลลังก์พระยมเพื่อรอคําตัดสิน. (ป., ส.).
  12. ยมบาล : น. เจ้าพนักงานเมืองนรก มีหน้าที่ลงโทษทรมานคนที่ตกนรก ตามคําสั่งของพญายม. (ป. ยมปาล ว่า ผู้รักษานรก).
  13. ยมโลก : น. โลกของพระยม; โลกของคนตาย. (ป.).
  14. ยอขึ้น : ก. ชอบให้ยกย่องแล้วจึงจะตั้งใจทำ เช่น เด็กคนนี้ยอขึ้น.
  15. ยอด : น. ส่วนสูงสุด, ส่วนเหนือสุด, เช่น ยอดปราสาท ยอดเจดีย์ ยอดเขา, ส่วน ปลายสุดของพรรณไม้หรือที่แตกใหม่ เช่น ยอดผัก ยอดตำลึง ยอดกระถิน; เรียกคนหรือสัตว์ที่มีคุณสมบัติยิ่งยวดเหนือผู้อื่น เช่น ยอดคน ยอดหญิง ยอดสุนัข; จํานวนรวม เช่น ยอดเงิน; ฝี (ใช้ในราชาศัพท์ว่า พระยอด). (ปาก) ว. ที่สุด เช่น ยอดเยี่ยม ยอดรัก.
  16. ย้อมแมวขาย : (ปาก) ก. ตกแต่งคนหรือของที่ไม่ดีโดยมีเจตนาจะหลอก ลวงให้ผู้อื่นเชื่อว่าดี.
  17. ยัญ, ยัญ, ยัญญะ : [ยันยะ] น. การเซ่น, การบูชา, การเซ่นสรวงโดยมีการฆ่าสัตว์หรือคน เป็นเครื่องบูชา เรียกว่า บูชายัญ. (ป. ย?ฺ?; ส. ยชฺ?).
  18. ยัดทะนาน : ก. เบียดกันแน่น, อัดกันแน่น, เช่น คนแน่นเหมือนแป้ง ยัดทะนาน.
  19. ยัดเยียด : ก. เบียดกันแน่น, แออัดกันแน่น, เช่น คนเบียดเสียดยัดเยียดกัน; ขืนหรือแค่นให้โดยผู้รับไม่เต็มใจรับ เช่น ยัดเยียดขายให้, เยียดยัด ก็ว่า, ใช้เพียง ยัด คําเดียวก็มี.
  20. ยั้ว, ยั้วเยี้ย : ว. อาการที่คนหรือสัตว์จํานวนมากเคลื่อนไหวขวักไขว่ไปมา เช่น ลูกเต้า ยั้วเยี้ยไปหมด หนอนไต่กันยั้วเยี้ย ฝูงลิงไต่ยั้วเยี้ยอยู่บนยอดไม้.
  21. ยาก : น. ความลําบาก. ว. ลําบาก เช่น พูดยาก, ไม่สะดวก เช่น ไปยาก มายาก, ไม่ง่าย เช่น ตอบยาก ทำยาก; จน เช่น คนยาก, นิยมใช้เข้าคู่กันเป็น ยากจน; (โบ) ขายตัวเป็นทาส.
  22. ยากไร้ : ว. ยากจน, ขาดแคลนไปทุกสิ่งทุกอย่าง เช่น คนยากไร้.
  23. ยาจก, ยาจนก : [จก, จะนก] น. คนขอทาน. (ป., ส.).
  24. ย่าน ๑ : น. แถว, ถิ่น, เช่น เขาเป็นคนย่านนี้, บริเวณ เช่น ย่านบางลำพู ย่านสำเพ็ง, ระยะทางตามกว้างหรือยาวจากตําบลหนึ่งไปยังอีกตําบลหนึ่ง; ของที่ตรง และยาว.
  25. ยาแฝด : น. ยาหรือสิ่งที่ผู้หญิงให้ผัวกินเพื่อให้หลงรักตัวคนเดียว.
