Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: คน .

Royal Institute Thai-Thai Dict : คน, 1637 found, display 401-450
  1. จุกจิก : ก. รบกวน, กวนใจ, เช่น อย่าจุกจิกนักเลย. ว. จู้จี้ เช่น เขาเป็นคนจุกจิก; เล็ก ๆ น้อย ๆ, เบ็ดเตล็ดคละกัน, เช่น ในกระเป๋าถือมีแต่ของจุกจิก, กระจุกกระจิก ก็ว่า.
  2. จุกช่องล้อมวง : (โบ) ก. อารักขาพระเจ้าแผ่นดินในเวลาเสด็จประพาส หรือในเหตุบางประการเช่นเมื่อพระเจ้าแผ่นดินทรงพระประชวร. (จุกช่อง คือ จัดคนให้รักษาการณ์อยู่ตามช่องทางเช่นตรอก ซอย ปากคลอง ล้อมวง คือจัดคนให้ล้อมที่ประทับเป็นชั้น ๆ).
  3. จุดรวม : น. จุดกลางซึ่งเป็นที่รวมของคน สิ่งของ หรือความรู้สึกนึกคิด เป็นต้น, จุดศูนย์กลาง ก็ว่า.
  4. จุดหมาย, จุดหมายปลายทาง : น. จุดหรือสภาวะที่ต้องพยายามไปให้ถึง, จุดหรือสภาวะที่ตั้งใจจะให้บรรลุถึง, เช่น การเดินทางครั้งนี้มีจุดหมาย ที่จังหวัดสุโขทัย คนเรามีความสุขเป็นจุดหมายในชีวิต.
  5. จุนสี : [จุนนะสี] น. เกลือปรกติชนิดหนึ่ง ชื่อ คิวปริกซัลเฟต (CuSO4) เมื่อ เป็นผลึก มีสูตร CuSO4•5H2O ลักษณะเป็นผลึกสีนํ้าเงิน ใช้ประโยชน์ ในการชุบทองแดงด้วยไฟฟ้า ใช้เป็นสารฆ่าเชื้อรา ฆ่าลูกนํ้า, คนทั่วไป เข้าใจว่าเกิดจากสนิมทองแดง.
  6. จูงจมูก : ก. อาการที่จับเชือกที่สนตะพายจมูกวัวควายแล้วจูงไป, โดย ปริยายใช้แก่คนว่า ถูกจูงจมูก หมายความว่า ถูกเขาชักนําไปโดยไม่ใช้ ความคิดของตน.
  7. จู้จี้ ๑ : ก. งอแง เช่น เด็กจู้จี้, บ่นจุกจิกรํ่าไร เช่น คนแก่จู้จี้; พิถีพิถันเกินไป เช่น ซื้อของเลือกแล้วเลือกอีกจู้จี้มาก.
  8. เจ๊ก : (ปาก) น. คําเรียกคนจีน.
  9. เจ็ด : น. จํานวนหกบวกหนึ่ง; ชื่อเดือนจันทรคติ เรียกว่า เดือน ๗ ตกในราว เดือนมิถุนายน; (โบ) เรียกลูกชายคนที่ ๗ ว่า ลูกเจ็ด, คู่กับ ลูกหญิง คนที่ ๗ ว่า ลูกเอก. (กฎ. ๒/๒๖).
  10. เจตภูต : [เจดตะพูด] น. สภาพเป็นผู้คิดอ่าน คือ มนัส, ที่เรียกในภาษา สันสกฤตว่าอาตมัน เรียกในภาษาบาลีว่า ''อัตตา'' ก็มี ''ชีโว'' ก็มี, มีอยู่ ในลัทธิว่า ในโลกนี้ไม่มีอะไรสูญ แม้คนและสัตว์ตายแล้ว ร่างกายเท่านั้น ทรุดโทรมไป, ส่วนเจตภูตเป็นธรรมชาติไม่สูญ ย่อมถือปฏิสนธิในกําเนิด อื่นสืบไป ลัทธินี้ทางพระพุทธศาสนาจัดเป็นสัสตทิฐิ แปลว่า ความเห็น ว่าเที่ยง, ตามสามัญที่เข้าใจกัน เจตภูต คือวิญญาณที่สิงอยู่ในตัวคน กล่าว กันว่าออกจากร่างได้ในเวลานอนหลับ.
  11. เจ๊สัว : น. คนที่มั่งมี (มักหมายถึงเศรษฐีจีน), เจ้าขรัว หรือ เจ้าสัว ก็เรียก.
  12. เจา : (โบ) น. เรียกลูกชายคนที่ ๙ ว่า ลูกเจา, คู่กับ ลูกหญิงคนที่ ๙ ว่า ลูกเอา. (กฎ. ๒/๒๖).
