Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: อย่างรวดเร็ว, รวดเร็ว, อย่าง , then รวดเร็ว, อยาง, อย่าง, อยางรวดรว, อย่างรวดเร็ว .

Royal Institute Thai-Thai Dict : อย่างรวดเร็ว, 2418 found, display 1051-1100
  1. ทาสทาน : [ทาดสะ-] น. ทานอย่างเลว คือ อาการที่โยนให้หรือให้ โดยไม่เต็มใจ. (ป., ส.).
  2. ทำได้, ทำได้ลงคอ : ก. ทําอย่างไม่เกรงใจ.
  3. ทำท่า : ก. แสดงกิริยาหรืออาการอย่างใดอย่างหนึ่ง.
  4. ทำนอง : น. ทาง, แบบ, แบบอย่าง, เช่น ทํานองคลองธรรม ทํานองเดียวกัน; ระเบียบเสียงสูงตํ่าซึ่งมีจังหวะสั้นยาว เช่น ทํานองสวด ทํานองเทศน์ ทํานองเพลง.
  5. ทำนองเสนาะ : น. วิธีการอ่านออกเสียงอย่างไพเราะตามลีลาของ บทร้อยกรองประเภทโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน.
  6. ทำไม : ว. เพราะเหตุไร, เพราะอะไร, เพื่ออะไร. ก. ทําอะไร เช่น ฉันจะทํา อย่างนี้ ใครจะทําไม.
  7. ทำลิง : ก. ทําอาการซุกซนอย่างลิงอย่างค่าง, ทําลิงทําค่าง ก็ว่า.
  8. ทิ้งกระจาด : น. ประเพณีทางศาสนาอย่างหนึ่งของจีน โดยนำอาหาร ข้าวสาร และเงินใส่กระจาดเล็ก ๆ ทิ้งให้คนยากจนแย่งกันแบบโปรย ทานต่อมาใช้ทิ้งติ้วหรือสลากสำหรับนำไปขึ้นของแทน.
  9. ทิ้งทวน : (ปาก) ก. ทําอย่างไว้ฝีมือ, ทําจนสุดความสามารถ, ไม่ทํา อีกต่อไป; ปล่อยฝีมือฝีปากเป็นครั้งสุดท้ายก่อนจะเลิกไป; ฉวย โอกาสทําเป็นครั้งสุดท้ายก่อนจะหมดอํานาจ.
  10. ทิ้งมะพร้าวห้าว : น. ท่ากระโดดนํ้าอย่างหนึ่ง เวลากระโดดงอเข่า ทั้ง ๒ ขึ้นมา แล้วเอามือทั้ง ๒ รวบเข่า ทิ้งก้นลงไป, มัดหมู ก็ว่า.
  11. ทิฏฐานุคติ : (แบบ) น. แบบอย่าง. (ป. ทิฏฺ?านุคติ ว่า ดําเนินตามสิ่งที่ปรากฏ).
  12. ทิพจักขุ : [ทิบพะจักขุ] น. ตาทิพย์ คือ จะดูอะไรเห็นได้ทั้งหมด, เป็นอภิญญาอย่าง ๑ ในอภิญญา ๖. (ป. ทิพฺพจกฺขุ; ส. ทิพฺยจกฺษุ).
  13. ทิพยจักษุ : [ทิบพะยะจักสุ] น. ตาทิพย์ คือ จะดูอะไรเห็นได้ทั้งหมด, เป็นอภิญญาอย่าง ๑ ในอภิญญา ๖. (ส. ทิพฺยจกฺษุ; ป. ทิพฺพจกฺขุ).
  14. ทิพย-, ทิพย์ : [ทิบพะยะ-, ทิบ] ว. เป็นของเทวดา เช่น อาหารทิพย์, ดีวิเศษอย่าง เทวดา เช่น ตาทิพย์ หูทิพย์, ดีวิเศษเหนือปรกติธรรมดา เช่น เนื้อทิพย์, ใช้ว่า ทิพ ก็มี. (ส. ทิวฺย; ป. ทิพฺพ).
  15. ทิพยพยาน : น. พยานที่ศักดิ์สิทธิ์, พยานที่เชื่อถือได้อย่างมั่นคง.
