Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: อย่างรวดเร็ว, รวดเร็ว, อย่าง , then รวดเร็ว, อยาง, อย่าง, อยางรวดรว, อย่างรวดเร็ว .

Royal Institute Thai-Thai Dict : อย่างรวดเร็ว, 2418 found, display 2151-2200
  1. หมายเรียก : (กฎ) น. ในคดีอาญา หมายถึง หมายสั่งให้บุคคลใดบุคคลหนึ่ง มาที่พนักงานสอบสวน หรือมาที่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตํารวจชั้น ผู้ใหญ่ หรือมาศาลเนื่องในการสอบสวน การไต่สวนมูลฟ้อง การพิจารณา คดีหรือการอย่างอื่น ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญา, ในคดีแพ่ง หมายถึง หมายซึ่งศาลออกเรียกบุคคลเข้ามาเป็น คู่ความในคดีแพ่ง หรือเรียกบุคคลมาเป็นพยาน หรือให้ส่งพยานหลักฐาน ให้ศาล; หมายที่นายอําเภอออกเรียกบุคคลที่เป็นทหารกองเกินมาตรวจ เลือกเข้าเป็นทหารกองประจําการ.
  2. หมาหางด้วน : (สํา) น. คนที่ทําอะไรผิดพลาดจนได้รับความอับอายแล้ว ชวนให้ผู้อื่นทําตามโดยยกย่องการกระทํานั้นว่าดี ควรเอาอย่าง.
  3. หมุบหมิบ : ว. อาการที่ริมฝีปากเผยอขึ้นและหุบลงโดยเร็ว, อาการของ ปากที่พูดอย่างไม่ออกเสียง เช่น ทำปากหมุบหมิบ สวดมนต์หมุบหมิบ, ขมุบขมิบ ก็ว่า.
  4. หมุ่ย : ว. เสียงอย่างเสียงฆ้อง, มุย ก็ว่า.
  5. หย็อกหย็อย : ว. มีลักษณะเป็นเส้นหยิก ๆ งอ ๆ อย่างผมเด็กเล็ก ๆ.
  6. หย็อย, หย็อย ๆ : ว. อาการที่เต้นหรือกระโดดเร็ว ๆ เรียก เต้นหย็อย ๆ, อาการที่เคลื่อนไหว น้อย ๆ อย่างเร็ว เช่น วิ่งหย็อย ๆ โบกมือหย็อย ๆ ลมพัดผมปลิวหย็อย ๆ.
  7. หยั่งเสียง : ก. ลองพูดหรือทําอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อฟังความคิดเห็นจาก ผู้อื่นหรือคนจำนวนมาก, ซาวเสียง ก็ว่า.
  8. หยิบยืม : ก. ยืมสิ่งของบางอย่างที่พอหยิบได้.
  9. หยิบหย่ง, หยิบโหย่ง : ว. กรีดกราย, ทำอะไรไม่จริงจัง, ไม่เอาการเอางาน, ไม่ทะมัดทะแมง, เช่น ท่าทางหยิบโหย่งอย่างนี้ จะไปทำมาหากินอะไรได้.
  10. หโยดม : น. ม้าอย่างดี. (ป. หย + อุตฺตม).
  11. หรี่ตา : ก. ทำตาให้หยีลงเพื่อให้แสงสว่างเข้าตาน้อยหรือเพื่อเป็นอาณัติ สัญญาณบางอย่าง.
  12. หรือ : สัน. คําบอกความให้เลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น จะเอาเงินหรือทอง; คําประกอบกับประโยคคําถาม เช่น ไปหรือ.
  13. หรุ่ม ๑ : น. ชื่ออาหารอย่างหนึ่ง ไส้ทําด้วยหมูหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ผัดกับถั่วลิสง หัวหอม และเครื่องปรุง ห่อด้วยไข่โรยฝอยขนาดพอดีคํา.
