Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: อย่างรวดเร็ว, รวดเร็ว, อย่าง , then รวดเร็ว, อยาง, อย่าง, อยางรวดรว, อย่างรวดเร็ว .

Royal Institute Thai-Thai Dict : อย่างรวดเร็ว, 2418 found, display 101-150
  1. ตรีญาณรส : [-ยานนะรด] น. รสสําหรับรู้ ๓ อย่าง คือ ไส้หมาก รากสะเดา เถา บอระเพ็ด.
  2. ตรีทิพยรส : [-ทิบพะยะรด] น. รสทิพย์ ๓ อย่าง คือ โกฐกระดูก เนื้อไม้ อบเชยไทย.
  3. ตรีทุรวสา : น. ของแก้มันเหลวเสีย ๓ อย่าง คือ เมล็ดโหระพา ผลกระวาน ผลราชดัด.
  4. ตรีธารทิพย์ : น. ของทิพย์ที่ทน ๓ อย่าง คือ รากไทรย้อย รากราชพฤกษ์ ราก มะขามเทศ.
  5. ตรีปิตผล : [-ปิตะผน] น. ผลแก้ดี ๓ อย่าง คือ เจตมูลเพลิงเทศ ผักแพวแดง รากกะเพรา.
  6. ตรีผลธาตุ : น. ผลแก้ธาตุ ๓ อย่าง คือ กะทือ ไพล รากตะไคร้.
  7. ตรีผลสมุตถาน : [-สะหฺมุดถาน] น. ที่เกิดแห่งผล ๓ อย่าง คือ ผลมะตูม ผลยอ ผลผักชีลา.
  8. ตรีพิษจักร : [-พิดสะจัก] น. จักรพิษ ๓ อย่าง คือ กานพลู ผักชีล้อม ผลจันทน์เทศ.
  9. ตรีเพชรสมคุณ : [-เพ็ดสะมะคุน] น. คุณเสมอเพชร ๓ อย่าง คือ ว่านหางจระเข้ ฝักราชพฤกษ์ รงทอง.
  10. ตรีมธุระ : [-มะทุระ] น. ของมีรสดี ๓ อย่าง คือ นํ้าตาล นํ้าผึ้ง นํ้ามันเนย.
  11. ตรีวาตผล : [-วาตะผน] น. ผลแก้ลม ๓ อย่าง คือ ผลสะค้าน รากพริกไทย ข่า.
  12. ตรีสมอ : น. สมอ ๓ อย่าง คือ สมอไทย สมอพิเภก สมอเทศ.
  13. ตรีสมุตถาน : [-สะหฺมุดถาน] น. สมุตถาน ๓ อย่าง คือ ดี เสมหะ ลม.
  14. ตรีสัตกุลา : [-สัดตะ-] น. ตระกูลอันสามารถ ๓ อย่าง คือ เทียนดํา ผักชีลา ขิงสด.
  15. ตรีสันนิบาตผล : น. ผลแก้สันนิบาต ๓ อย่าง คือ ผลดีปลี รากกะเพรา ราก พริกไทย.
  16. ตรีสาร : น. แก่น ๓ อย่าง คือ แสมสาร แสมทะเล ขี้เหล็ก, หรืออีกอย่างหนึ่ง รส ๓ อย่าง เป็นคําแพทย์ใช้ในตํารายาไทย ประสงค์เอา เจตมูลเพลิง สะค้าน ช้าพลู. (ส.).
  17. ตรีสินธุรส : น. รสนํ้า ๓ อย่าง คือ รากมะตูม เทียนขาว นํ้าตาลกรวด.
  18. ตรีสุคนธ์ : น. กลิ่นหอม ๓ อย่าง คือ ใบกระวาน อบเชยเทศ รากพิมเสน.
  19. ตรีสุรผล : น. ยามีผลกล้า ๓ อย่าง คือ สมุลแว้ง เนื้อไม้ เทพทาโร.
  20. ตรีเสมหผล : น. ผลแก้เสมหะ ๓ อย่าง คือ ผลช้าพลู รากดีปลี รากมะกลํ่า.
  21. ตรีอมฤต : [-อะมะริด, -อะมะรึด] น. ของไม่ตาย ๓ อย่าง คือ รากกล้วยตีบ รากกระดอม มะกอก.
  22. ตรีอากาศผล : น. ผลแก้อากาศธาตุ ๓ อย่าง คือ ขิง กระลําพัก อบเชยเทศ.
