Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: คน .

Royal Institute Thai-Thai Dict : คน, 1637 found, display 701-750
  1. ประพิมพ์ประพาย : น. รูปพรรณสัณฐาน โดยเฉพาะหมายถึงลักษณะหรือส่วนที่ คล้ายคลึงกัน เช่น เด็กคนนี้มีประพิมพ์ประพายคล้ายพ่อ.
  2. ประมง : น. การจับสัตว์นํ้า เช่น ทําประมง; คนเลี้ยงชีพในทางจับสัตว์นํ้า เรียกว่า ชาวประมง พวกประมง; ประโมง ก็ใช้. ก. ดํานํ้าหาปลา เช่น กานํ้าดํานํ้าคือประมง, ตระบัดประมงลงทัน. (สมุทรโฆษ).
  3. ประโมง : น. การจับสัตว์นํ้า; คนเลี้ยงชีพในทางจับสัตว์นํ้า; โดยทั่วไปใช้ ประมง.
  4. ประวัติ, ประวัติ- : [ปฺระหฺวัด, ปฺระหฺวัดติ-] น. เรื่องราวว่าด้วยความเป็นไปของคน สถานที่ หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น ประวัติศรีปราชญ์ ประวัติ วัดมหาธาตุ. (ป. ปวตฺติ).
  5. ประสก : (ปาก) น. ชายผู้แสดงตนเป็นคนถือพระพุทธศาสนา, คําที่บรรพชิต เรียกคฤหัสถ์ผู้ชาย, คู่กับ สีกา. (ตัดมาจาก อุบาสก).
  6. ประสมโรง : ก. เอาคนที่เป็นลิเกหรือละครเป็นต้นต่างโรงมาเล่น รวมกัน; พลอยเข้าด้วย.
  7. ประสาทหลอน : น. ความผิดปรกติของการรับรู้ เช่น เห็นภาพหลอน ได้ยินเสียงคนพูดโดยไม่มีคนพูดจริง ได้กลิ่นที่ไม่มีอยู่จริง. (อ. hallucination).
  8. ปริคณห์ : [ปะริคน] น. บริคณห์. (ป. ปริคหณ).
  9. ปล้นทรัพย์ : (กฎ) ก. ชื่อความผิดอาญาสถานหนึ่ง ซึ่งผู้ชิงทรัพย์ร่วม กระทําความผิดด้วยกันตั้งแต่ ๓ คนขึ้นไป เรียกว่า ความผิดฐาน ปล้นทรัพย์.
  10. ปลอด : [ปฺลอด] ก. พ้นจาก, ปราศจาก, เช่น ปลอดคน ปลอดภัย; ล้วน, แท้ ๆ, เช่น ขาวปลอด ดําปลอด.
  11. ปลอม : [ปฺลอม] ก. ทําให้เหมือนคนอื่นหรือสิ่งอื่น เพื่อให้หลงผิดว่าเป็น คนนั้นหรือสิ่งนั้น เช่น ปลอมตัว. ว. ไม่แท้หรือไม่จริงตามสภาพ ของสิ่งนั้น เช่น ฟันปลอม ผมปลอม.
  12. ปลาข้องเดียวกัน : (สํา) น. คนที่อยู่ร่วมกันหรือเป็นพวกเดียวกัน.
  13. ปลาติดหลังแห : (สํา) น. คนที่พลอยได้รับเคราะห์กรรมร่วมกับผู้อื่น ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้มีส่วนพัวพันด้วย, ปลาติดร่างแห ก็ว่า.ปลาตู้ น. ปลา ที่เลี้ยงไว้ดูเล่นในตู้กระจก มักเป็นปลาที่มีรูปร่างสวยงามมีสีสันต่าง ๆ.
  14. ปลายแถว : น. คนที่อยู่ท้ายแถว, โดยปริยายหมายถึงผู้น้อย, ผู้ที่มีความสำคัญน้อย, หางแถว ก็ว่า.
  15. ปลาหน้าดิน : น. ปลาที่อาศัยอยู่ตามพื้นท้องทะเล เช่น ปลาเห็ดโคน ปลาเก๋า.
  16. ปลาหมอตายเพราะปาก : (สํา) น. คนที่พูดพล่อยจนได้รับอันตราย. ปลาหมอแถกเหงือก
  17. ปลาใหญ่กินปลาเล็ก : (สํา) น. ประเทศหรือคนที่มีอํานาจหรือผู้ใหญ่ ที่กดขี่ข่มเหงผู้อ่อนแอหรือผู้น้อย.
