Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: อย่างรวดเร็ว, รวดเร็ว, อย่าง , then รวดเร็ว, อยาง, อย่าง, อยางรวดรว, อย่างรวดเร็ว .

Royal Institute Thai-Thai Dict : อย่างรวดเร็ว, 2418 found, display 1501-1550
  1. แพ้ ๑ : ก. สู้ไม่ได้, ทนไม่ได้, ตรงกันข้ามกับ ชนะ, ผู้ที่มีเลือดเนื้อไม่ถูกกับ สิ่งของหรือสัตว์บางอย่างก็เรียกว่า แพ้ เช่น แพ้ยา แพ้ตะขาบ.
  2. แพล็บ, แพล็บ ๆ : [แพฺล็บ] ว. ชั่วระยะเวลาเดี๋ยวเดียวอย่างฟ้าแลบ เช่น โผล่มาแพล็บ เดียว หายไปแล้ว ทำแพล็บเดียวเสร็จ แลบลิ้นแพล็บ ๆ, แผล็บ หรือ แผล็บ ๆ ก็ว่า.
  3. โพซิตรอน : [ตฺรอน] น. อนุภาคมูลฐานชนิดหนึ่ง มีมวลเท่ากับอิเล็กตรอน มีประจุไฟฟ้าเท่ากับประจุไฟฟ้าของอิเล็กตรอน แต่เป็นประจุไฟฟ้า บวก เมื่อโพซิตรอนและอิเล็กตรอนอย่างละ ๑ อนุภาคมากระทบกัน ทั้งคู่จะทําลายล้างกันสูญหายไปด้วยกันทั้งสิ้น และให้พลังงาน มากมายเกิดขึ้นในรูปของรังสีแกมมา, แอนติอิเล็กตรอน ก็เรียก. (อ. positron).
  4. โพรงแสม : [สะแหฺม] น. ชื่อขนมชนิดหนึ่งทําด้วยแป้งข้าวเจ้า รูปอย่างกระบอก.
  5. โพล่ง : [โพฺล่ง] ว. ใช้ประกอบกับคํา พูด เป็น พูดโพล่ง หมายความว่า พูดอย่างไม่ยับยั้ง; เสียงดังอย่างเสียงกระโดดลงไปในนํ้า.
  6. โพละ : [โพฺละ] ว. เสียงอย่างเสียงทุบหม้อดินแตกเป็นต้น.
  7. ไพ่ : น. เครื่องเล่นการพนันอย่างหนึ่ง ทำด้วยกระดาษค่อนข้างแข็งหรือ พลาสติกเป็นต้น เป็นแผ่นสี่เหลี่ยมผืนผ้าบาง ๆ มีลวดลายและ เครื่องหมายแสดงแต้มต่าง ๆ.
  8. ไพฑูรย์ : น. ชื่อรัตนะอย่างหนึ่ง ในจําพวกนพรัตน์ มีสีเหลืองแกมเขียว หรือนํ้าตาลเทา มีนํ้าเป็นสายรุ้งกลอกไปมา, เพชรตาแมว หรือ แก้วสีไม้ไผ่ ก็ว่า. (ส. ไวฑูรฺย; ป. เวฬุริย).
  9. ไพ่ป๊อก : น. ชื่อไพ่ชนิดหนึ่ง รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ชุดหนึ่งมี ๕๒ ใบ ใช้เล่นการพนันได้หลายอย่าง เช่น บริดจ์ โป๊กเกอร์ หรือใช้ทํานาย โชคชะตาได้ด้วย; การพนันชนิดหนึ่งเจ้ามือแจกไพ่ให้คนละ ๒ ใบ แล้วเรียกไพ่ได้อีก รวมแล้วไม่เกิน ๕ ใบ และจะจ่ายเงินให้คนที่ได้ แต้มสูงกว่า และกินเงินคนที่ได้แต้มตํ่ากว่าตามกติกา.
