Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: อย่างรวดเร็ว, รวดเร็ว, อย่าง , then รวดเร็ว, อยาง, อย่าง, อยางรวดรว, อย่างรวดเร็ว .

Royal Institute Thai-Thai Dict : อย่างรวดเร็ว, 2418 found, display 1751-1800
  1. ร้ายแรง : ว. รุนแรง เช่น น้ำท่วมทำให้บ้านเมืองเกิดความเสียหายอย่าง ร้ายแรง, ร้ายมาก เช่น ทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง.
  2. ราวพระแสง : น. เครื่องสอดเก็บอาวุธอย่างหอก ลักษณะเป็นคานไม้แบน ทอดขวาง มีเสาคู่หนึ่งตั้งขึ้นรับหัวและท้ายคาน บนหลังคานเจาะรูกลม ๆ รายเป็นระยะห่างกันพอควรสำหรับสอดด้ามหอก ง้าว ทวน ให้ตั้งเรียง เป็นแถว.
  3. รำเท้า : ก. เต้นหมุนเวียนวนไปด้วยเท้าอย่างเต้นรําของฝรั่ง, เต้นรํา ก็ว่า.
  4. รำพึงรำพัน : ก. พูดอย่างที่คิดคำนึงอยู่ เช่น เขารำพึงรำพันว่า โลกนี้ น่าอยู่จริงหนอ.
  5. รำแพน : ก. แผ่หางกระดกขึ้นหรือแผ่ปีกแล้วเดินกรีดกรายไปมา (ใช้แก่ นกยูง นกหว้า และนกแว่น). น. การเล่นอย่างโบราณชนิดหนึ่งในการ พระราชพิธี ผู้เล่นนุ่งผ้าหยักรั้งสวมเสื้อคอกลม มือทั้ง ๒ ถือหางนกยูง ข้างละกำ รำออกท่าต่าง ๆ เลี้ยงตัวอยู่บนราวลวด.
  6. รำลาวแพน : น. การจับระบำชนิดหนึ่ง ใช้ผู้แสดงชายหญิงคู่หนึ่งหรือ มากกว่าแต่งกายอย่างไทยภาคเหนือ รำออกท่าหยอกเอินประกอบคำร้อง และดนตรี, ฟ้อนแพน หรือ ฟ้อนลาวแพน ก็เรียก.
  7. รี : ว. เรียว, ถ้ากลมเรียวอย่างรูปไข่ เรียกว่า กลมรี, ถ้ายาวเรียวและมีหัวท้าย อย่างเมล็ดข้าวสารเรียกว่า ยาวรี, ไม่กลม เช่น วงรี, ยาว เช่น หันรีหันขวาง หอรีหอขวาง.
  8. รีต : น. เยี่ยงอย่าง, แบบแผน, ประเพณี, เช่น นอกรีต. (เทียบ ป. จาริตฺต; ส. จาริตฺร).
  9. รีบร้อน : ก. อาการที่รีบทำอย่างลุกลน เช่น เขารีบร้อนไปทำงานจนลืม กระเป๋าสตางค์. ว. รีบลุกลน เช่น พอได้รับโทรเลข เขาก็ไปอย่างรีบร้อน.
  10. รีบรุด : ก. ไปหรือมาอย่างรีบด่วน เช่น เขารีบรุดไปพบหมอ ตำรวจรีบ รุดมาที่เกิดเหตุ. ว. ด่วน, ทันที, เช่น เขาเดินอย่างรีบรุด.
  11. รีบเร่ง : ก. อาการที่ทำอย่างใดอย่างหนึ่งให้เร็วขึ้นกว่าปรกติ เช่น ครู รีบเร่งตรวจข้อสอบให้เสร็จ. ว. เร็วขึ้นกว่าปรกติ เช่น เขาทำงาน อย่างรีบเร่งเพื่อให้ได้งานมากขึ้น.
  12. รื้อร่าย : น. ชื่อทำนองเพลงร้องอย่างลำนำ.
