Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: อย่างรวดเร็ว, รวดเร็ว, อย่าง , then รวดเร็ว, อยาง, อย่าง, อยางรวดรว, อย่างรวดเร็ว .

Royal Institute Thai-Thai Dict : อย่างรวดเร็ว, 2418 found, display 2201-2250
  1. หัวด้วน ๑ : น. เรียกลมพายุที่เกิดขึ้นอย่างปัจจุบันทันด่วนแล้วหายไปว่า ลมหัวด้วน.
  2. หัวเด็ดตีนขาด : (สำ) คำพูดแสดงการยืนยันอย่างเด็ดเดี่ยว แม้จะตายก็ไม่ ยอมเปลี่ยนใจ เช่น หัวเด็ดตีนขาดก็ไม่ยอมย้าย หัวเด็ดตีนขาดก็จะอยู่ที่นี่.
  3. หัวมังกุท้ายมังกร : (สํา) ว. ไม่เข้ากัน, ไม่กลมกลืนกัน, มีหลายแบบหลาย อย่างปนกัน.
  4. หัวรุนแรง : น. เรียกคนที่มีความคิดเห็นอย่างใดอย่างหนึ่งอย่างเอาจริงเอาจัง ว่า คนหัวรุนแรง. ว. ที่นิยมการเปลี่ยนแปลงความคิดเห็นการปฏิบัติ หรือ นโยบายเป็นต้น อย่างหักหาญโดยไม่ยอมประนีประนอมใด ๆ.
  5. หัวเรือใหญ่ : น. ผู้ออกรับแทนผู้อื่นเสียเอง, ผู้จัดการทุกอย่างให้ผู้อื่นด้วย ตนเอง, ผู้ที่ชอบเจ้ากี้เจ้าการทำเรื่องต่าง ๆ เสียเอง.
  6. หัวเห็ด : น. เรียกตะปูชนิดหนึ่งที่หัวบานเหมือนดอกเห็ดสำหรับตอกสังกะสี เป็นต้น ว่า ตะปูหัวเห็ด.ว. ทรหดอดทน เช่น นักข่าวหัวเห็ด นักสืบหัวเห็ด; (โบ) ดื้อรั้นไม่ยอมเปลี่ยนความคิดง่าย ๆ, หัวเห็ดย้ำ ก็ว่า เช่น มหาชนโดย มากเขาทำกันอย่างไร เราก็ต้องทำอย่างนั้น ที่จะไปหัวเห็ดย้ำให้ผิดกาลเทศะ อย่างจีน ๆ ข้าพเจ้าไม่เห็นด้วย. (ลักวิทยา).
  7. ห่า ๑ : น. ชื่อผีจําพวกหนึ่ง ถือกันว่าทําให้เกิดโรคระบาดอย่างร้ายแรง เป็นเหตุ ให้คนตายจำนวนมาก เช่น โรคลงราก (อหิวาตกโรค) กาฬโรค จึงเรียก โรคนี้ว่า โรคห่า.
  8. ห่ากิน : ก. ตายเพราะโรคระบาดอย่างร้ายแรง เช่น โรคลงราก (อหิวาตกโรค) กาฬโรค.
  9. หากินตามชายเฟือย : (สำ) ก. หาเลี้ยงชีพอย่างไม่เป็นล่ำเป็นสันได้ไหน เอานั่นไปเรื่อย ๆ.
  10. หางเลข : น. เครื่องหมายย่อแทนตัวเลขสําหรับทําเลขอย่างเก่า; (ปาก) เลข ท้ายสลากกินแบ่งที่ได้รางวัล, โดยปริยายหมายถึงพลอยถูกผู้ใหญ่ดุหรือ ตำหนิไปด้วย เช่น หัวหน้าถูกผู้ใหญ่ดุ ลูกน้องก็เลยพลอยถูกหางเลขไปด้วย.
  11. หางว่าว : น. (โบ) กระดาษแผ่นยาวอย่างหางของว่าวปักเป้าสําหรับจดบัญชี บอกรายชื่อเลกครั้งโบราณ, บัญชีรายชื่อคนหรือรายการสิ่งของเป็นต้นที่ ยาวยืด.