  10. ไพล : [ไพฺล] น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Zingiber purpureum Roscoe ในวงศ์ Zingiberaceae ต้นและใบคล้ายขิง เหง้าสีเหลืองอมเขียวใช้ทํายาได้. ว. สีเหลืองอมเขียวอย่างสีเหง้าไพล เรียกว่า สีไพล.
  11. ไพล่ : [ไพฺล่] ก. ไขว้ เช่น เอามือไพล่หลัง, เอี้ยว, หลบไป, หลีกไป; แทนที่จะเป็นอย่างนี้กลับเป็นอีกอย่างหนึ่ง เช่น เคยทำอย่างนี้ ไพล่ไปทำอย่างนั้น.
  12. ฟกช้ำดำเขียว : ว. บวมชํ้าตามร่างกายเพราะถูกกระทบ กระแทกอย่างแรง.
  13. ฟองมัน : น. ชื่อเครื่องหมายชนิดหนึ่ง มีรูปอย่างนี้ ๏ ในหนังสือเก่า สําหรับเขียนขึ้นต้นวรรคหรือต้นบรรทัด, ตาไก่ ก็เรียก.
  14. ฟ้อนแพน : น. การจับระบำชนิดหนึ่ง ใช้ผู้แสดงชายหญิงคู่หนึ่ง หรือมากกว่า แต่งกายอย่างไทยภาคเหนือ รำออกท่าหยอกเอิน ประกอบคำร้องและดนตรี, ฟ้อนลาวแพน หรือ รำลาวแพน ก็เรียก.
  15. ฟ้อนลาวแพน : น. การจับระบำชนิดหนึ่ง ใช้ผู้แสดงชายหญิงคู่หนึ่ง หรือมากกว่า แต่งกายอย่างไทยภาคเหนือ รำออกท่าหยอกเอิน ประกอบคำร้องและดนตรี, ฟ้อนแพน หรือ รำลาวแพน ก็เรียก.
  16. ฟ่อ, ฟ้อ ๑ : ว. เสียงดังเช่นนั้นอย่างงูเห่าขู่.
  17. ฟอสฟอรัส : น. ธาตุลําดับที่ ๑๕ สัญลักษณ์ P เป็นอโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง มีหลายอัญรูป อัญรูปที่สําคัญ คือ ฟอสฟอรัสขาว (บางทีก็เรียกว่า ฟอสฟอรัสเหลือง) ลักษณะอ่อนคล้ายขี้ผึ้ง หลอมละลายที่ ๔๔ ? ซ. ติดไฟง่าย เมื่อกระทบอากาศจะให้แสงเรืองเป็นพิษอย่างแรง, ฟอสฟอรัสแดง ลักษณะเป็นผงสีแดงแกมม่วง เมื่อกระทบอากาศ ไม่ให้แสงเรือง ติดไฟยาก ไม่เป็นพิษเหมือนฟอสฟอรัสขาว. (อ. phosphorus).
  18. ฟักตัว : ก. ก่อให้เกิดให้เป็นขึ้นอย่างแพร่หลาย.
  19. ฟันปลา : น. เรียกสิ่งที่มีรูปอย่างฟันปลา, เรียกลักษณะที่สับหว่าง สลับเยื้องกันอย่างฟันปลาว่า สลับฟันปลา เช่น นั่งสลับฟันปลา ยืนสลับฟันปลา; ลายคดกริช รูปดังนี้ (รูปภาพ) เรียก ลายฟันปลา, ลายฟันเลื่อย ก็เรียก.
  20. ฟันเลื่อย : น. ลายคดกริชอย่างลายฟันปลา.