  16. ทิพยโศรตร : [ทิบพะโสด, ทิบพะยะโสด] น. หูทิพย์ คือ จะฟังอะไร ได้ยินทั้งหมด, เป็นอภิญญาอย่าง ๑ ในอภิญญา ๖. (ส. ทิพฺยโศฺรตฺร; ป. ทิพฺพโสต).
  17. ทิพโสต : [ทิบพะโสด] น. หูทิพย์ คือ จะฟังอะไรได้ยินทั้งหมด, เป็นอภิญญาอย่าง ๑ ในอภิญญา ๖. (ป. ทิพฺพโสต; ส. ทิพฺยโศฺรตฺร).
  18. ทีเด็ด : น. ชั้นเชิงที่สามารถเอาชนะอีกฝ่ายหนึ่งได้อย่างเด็ดขาด.
  19. ทึก ๑, ทึกทัก : ก. ตู่เอาเป็นของตัว, ถือเอาเป็นจริงเป็นจัง, เหมาเอาว่าเป็นอย่างนั้น อย่างนี้.
  20. ทุ ๑ : ว. คําอุปสรรคในภาษาบาลีและสันสกฤต แปลว่า ชั่ว, ยาก, ลําบาก, เลว, ทราม, เช่น ทุจริต ว่า ความประพฤติชั่ว, ทุกร ว่า ทําได้โดยยาก, ทุปปัญญา ว่า ปัญญาทราม เป็นต้น. (ดู ทุร ประกอบ). (ป., ส. เดิม เป็น ทุสฺ), ทุ นี้เมื่ออยู่หน้าคําอื่นตามหลักไวยากรณ์ภาษาบาลีและ สันสกฤต กําหนดให้เติมตัวสะกดลงตัวหนึ่งเพื่อให้เท่าของเดิม เช่น ทุ + คติ เป็น ทุคคติ, ทุ + จริต เป็น ทุจจริต, ตัวสะกดนั้นดูพยัญชนะ คําหลังเป็นเกณฑ์ ถ้าพยัญชนะวรรคคําหลังเป็นอักษรสูงหรืออักษร กลางก็ใช้พยัญชนะที่ ๑ แห่งวรรคนั้นสะกด เช่น ทุ + กร เป็น ทุกกร, ทุ + ข เป็น ทุกข, ถ้าเป็นพยัญชนะวรรคคำหลังเป็นอักษรต่ำ ก็ใช้พยัญชนะที่ ๓ แห่งวรรคนั้นสะกด เช่น ทุ + คติ เป็น ทุคคติ, ทุ + ภาษิต เป็น ทุพภาษิต, อีกอย่างหนึ่งว่า ถ้าพยัญชนะคําหลังเป็น อักษรตํ่า ก็ใช้เติม ร แทนตัวสะกดได้ทุกวรรค เช่น ทุรชน ทุรพล ทุรภิกษ์ ทุรยศ ทุรลักษณ์, หรือเอาสระ อุ ออกเสียก็มี เช่น ทรชน ทรพล ทรพิษ ทรยศ ทรลักษณ์, ในวิธีหลังนี้บางมติว่า เอา อุ เป็น ร (ใช้ไปถึงคํา ทรกรรม ด้วย) และเมื่ออยู่หน้าสระก็เติม ร เช่น ทุ + อาจาร เป็น ทุราจาร, ทุ + อาธวา เป็น ทุราธวา.
  21. ทุกนิบาต : น. ชื่อคัมภีร์ในพระพุทธศาสนาที่กําหนดด้วยธรรม หรือคาถาที่แบ่งหมวดอย่างละ ๒. (ป.).
  22. ทุกูล : (แบบ) น. ผ้าอย่างดี, มักใช้ว่า ผ้าทุกูลพัสตร์. (ป., ส.).
  23. ทุ่มเถียง : ก. เถียงกันรุนแรงอย่างทะเลาะ.
  24. ทุ่มเท : ก. ยอมเสียสละให้อย่างล้นเหลือหรือเต็มกําลังความสามารถ เช่น ทุ่มเทเงินทอง ทุ่มเทกําลังความคิด.