  13. รุงรัง : ว. อาการที่สิ่งเป็นเส้นยาว ๆ พัวพันกันยุ่งยุ่มย่าม เช่น ขนยาวรุงรัง ผม เผ้ารุงรัง หนวดเครารุงรัง, อาการที่สิ่งต่าง ๆ รวมกันอยู่อย่างระเกะระกะ หรือแยกกระจัดกระจายกันอยู่ยุ่งเหยิง เช่น ห้องรกรุงรัง ห้อยผ้าไว้รุงรัง; พะรุงพะรัง เช่น หอบของมารุงรัง, นุงนัง เช่น หนี้สินรุงรัง.
  14. รุด : ว. ด่วนไปทันที, ใช้ควบกับคํา รีบ เป็น รีบรุด ก็ได้ เช่น ทำงานอย่างรีบรุด.
  15. รุนแรง : ว. หนักมาก, แรงมาก, เกินปรกติ, เช่น ดุว่าอย่างรุนแรง คัดค้าน อย่างรุนแรง ความคิดเห็นรุนแรง.
  16. รุม ๑ : ก. อาการที่คนหลายคนหรือสัตว์หลายตัวรวมกันเข้ามาทําอย่างใดอย่างหนึ่ง แก่ผู้หนึ่งหรือสิ่งหนึ่งอย่างไม่มีระเบียบ เช่น รุมตี รุมด่า แมลงวันรุมตอม เมล็ดทุเรียน, ประดังห้อมล้อมเข้ามา เช่น กลุ้มรุม รุมกันเข้าไปซื้อของ, ประดังกันเข้ามา เช่น โดนโรครุมเสียแย่; กรุ่นอยู่ภายในเพราะพิษไข้ เป็นต้น เช่น เป็นไข้ร้อนรุมอยู่หลายวัน.
  17. รู้แจ้ง : ก. เข้าใจตลอด, รู้ตามเหตุผลอย่างชัดเจน, รู้แจ้งแทงตลอด ก็ว่า.
  18. รู้ตื้นลึกหนาบาง : ก. รู้ความเป็นไปของผู้อื่นอย่างละเอียด.
  19. รู้เต็มอก : ก. รู้ความเป็นไปอย่างดี แต่ไม่อาจพูดออกมาได้ เช่น รู้เต็มอก ว่าเขาไม่ซื่อสัตย์ แต่ก็บอกใครไม่ได้, รู้อยู่แก่ใจ รู้อยู่เต็มใจ หรือ รู้อยู่ เต็มอก ก็ว่า.
  20. รู้ที : ก. รู้ชั้นเชิง, รู้เล่ห์เลี่ยม, เช่น มาบ่อย ๆ รู้ทีว่าคงจะประสงค์อะไร อย่างหนึ่ง.
  21. รูบิเดียม : น. ธาตุลําดับที่ ๓๗ สัญลักษณ์ Rb เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง เนื้ออ่อน สีขาว ไวต่อปฏิกิริยาเคมีอย่างยิ่ง หลอมละลายที่ ๓๘.๙?ซ. (อ. rubidium).
  22. รูปไข่ : น. มีรูปกลมรีอย่างไข่เป็ดไข่ไก่.
  23. รูปธรรมนามธรรม : น. ลักษณะที่เป็นเองอย่างนั้นตามธรรมชาติ (ใช้แก่รูปร่างหน้าตาของคน) เช่น หน้าตาสวยหรือไม่สวยก็เป็น เรื่องของรูปธรรมนามธรรม.
  24. รูปแบบ : น. รูปที่กำหนดขึ้นเป็นหลักหรือเป็นแนวซึ่งเป็นที่ยอมรับ เช่น รูปแบบร้อยกรอง; (ศิลปะ) สิ่งที่แสดงให้เห็นว่าเป็นเช่นนั้น ๆ อย่างรูปคน รูปบ้าน รูปปลา รูปใบไม้ เช่น รูปแบบผู้หญิง รูปแบบเป็ด รูปแบบวัด.