  12. หางหงส์ ๑ : น. ชายผ้านุ่งที่จีบโจงแล้วไปเหน็บไว้ข้างหลัง ปล่อยให้จีบคลี่ ห้อยจากเอวเบื้องหลังลงมาถึงหว่างขาอย่างตัวพระแต่งในละครรํา; เรียก เครื่องประดับที่ทําเป็นรูปคล้ายหางหงส์ติดตั้งอยู่ปลายรวยระกา หรือปลาย ตะเข้สันหลังคาของโบสถ์และพระที่นั่งเป็นต้นตามแบบสถาปัตยกรรมไทย.
  13. หาทำยายาก : (สำ) ก. หาได้ยากเพราะไม่ค่อยมีทำนองเดียวกับสมุนไพร บางอย่างในที่บางแห่งหาได้ยากมาก.
  14. หาบมิได้, หาบ่มิได้ : [หาบอ-, หาบ่อ-] ว. ไม่มีเลย เช่น คนดีอย่างนี้หาบมิได้, บางทีใช้คร่อมกับคำอื่น เช่น เพชรเม็ดนี้หาตำหนิบ่มิได้.
  15. ห้ามไม่ให้ : (สำ) ก. เป็นการย้ำไม่ให้ทำอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ห้ามไม่ให้ เขียน ห้ามไม่ให้พูด.
  16. หายวับไปกับตา : (สำ) ก. หายไปอย่างฉับไวต่อหน้าต่อตา.
  17. ห่าลง : ก. เกิดโรคระบาดอย่างร้ายแรงเป็นเหตุให้คนตายจำนวนมาก เช่น โรคลงราก (อหิวาตกโรค) กาฬโรค. (ปาก) น. คนที่มากันเป็นจำนวนมาก เช่น งานนี้คนมากันอย่างกับห่าลง.
  18. ห้าวหาญ : ก. กล้าอย่างยอมเสี่ยงอันตราย เช่น ทหารไทยออกรบอย่าง ห้าวหาญ.
  19. ห้ำ : (ปาก) ก. เข้าทําร้ายกัน; ตัดให้สั้นอย่างไม่เป็นระเบียบ; เข้าตะครุบขบกัด (ใช้แก่สัตว์).
  20. หินฝนทอง : น. ชื่อขนมอย่างหนึ่ง.
  21. หินแลง : น. หินชนิดหนึ่ง เมื่ออยู่ใต้ดินมีลักษณะอ่อน แต่ถูกลมแล้วแข็ง มีสีแดงอย่างอิฐเผา และเป็นรูพรุนเหมือนไม้เพรียงกิน, ศิลาแลง ก็เรียก.
  22. หิมวัต : [หิมมะวัด] ว. มีหิมะ, หนาว, ปกคลุมด้วยหิมะ. น. ชื่อหนึ่งของ เทือกเขาหิมาลัย; ชื่อป่าหนาวแถบเหนือของอินเดีย; ศัพท์นี้แผลงใช้ได้ หลายอย่างคือ ๑. หิมวาท (แผลงจาก ส. หิมวตฺ) ๒. หิมวาน ๓. หิมพาน (รูปประถมแห่ง ส. หิมวตฺ) ๔. หิมวันต์ (ป. หิมวนฺต) ๕. หิมพานต์ (แผลงจาก ป. หิมวนฺต) ๖. หิมวา (รูปประถมแห่ง ป. หิมวนฺต). (ส.; ป. หิมวนฺต).
  23. หิรัณยรัศมี : [หิรันยะรัดสะหฺมี] ว. มีสีผ่องดั่งเงินอย่างสีช้างเผือก. (ส.).
  24. หึ่ง ๒, หึ่ง ๆ : ว. เสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงฆ้อง เสียงผึ้งหรือแมลงภู่เป็นต้นบิน เช่น เสียง ฆ้องดังหึ่ง เสียงผึ้งบินหึ่ง ๆ.