  14. หลน : [หฺลน] ก. เคี่ยวของบางอย่างเช่นปลาร้าปลาเจ่าให้ละลายและงวดข้น เพื่อปรุงเป็นอาหาร. น. อาหารประเภทเครื่องจิ้มชนิดหนึ่ง ประกอบด้วย กะทิ หัวหอม หมูหรือกุ้งสับ เคี่ยวรวมกันแล้วใส่ปลาร้าหรือเต้าเจี้ยวแห้ง เป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง เรียกชื่อตามนั้น ปรุงรสให้เปรี้ยว เค็ม หวาน เช่น ปลาร้าหลน เต้าเจี้ยวหลน เต้าหู้ยี้หลน ปลากุเลาหลนรับประทานกับ ผักสด.
  15. หลบฉาก : ก. หลบอย่างมีชั้นเชิง (ใช้ในกีฬามวย), โดยปริยายหมายความว่า หลีกหนีไม่ให้พบหน้า.
  16. หลบหลังคา : ก. ปิดหลังคาที่ตรงสันหลังคาให้มิดไม่ให้ฝนรั่วได้. น. เครื่อง มุงที่ใช้ปิดสันหลังคาให้มิดไม่ให้ฝนรั่วได้; วิธีสอยชายผ้าอย่างหนึ่ง.
  17. หลอ : ว. ใช้ประกอบกับคํา เหลือ เป็น เหลือหลอ หมายความว่า หลงเหลืออยู่ เช่น รถชนกันอย่างนี้ จะมีอะไรเหลือหลอเล่า, ถ้าใช้ในความปฏิเสธ หมายความว่า หมดเกลี้ยง เช่น กินเสียจนไม่มีอะไรเหลือหลอ; เรียกฟัน ที่มีช่องว่างระหว่างฟันซึ่งเกิดจากฟันหลุด กร่อน หรือหักจนถึงโคนฟัน เป็นต้น ว่า ฟันหลอ.
  18. หลอด ๑ : [หฺลอด] น. ของกลมยาวขนาดเล็กที่มีรูตลอด เช่น หลอดกาแฟ หลอดแก้ว, โดยปริยายเรียกสิ่งของบางอย่างที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น หลอด ตะเกียง หลอดไฟฟ้า หลอดวิทยุ หลอดนีออน หลอดทดลอง, เรียกแกน ที่มีช่วงกลางคอดคล้ายลูกล้อสำหรับพันด้ายว่า หลอดด้าย, เรียกด้ายที่พัน หลอดเช่นนั้นว่า ด้ายหลอด, ลักษณนามเรียกสิ่งที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น ยาฉีด ๓ หลอด.
  19. หล่อน้ำ : ก. เอาน้ำใส่ภาชนะเพื่อรองรับสิ่งใดสิ่งหนึ่งกันไม่ให้มดขึ้น เช่น หล่อน้ำขาตู้กับข้าว, เอาสิ่งของบางอย่างใส่ไว้ในภาชนะแล้วเอาภาชนะนั้น วางไว้บนอีกภาชนะหนึ่งซึ่งขังน้ำไว้เพื่อกันไม่ให้มดขึ้น เช่น เอาจานขนม ไปวางบนแก้วที่หล่อน้ำไว้; (โบ) เอาน้ำไปขังไว้ในภาชนะเพื่อใช้ใน พระราชพิธีมูรธาภิเษกเป็นต้น.
  20. หลักเมือง : น. เสาที่ยกตั้งขึ้นเพื่อแสดงว่าจะสร้างเมืองที่ตรงนั้นอย่าง แน่นอน.
  21. หลักสูตร : น. ประมวลวิชาและกิจกรรมต่าง ๆ ที่กําหนดไว้ในการศึกษา เพื่อวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง.