  13. เจ้ากี้เจ้าการ : น. ผู้ที่ชอบเข้าไปวุ่นในธุระของคนอื่นซึ่งมิใช่หน้าที่ของตน จนน่ารำคาญ.
  14. เจ้าขรัว : น. คนที่มั่งมี (มักหมายถึงเศรษฐีจีน), เจ๊สัว หรือ เจ้าสัว ก็เรียก.
  15. เจ้าเซ็น : น. อิหม่ามฮูเซ็นผู้เป็นหลานตาของพระมะหะหมัด, คนพวกหนึ่ง ที่ถือศาสนาอิสลาม ซึ่งนับถืออิหม่ามฮูเซ็น; ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง. เจ้าเซ็นเต้นต้ำบุด น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง มีตัวอย่างว่า สุดแค้นแสนคม สมเขาสรวล คําสอนข้อนสั่งข้างสิ่งควร ซํ้าข้อส่วนเข้าแซงแข่งซน.
  16. เจ้าทุกข์ : น. ผู้ที่เสียหายได้รับทุกข์หรือเดือดร้อน, ผู้ที่ไม่มีความสุขใจ. ว. ที่มีหน้าเศร้าอยู่เสมอ เช่น เด็กคนนี้อาภัพ หน้าตาเจ้าทุกข์.
  17. เจ้าปู่ : น. ผู้เฒ่าที่คนเคารพนับถือ, ปู่เจ้า ก็ว่า.
  18. เจ้าสัว : น. คนที่มั่งมี (มักหมายถึงเศรษฐีจีน), เจ๊สัว หรือ เจ้าขรัว ก็เรียก.
  19. เจ้าหน้า, เจ้าหน้าเจ้าตา : น. ผู้ชอบทําเอาหน้า, ผู้ชอบเสนอหน้าเข้าไป ทําธุระให้คนอื่นโดยเขาไม่ได้ขอร้อง.
  20. เจ้าหนี้ : น. เจ้าของหนี้; ผู้ขายเชื่อหรือให้กู้ยืมทรัพย์แก่บุคคลซึ่งเรียกว่า ลูกหนี้; (กฎ) บุคคลซึ่งมีมูลหนี้เหนือบุคคลอีกคนหนึ่งซึ่งเรียกว่าลูกหนี้ และมีสิทธิที่จะเรียกให้ลูกหนี้ชําระหนี้ได้.
  21. แจกไพ่ : ก. แบ่งไพ่ให้แก่ผู้เล่นทุกคนตามกําหนดกฎเกณฑ์.
  22. แจงรูป : น. วิธีเอาเถ้าถ่านและกระดูกศพที่เผาเสร็จแล้วบนกองฟอนมา เรียงลําดับเป็นอย่างรูปคน ให้หัวอยู่ทางทิศตะวันตกแล้วหันกลับมาทาง ทิศตะวันออก, แปรรูป หรือ แปรธาตุ ก็ว่า.
  23. ฉนวน ๑ : [ฉะหฺนวน] น. ทางเดินซึ่งมีเครื่องกําบัง ๒ ข้าง สําหรับพระมหากษัตริย์หรือ เจ้านายฝ่ายในเสด็จขึ้นลงหรือเข้าออก. ก. กําบัง, คั่น, กั้น.
  24. ฉม่อง : [ฉะหฺม่อง] น. คนตีฆ้อง เช่น พานรนายฉม่องว่องไว คุมคนธรรพ์ไป ประจานให้ร้องโทษา. (คําพากย์).
  25. ฉวะ : [ฉะวะ] (แบบ) น. ร่างสัตว์หรือคนที่ตายแล้ว, ซากศพ. (ป.; ส. ศว).
  26. ฉิน ๑ : ก. ติ, ติเตียน, เช่น สามสิ่งนี้โหดให้ โทษแท้คนฉิน. (โลกนิติ), มักใช้เข้าคู่ กับคํา ติ เป็น ติฉิน.
  27. เฉย ๆ : ว. ใช้ประกอบข้อความหรือคําอื่น มีความหมายต่าง ๆ แล้วแต่ ข้อความแวดล้อม เช่น หยิบไปเฉย ๆ คือ หยิบไปโดยไม่ได้บอกกล่าว, อยู่บ้านเฉย ๆ คือ อยู่บ้านโดยไม่ทําอะไรให้เป็นกิจจะลักษณะ หรือไม่ได้ ทํามาหากินอะไร; ไม่ยินดียินร้ายเช่น เขาเป็นคนเฉย ๆ, เท่านั้น เช่น ปลูกเรือนไว้เฉย ๆ ไม่ให้ใครอยู่.