  25. หืด : น. ชื่อโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่ง เกิดจากหลอดลมตอบสนอง ต่อสิ่งเร้าอย่างเฉียบพลันและรุนแรงกว่าที่เกิดขึ้นในคนทั่วไป ทําให้ หลอดลมตีบแคบลงจนเกิดอาการหายใจไม่สะดวก, หืดหลอดลม ก็เรียก.
  26. หื่น : ก. มีความอยากอย่างแรงกล้า (มักใช้ในทางกามารมณ์).
  27. หุ่น : น. รูป, รูปแบบ, รูปตุ๊กตา, รูปแบบที่จําลองจากของจริงต่าง ๆ; รูปปั้นหรือ แกะสลักที่ทําโกลนไว้เพื่อเป็นแบบชั่วคราว, (ปาก) รูปทรงของร่างกาย เป็นต้น เช่น คนนี้หุ่นดี; ชื่อการเล่นมหรสพที่ใช้รูปหุ่นแสดงเป็นเรื่องราว เช่น หุ่นกระบอก หุ่นจีน, โดยปริยายหมายถึงบุคคลที่กลายเป็นเครื่องมือ ของผู้อื่นโดยได้รับแต่งตั้งให้อยู่ในตำแหน่งบังคับบัญชา แต่ไม่มีอำนาจ อะไรอย่างแท้จริง เช่น เป็นหุ่นให้เขาเชิด รัฐบาลหุ่น.
  28. หุ่นยนต์ : น. หุ่นที่ทำเป็นรูปคนมีเครื่องกลไกภายใน สามารถทำงาน หลายอย่างแทนมนุษย์ได้, โดยปริยายหมายถึงผู้ที่ทำงานตามที่ถูกสั่ง โดยไม่ต้องใช้สมองและไม่มีชีวิตจิตใจดุจเป็นเครื่องจักรกล.
  29. หูตูบ : น. ใบหูตกห้อยลงมา (ใช้แก่หมา); โดยปริยายหมายถึงทํางานอย่าง หนักหรือถูกใช้งานอย่างหนัก เช่น ถูกใช้จนหูตูบ วิ่งจนหูตูบ.
  30. หูไวตาไว : ว. รู้ทันเหตุการณ์ได้รวดเร็ว.
  31. หูหาเรื่อง : (สำ) น. หูที่รับฟังแล้วตีความไปอีกอย่างหนึ่งซึ่งมีลักษณะไป ในทางที่ไม่ดี.
  32. เห่ : น. ทำนองที่ใช้ร้องในบางพระราชพิธี, ถ้าใช้ร้องเมื่อเวลาพายเรือพระที่นั่ง ในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค เรียกว่า เห่เรือ, ถ้าใช้ร้องในพระราชพิธี ขึ้นพระอู่พระเจ้าลูกเธอ เรียกว่า เห่กล่อม; คำสั่งที่เขียนไว้ในวงเล็บท้าย บทเพลงเพื่อให้นักดนตรี นักร้อง และ นักแสดงปฏิบัติตาม. ก. กล่อม เช่น เห่ลูก. ว. เสียงอย่างกล่อมลูก.
  33. เหง่ง : [เหฺง่ง] ว. มีเสียงอย่างเสียงระฆังดัง, มักใช้ว่า หง่างเหง่ง หรือ เหง่งหง่าง.
  34. เหน่ง ๒ : [เหฺน่ง] ว. มีเสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงระนาดเป็นต้น.
  35. เห็นช้างขี้ ขี้ตามช้าง : (สํา) ก. ทําเลียนแบบคนใหญ่คนโตหรือคนมั่งมีทั้ง ๆ ที่ตนไม่มีกําลังทรัพย์หรือความสามารถพอ, มีความหมายอย่างเดียวกับ เห็นเขาขึ้นคานหาม เอามือประสานก้น หรือเห็นเขาขึ้นคานหาม เอามือ ประสานรัดก้น.