  25. รูปเหลี่ยม : น. รูปที่มีด้านโดยรอบเป็นเส้นตรงอย่างน้อย ๓ เส้น ปลาย เส้นจดกัน.
  26. รู้มลัก, รู้มลาก : [–มะ–] ก. รู้มากอย่าง, เข้าใจมาก.
  27. รูเล็ตต์ : น. ชื่อการพนันชนิดหนึ่ง เจ้ามือใช้ลูกงากลมใส่ในวงล้อที่หมุนอย่างเร็ว วงล้อนั้นแบ่งเป็นช่อง ๆ สีแดงสลับดํา มีเลขกํากับทุกช่อง ผู้เล่นจะต้อง แทงว่าลูกกลมนั้นจะตกที่ช่องใด โดยจะแทงแต่ละหมายเลขหรือจะแทง เป็นกลุ่ม เช่น กลุ่มเลข คู่–คี่ กลุ่มเลข สูง–ตํ่า หรือจะแทงสีก็ได้. (อ. roulette).
  28. รู้สำนึก : ก. รู้สึกตัวว่าผิด เช่น ถูกลงโทษอย่างหนักแล้วยังไม่รู้สำนึก.
  29. รู้ไส้ : ก. รู้ความในหรือเรื่องส่วนตัวของผู้อื่นเป็นอย่างดี (มักใช้เกี่ยว กับฐานะการเงิน).
  30. เร่ : ก. เที่ยวไปไม่ประจําเป็นตําแหน่งแห่งที่ (ใช้แก่การค้าย่อย หรือรับจ้าง ขนส่งซึ่งไม่ประจําที่) เช่น เร่ขายของ, เตร่, เดินไปเดินมาอย่างไม่มี จุดหมาย, เช่น เร่ไปคุยที่โต๊ะโน้นบ้างโต๊ะนี้บ้าง, อาการที่หันเหและ เวียนเคลื่อนที่จากจุดเดิมไปสู่อีกที่หนึ่ง เช่น เดินกลับบ้านเห็นคนเล่น หมากรุกก็เลยเร่ไปเล่นด้วย. ว. ที่ไม่อยู่ประจำเป็นตำแหน่งแห่งที่ เช่น พ่อค้าเร่, เรียกละครที่มิได้อยู่แสดงประจำที่ว่า ละครเร่, เรียกเรือที่ ตระเวนขายของต่าง ๆ ไปตามแม่น้ำลำคลองว่า เรือเร่, เรียกพ่อค้าแม่ค้า ที่หาบของขายไปเรื่อย ๆ ไม่อยู่ประจำที่ว่า พ่อค้าหาบเร่ แม่ค้าหาบเร่, เรียกสั้น ๆ ว่า หาบเร่.
  31. เรขาคณิต : (คณิต) น. คณิตศาสตร์แขนงหนึ่งที่ว่าด้วยการจําแนกประเภทสมบัติ และโครงสร้างของเซตของจุดที่เรียงกันอย่างมีระเบียบตามกฎเกณฑ์ ที่กําหนดให้เป็นรูปทรงต่าง ๆ เช่น เส้นตรง วงกลม รูปสามเหลี่ยม ระนาบ รูปกรวย.
  32. เร่งรัด : ก. เร่งอย่างกวดขัน เช่น เร่งรัดลูกหนี้ให้ใช้เงินคืน. ว. เรียก หลักสูตรที่เร่งให้เรียนจบภายในกำหนดเวลาที่เร็วขึ้นว่า หลักสูตร เร่งรัด.
  33. เร่อร่า : ว. อาการที่แต่งกายรุ่มร่ามเกินพอดี เช่น เขาแต่งตัวเร่อร่าผิด กาลเทศะ, ซุ่มซ่าม เช่น เขาเดินเร่อร่าออกไปกลางถนนเลยถูกรถชน, เซ่อซ่า เช่น เขาเร่อร่าเข้าไปอยู่กับพวกเล่นการพนันเลยถูกจับไปด้วย, เก้งก้าง เช่น เขาเป็นคนท่าทางเร่อร่าอย่างนั้นเอง, กะเร่อกะร่า กะเล่อ กะล่า หรือ เล่อล่า ก็ว่า.