  22. หลัง ๑ : น. ซีกของกายที่ตรงข้ามกับหน้าอก; ด้านที่อยู่ตรงข้ามกับด้านหน้าของ สิ่งใดสิ่งหนึ่ง; ส่วนเบื้องบน เช่น หลังมือ หลังเท้า. ว. อยู่ตรงข้ามกับ ข้างหน้า, ตรงข้ามกับ ก่อน (ใช้แก่เวลาที่ผ่านพ้นไปแล้ว), ในลําดับถัดไป เช่น คนหลัง; ลักษณนามเรียกเรือนหรือสิ่งที่มีลักษณะอย่างเรือนว่า หลัง เช่น เรือนหลังหนึ่ง ศาลา ๒ หลัง.
  23. หลับตา : ก. ปิดกลีบตา, โดยปริยายหมายถึงอาการที่ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ อย่างง่าย ๆ เพราะมีความเคยชินหรือมีความชำนาญมาก เช่น เรื่องอย่างนี้ หลับตาทำก็ได้; อาการที่ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างลวก ๆ ไม่เรียบร้อย เช่น ทำรายงานอย่างกับหลับตาทำ, เดา เช่น หลับตาพูด.
  24. หลับหูหลับตา : ก. อาการที่ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างลวก ๆ โดยไม่พินิจ พิเคราะห์ให้รอบคอบเสียก่อน เช่น รายงานนี้ดูคล้ายกับหลับหูหลับตา ทำ; อาการที่ไม่รับรู้เหตุการณ์ใด ๆ เลย เช่น เรื่องนี้เขารู้กันทั่วบ้าน ทั่วเมืองแล้ว คุณมัวไปหลับหูหลับตาอยู่เสียที่ไหน; อาการที่ต้อง แข็งใจหรือฝืนใจทำ เช่น แม้ว่าอาหารจะไม่อร่อยก็ต้องหลับหูหลับตา กลืนเข้าไป.
  25. หลากหลาย : ว. หลายอย่างต่าง ๆ กัน, หลายหลาก ก็ว่า.
  26. หลายหลาก : ว. หลายอย่างต่าง ๆ กัน, หลากหลาย ก็ว่า.
  27. หลิ่วตา : ก. หรี่ตาลงข้างหนึ่ง เพื่อเล็งดูด้วยตาอีกข้างหนึ่ง, โดยปริยาย หมายถึงให้สัญญาณด้วยอาการเช่นนั้นเพื่อให้ลงมือทําการหรือไม่ทำการ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือเพื่อแสดงอาการล้อเลียนหยอกล้อ.
  28. หลุบลู่ : [หฺลุบ-] ว. ซุบซู่, ซอมซ่อ; ที่ปกลงมาอย่างไม่เรียบร้อย เช่น เสื้อผ้า หลุบลู่เพราะเปียกฝนโชก.
  29. หลุม : [หฺลุม] น. ที่ซึ่งมีลักษณะเป็นบ่อ มักมีขนาดเล็กและตื้น, ที่ซึ่งขุดลงไปใน พื้นดิน มีลักษณะตามต้องการเพื่อวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น หลุมเสา หลุมเผาถ่าน.
  30. หวด ๑ : น. ภาชนะอย่างหนึ่งสําหรับนึ่งของ ทำด้วยดินเผา ไม้ไผ่สาน เป็นต้น.
  31. ห้วน, ห้วน ๆ : ว. สั้น ๆ, ไม่มีหางเสียง, เช่น พูดห้วน ๆ, มีลักษณะที่จบลงอย่างรวบรัด เช่น บทความเรื่องนี้จบลงอย่างห้วน ๆ.
  32. หวย ก ข : น. การพนันอย่างหนึ่ง ที่ออกเป็นตัวหนังสือ คือ ใช้พยัญชนะ ในภาษาไทยตั้งแต่ ก ถึง ฮ เป็นหลัก โดยตัดออกเป็นบางตัว เหลือเพียง ๓๖ ตัว ตัวที่ออกเสียงเหมือนกันจะตั้งชื่อให้ต่างกัน เช่น ข ง่วยโป๊ ฃ เจี่ยมกวย ค หะตั๋ง ฅ เม่งจู ฆ ยิดซัว ทั้งนี้เพราะได้นำวิธีเล่นหวยของจีน มาปรับปรุงใช้, หวย ก็เรียก.