  25. ทุย : ว. กลมรีอย่างผลมะตูม; เรียกผลมะพร้าวที่เจริญเติบโตตามปรกติ จนเปลือกแห้ง รูปรี ๆ กะลาลีบ นํ้าหนักเบาเพราะไม่มีเนื้อและนํ้า ว่า มะพร้าวทุย นิยมตัดครึ่งท่อนเพื่อทํากราดวงถูบ้านเป็นต้น; เป็น คําเรียกควายที่มีเขาสั้นหรือหงิกว่า ควายทุย.
  26. ทุลักทุเล : ว. อาการที่เป็นไปอย่างขลุกขลัก ยุ่งยาก วุ่นวาย ไม่เป็นระเบียบ.
  27. เท : ก. ตะแคงหรือเอียงภาชนะเพื่อให้สิ่งที่อยู่ในนั้นไหลลงไปหรือ ออกไป เช่น เทนํ้า เทขยะ, โดยปริยายหมายถึงกิริยาอาการคล้ายคลึง เช่นนั้น เช่น ฝนตกลงมามาก ๆ อย่างเทนํ้า ก็เรียกว่า ฝนเทลงมา, อาการที่คนจํานวนมาก ๆ เคลื่อนไปรวมกันตามแนวเท. ว. เอียงหรือ ตะแคงไปข้างหนึ่ง เช่น เรือเท พื้นเท. น. ชื่อมาตราตวงเหล้า ๑ เท เท่ากับ ๒๐ ทะนาน.
  28. เท้ง ๓ : น. ชื่อเรือชนิดหนึ่ง รูปร่างคล้ายเรือกําปั่น ตอนหัวหนาและงุ้มเป็น ปากนก ท้ายเรือปาดลงเป็นรูปแตงโม มีเสาหัวและเสากลางสําหรับ ชักใบ กลางลํามีเก๋ง ท้ายเรือมีบาหลีรูปกลม และมีแคร่รอบบาหลีท้าย หัวเรือไม่เจาะรูสมอ, ชื่อเรือต่อชนิดหนึ่ง หัวท้ายทู่อย่างเรือที่ใช้หนุน เรือนแพ.
  29. เทพชุมนุม : [เทบ-] น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง. (จารึกวัดโพธิ์); ชื่อ ภาพเขียนรูปเทวดานั่งประนมมือเรียงกันเป็นแถวตั้งแต่ ๕ ตน ขึ้นไปตามฝาผนังในพระอุโบสถหรือหอพระ จะมีหน้าเดียว หรือ ๔ หน้าอย่างหน้าพรหมก็ได้.
  30. เทริด : [เซิด] น. เครื่องประดับศีรษะ รูปมงกุฎอย่างเตี้ย มีกรอบหน้า. (รูปภาพ เทริด)
  31. เทศน์, เทศนา : [เทด, เทสะนา, เทดสะหฺนา] น. การแสดงธรรมสั่งสอนในทาง ศาสนา. ก. แสดงธรรม เช่น พระเทศน์, (ปาก) โดยปริยาย หมายความว่า ดุด่าว่ากล่าวอย่างยืดยาว เช่น วันนี้ถูกเทศน์ เสียหลายกัณฑ์. (ป. เทสนา).
  32. เทา ๓ : ว. สีหม่น ๆ อย่างสีขี้เถ้า เรียกว่า สีเทา.
  33. เทา ๔ : ก. ยอบตัวลง, หมอบลง, คุกเข่า. ว. มีอาการสั่นรัว ๆ อย่างคน เป็นไข้ เรียกว่า สั่นเทา.
  34. เทิ่ง : ว. ที่ปรากฏชัดหรือเห็นได้อย่างชัดแจ้ง เช่น เดินเทิ่ง ๆ แบกของ มาเทิ่ง ๆ.
  35. เทียมรถ เทียมแอก. : ว. ทําเอาอย่างให้เหมือนหรือคล้ายของจริงของแท้ เช่น ทําเทียม ของเทียม ฝนเทียม ดาวเทียม; เสมอกัน, เท่ากัน, เช่น สูงเทียมเมฆ.
  36. เทียว ๒ : ว. คําที่ใช้ประกอบกริยาหรือวิเศษณ์ เพื่อบังคับหรือเน้นความให้มี ความหมายหนักแน่นยิ่งขึ้น มีความหมายอย่างเดียวกับ ทีเดียว, เชียว, เช่น มาให้ได้เทียวนะ อย่าบอกใครเทียวนะ หมู่นี้เงียบไปเทียวไม่เห็น มาหาบ้างเลย.