  34. เรา : สรรพนามบุรุษที่ ๑ เป็นคำแทนตัวผู้พูด จะเป็นคนเดียวหรือหลายคน ก็ได้ ถ้าผู้พูดเป็นคนคนเดียว อาจพูดแทนคนอื่น ๆ รวมทั้งตัวเองด้วย เช่น เราทุกคนเป็นคนไทย หรืออาจพูดกับผู้ที่มีฐานะเสมอกัน เช่น เรามีความเห็นอย่างนี้ เธอมีความเห็นอย่างไร หรืออาจพูดกับผู้ที่มีฐานะ ต่ำกว่า เช่น อธิบดีพูดกับนักการว่า ปีนี้เราจะขึ้นเงินเดือนให้ ๒ ขั้น, สรรพนามบุรุษที่ ๒ เป็นคำใช้สำหรับผู้มีอำนาจหรือผู้ใหญ่พูดกับผู้น้อย เช่น เจ้าหน้าที่ถามผู้ต้องหาว่า เราจะรับสารภาพไหม.
  35. เริด ๒ : ว. เรียกอาการที่นอนตาค้างหรือนอนไม่หลับว่า นอนตาเริด; เรียกอาการ ที่วิ่งมาอย่างเร็วด้วยความตื่นเต้นหรือกลัวเป็นต้นว่า วิ่งหน้าเริด; ร่นสูง ขึ้นมามากเช่น นั่งกระโปรงเริดเลยหัวเข่า, (ปาก) สวยมากเป็นพิเศษ เช่น แต่งตัวเสียเริด.
  36. เรียก : ก. เปล่งเสียงเพื่อให้มาหรือให้ไปเป็นต้น เช่น แม่เรียกให้มาทำการบ้าน ช่วยเรียกสุนัขไปเสียที, ออกชื่อ เช่น ครูเรียกมาลีให้มาหา, เชิญ เช่น เรียกประชุม เรียกหมอ เรียกน้ำ เรียกลม; ให้ชื่อ เช่น น้ำที่ทำให้แข็ง เรียกว่าน้ำแข็ง ภาชนะอย่างนี้เรียกว่าถ้วย; กำหนดเอา, ร้องเอา, เช่น หมอเรียกค่ารักษาพยาบาล โจทก์เรียกค่าเสียหาย รัฐบาลเรียกเก็บภาษี; (ปาก) ชวนให้มีอาการเช่นนั้น เช่น เรียกน้ำตา เรียกเสียงตบมือ.
  37. เรี่ยราด : ว. กระจายไปอย่างเลอะเทอะ เช่น น้ำหกเรี่ยราด น้ำแกงหก เรี่ยราด.
  38. เรียว ๑ : น. สิ่งที่มีลักษณะโคนโตปลายเล็ก เช่น เรียวหวาย เรียวไม้, เรียกไม้ ปลายเรียวเล็กสำหรับตีเด็กว่า ไม้เรียว. ว. เล็กลงไปตามลำดับอย่าง ลำไม้ไผ่ เช่น นิ้วเรียว ขาเรียว; โดยปริยายหมายถึงเสื่อมลงตามลําดับ เช่น ศาสนาเรียว.
  39. เรือ : น. ยานพาหนะที่ใช้สัญจรไปมาในนํ้า มักทําด้วยวิธีขุดไม้ทั้งต้นหรือนํา กระดาน สังกะสี เหล็ก เป็นต้น มาประกอบกันเข้า; ตัวหมากรุกที่เดินตา ตรงได้ตลอด; เครื่องเล่นอย่างหนึ่ง เอาไม้ไผ่มาเหลาแบน ๆ ดัดให้หัว งอน ใช้พุ่งแข่งกัน; ยศทหารเรือหรือทหารอากาศชั้นสัญญาบัตรขั้นต้น ตํ่ากว่าชั้นนาวาหรือนาวาอากาศ เช่น เรือตรี เรืออากาศเอก.