  21. ฟ้า : น. ส่วนเบื้องบนที่มองเห็นครอบแผ่นดินอยู่ เช่น ดาวเต็มฟ้า, อากาศ เช่น ฟ้าครึ้ม ยิงปืนขึ้นฟ้า; สวรรค์ เช่น นางฟ้า ฟ้าดินเป็น พยาน; (กลอน) เจ้าฟ้า. ว. สีน้ำเงินอ่อนอย่างสีท้องฟ้าในเวลามีแดด เรียกว่า สีฟ้า.
  22. ฟาด : ก. หวด, เหวี่ยง, เช่น ฟาดด้วยไม้เรียว ฟาดผ้า จระเข้ฟาดหาง; (ปาก) กินอย่างเต็มที่เช่น ฟาดข้าวเสีย ๓ ชาม.
  23. ฟาสซิสต์ : น. ลัทธิการเมืองที่ผู้นํารวบอํานาจทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมไว้หมด และมีนโยบายชาตินิยมอย่างรุนแรง แต่เคารพ ในกรรมสิทธิ์ของเอกชน, ผู้ที่นิยมลัทธินั้น. ว. เกี่ยวกับลัทธิฟาสซิสต์. (อ. fascism, fascist).
  24. ฟิด : ว. เสียงอย่างเสียงจาม.
  25. ฟี่, ฟี้ : ว. เสียงอย่างเสียงลมรั่วออกจากที่อัดลมไว้ เช่น เสียงปล่อยลมดังฟี้ นอนกรนฟี้.
  26. ฟืดฟาด : ว. เสียงอย่างเสียงหายใจแรง ๆ เวลาเหนื่อยมาก ๆ, ฟูดฟาด ก็ว่า.
  27. ฟุ่บ : ว. เสียงดังอย่างเสียงดินปืนที่จุดแล้วลุกไหม้ทันทีทันใด.
  28. ฟูดฟาด : ว. เสียงอย่างเสียงหายใจแรง ๆ เวลาเหนื่อยมาก ๆ, ฟืดฟาด ก็ว่า.
  29. ฟูมฟายน้ำตา : ก. เอามือทั้ง ๒ ข้างเช็ดน้ำตาที่ไหลอาบหน้าเพราะ ความเศร้าโศกเสียใจอย่างหนัก.
  30. เฟื่อง ๑ : น. เครื่องประดับอย่างหนึ่ง ทำเป็นสายห้อยโยงเป็นช่วง ๆ มีอุบะห้อยระหว่างเฟื่อง; เรียกโรคที่มีเสมหะกําเริบว่า เสมหะเฟื่อง.
  31. แฟ่ : ว. เสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงจุดไม้ขีดไฟติด; (ปาก) มาก ในคำว่า หรูแฟ่.
  32. แฟ้ม : น. ภาชนะชนิดหนึ่ง สานด้วยไม้ไผ่หรือหวาย รูปร่างคล้ายฝา หอยแครงประกบเป็นคู่ ขอบปากตอนบนมีหูสําหรับสอดไม้ คานเพื่อหาบไป ใต้หูมีห่วงและลูกสลักสําหรับขัดปาก ขอบ ด้านล่างถักพันให้ติดกันอย่างบานพับ ใช้ใส่เสบียงกรัง เช่น ปลาย่าง เนื้อเค็ม พริกแห้ง, ที่สําหรับเก็บแผ่นกระดาษ มี ปกหน้าปกหลังทําด้วยกระดาษแข็งเป็นต้น มีหลายชนิด เช่น ชนิดเจาะข้าง ชนิดมีสปริงสําหรับหนีบกระดาษ ชนิดมีซองสําหรับ ใส่เอกสาร, กระเป๋าหิ้วสําหรับใส่เอกสาร.
  33. ไฟ : น. ชื่อธาตุอย่างหนึ่งในธาตุทั้ง ๔ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม; ผลจาก ปฏิกิริยาเคมีซึ่งก่อให้เกิดความร้อน แสงสว่าง และเปลว คือ กลุ่มแก๊สที่กําลังลุกไหม้ ทําให้ไหม้สิ่งต่าง ๆ ได้; ผ่านการอยู่ไฟมาแล้ว เช่น สามไฟ คือ อยู่ไฟมาแล้ว ๓ ครั้ง; ไฟฟ้า เช่น ไฟสว่าง, โดยปริยายหมายถึงความเดือดร้อน เช่น ตอนนี้บ้านเมืองกำลังเป็นไฟ.
