Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: คน .

Royal Institute Thai-Thai Dict : คน, 1637 found, display 1401-1450
  1. หนามแหลมไม่มีใครเสี้ยม : (สํา) น. คนที่มีปฏิภาณไหวพริบตามธรรมชาติ โดยไม่ต้องมีใครสอน, มักใช้เข้าคู่กับ มะนาวกลมเกลี้ยงไม่มีใครกลึง.
  2. หน้าม้า : น. ผู้ที่ทําเล่ห์เหลี่ยมเป็นเหมือนคนซื้อหรือคนเล่นการพนัน เป็นต้น เพื่อเป็นสื่อจูงใจให้คนหลงซื้อหรือหลงเล่นการพนันด้วย, โดยปริยายใช้เรียกคนที่หากินในลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น.
  3. หน้าม้าน : ว. มีสีหน้าเผือดด้วยความละอายจนไม่กล้าสบตาคน.
  4. หน้าวอก : น. หน้าของคนที่ผัดแป้งจนขาวเกินไป.
  5. หน้าอ่อน : ว. ที่มองดูอายุน้อยกว่าอายุจริง เช่น ผู้หญิงคนนี้อายุมากแล้ว แต่ยังดูหน้าอ่อน, เรียกหมากที่หน้ายังไม่เต็มว่า หมากหน้าอ่อน.
  6. หนี้เกลื่อนกลืนกัน : (กฎ) น. หนี้ซึ่งระงับไปเพราะเหตุที่สิทธิและความ รับผิดในหนี้นั้นตกอยู่แก่บุคคลคนเดียวกัน.
  7. หนึ่ง : น. ตัวเลขตัวแรกของจำนวนนับ; จำนวนเดียว, คนเดียว, สิ่งเดียว, เช่น หนึ่งในดวงใจ. ว. เดี่ยว; เป็นเอก, เป็นเลิศ, เช่น เพื่อน ๆ ยกให้เขาเป็น หนึ่งในรุ่น.
  8. หนึ่งไม่มีสอง : ว. เป็นเลิศอยู่คนเดียว.
  9. หนุ่มใหญ่ : น. ชายที่อยู่ในวัยกลางคน.
  10. หมอเสน่ห์ : น. ผู้ที่เชื่อกันว่ารู้วิชาอาคมทำให้คนรักกันหรือชังกัน.
  11. หมัด ๑ : น. ชื่อแมลงขนาดเล็กหลายชนิดในอันดับ Siphonaptera ตัวยาวประมาณ ๕ มิลลิเมตรไม่มีปีก ลําตัวแบนข้าง มีขนเรียงเป็นแถวข้างลําตัวบริเวณปล้อง แต่ละปล้อง หัวและอกเล็กกว่าท้อง ขายาว กระโดดได้เก่งปากเป็นชนิดเจาะ ดูด ดูดเลือดคนและสัตว์กินเป็นอาหาร เช่น หมัดคน (Pulexirritans) หมัดหมา (Ctenocephalides canis) หมัดหนู (Xenopsyllacheopsis) ในวงศ์ Pulicidae.
  12. หมั่นไส้ : ก. ชังนํ้าหน้า, รู้สึกขวางหูขวางตา; (ปาก) ชวนให้รู้สึกเอ็นดู, (มักใช้แก่เด็ก), เช่น เด็กคนนี้อ้วนแก้มยุ้ย น่าหมั่นไส้, มันไส้ ก็ว่า.
  13. หมากลางถนน : น. หมาที่ไม่มีเจ้าของ, โดยปริยายใช้เป็นสำนวนเปรียบ เทียบคนที่ไม่มีสังกัด ไม่มีญาติพี่น้อง ยากจนอนาถา ไม่มีใครเหลียวแล เช่น เขาตายอย่างหมากลางถนน.
  14. หมากัดไม่เห่า : (สำ) น. คนที่ต่อสู้หรือตอบโต้โดยไม่เตือนล่วงหน้า.
  15. หมากัดอย่ากัดตอบ : (สำ) ก. อย่าลดตัวลงไปต่อสู้หรือต่อปากต่อคำกับ คนพาลหรือคนที่มีศักดิ์ต่ำกว่า.
  16. หมาขี้ไม่มีใครยกหาง : (สํา) น. คนที่ชอบยกตัวเอง, คนโอ้อวด.
  17. หมาขี้เรื้อน : (สำ) น. คนที่น่ารังเกียจ ไม่ควรคบหาสมาคมด้วย (ใช้กล่าว ถึงผู้อื่นด้วยความดูถูกเหยียดหยาม).