  33. หวัด ๒, หวัด ๆ : ว. ไม่บรรจง เช่น เขียนหวัด, คร่าว ๆ เช่น ร่างภาพอย่างหวัด ๆ, สะเพร่า, ไม่ตั้งใจทําให้เรียบร้อย, เช่น ทํางานหวัด ๆ.
  34. หวาก : ว. เสียงร้องดัง ๆ อย่างเสียงเด็กร้องไห้, ว้าก ก็ว่า.
  35. หวาน ๑ : ว. มีรสอย่างรสนํ้าตาล; เพราะ เช่น หวานหู เสียงหวาน, ชุ่มชื่น, ที่รัก เช่น หวานใจ; น่ารักชวนมอง เช่น หน้าหวาน; อ่อนสดใส ในคำว่า สีหวาน; (ปาก) ที่ทำได้ง่าย, ที่ทำได้สะดวก, เช่น เลขข้อนี้หวานมาก. ก. ชำรุด ไม่กินเกลียวกัน ในคำว่า เกลียวหวาน.
  36. หวานเย็น : น. ของกินเป็นก้อนสี่เหลี่ยม ทำด้วยน้ำหวานหรือน้ำกะทิ เป็นต้น แล้วทำให้แข็งด้วยความเย็น. (ปาก) ว. ที่แล่นไปช้า ๆ อย่างไม่ รีบร้อน (มักใช้แก่รถไฟ รถประจำทาง) เช่น รถไฟขบวนหวานเย็น.
  37. หวิว, หวิว ๆ : ว. มีความรู้สึกที่ดูเหมือนใจจะขาดไป เช่น รู้สึกใจหวิวคล้ายจะเป็นลม, มีความรู้สึกหวาดอย่างใจหาย เช่น ขึ้นไปในที่สูง ๆ ใจมักจะหวิว ๆ; มีเสียงดังเช่นนั้น เช่น ลมพัดหวิว ๆ.
  38. หวี่ : น. ชื่อแมลงขนาดเล็กหลายชนิดในวงศ์ Drosophilidae ตัวยาว ๓-๔ มิลลิเมตร มักมีสีนํ้าตาลอมแดง ตาสีแดง มีปีกใสคู่เดียว มักตอมผลไม้ หรือผักเน่าเปื่อย ที่พบมากที่สุดเป็นชนิด Drosophila melanogaster นิยมใช้เป็นสัตว์ทดลองในการศึกษาทางพันธุศาสตร์ของสัตว์. ว. มีเสียงอย่างเสียงแมลงหวี่กระพือปีก.
  39. หวือ : ว. มีเสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงสะเก็ดไม้กระเด็นอย่างแรง.
  40. หวูด : น. เครื่องเปิดไอนํ้าให้มีเสียงดังเช่นนั้น. ว. มีเสียงดังเช่นนั้น อย่างเสียงเปิดหวูด.
  41. หอ : น. เรือนหรืออาคารซึ่งใช้เฉพาะกิจการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น หอพระ หอนั่ง หอสมุด; เรือนซึ่งปลูกสําหรับให้คู่บ่าวสาวที่แต่งงานกันแล้วอยู่ เรียกว่า เรือนหอ.
  42. หอง ๑ : น. ชื่อแกงอย่างจีนชนิดหนึ่ง ใช้เนื้อหมูเป็นต้นต้มกับดอกไม้จีนหรือหน่อไม้ แห้งและถั่วลิสง.
  43. หัก : ก. พับงอ, พับงอหรือทําให้พับให้งอเพื่อให้ขาดหรือหลุดออกจากกัน; เอาออกจากจํานวนที่มีอยู่ เช่น หักจํานวนเงิน; ถูกตีอย่างแรงจนงงม่อยไป (ใช้แก่ไก่); เลี้ยวอย่างกะทันหัน เช่น หักหัวเรือ หักพวงมาลัย; เรียกแต้ม ลูกเต๋า ๓ ลูก ที่ขึ้นแต้ม ๑ ๒ ๓ ตามลําดับ ถือว่าเป็นแต้มเลวที่สุด.