  18. ปลิง ๑ : [ปฺลิง] น. ชื่อสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในวงศ์ Hirudinidae ตัว ยืดหดได้คล้ายทาก เกาะคนหรือสัตว์เลือดอุ่นเพื่อดูดกินเลือด อาศัยอยู่ในน้ำจืด มีหลายชนิด เช่น ชนิด Hirudo medicinalis, Hirudinaria manillensis; เหล็กที่ทำเป็นหมุดแหลมโค้งสำหรับ ตอกเพลาะกระดานยึดให้แน่นสนิท, เขี้ยวตะขาบ ตะปลิง หรือ ตัวปลิง ก็เรียก.
  19. ป่อง ๓, ป่อง ๆ : ว. อาการของคนโกรธแกมงอน ในคําว่า โกรธป่อง ๆ.
  20. ป่องร่า : (โบ) น. อาการของคนคะนองไม่กลัวใคร ชวนวิวาทกับผู้อื่น. (ปรัดเล).
  21. ปอด ๑ : (สรีร) น. อวัยวะทําหน้าที่เกี่ยวกับการหายใจอยู่ภายในร่างกาย ของคนหรือสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังเป็นส่วนมาก; ตัวสกาที่ข้าม เขตไปไม่ได้. ว. กลัวจนไม่กล้าทำอะไร.
  22. ปอบ : น. ผีชนิดหนึ่งเชื่อกันว่าสิงอยู่ในตัวคน กินตับไตไส้พุงจนหมด แล้วออกไป คนนั้นก็ตาย.
  23. ปะขาว : น. ชายผู้จําศีลนุ่งห่มผ้าขาว, ลักษณนามว่า คน; (โบ) ตําแหน่งข้าราชการ ชั้นขุนหมื่นพวกหนึ่ง, คู่กับ ประแดง.
  24. ปะงาบ, ปะงาบ ๆ : ว. อาการที่อ้าปากแล้วหุบปาก, อาการที่หายใจทางปาก (เป็นอาการ ของคนและสัตว์ที่เหนื่อยหอบหรือใกล้จะตาย), งาบ ๆ พะงาบ หรือ พะงาบ ๆ ก็ว่า.
  25. ปัจเจกบุคคล : [ปัดเจกกะ-] น. บุคคลแต่ละคน.
  26. ปัญญา : น. ความรอบรู้, ความรู้ทั่ว, ความฉลาดเกิดแต่เรียนและคิด, เช่น คนมีปัญญา หมดปัญญา. (ป.).
  27. ปัญญาชน : น. คนที่มีความรู้หรือความฉลาดอันเกิดแต่การเรียน มามาก.
  28. ปัตคาด : [ปัดตะคาด] น. ชื่อเส้นในร่างกายของคน ในตําราหมอนวดว่า ตั้งแต่ท้องน้อยถึงโคนขาทั้งด้านหน้าและด้านหลัง.
  29. ปั้น ๑ : ก. เอาสิ่งอ่อน ๆ เช่นขี้ผึ้งดินเหนียวเป็นต้นมาทําให้เป็นรูปตาม ที่ต้องการ เช่น ปั้นข้าวเหนียว ปั้นตุ๊กตา; สร้างขึ้น, เสกสรรขึ้น, เช่น ปั้นพยาน ปั้นเรื่อง; ชุบเลี้ยงและอบรมสั่งสอนให้เป็นคนดี เช่น ฉันปั้นเขามาจนได้ดี. น. ลักษณนามเรียกสิ่งที่ปั้นเป็นก้อน ๆ เช่น ข้าวเหนียว ๓ ปั้น.
  30. ปั้นสีหน้า : ก. แกล้งแสดงหน้าตาให้ผิดปรกติเพื่อลวงให้เขาหลงเชื่อ เช่น ไม่เจ็บแต่ปั้นสีหน้าให้เหมือนคนเจ็บ.