  18. หมาง : ก. (โบ) กระดาก เช่น หมางกัน คือ กระดากกัน หมางหน้า คือ กระดาก หน้า, อาการที่ห่างเหินกันเพราะขุ่นเคืองใจหรือผิดใจกันเป็นต้น เช่น คนคู่นี้แต่ก่อนก็ดูสนิทสนมกันดี แต่เดี๋ยวนี้ดูเขาหมางกันไป, หมาง ๆ ก็ว่า, มักใช้เข้าคู่กับคำอื่น เช่น บาดหมาง หมองหมาง หมางใจ.
  19. หมาจนตรอก : (สำ) น. คนที่ฮึดสู้อย่างสุดชีวิตเพราะไม่มีทางเลือก ใน สำนวนว่า สู้เหมือนหมาจนตรอก.
  20. หมาถูกน้ำร้อน : (สำ) น. คนที่มีความเดือดร้อน กระวนกระวาย วิ่งพล่าน ไปหาที่พึ่งต่าง ๆ เปรียบเสมือนหมาที่ถูกน้ำร้อนลวก ร้องเสียงดังวิ่งพล่าน ไปด้วยความเจ็บปวดทุรนทุราย.
  21. หมาในรางหญ้า : (สำ) น. คนที่หวงแหนสิ่งที่ตนเองกินหรือใช้ไม่ได้ แต่ ไม่ยอมให้คนอื่นกินหรือใช้, หมาหวงราง ก็ว่า.
  22. หมาบ้าพาลกระแชง : (สำ) น. คนที่อาละวาดพาลหาเรื่องทำให้วุ่นวายทั่ว ไปหมด.
  23. หมายหน้า : ก. ประมาทหน้า, ดูถูก, เช่น หมายหน้าไว้ว่าจะต้องสอบตก แน่ ๆ; ตราหน้า เช่น เขาถูกหมายหน้าว่าเป็นคนไม่ดี.
  24. หมายหัว : ก. จดจำไว้ด้วยความประสงค์ร้าย เช่น เขาถูกพวกนักเลงหมายหัว ไว้ว่าจะต้องหาทางกำจัดให้ได้, คาดหมายไว้ว่าจะเป็นไปในทางไม่ดี เช่น เด็กคนนี้ถูกหมายหัวไว้ว่าจะต้องสอบตกแน่ ๆ.
  25. หมาลอบกัด : (สำ) น. คนที่ลอบทำร้ายหรือกลั่นแกล้งผู้อื่นลับหลัง.
  26. หมาไล่เนื้อ : (สำ) น. คนที่รับใช้ผู้อื่นเมื่อเวลายังทำประโยชน์ให้ได้ ผู้เป็น นายก็เมตตาเลี้ยงดู แต่เมื่อทำประโยชน์ไม่ได้แล้ว ผู้เป็นนายก็ทอดทิ้งไม่ ไยดีหรือหาเรื่องลงโทษขับไล่ไสส่งเป็นต้น เปรียบเสมือนหมาไล่เนื้อ เมื่อแก่สิ้นเขี้ยวสิ้นเล็บ ใช้ไล่ล่าสัตว์ไม่ได้ เจ้าของก็ไม่เมตตาเลี้ยงดู อีกต่อไป.
  27. หมาสองราง : (สํา) น. คนที่ทำตัวเข้าด้วยทั้ง ๒ ฝ่าย.
  28. หมาหมู่ : (ปาก) น. กลุ่มคนที่กลุ้มรุมทําร้ายคนคนเดียว.
  29. หมาหวงก้าง : (สํา) น. คนที่หวงของที่ตนไม่มีสิทธิ์, คนที่กันท่าคนอื่นใน สิ่งที่ตนได้ใช้ประโยชน์แล้วหรือใช้ประโยชน์ไม่ได้.
  30. หมาหวงราง : (สำ) น. คนที่หวงแหนสิ่งที่ตนเองกินหรือใช้ไม่ได้ แต่ไม่ ยอมให้คนอื่นกินหรือใช้, หมาในรางหญ้า ก็ว่า.
  31. หมาหัวเน่า : (สํา) น. คนซึ่งเป็นที่รังเกียจของคนอื่นจนไม่สามารถเข้ากับ ใครได้, คนที่ไม่มีใครรักหรือคบหา.
  32. หมาหางด้วน : (สํา) น. คนที่ทําอะไรผิดพลาดจนได้รับความอับอายแล้ว ชวนให้ผู้อื่นทําตามโดยยกย่องการกระทํานั้นว่าดี ควรเอาอย่าง.
  33. หมาเห็นข้าวเปลือก : (สำ) น. คนที่อยากได้สิ่งที่เป็นประโยชน์หรืออำนวย ความสุขสำราญให้แก่ตน แต่สุดความสามารถที่จะเอามาใช้ หรืออำนวย ประโยชน์ให้แก่ตนได้.