  28. เฉี่ยว : ก. กิริยาของนกที่โฉบลงมาคว้าอาหารไปโดยเร็ว, อาการที่กระทบหรือ เสียดสีไปโดยเร็ว เช่น รถเฉี่ยวคน. (ปาก) ว. ล้ำยุค, นำสมัย, เช่น ผู้หญิง คนนี้แต่งตัวเฉี่ยว.
  29. เฉื่อย ๑, เฉื่อย ๆ : ว. เรื่อย ๆ, ช้า ๆ, เช่น ลมเฉื่อย ลมพัดเฉื่อย ๆ, ไม่รีบร้อน, อืดอาด, เช่น คนเฉื่อยทํางานเฉื่อย ๆ.
  30. แฉง : น. กระบังศัสตราวุธ เช่น คนถือหอกแฉงปลอกทอง. (สุบิน). (ข.).
  31. โฉม ๑ : น. รูปร่าง, ทรวดทรง, เค้า, เช่น เนื้อชาววังใช้ช้า โฉมใช่โฉมคนค้า หน้าใช่หน้า กริกกริว. (ลอ). ว. งาม.
  32. โฉลก : [ฉะโหฺลก] น. โชค, โอกาส; ลักษณะซึ่งมีทั้งส่วนดีและส่วนไม่ดี ถ้าดี เรียกว่า ถูกโฉลกถ้าไม่ดีเรียกว่า ไม่ถูกโฉลก มักกำหนดด้วยการดูลักษณะ วัดขนาด นับ จำนวน เป็นต้นของคน สัตว์ สิ่งของ ว่าเป็นมงคลหรือไม่เป็น มงคล, อีสานเรียก โสก; ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง, โฉลกแรก ก็ว่า.
  33. ชดช้อย : ว. อ่อนช้อย เช่น กิริยาชดช้อย; มีลักษณะกิริยาท่าทาง งดงาม เช่น คนชดช้อย, ช้อยชด ก็ว่า.
  34. ชนกกรรม : [ชะนะกะกํา] น. กรรมอันนําให้เกิดหรือกรรมอัน เป็นต้นเค้าทั้งข้างดีหรือข้างชั่ว เช่น กรรมอันทําให้เกิดเป็นคน ชั้นสูง เป็นชนกกรรมฝ่ายกุศล. (อรรถศาสน์).
  35. ชนัก : [ชะ] น. เครื่องแทงสัตว์ชนิดหนึ่ง ทําด้วยเหล็กปลายเป็นรูป ลูกศร มีด้ามยาวมีเชือกชักเมื่อเวลาพุ่งไปถูกสัตว์; เครื่องผูกคอ ช้างทําด้วยเชือกเป็นปมหรือห่วงห้อยพาดลงมาเพื่อให้คนที่ ขี่คอใช้หัวแม่เท้าคีบกันตก. (รูปภาพ ชนัก)
  36. ชนิด : [ชะ] น. อย่าง เช่น มี ๒ ชนิด, จําพวก เช่น คนชนิดนี้.
  37. ชรายุ : [ชฺรา] (แบบ) น. คราบงู, รกที่ห่อหุ้มลูกคนหรือลูกสัตว์. (ส.).
  38. ช่วงชัย : น. การเล่นพื้นเมืองอย่างหนึ่ง นิยมเล่นในเทศกาล เช่น สงกรานต์ มีผู้เล่นหลายคน แบ่งออกเป็น ๒ ฝ่าย ชายฝ่าย หนึ่ง หญิงฝ่ายหนึ่ง ยืนหันหน้าเข้าหากัน ห่างพอที่จะใช้ ลูกช่วงที่ทําด้วยผ้าขาวม้าเป็นต้นเป็นลูกกลม ๆ ผูกให้แน่น โยน หรือปาให้กัน ถ้าฝ่ายใดรับได้แล้วปาไปถูกคนใดคนหนึ่ง ของฝ่ายตรงข้าม ฝ่ายนั้นก็เป็นฝ่ายแพ้ มี ๓ ชนิด คือ ช่วงรํา ผู้แพ้ต้องออกไปรํา ช่วงใช้ ผู้แพ้ต้องไปอยู่อีกข้างหนึ่ง และ ช่วงขี้ข้า ผู้แพ้ต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งขี่คอ.
  39. ชะตา : น. ลักษณะหรืออัธยาศัยบางอย่างที่ทําให้รู้สึกชอบหรือ ไม่ชอบในทันทีทันใด เช่น ถูกชะตากัน ไม่ถูกชะตากัน, ลักษณะที่บังเกิดสําแดงเหตุดีและร้าย เช่น ชะตาดีชะตาร้าย; แบบรูปราศีที่บอกดาวพระเคราะห์เดินถึงราศีนั้น ๆ ในเวลา เกิดของคนหรือเวลาสร้างสิ่งสําคัญเช่นบ้านเมืองเป็นต้นที่ โหรคํานวณไว้ โดยแบ่งเป็น ๑๒ ราศีเรียกว่า ดวงชะตา หรือ ดวง, ชาตา ก็ว่า.