  31. ป่า : น. ที่ที่มีต้นไม้ต่าง ๆ ขึ้นมา, ถ้าเป็นต้นสัก เรียกว่า ป่าสัก, ถ้าเป็น ต้นรัง เรียกว่า ป่ารัง, ถ้ามีพรรณไม้ชนิดใดชนิดหนึ่งขึ้นอยู่มาก ก็เรียกตามพรรณไม้นั้นเช่น ป่าไผ่ ป่าคา ป่าหญ้า; (กฎ) ที่ดินที่ยัง มิได้มีบุคคลได้มาตามประมวลกฎหมายที่ดิน; เรียกปลากัดหรือ ปลาเข็มที่เป็นพันธุ์เดิมตามธรรมชาติว่า ลูกป่า; (โบ) เรียกตําบล ที่มีของขายอย่างเดียวกันมาก ๆ เช่น ป่าถ่าน ป่าตะกั่ว. ว. ที่ได้มา จากป่าหรืออยู่ในป่า เช่น ของป่า ช้างป่า สัตว์ป่า คนป่า, ที่ห่างไกล ความเจริญ เช่น บ้านป่า เมืองป่า. ก. ตีดะไป ในคําว่า ตีป่า.
  32. ปาก : น. ส่วนหนึ่งของร่างกายคนและสัตว์ อยู่ที่บริเวณใบหน้า มีลักษณะ เป็นช่องสําหรับกินอาหารและใช้สําหรับเปล่งเสียงได้ด้วย; โดย ปริยายหมายถึงส่วนต่าง ๆ ที่อยู่ในบริเวณปาก เช่น ปากเปื่อย; ขอบ ช่องแห่งสิ่งต่าง ๆ เช่น ปากหม้อ ปากไห; ต้นทางสําหรับเข้าออก เช่น ปากช่อง ปากตรอก; กลีบดอกกล้วยไม้คล้ายรูปกรวยหรือหลอดที่อยู่ ตรงกลางเป็นที่อยู่ของเกสร, กระเป๋า ก็เรียก; ใช้เป็นลักษณนามของสิ่ง บางอย่างเช่นแหอวนหรือพยานบุคคล เช่น แหปากหนึ่ง อวน ๒ ปาก พยาน ๓ ปาก. ก. พูด เช่น ดีแต่ปาก.
  33. ปากเปราะ : ก. พูดจาทักทายเก่ง, พูดจาว่าคนง่าย ๆ; เห่าเก่ง (ใช้แก่สุนัข).
  34. ปากมาก : ว. ชอบพูดว่าคนอื่นซํ้า ๆ ซาก ๆ, พูดมาก, (ในทางช่างว่า ช่างติ), พูดขยายเรื่องเล็กน้อยให้มากออกไป.
  35. ปากหมา : ว. ชอบพูดจาว่าร้ายคนอื่น.
  36. ปาฏิหาริย์ : [-ติหาน] น. สิ่งที่น่าอัศจรรย์, ความอัศจรรย์, มี ๓ อย่าง คือ ๑. อิทธิปาฏิหาริย์ = ฤทธิ์เป็นอัศจรรย์ หมายถึง การแสดงฤทธิ์ ที่พ้นวิสัยของสามัญมนุษย์ได้อย่างน่าอัศจรรย์ ๒. อาเทสนา ปาฏิหาริย์ = การดักใจเป็นอัศจรรย์ หมายถึง การดักใจทายใจคน ได้อย่างน่าอัศจรรย์ ๓. อนุสาสนีปาฏิหาริย์ = การสอนเป็น อัศจรรย์ หมายถึง คำสั่งสอนอันอาจจูงใจคนให้นิยมเชื่อถือไป ตามได้อย่างน่าอัศจรรย์. (ปาก) ก. กระทำสิ่งที่ตามปรกติทำไม่ได้ เช่น ปาฏิหาริย์ขึ้นไปอยู่บนหลังคา. (ป.).
  37. ป่าเถื่อน : ว. ห่างไกลจากที่อยู่ของคน, ยังไม่เจริญ; ทารุณโหดร้าย.
  38. ปาท่องโก๋ : น. ของกินชนิดหนึ่งของจีน ทําด้วยแป้งข้าวเจ้ากับนํ้าตาลทราย รูปสี่เหลี่ยม เนื้อคล้ายขนมถ้วยฟู; ของกินชนิดหนึ่งของจีน ทําด้วยแป้งสาลีตัดเป็นท่อน ๆ แล้วจับเป็นคู่ติดกัน ทอดนํ้ามัน ให้พอง, คนจีนเรียกว่า อิ้วจาก๊วย.