  23. ถ่มร้าย : น. รอยบุ๋มที่ตะโพกทั้ง ๒ ข้าง ถือว่าเป็นลักษณะไม่ดี สําหรับหญิง ๑ ใน ๓ อย่าง คือ สีจัก ยักหล่ม ถ่มร้าย, มักใช้เข้าคู่ กับคำ ยักหล่ม เป็น ยักหล่มถ่มร้าย.
  24. ทวัตดึงสาการ : (แบบ) น. อาการของร่างกาย ๓๒ อย่าง มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เป็นต้น.
  25. ทั้ง...กับ, ทั้ง...และ : สัน. รวมทั้ง ๒ อย่าง เช่น ทั้งผักกับผลไม้ล้วนน่ากิน ทั้งผักและผลไม้ล้วนน่ากิน.
  26. เทวสุคนธ์ : น. กลิ่นหอม ๒ อย่าง คือ กลิ่นที่เกิดจากรากบุนนาค และรากมะซาง.
  27. ธรรมปฏิสัมภิทา : น. ปฏิสัมภิทา ๑ ใน ๔ อย่าง คือ ๑. อรรถปฏิสัมภิทา ๒. ธรรมปฏิสัมภิทา ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา หมายถึง ปัญญาอันแตกฉานในธรรม คือ ความเข้าใจสาวหาเหตุในหนหลัง, ความ เข้าใจถือเอาใจความแห่งอธิบายนั้น ๆ ตั้งเป็นกระทู้หรือหัวข้อขึ้นได้. (ป.).
  28. ธัญชาติ : น. คํารวมเรียกข้าวต่าง ๆ เช่น ข้าวเปลือก ข้าวสาลี, ในคัมภีร์ อภิธานัปปทีปิกาว่ามี ๗ อย่าง คือ ๑. ข้าวไม่มีแกลบ ๒. ข้าวเปลือก ๓. หญ้ากับแก้ ๔. ข้าวละมาน ๕. ลูกเดือย ๖. ข้าวแดง ๗. ข้าวฟ่าง.
  29. ธุดงคญ, ธุดงค์ : น. องค์คุณเครื่องกําจัดกิเลส, ชื่อวัตรปฏิบัติอย่างเคร่งครัดของภิกษุ มี ๑๓ อย่าง เช่น การอยู่ในป่า การอยู่โคนไม้. (ป. ธูตงฺค).
  30. ธุร-, ธุระ : [ทุระ] น. หน้าที่การงานที่พึงกระทํา, กิจในพระศาสนา มี ๒ อย่าง คือ การเล่าเรียน เรียกว่า คันถธุระ และ การปฏิบัติทางใจ เรียกว่า วิปัสสนาธุระ; (ปาก) เรื่องส่วนตัว เช่น ไม่ใช่ธุระของคุณ. (ป., ส.).
  31. นพเก้า : [นบพะ] น. ชื่อแหวนฝังพลอย ๙ อย่าง ทําเป็นยอดก็มี ฝัง รอบวงแหวนก็มี สําหรับสวมในการมงคล; ชื่อแกงชนิดหนึ่งมี ลักษณะคล้ายแกงส้ม ปรุงด้วยผักหลายชนิด เช่น ผักกระเฉด ผักบุ้ง ประสมปลาร้า, แกงซั้ว ก็เรียก.
  32. นพรัตน์ : [นบพะ] น. แก้ว ๙ อย่าง คือ เพชร ทับทิม มรกต บุษราคัม โกเมน นิล มุกดา เพทาย ไพฑูรย์, นวรัตน์ หรือ เนาวรัตน์ ก็ว่า. (ส.).
  33. นวรัตน์ : น. นพรัตน์, แก้ว ๙ อย่าง คือ เพชร ทับทิม มรกต บุษราคัม โกเมน นิล มุกดา เพทาย ไพฑูรย์, เนาวรัตน์ ก็ว่า. (ส.).
  34. นิรุตติปฏิสัมภิทา : น. ปฏิสัมภิทา ๑ ใน ๔ อย่าง คือ ๑. อรรถปฏิสัมภิทา ๒. ธรรมปฏิสัมภิทา ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา หมายถึง ปัญญาอันแตกฉาน ในนิรุตติ คือ ความเข้าใจในภาษา รู้จักใช้ถ้อยคำพูดอธิบายให้คนเข้าใจ ตลอดจนรู้ภาษาต่าง ๆ อาจชักนำคนให้เชื่อถือหรือนิยมตามคำพูด, กล่าวสั้น ๆ ว่า เข้าใจพูด. (ป.).