  34. ภควัม : [พะคะ–] น. พระเครื่องรางชนิดหนึ่ง มีพระพักตร์ควํ่าและปิดทวารทั้ง ๙ คือ ตา ๒ หู๒ จมูก ๒ ปาก ๑ ทวารหนัก ๑ ทวารเบา ๑, โดยปริยายใช้เรียก คนที่ทําหน้าควํ่าหน้างอไม่รับแขกว่า ทําหน้าเป็นภควัม หรือหน้าควํ่าเป็น ภควัม; หินชนิดหนึ่งซึ่งมีรูปร่างอย่างนั้น.
  35. ภาพพจน์ : [พาบพด] น. ถ้อยคำที่เป็นสํานวนโวหารทําให้นึกเห็นเป็น ภาพ, ถ้อยคำที่เรียบเรียงอย่างมีชั้นเชิงเป็นโวหาร มีเจตนาให้มีประสิทธิผล ต่อความคิด ความเข้าใจ ให้จินตนาการและถ่ายทอดอารมณ์ได้อย่าง กว้างขวางลึกซึ้งกว่าการบอกเล่าที่ตรงไปตรงมา. (อ. figure of speech).
  36. ภารยทรัพย์ : [พาระยะซับ] (กฎ) น. อสังหาริมทรัพย์ที่ผู้เป็นเจ้าของจะต้องรับภาระ บางอย่างที่เกิดจากภาระจํายอม, คู่กับ สามยทรัพย์.
  37. ภาระจำยอม : (กฎ) น. ข้อผูกพันอันเป็นเหตุให้เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ จําต้องยอมรับกรรมบางอย่างซึ่งกระทบถึงทรัพย์สินของตน หรือต้อง งดเว้นการใช้สิทธิบางอย่างอันมีอยู่ในกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินนั้น เพื่อ ประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่น เช่น ทางภาระจํายอม.
  38. ภาระติดพัน : น. ความผูกพันที่จะต้องกระทําการอย่างใดอย่างหนึ่ง.
  39. ภาษาแบบแผน : น. ภาษาที่ถือเป็นแบบฉบับที่จะต้องใช้เป็นแบบเดียว กันในโอกาสอย่างเดียวกัน เช่น คำกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ขึ้นต้นว่า ''ขอเดชะ...'' และลงท้ายว่า ''ควรมิควรแล้วแต่ จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า...'', ภาษาที่ใช้เป็นทางการในโอกาสสำคัญ หรือใช้แก่บุคคลสำคัญ หรือบุคคล สำคัญเป็นผู้ใช้ เช่น คำประกาศเกียรติคุณในการประสาทปริญญาบัตร กิตติมศักดิ์ คำปราศรัยของนายกรัฐมนตรีในวันขึ้นปีใหม่, ภาษาระดับ พิธีการ ก็เรียก.
  40. ภาษามีวิภัตติปัจจัย : น. ภาษาแบบที่มีการสร้างคำด้วยการใช้วิภัตติปัจจัย ประกอบเข้ากับรากศัพท์ซึ่งเป็นหน่วยคำไม่อิสระทำให้เกิดเป็นคำที่แสดง เพศ พจน์ กาล มาลา วาจกอย่างชัดเจน เพื่อเข้าสัมพันธ์ทางไวยากรณ์ กลมกลืนกับคำอื่นในประโยค เช่น ภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต ภาษากรีก โบราณ ภาษาละติน ภาษาฝรั่งเศส. (อ. inflectional language).