  26. ยาม, ยาม : [ยาม, ยามะ] น. ชื่อส่วนแห่งวัน ยามหนึ่งมี ๓ ชั่วโมง รวมวันหนึ่งมี ๘ ยาม; ในบาลีแบ่งกลางคืนเป็น ๓ ยาม ยามหนึ่งมี ๔ ชั่วโมง เรียกว่า ปฐมยาม มัชฌิมยาม และปัจฉิมยาม; (โหร) ช่วงแห่งวัน เป็นเวลายามละ ชั่วโมงครึ่ง กลางวันมี ๘ ยามตามลำดับคือ สุริยะ ศุกระ พุธะ จันเทา เสารี ครู ภุมมะ สุริยะ กลางคืนมี ๘ ยามตามลำดับคือ รวิ ชีโว ศศิ ศุโกร ภุมโม โสโร พุโธ รวิ; คราว, เวลา, เช่น ยามสุข ยามทุกข์ ยามเช้า ยามกิน; คนเฝ้า สถานที่หรือระวังเหตุการณ์ตามกําหนดเวลา เช่น แขกยาม ไทยยาม คนยาม, เรียกอาการที่อยู่เฝ้าสถานที่หรือระวังเหตุการณ์เช่นนั้นว่า อยู่ยาม หรือ เฝ้ายาม. (ป.).
  27. ยามิก : น. คนเฝ้ายาม, คนเฝ้ายามเวลากลางคืน. (ส.).
  28. ย้าย : ก. เปลี่ยนที่ เช่น ย้ายเก้าอี้ไปไว้มุมห้อง. ว. อาการที่ร่างกายบางส่วนเช่น พุง เอว เคลื่อนไหวไปมาข้างโน้นทีข้างนี้ทีตามจังหวะขณะเดินเป็นต้น (มักใช้แก่คนอ้วน) เช่น เดินย้ายพุง เดินย้ายเอว.
  29. ยี่ห้อ : น. เครื่องหมายสําหรับร้านค้าหรือการค้า, ชื่อร้านค้า; เครื่องหมาย เช่น สินค้ายี่ห้อนี้รับประกันได้; (ปาก) ลักษณะ เช่น เด็กคนนี้หน้าตาบอก ยี่ห้อโกง; ชื่อเสียง เช่น ต้องรักษายี่ห้อให้ดี อย่าทำให้เสียยี่ห้อ. (จ.).
  30. ยื่นแก้วให้วานร : (สํา) ก. เอาของมีค่าให้แก่คนที่ไม่รู้จักค่าของสิ่งนั้น.
  31. ยืมชื่อ : ก. อาศัยชื่อผู้อื่นไปเป็นประโยชน์ตน เช่น ยืมชื่อคนมีชื่อเสียง ไปอ้างเพื่อให้คนเชื่อถือ.
  32. ยุ่บ, ยุ่บยั่บ : ว. อาการที่เคลื่อนไหวกระดุบกระดิบของสัตว์เล็ก ๆ อย่างหนอน มด ปลวก จำนวนมาก ๆ เช่น มดขึ้นยุ่บ หนอนไต่ยุ่บยั่บ, โดยปริยายใช้แก่ คนจำนวนมาก ๆ เช่น ที่สนามหลวงคนเดินขวักไขว่ยุ่บยั่บไปหมด.
  33. ยุ่มย่าม : ว. ยุ่ง, เกะกะไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย, เช่น หนวดเครายุ่มย่าม; อาการ ที่เข้าไปยุ่งเกี่ยวในเรื่องที่มิใช่หน้าที่ของตน เช่น เขาชอบเข้าไปยุ่มย่าม ในเรื่องของคนอื่น, อาการที่เข้าไปยุ่งเกี่ยวในสถานที่หวงห้ามหรือในที่ ที่ตนไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง เช่น ห้ามเข้าไปยุ่มย่ามในเขตหวงห้าม เขา ชอบเข้าไปยุ่มย่ามในสถานที่ราชการ.