  37. แทงวิสัย : น. การเล่นอย่างหนึ่ง แต่งตัวคล้ายเซี่ยวกางถือหอกแทงกัน; ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง. (เงาะป่า).
  38. แท้ที่จริง : ว. คําขึ้นต้นประโยคหรือข้อความแสดงถึงความที่ถูกที่ควร มีความหมายอย่างเดียวกับ ที่จริง อันที่จริง ตามที่จริง.
  39. แทนที่จะ : สัน. ใช้ในความที่ขัดแย้งกัน เช่น แทนที่จะเขียนอย่างนั้น เขากลับเขียนอย่างนี้.
  40. แทรกเตอร์ : [แทฺรก-] น. รถทุ่นแรง ใช้ลากหรือขับเคลื่อนอุปกรณ์อย่างอื่นที่ติด เข้าไปกับตัวรถตามลักษณะงานที่ใช้ มี ๒ แบบ คือ แบบตีนตะขาบ และแบบล้อ ซึ่งมีล้อหลังใหญ่กว่าล้อหน้า. (อ. tractor).
  41. โทณะ : (แบบ) น. ทะนาน, กะละออม, เครื่องตวงอย่างหนึ่ง = ๔ อาฬหก. (ป.).
  42. ไทยนับสาม, ไทยนับห้า : น. ชื่อวิธีเขียนหนังสือลับอย่างโบราณ เมื่อจะอ่านต้องนับอ่านตัวที่ ๓ หรือที่ ๕ ฯลฯ ตามชื่อ.
  43. ไทยหลง : น. วิธีเขียนหนังสือลับของโบราณอย่างหนึ่ง.
  44. ธง : น. ผืนผ้าโดยมากเป็นสีและบางอย่างมีลวดลายเป็นรูปต่าง ๆ ที่ทําด้วย กระดาษและสิ่งอื่น ๆ ก็มี สําหรับ (๑) ใช้เป็นเครื่องหมายบอกชาติ ตําแหน่งในราชการ โดยมีกําหนดกฎเกณฑ์เป็นต้น เช่น ธงชาติ ธงแม่ทัพ นายกอง. (๒) ใช้เป็นเครื่องหมายตามแบบสากลนิยม เช่น ธงกาชาด บอก ที่ตั้งกองบรรเทาทุกข์, ธงขาว บอกความจํานนขอหย่าศึกหรือยอมแพ้, ธงเหลือง บอกเป็นเรือพยาบาลคนป่วยหรือเรือที่มีโรคติดต่ออันตราย, ธงแดง บอกเหตุการณ์อันเป็นภัย. (๓) ใช้เป็นเครื่องหมายเรือเดินทะเล คณะ สมาคม อาคารการค้า และอื่น ๆ. (๔) ใช้เป็นอาณัติสัญญาณ. (๕) ใช้เป็นเครื่องตกแต่งสถานที่ในงานรื่นเริงหรือถือเข้ากระบวนแห่ เป็นต้น; ชื่อดาวหมู่หนึ่งตามที่กล่าวว่า โน่นดาวธงตรงหน้าอาชาไนย. (อภัย); ชื่อคันเบ็ดที่ปักประจําล่อปลา, กิริยาที่เอาเบ็ดนั้นไปปักเรียกว่า ธง; ข้อความที่อธิบายนําไว้เป็นตัวอย่าง.
  45. ธงฉาน : (กฎ) น. ธงที่มีลักษณะอย่างเดียวกับธงชาติ แต่ตรงกลางของผืนธง มีรูปจักร ๘ แฉกแฉกของจักรเวียนไปทางซ้ายและมีสมอสอดวงจักรภายใต้ พระมหามงกุฎ รูปเหล่านี้เป็นสีเหลือง เป็นธงที่ใช้ในเรือพระที่นั่งและเรือ หลวง หรือเป็นธงสําหรับหน่วยทหารเรือที่ยกพลขึ้นบก ซึ่งหน่วยทหารนั้น ไม่ได้รับพระราชทานธงชัยเฉลิมพล; (โบ) ธงนํากระบวนกองชนะ มี ลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม.