  44. หักกลบลบหนี้ : (กฎ) น. การนําเอาหนี้ที่บุคคล ๒ คนต่างเป็นลูกหนี้และ เจ้าหนี้ในมูลหนี้อันมีวัตถุประสงค์เป็นอย่างเดียวกัน มาหักลบกันเท่า จํานวนหนี้ที่ตรงกัน เพื่อให้ลูกหนี้หลุดพ้นจากหนี้นั้น.
  45. หันรีหันขวาง : ก. อาการที่หันเหไปมา เก้ ๆ กัง ๆ ตัดสินใจไม่ถูกว่าจะทํา อย่างใด.
  46. หั่นแหลก : (ปาก) ก. ตัดลงอย่างมาก เช่น บทความนี้ถูกหั่นแหลก. ว. เต็มที่ เช่น สู้กันหั่นแหลก.
  47. หัว ๑ : น. ส่วนบนสุดของร่างกายของคนหรือสัตว์; ส่วนของพืชพันธุ์บางอย่าง ตอนที่อยู่ใต้ดิน เช่น หัวหอม หัวผักกาด, ส่วนที่อยู่ใต้ดินของพืชบางชนิด เป็นที่เกิดต้นอ่อน; ส่วนเริ่มต้นที่เป็นวงของตัวหนังสือ; ส่วนแห่งสิ่งของ บางอย่างที่อยู่ข้างหน้า หรือข้างต้น หรือแรกเริ่ม เรียกว่าหัวของสิ่งนั้น ๆ เช่น หัวเรือ หัวถนน หัวที; ช่วงแรกเริ่มของเวลา เช่น หัวปี หัววัน หัวคํ่า หัวดึก; ส่วนแห่งสิ่งของที่เป็นยอด เช่น หัวฝี, ส่วนแห่งสิ่งของที่ยื่นเด่น ออกไป เช่น หัวแหลม หัวสะพาน; ในการเล่นปั่นแปะหรือโยนหัว โยนก้อย เรียกสมมุติด้านหนึ่งของเงินปลีกว่า ด้านหัว คู่กับ ด้านก้อย; ส่วนที่ตรงข้ามกับหางหรือท้าย เช่น หัวแถวหางแถว หัวเรือ, ส่วนที่ ตรงข้ามกับ ก้น ในความว่า หัวหวานก้นเปรี้ยว; ส่วนที่เป็นแก่นสาร เช่น หัวยา หัวเหล้า.
  48. หัวก่ายท้ายเกย : ว. มากมายเต็มไปหมดอย่างไร้ระเบียบ เช่น เรือจอดหัวก่าย ท้ายเกย เด็ก ๆ นอนกันหัวก่ายท้ายเกยเต็มห้องไปหมด.
  49. หัวใจ : น. อวัยวะภายในสําหรับฉีดเลือดให้หมุนเวียนเลี้ยงร่างกาย; ใจ, สิ่งที่มีหน้าที่รู้ รู้สึก นึก และคิด, เช่น เขาทำอย่างนี้เหมือนเป็นคนไม่มี หัวใจ; ส่วนสําคัญแห่งสิ่งต่าง ๆ; อักษรย่อของหลักธรรมหรือข้อความ ต่าง ๆ ที่ผูกไว้เพื่อกําหนดจําได้ง่าย นิยมว่าเป็นของขลัง เช่น หัวใจ อริยสัจ ว่า ''ทุ. ส. นิ. ม.'' หัวใจนักปราชญ์ ว่า ''สุ. จิ. ปุ. ลิ.'' หัวใจเศรษฐี ว่า ''อุ. อา. ก. ส.''.
  50. หัวซุกหัวซุน : ว. อาการที่หลบหนีอย่างรีบร้อนโดยไม่หยุดยั้ง เช่น ผู้ร้าย หนีตำรวจหัวซุกหัวซุน.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | [2151-2200] | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2418

(0.0928 sec)