  36. เหน็บ ๑ : น. ชื่อมีดขนาดกลาง ใบมีดรูปร่างปลายแหลม กลางป่อง โคนแคบ สัน ค่อนข้างหนา ด้ามทำเป็นกั่นสอดติดกับด้ามไม้หรือทำเป็นบ้องติดอยู่ ในตัวก็มี ปรกติสอดใบมีดไว้ในฝักซึ่งทำด้วยไม้หรือหวายสาน นิยม เหน็บเอวด้านหลังหรือด้านหน้าในเวลาออกนอกบ้าน ใช้ประโยชน์ได้ หลายอย่าง, อีเหน็บ ก็เรียก.
  37. เหน็บ ๔ : น. อาการชาและเจ็บแปลบปลาบตามแขนขาเป็นต้น เกิดจากหลอดเลือด และเส้นประสาทหรืออย่างใดอย่างหนึ่งบริเวณนั้นถูกกดทับระยะหนึ่ง.
  38. เหนาะ ๆ : ว. อาการที่ได้สิ่งใดสิ่งหนึ่งมาอย่างสะดวกหรือคล่อง เช่น ได้กำไรมา เหนาะ ๆ.
  39. เหม็นเขียว : ว. มีกลิ่นเหม็นอย่างกลิ่นใบไม้สดบางชนิด.
  40. เหม, เหม- : [เหมะ-] น. ทองคำ; ชื่อช้างตระกูล ๑ ใน ๑๐ ตระกูล เรียกว่า เหมหัตถี กายสีเหลืองดั่งทอง. (ดู กาฬาวก). (ป.), เรียกฝาหีบหรือภาชนะบางอย่าง ซึ่งมียอดแหลมปิดทอง, เรียกส่วนยอดปราสาทที่อยู่ระหว่างบัลลังก์กับ บัวกลุ่ม.
  41. เหมียว ๒, เหมียว ๆ : ว. มีเสียงอย่างเสียงแมวร้อง, เสียงร้องเรียกแมว.
  42. เหมือนกัน : ว. อย่างเดียวกัน, ไม่แปลกกัน, เช่น พี่น้องคู่นี้มีนิสัยเหมือนกัน.
  43. เหยง, เหยง ๆ : [เหฺยง] ว. อาการที่ทำซ้ำ ๆ อย่างเร็ว เช่น ขุดดินเหยง ด่าเหยง ๆ, (ปาก) ใช้ว่า เหย็ง หรือ เหย็ง ๆ ก็มี.
  44. เหย่อย : [เหฺย่ย] น. การเล่นเพลงพื้นบ้านอย่างหนึ่งของไทย ผู้เล่นร้องกลอนสด และรำประกอบ ภายหลังมีกลองยาวประกอบด้วย มักเล่นในบางเทศกาล เช่นฤดูเกี่ยวข้าว.
  45. เหย่า, เหย่า ๆ : [เหฺย่า] ว. อาการที่วิ่งอย่างช้า ๆ หรือเดินอย่างเร็ว.
  46. เหยี่ยวข่าว : (ปาก) น. นักข่าว, คนที่หาข่าวได้รวดเร็วเป็นพิเศษ.
  47. เหล็กพืด : น. เหล็กที่มีธาตุคาร์บอนเจือปนอยู่ประมาณร้อยละ ๐.๑๒- ๐.๒๕ และมีสิ่งเจือปนอื่น ๆ รวมกันทั้งสิ้นน้อยกว่าร้อยละ ๐.๕ เรียกเหล็กเหนียว หลอมละลายที่ ๑๔๐๐?ซ.-๑๕๐๐?ซ., เหล็กเหนียว ก็เรียก, เรียกชนิดหนึ่งที่ เป็นแผ่นยาวอย่างเหล็กทําปลอกถังว่า แถบเหล็กพืด.
  48. เหลอหลา : [-หฺลา] ว. มีหน้าตาเซ่ออย่างคนงงไม่รู้เรื่อง.
  49. เหลี่ยมคู : น. ชั้นเชิงอย่างคมคาย.
  50. เหลียว : ก. ผินไปทางขวาหรือทางซ้ายอย่างเอี้ยวคอ.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | [2201-2250] | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2418

(0.1056 sec)