  35. บริขาร : [บอริขาน] น. เครื่องใช้สอยของพระภิกษุในพระพุทธศาสนา มี ๘ อย่าง คือ สบง จีวร สังฆาฏิ บาตร มีดโกนหรือมีดตัดเล็บ เข็ม ประคดเอว กระบอก กรองนํ้า (ธมกรก) เรียกว่า อัฐบริขาร, สมณบริขาร ก็เรียก. (ป. ปริกฺขาร).
  36. บารมี : [-ระมี] น. คุณความดีที่ควรบําเพ็ญมี ๑๐ อย่าง คือ ทาน ศีล เนกขัมมะ (การออกจากกาม คือ บวช) ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิฏฐาน เมตตา อุเบกขา เรียกว่า ทศบารมี; คุณความดีที่ ได้บําเพ็ญมา, คุณสมบัติที่ทําให้ยิ่งใหญ่, เช่นว่า ชมพระบารมี พระบารมีปกเกล้าฯ พ่ายแพ้แก่บารมี. (ป. ปารมี).
  37. เบญจกูล : น. เครื่องยา ๕ อย่าง คือ ขิง ดีปลี ช้าพลู สะค้าน เจตมูล เพลิง. (ส. ปญฺจโกล).
  38. เบญจโครส : [-โค-รด] น. นมโค ๕ อย่าง คือ นมสด นมส้ม เนยใส เนยข้น เปรียง. (ป.).
  39. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา : [ปะติพานะ-] น. ปฏิสัมภิทา ๑ ใน ๔ อย่าง คือ ๑. อรรถปฏิสัมภิทา ๒. ธรรมปฏิสัมภิทา ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา หมายถึง ปัญญาอันแตกฉานในปฏิภาณ คือ ความเข้าใจทำให้สามารถแก้ไขเหตุการณ์ได้ในเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน หรือกล่าวโต้ตอบได้ทันท่วงที. (ป.).
  40. ปฏิสัมภิทา : (แบบ) น. ความแตกฉาน, ปัญญาอันแตกฉาน, มี ๔ อย่าง คือ อรรถปฏิสัมภิทา ธรรมปฏิสัมภิทา นิรุตติปฏิสัมภิทา ปฏิภาณ ปฏิสัมภิทา. (ป.).
  41. ประการ : น. อย่าง เช่น จะทําประการไร, ชนิด เช่น หลายประการ; ทํานอง, แบบ, เช่น ด้วยประการฉะนี้. (ส. ปฺรการ; ป. ปการ).
  42. ประธาน ๓ : น. ความเพียร มี ๔ อย่าง คือ ๑. สังวรประธาน เพียรระวังไม่ให้บาป เกิดขึ้นในสันดาน ๒. ปหานประธาน เพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว ๓. ภาวนาประธาน เพียรให้กุศลเกิดขึ้นในสันดาน ๔. อนุรักขนา ประธาน เพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้วไม่ให้เสื่อม. (ส. ปฺรธาน; ป. ปธาน).
  43. ประเภท : [ปฺระเพด] น. ส่วนที่แบ่งย่อยออกไปเป็นพวก จําพวก ชนิด หมู่ เหล่า อย่าง แผนก เป็นต้น. (ส. ปฺรเภท; ป. ปเภท).
  44. ปัจจัย : น. เหตุอันเป็นทางให้เกิดผล, หนทาง, เช่น การศึกษาเป็นปัจจัย ให้เกิดความรู้ความสามารถ, องค์ประกอบ, ส่วนประกอบ, เช่น ปัจจัยในการผลิต, คำ ''ปัจจัย'' กับ คํา ''เหตุ'' มักใช้แทนกันได้; เครื่องอาศัยยังชีพ, เครื่องอาศัยเลี้ยงชีวิตของบรรพชิตใน พระพุทธศาสนา ๔ อย่าง คือ จีวร (ผ้านุ่งห่ม) บิณฑบาต (อาหาร) เสนาสนะ (ที่อยู่) คิลานเภสัช (ยา) รวมเรียกว่า จตุปัจจัย คือ ปัจจัย ๔, คือ ปัจจัย ๔, โดยปริยายหมายถึงเงินตราก็ได้ (มักใช้ แก่ภิกษุสามเณร); (ไว)ส่วนเติมท้ายธาตุหรือศัพท์เพื่อแสดง ความหมายเป็นต้น. (ป.).