  40. เรือกอและ : น. เรือประมงตามชายฝั่งทะเลทางภาคใต้ รูปร่างยาวเพรียว หัวและท้ายเรือแหลมสูง เขียนลวดลายสีสันต่าง ๆ ไว้อย่างสวยงาม.
  41. เรื่อง : น. ภาวะหรือเนื้อหาของสิ่งซึ่งเนื่องกับข้อเท็จจริงหรือเหตุการณ์อย่างใด อย่างหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น เรื่องประวัติศาสตร์ เรื่องการเมือง เรื่องเศรษฐกิจ; เนื้อความ เช่น อ่านเอาเรื่อง, คดี, เหตุ, เช่น ไปก่อเรื่อง ไปมีเรื่อง.
  42. เรือง, เรือง ๆ : ว. มีแสงน้อย ๆ อย่างแมงคาเรืองหรือหิ่งห้อย เช่น จุดเทียนมีแสงเรือง เห็นแสงไฟเรือง ๆ; แตกฉาน เช่น เรืองปัญญา; โด่งดัง เช่น เรืองเดช เรืองยศ เรืองนาม เรืองอำนาจ.
  43. เรือเท้ง : น. เรือชนิดหนึ่งรูปร่างคล้ายเรือกำปั่น ตอนหัวหนาและงุ้มเป็น ปากนก ท้ายเรือปาดลงเป็นรูปแตงโม มีเสาหัวและเสากลางสำหรับชักใบ กลางลำมีเก๋ง ท้ายเรือมีบาหลีรูปกลมและมีแคร่รอบบาหลีท้าย หัวเรือไม่ เจาะรูสมอ; เรือต่อชนิดหนึ่งหัวท้ายทู่อย่างเรือที่ใช้หนุนเรือนแพ.
  44. เรือโป๊ะจ้าย : น. เรือลำเลียงหรือบรรทุกของชนิดหนึ่ง เป็นเรือขนาดใหญ่ ต่ออย่างแบบตะวันตก แต่มีเสาเพลาใบเป็นอย่างสำเภา, เรือโป๊ะ ก็เรียก.
  45. เรือพระที่นั่งกราบ : น. เรือหลวงที่จัดเป็นพระราชพาหนะเสด็จไปอย่าง ลำลอง เป็นเรือขุดเสริมกราบขนาดใหญ่ สะดวกแก่การประทับทรง สำราญพระอิริยาบถไปทางไกล ๆ เช่น เรือศรีเมือง เรือเฟื่องฟ้า เรือทิพากร.
  46. เรือพระที่นั่งศรี : น. เรือหลวงที่จัดเป็นพระราชพาหนะสำรองไปใน กระบวนเสด็จทางชลมารค ทอดบัลลังก์กัญญา ดาดหลังคาด้วยผ้า สักหลาดสอดสีอย่างพนักอินทรธนู ถ้าเป็นเรือพระที่นั่งเพิ่มผ้าเยียรบับ ลายทองกลางกรอบพนักอินทรธนู.
  47. เรือสำปันนี : น. เรือชนิดหนึ่งรูปร่างอย่างเรือมาดแต่หัวแบนโตเรี่ยน้ำ.
  48. เรือใหญ่คับคลอง : (สํา) น. คนที่เคยรุ่งเรืองหรือเป็นใหญ่เป็นโต เมื่อ ตกตํ่าลงก็วางตัวอย่างคนสามัญไม่ได้.
  49. แร่ง ๒ : น. ที่วางศพหามศพรูปอย่างแคร่.
  50. แร้นแค้น : ขาดแคลนไปเสียทุกสิ่งทุกอย่าง.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | [1751-1800] | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2418

(0.1243 sec)