  39. ปาว ๆ : ว. อาการที่พูดดัง ๆ ซ้ำ ๆ ซาก ๆ แต่ไม่มีใครสนใจฟัง เช่น ครูสอนอยู่ปาว ๆ มีคนมาตะโกนเรียกอยู่ปาว ๆ.
  40. ปาหุไณยบุคคล : น. คนผู้ควรได้รับของต้อนรับแขก. (ป.).
  41. ปิดประตูตีแมว : (สํา) ก. รังแกคนไม่มีทางสู้และไม่มีทางหนีรอดไปได้.
  42. ปุถุชน : น. คนที่ยังมีกิเลสหนา, สามัญชน, ผู้ที่มิได้เป็นพระอริยบุคคล. (ป. ปุถุชฺชน; ส. ปฺฤถคฺชน).
  43. ปู่เจ้า : น. ผู้เฒ่าที่คนเคารพนับถือ, เจ้าปู่ ก็ว่า; เทพารักษ์ เช่น เขาใส่สมญาเรา ปู่เจ้า. (ลอ).
  44. ปูน ๒ : น. คราว, รุ่น, เช่น คนมีอายุปูนพ่อปูนแม่. ว. เทียบ, เทียม, ปาน, เปรียบ, เพียง.
  45. ปูเล ๒ : น. วิธีการจับสัตว์น้ำอย่างหนึ่ง โดยใช้ผ้าหนา ๆ ห่อทรายม้วนเป็น ลำยาวแล้วใช้คนประมาณ ๑๐ คนดันผ้าไปตามหาดทรายหรือชาย ตลิ่งตื้น ๆ เพื่อต้อนปลาขึ้นไปบนฝั่ง.
  46. เป็นราย : ว. แต่ละ เช่น เป็นรายหัว เป็นรายคน เป็นรายวัน.
  47. เปรต, เปรต- : [เปฺรด, เปฺรดตะ-] น. สัตว์พวกหนึ่งเกิดในอบายภูมิ คือ แดนทุกข์, ผีเลวจําพวกหนึ่ง มีหลายชนิด ชนิดหนึ่งตามที่ว่ากันว่ามีรูปร่าง สูงโย่งเย่งเท่าต้นตาล ผมยาวหยอกหยอย คอยาว ผอมโซ มีปาก เท่ารูเข็ม มือเท่าใบตาล กินแต่เลือดและหนองเป็นอาหาร มักร้อง เสียงดังวี้ด ๆ ในตอนกลางคืน; คําเรียกเป็นเชิงด่าหรือปรามาส คนที่อดอยากผอมโซ เที่ยวรบกวนขอเขากิน หรือเมื่อมีใครได้ โชคลาภก็เข้ามาขอแบ่งปันเป็นอย่างขอแบ่งส่วนบุญหรือใน ทํานองเช่นนั้น ว่า เปรต หรือ อ้ายเปรต. (ส.; ป. เปต).
  48. เปรียว : [เปฺรียว] ว. ไม่เชื่อง, ว่องไว, (ใช้แก่สัตว์บางชนิดเช่นนกหรือไก่ เป็นต้นที่ไม่คุ้นคน), โดยปริยายใช้แก่สิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึง เช่นนั้น; เพรียว.
  49. เปรี้ยว : [เปฺรี้ยว] ว. มีรสอย่างหนึ่งอย่างรสมะนาวเป็นต้น, มีกลิ่นหรือรส ออย่างาหารบูดหรืออาหารเสีย; (ปาก) มีลักษณะปราดเปรียว ทันสมัย อิสระ มั่นใจ ชอบการคบหาสมาคม (ใช้แก่ผู้หญิง) เช่น ผู้หญิงคนนี้เปรี้ยว, เรียกลักษณะการแต่งกายของผู้หญิงที่แต่งตัว สีฉูดฉาด รัดรูป เป็นต้นว่า แต่งตัวเปรี้ยว.
  50. เปล : [เปฺล] น. เครื่องสําหรับนอน ใช้ไกวหรือโยก, เครื่องสําหรับ นอนเล่นแกว่งไกวไปมาได้, เครื่องสําหรับหามคนเจ็บ; เรียก ภาชนะบางอย่างที่มีรูปลักษณะอย่างเปล เช่น ชามเปล.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | [701-750] | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1637

(0.0558 sec)