  45. ปาฏิหาริย์ : [-ติหาน] น. สิ่งที่น่าอัศจรรย์, ความอัศจรรย์, มี ๓ อย่าง คือ ๑. อิทธิปาฏิหาริย์ = ฤทธิ์เป็นอัศจรรย์ หมายถึง การแสดงฤทธิ์ ที่พ้นวิสัยของสามัญมนุษย์ได้อย่างน่าอัศจรรย์ ๒. อาเทสนา ปาฏิหาริย์ = การดักใจเป็นอัศจรรย์ หมายถึง การดักใจทายใจคน ได้อย่างน่าอัศจรรย์ ๓. อนุสาสนีปาฏิหาริย์ = การสอนเป็น อัศจรรย์ หมายถึง คำสั่งสอนอันอาจจูงใจคนให้นิยมเชื่อถือไป ตามได้อย่างน่าอัศจรรย์. (ปาก) ก. กระทำสิ่งที่ตามปรกติทำไม่ได้ เช่น ปาฏิหาริย์ขึ้นไปอยู่บนหลังคา. (ป.).
  46. โป๊ยเซียน ๒ : น. ชื่ออาหารอย่างหนึ่ง ใช้ปลาหมึกสด เนื้อไก่ กุ้ง และเครื่องใน หมูอีก ๕ อย่าง คือ หัวใจ เซ่งจี๊ ไส้ตัน ตับ และกระเพาะ ผัดรวม กับถั่วงอก ใบขึ้นฉ่าย ปรุงรสด้วยซีอิ๊วขาวและน้ำมันหอย.
  47. ผัสสาหาร : น. อาหารคือผัสสะ หมายเอาการประจวบกันแห่ง อายตนะภายใน อายตนะภายนอก และวิญญาณ เป็นปัจจัยแห่ง เจตสิกอันจะพึงเกิดโดยวิถีมีเวทนาเป็นต้น เป็นประการหนึ่ง ในอาหารทั้ง ๔ (อีก ๓ อย่าง คือ กวลิงการาหาร อาหารคือ คําข้าว ๑ มโนสัญเจตนาหาร อาหารคือมโนสัญเจตนา ๑ และ วิญญาณาหาร อาหารคือวิญญาณ ๑). (ป.).
  48. ฝีจัก : น. ขวัญที่แสกหน้า ถือว่าเป็นลักษณะไม่ดีสําหรับหญิง ๑ ใน ๓ อย่าง คือ ฝีจัก ยักหล่มถ่มร้าย, สีจัก ก็ว่า.
  49. พลี ๑ : [พะลี] น. การบวงสรวง, เครื่องบวงสรวง, ส่วย, การบูชา, (ตาม แบบมี ๕ คือ ญาติพลี สงเคราะห์ญาติ, อติถิพลี ต้อนรับแขก, เปตพลี ทําบุญอุทิศให้ผู้ตาย, ราชพลี ถวายเป็นหลวง มีเสียภาษี อากรเป็นต้น, เทวตาพลี ทําบุญอุทิศให้เทวดา, และแบ่งเป็น ๒ อย่าง คือ ธรรมพลี อุทิศกุศลให้ และ อามิสพลี ให้สิ่งของ). (ป., ส. พลิ ว่า เครื่องบวงสรวง).
  50. โภชนะห้า : [โพชะนะห้า] น. ข้าว ๕ อย่าง คือ ข้าวสุก (ข้าวมัน หรือ ข้าวผัด ก็นับเข้า) ขนมสด (ขนมที่จะบูดเมื่อล่วงเวลาแล้ว เช่น แป้งจี่ ขนมด้วง ขนม ครก) ขนมแห้ง (ที่ไม่บูด เช่น จันอับ ขนมปัง) ปลา (รวมทั้งหอย กุ้ง และ สัตว์นํ้าเหล่าอื่นที่ใช้เป็นอาหาร) เนื้อ (เนื้อของสัตว์บกและนกที่ใช้เป็น อาหาร).
  51. 1-50 | 51-100 | [101-150] | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2418

(0.0938 sec)