  46. ธงชัย ๒ : น. กาลโยคอย่างหนึ่งในโหราศาสตร์ คือ เวลาประกอบด้วยโชคคราวชนะ เข้าไปถึงที่ซึ่งศัตรูจะตั้งอยู่ไม่ได้.
  47. ธงชาติ ๒, ธงชาติไทย : (กฎ) น. ธงที่มีความหมายถึงประเทศไทยและ ชาติไทย มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง ๖ ส่วน ยาว ๙ ส่วน ด้านกว้างแบ่งเป็น ๕ แถบตลอดความยาวของผืนธง ตรงกลางเป็นแถบ สีนํ้าเงินแก่ กว้าง ๒ ส่วน ต่อจากแถบสีนํ้าเงินแก่ออกไปทั้ง ๒ ข้างเป็น แถบสีขาวกว้างข้างละ ๑ ส่วน ต่อจากแถบสีขาวออกไปทั้ง ๒ ข้างเป็น แถบสีแดงกว้างข้างละ ๑ ส่วน ธงชาตินี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ''ธงไตรรงค์''.
  48. ธงบรมราชวงศ์น้อย : (กฎ) น. ธงสําหรับองค์สมเด็จพระบรมราชชนนี แบ่งตามความยาวออกเป็น ๒ ตอน ตอนต้นมีลักษณะและสีอย่างเดียว กับตอนต้นของธงบรมราชวงศ์ใหญ่แต่กว้างไม่เกิน ๖๐ เซนติเมตร ตอนปลายมีลักษณะเป็นชายต่อสีแดงแปลงเป็นรูปธงยาวเรียว โดยให้ ปลายสุดกว้างครึ่งหนึ่งของธงตอนต้น ปลายธงตัดเป็นแฉกรูปหางนก แซงแซว ลึก ๓ ใน ๘ ส่วนของความยาวของผืนธง ความยาวของผืนธง เป็น ๘ เท่าของความกว้างของตอนต้น ธงนี้ถ้าชักขึ้นแทนธงบรมราชวงศ์ ใหญ่ หมายความว่า โปรดเกล้าฯ ให้งดการยิงสลุตถวายคํานับ.
  49. ธงมหาราชน้อย : (กฎ) น. ธงสําหรับองค์พระมหากษัตริย์ แบ่งตามความ ยาวออกเป็น ๒ ตอน ตอนต้นมีลักษณะและสีอย่างเดียวกับธงมหาราชใหญ่ แต่กว้างไม่เกิน ๖๐ เซนติเมตร ตอนปลายมีลักษณะเป็นชายต่อสีขาวแปลง เป็นรูปธงยาวเรียวโดยให้ปลายสุดกว้างครึ่งหนึ่งของตอนต้น ปลายธงตัด เป็นแฉกรูปหางนกแซงแซว ลึก ๓ ใน ๘ ส่วนของความยาวของผืนธง ความยาวของผืนธงเป็น ๘ เท่าของความกว้างของตอนต้น ธงนี้ถ้าชักขึ้น แทนธงมหาราชใหญ่ หมายความว่า ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้งด การยิงสลุตถวายคํานับ.
  50. ธงเยาวราชน้อย : (กฎ) น. ธงสําหรับองค์สมเด็จพระยุพราช แบ่งความยาว ออกเป็น ๒ ตอน ตอนต้นมีลักษณะและสีอย่างเดียวกับธงเยาวราชใหญ่ แต่ กว้างไม่เกิน ๖๐ เซนติเมตร ตอนปลายมีลักษณะเป็นชายต่อสีขาวแปลงเป็น รูปธงยาวเรียวโดยให้ปลายสุดกว้างครึ่งหนึ่งของตอนต้น ปลายธงตัดเป็น แฉกรูปหางนกแซงแซว ลึก ๓ ใน ๘ ส่วนของความยาวของผืนธง ความยาว ของผืนธงเป็น ๘ เท่าของความกว้างของตอนต้น ธงนี้ถ้าชักขึ้นแทนธง เยาวราชใหญ่ หมายความว่า โปรดเกล้าฯ ให้งดการยิงสลุตถวายคํานับ.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | [1051-1100] | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2418

(0.0993 sec)