  40. ชักรอก : ก. อาการที่ทำให้เส้นเชือกหรือเส้นลวดเคลื่อน ผ่านร่องของรอกเพื่อยกลาก หรือดึงของหนักหรือคนเป็นต้น ให้เบาแรงและ สะดวกคล่องขึ้น. น. เรียกโขนที่ชักรอกผู้ แสดง เช่น หนุมาน เบญกาย ขึ้นไปจากพื้นเวทีแสดงท่าเหาะ ว่า โขนชักรอก.
  41. ชั้นฉาย : น. การสังเกตเวลาด้วยมาตราวัดอย่างหนึ่งซึ่งเรียกว่า เหยียบชั้น คือ เอาเท้าวัดเงาของตัวคนที่ยืนกลางแดด ครั้ง โบราณกําหนดเวลาโดยการวัดเงานั้นเป็นช่วงเท้า คือ ๑ ชั้นฉาย เท่ากับเงายาว ๑ ช่วงเท้า, มีพิกัดอัตราดังนี้ ๑๐ อักษร เป็น ๑ เมล็ดงา, ๔ เมล็ดงาเป็น ๑ เมล็ดข้าวเปลือก, ๔ เมล็ดข้าวเปลือก เป็น ๑ องคุลี, ๑๕ องคุลี เป็น ๑ ชั้นฉาย.
  42. ชั่ว ๒ : ว. เลว, ทราม, ร้าย, ไม่ดีเพราะจงใจฝ่าฝืนศีลธรรมหรือจารีต ประเพณีเป็นต้น เช่น คนชั่ว.
  43. ชา ๖ : ก. ว่ากล่าว เช่น อย่าชาคนเมา.
  44. ช้างตายทั้งตัวเอาใบบัวมาปิด : (สํา) น. ความชั่วหรือความผิด ร้ายแรงที่คนรู้ทั่วกันแล้ว จะปิดอย่างไรก็ไม่มิด.
  45. ช้างเผือก ๑ : น. ช้างในตระกูลชาติพรหมพงศ์ อิศวรพงศ์ พิษณุพงศ์หรืออัคนิพงศ์ ที่มีลักษณะ ๗ สี คือ ขาว เหลือง เขียว แดง ดํา ม่วง เมฆและมีตา เล็บ ขน เป็นต้น ประกอบ ด้วยคชลักษณ์ด้วย; โดยปริยายหมายถึงคนดีมีวิชาเป็นต้น ที่เกิดในชนบทแล้วมามีชื่อเสียงโด่งดังอยู่ในกรุง.
  46. ชาตา : น. เวลาเกิดของคน หรือเวลาสร้างสิ่งสำคัญเช่นบ้านเมือง เป็นต้นที่โหรคำนวณไว้, ชะตา ก็ว่า.
  47. ชาย ๑ : น. คนที่ไม่มีมดลูก, ผู้ชาย ก็ว่า.
  48. ชายสามโบสถ์ : (สํา) น. ผู้ที่บวชแล้วสึกถึง ๓ หน, ใช้พูด เป็นเชิงตําหนิว่าเป็นคนที่ไม่น่าคบ.
  49. ช้ำรั่ว : น. ชื่ออาการของโรคอย่างหนึ่ง เกิดจากความผิดปรกติของ กระเพาะปัสสาวะหรือท่อปัสสาวะเป็นต้น ทําให้ไม่สามารถ กลั้นปัสสาวะได้เหมือนคนปรกติ นํ้าปัสสาวะอาจไหลออก เป็นครั้งคราวหรือตลอดเวลาก็ได้.
  50. ชิมแปนซี : น. ชื่อลิงไม่มีหางในวงศ์ Pongidae ขนสีดําหรือน้ำตาลดำ บริเวณใกล้ ๆ ก้นมีขนสีขาว หน้าไม่มีขน แขนและขา ยาวเกือบเท่ากัน มี ๒ ชนิด คือ ชนิด Pan troglodytes และ ชิมแปนซีแคระ (P. paniscus) ถิ่นกําเนิดอยู่ในทวีปแอฟริกา อยู่รวมกันเป็นฝูง ลักษณะคล้ายคน มีเชาวน์ปัญญาสูง สามารถ นํามาฝึกหัดให้เลียนท่าทางของคนได้. (อ. chimpanzee).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | [401-450] | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1637

(0.0861 sec)