  34. หมาเห่าใบตองแห้ง : (สํา) น. คนที่ชอบพูดเอะอะแสดงว่าเก่ง แต่ไม่กล้าจริง.
  35. หมาเห่าไม่กัด : (สำ) น. คนที่ดีแต่ส่งเสียงเอะอะอวดเก่ง แต่ไม่ยอมต่อสู้ หรือตอบโต้.
  36. หมี : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Ursidae ตาและใบหูกลมเล็ก ริมฝีปาก ยื่นแยกห่างออกจากเหงือก สามารถยืนและเดินด้วยขาหลังได้ ประสาท การดมกลิ่นดีกว่าประสาทตาและหู กินพืชและสัตว์ ในประเทศไทยมี ๒ ชนิด คือ หมีควาย (Selenarctos thibetanus) ตัวใหญ่ ขนยาวดํา อกมีขน สีขาว รูปง่าม และ หมีหมา หรือ หมีคน (Helarctos malayanus) ตัวเล็ก กว่าหมีควาย ขนสั้นดํา ที่อกมีขนสีขาวรูปคล้ายเกือกม้า.
  37. หมู ๑ : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิดในวงศ์ Suidae เป็นสัตว์กีบคู่ ตัวอ้วน จมูกและปากยื่นยาว มีทั้งที่เป็นสัตว์เลี้ยงและที่เป็นสัตว์ป่า หาอาหารโดย ใช้จมูกดุด; (ปาก) บุคคลที่อาจหลอกหรือเอาชนะได้ง่าย เช่น นักมวย ต่างประเทศคนนี้อย่าไปคิดว่าหมูนะ.
  38. หมูเขาจะหามเอาคานเข้าไปสอด : (สํา) น. คนที่เข้าไปขัดขวางขณะที่ผู้อื่น ทําสิ่งใดสิ่งหนึ่งกําลังจะสําเร็จ.
  39. หย็องกรอด : [หฺย็องกฺรอด] ว. ซูบผอมมีท่าทางคล้ายคนอิดโรย.
  40. หยั่งเสียง : ก. ลองพูดหรือทําอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อฟังความคิดเห็นจาก ผู้อื่นหรือคนจำนวนมาก, ซาวเสียง ก็ว่า.
  41. หยับ, หยับ ๆ : ว. อาการที่เคี้ยวเนิบ ๆ เช่น คนแก่เคี้ยวหมากหยับ ๆ; อาการขึ้นลงเนิบ ๆ เช่น พายอ่อนหยับจับงามงอน (เห่เรือ); อาการที่หัวเรือโต้คลื่นเหยิบ ๆ.
  42. หย่ากัน : ก. ไม่กินกัน (ใช้แก่คู่ขาการพนันบางชนิด) เช่น ในการเล่นไพ่ ๒ คนนั้นเขาหย่ากัน.
  43. หยำเป : (ปาก) ว. มีความประพฤติเละเทะหมกมุ่นในอบายมุข เช่น เขาเป็นคน หยำเป; อาการที่เมามายจนครองสติไม่อยู่ ในคำว่า เมาหยําเป.
  44. หยิกเล็บเจ็บเนื้อ : (สำ) เมื่อกระทำความเดือดร้อนให้แก่คนใกล้ชิดก็จะมีผล กระทบถึงตัวผู้กระทำหรือคนในพวกเดียวกันด้วย เช่น ฟ้องร้องพี่น้อง กันเองเป็นการหยิกเล็บเจ็บเนื้อ.
  45. หยุมหยิม : ว. จุกจิก เช่น เขาเป็นคนหยุมหยิม. ก. จู้จี้, ชอบถือเอาเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ว่าเป็นเรื่องสําคัญ, เช่น อย่าไปหยุมหยิมกับเขามากนัก.
  46. หรัสวางค์ : [หะรัดสะวาง] น. คนเตี้ย. ว. มีร่างเตี้ย. (ส.).
  47. หฤทัยกลม : น. คนมีใจอ่อน. (ส. หฺฤทยกลฺม).
  48. หลงลม, หลงลมปาก : (ปาก) ก. หลงเชื่อถ้อยคำ เช่น อย่าหลงลมปากคน ชวนไปหาลาภทางไกล.
  49. หลงใหล : ก. คลั่งไคล้ในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น หลงใหลนักร้อง; เลอะเลือน, มีสติเฟือน,เช่น คนแก่มักหลงใหล กินแล้วก็ว่าไม่ได้กิน.
  50. หล่อหลอม : ก. อบรมบ่มนิสัยให้จิตใจโน้มน้าวไปในทางใดทางหนึ่ง เช่น หล่อหลอมจิตใจให้เป็นคนดี, หลอม ก็ว่า.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | [1401-1450] | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1637

(0.1251 sec)