  41. ภาษีเงินได้ : น. ภาษีที่เรียกเก็บจากบุคคลที่ได้รับเงิน ทรัพย์สินหรือ ประโยชน์อย่างอื่น ซึ่งอาจคิดคํานวณได้เป็นเงิน.
  42. ภาษีโรงเรือนและที่ดิน : (กฎ) น. ภาษีที่เรียกเก็บจากผู้รับประเมินผู้มี กรรมสิทธิ์ในที่ดิน โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นปีละครั้งตาม ค่ารายปีของทรัพย์สินนั้น.
  43. ภูมิภาค : [พูมมิ–, พูมิ–] น. หัวเมือง; (ภูมิ) อาณาบริเวณที่มีลักษณะบางอย่าง เช่นลักษณะทางธรรมชาติ ทางเศรษฐกิจ ทางวัฒนธรรม ทางการเมือง คล้ายคลึงกันจนสามารถจัดเข้าพวกกันได้ และแตกต่างกับบริเวณใกล้เคียง โดยรอบ.
  44. มณฑป : [มนดบ] น. เรือนยอดขนาดใหญ่มีรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส หรือเป็นรูปตัด มุม หรือย่อไม้แปด ย่อไม้สิบสอง ยอดหลังคาเป็นทรงจอมแห, ใช้ว่า มรฑป ก็มี. (ป., ส.); ขันนํ้าเย็นของพระเจ้าแผ่นดินที่มีฝาเป็นรูปอย่างมณฑป เรียกว่า พระมณฑป.
  45. มโนมัย : ว. สําเร็จด้วยใจ, ใช้ประกอบกับ ม้า หมายความว่า ม้าที่ใช้ ขับขี่รวดเร็วได้ดังใจ. (กลอน) น. ม้า เช่น ครั้นถึงจึงสั่งข้าไท เร่งผูก มโนมัยที่เคยขี่. (บทละครสังข์ทอง). (ป., ส.).
  46. มโนราห์ ๑ : น. ศิลปะการแสดงพื้นเมืองอย่างหนึ่งของภาคใต้ มีแม่บทท่ารํา อย่างเดียวกับละครชาตรี, โนรา ก็ว่า, เขียนว่า มโนห์รา ก็มี.
  47. มรกต : [มอระกด] น. ชื่อรัตนะอย่างหนึ่งในจำพวกนพรัตน์ มีสีเขียว.
  48. มรรค, มรรค-, มรรคา : [มัก, มักคะ-, มันคา] น. ทาง; เหตุ, ใช้คู่กับ ผล ว่า เป็นมรรคเป็นผล; ในพระพุทธศาสนา เป็นชื่อแห่งโลกุตรธรรม คู่กับ ผล มี ๔ ชั้น คือ โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตมรรค, ทางที่จะนำไปสู่ความพ้นทุกข์ เป็น ๑ ในอริยสัจ ๔ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค เรียกเต็มว่า มรรคมีองค์ ๘ ประกอบด้วย สัมมาทิฐิ - ความเห็นชอบ ๑ สัมมาสังกัปปะ - ความดำริชอบ ๑ สัมมาวาจา - การเจรจาชอบ ๑ สัมมากัมมันตะ - การงานชอบ ๑ สัมมาอาชีวะ - การเลี้ยงชีวิตชอบ ๑ สัมมาวายามะ - ความพยายามชอบ ๑ สัมมาสติ - ความระลึกชอบ ๑ สัมมาสมาธิ -ความตั้งใจชอบ ๑ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มัชฌิมาปฏิปทา คือ ทางสายกลาง. (ส. มารฺค; ป. มคฺค).
  49. มล่าน : [มะล่าน] ก. วิ่งอย่างรีบ, วิ่งพล่าน.
  50. มวกผา : น. ของอย่างหนึ่งเป็นยางคล้ายวุ้นอยู่ตามเขา.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | [1501-1550] | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2418

(0.1053 sec)