  34. เย็นเฉื่อย : ว. เย็นเพราะลมพัดมาเรื่อย ๆ เช่น ตรงนี้ลมพัดเย็นเฉื่อย; มี อารมณ์เรื่อย ๆ ช้า ๆ เช่น เขาเป็นคนอารมณ์เย็นเฉื่อย.
  35. เยภุยนัย : น. วิธีที่คนส่วนมากใช้. (ป. เยภุยฺยนย).
  36. เยี่ยม ๆ มอง ๆ : ก. โผล่มองบ่อย ๆ (เพื่อให้เห็น หรือเพื่อให้รู้ว่ามีใครหรือ อะไรอยู่ข้างใน). ว. อาการที่ด้อมแอบดูบ่อย ๆ เช่น มีคนแปลกหน้ามา เยี่ยม ๆ มอง ๆ.
  37. เยียมั่ง : ก. ทําเป็นคนมั่งมี.
  38. เยียใหญ่ : ก. ทําเป็นคนใหญ่โต, มักใหญ่ใฝ่สูง.
  39. เยือกเย็น : ว. มีจิตใจหนักแน่น ไม่ฉุนเฉียวโกรธง่าย เช่น สำคัญที่เป็นคน เยือกเย็น จึงจะตัดสินปัญหาได้อย่างรอบคอบ.
  40. เยื้องกราย : ก. เดินอย่างมีท่างาม เช่น นางแบบเยื้องกรายมาทีละคน ๆ; เดินก้าวเฉียงและกางแขนเพื่อดูท่าทีของคู่ต่อสู้อย่างการเยื้องกรายใน การตีกระบี่กระบอง (ใช้แก่ศิลปะการต่อสู้).
  41. โย่ง ๆ : ว. อาการที่คนผอมสูงเดินก้าวยาว ๆ เรียกว่า เดินโย่ง ๆ.
  42. โยง ๑ : ก. ผูกให้ติดกันเพื่อลากหรือจูงไป เช่น โยงเรือ, เกี่ยวเนื่อง เช่น ให้การ โยงไปถึงอีกคนหนึ่ง. ว. เรียกอาการที่มัดมือ ๒ ข้างแขวนขึ้นไปให้เท้า พ้นพื้นหรือเรี่ย ๆ พื้นว่า มัดมือโยง, เรียกอาการที่อยู่ประจําแต่ผู้เดียว ผู้อื่นไม่ต้องอยู่ว่า อยู่โยง, เรียกเรือสําหรับลากจูงเรืออื่นว่า เรือโยง และ เรียกเรือที่ถูกลากจูงไปนั้นว่า เรือพ่วง.
  43. โย่งเย่ง : ว. อาการที่คนสูงโย่งเดินโยกเยกไปมา; ไม่รัดกุม.
  44. โยนกลอง : ก. ปัดภาระหรือความรับผิดชอบไปให้คนอื่น.
  45. โยนกลอน : ก. ขึ้นต้นกลอนแล้วโยนให้คนอื่นแต่งต่อ.
  46. โยพนมัท : [โยบพะนะมัด] น. ความมัวเมาในความเป็นคนหนุ่มสาว, ความพลาดพลั้งเพราะความมัวเมาในความเป็นหนุ่มสาว. (ป. โยพฺพนมท).
  47. รชกะ : [ระชะกะ] น. คนย้อมผ้า, คนซักผ้า. (ป., ส.).
  48. รณรงค์ : น. การรบ; สนามรบ. ก. ต่อสู้, โฆษณาชักชวนอย่างต่อเนื่อง โดยมีเจตนาที่จะต่อสู้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามที่ต้องการ เช่น รณรงค์ หาเสียงในการเลือกตั้งรณรงค์ให้คนไทยใช้ของไทย. (ส.).
  49. รถเข็น : น. รถที่ไม่มีเครื่อง ต้องใช้คนเข็นหรือดันไป เช่น รถเข็นคนไข้.
  50. รถเจ๊ก : (ปาก) น. รถลากสำหรับให้ผู้โดยสารนั่ง มีล้อขนาดใหญ่ ๒ ล้อ มีคนจีนเป็นผู้ลาก.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | [951-1000] | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1637

(0.0621 sec)