Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เมืองขึ้น, เมือง, ขึ้น , then ขน, ขึ้น, มอง, เมือง, เมืองขึ้น .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เมืองขึ้น, 2790 found, display 1851-1900
  1. เรือพายม้า : น. เรือขุดชนิดหนึ่ง หัวเรือและท้ายเรือเรียวงอนขึ้นพองาม มีไม้หูกระต่ายติดขวางอยู่ทั้งหัวและท้ายเรือ ตรงกลางลำป่องออก ใช้ งานในแถบภาคกลาง.
  2. เรือแม่ปะ : น. เรือขุดชนิดหนึ่ง คล้ายเรือชะล่า แต่มีขนาดใหญ่และ ยาวกว่า ท้ายต่อไม้ยกงอนสูงขึ้นคล้ายหางแมงป่อง มักใช้ถ่อ, เรือ หางแมงป่อง ก็เรียก.
  3. เรือรบ : น. เรือที่ต่อหรือดัดแปลงขึ้นเพื่อใช้ในการรบ มีขีดความสามารถ ต่าง ๆ เช่น ต่อตีเรือข้าศึก คุ้มกันกระบวนเรือลำเลียง และระดมยิงฝั่ง เป็นต้น มีหลายประเภท เรียกชื่อตามลักษณะและหน้าที่ที่สำคัญ เช่น เรือบรรทุกเครื่องบิน เรือดำน้ำ เรือลาดตระเวน เรือวางทุ่นระเบิด.
  4. เรือรูปสัตว์ : น. เรือหลวง มีทั้งประเภทเรือที่ขุดขึ้นจากซุงทั้งต้นกับเรือ เสริมกราบ มีลักษณะพิเศษตรงศีรษะเรือต่อไม้ขึ้นไปแล้วสลักเป็นรูป สัตว์หิมพานต์ หรือรูปอมนุษย์ต่าง ๆ เช่น ครุฑ อสุรปักษา พญานาค ตอนท้ายเรือต่อไม้ทำเป็นทวนเชิดงอนไปล่ปลิวไปทางด้านหลัง เช่น เรือเอกไชยเหินหาว เรือพาลีรั้งทวีปเรือครุฑเหินระเห็จ เรืออสุรปักษี, บางทีเรียกว่า เรือกระบวนปิดทอง.
  5. เรือเร็วโจมตี : น. เรือรบขนาดเล็กระวางขับน้ำประมาณ ๓๐๐–๖๐๐ ตัน มีความเร็วสูงตั้งแต่ ๒๕ นอตขึ้นไป มีอาวุธที่มีอำนาจในการทำลายสูง หลายประเภทขึ้นอยู่กับภารกิจของเรือนั้น ๆ เช่น ปืน อาวุธนำวิถีระยะ ปานกลางหรือระยะไกล.
  6. เรือส่ง : น. เรือบรรทุกสินค้านานาชนิดขึ้นล่องส่งสินค้าขายเรื่อยไป ตามแม่น้ำลำคลอง.
  7. เรือหลวง : น. เรือที่ขึ้นระวางเป็นของหลวง.
  8. เรือหางแมงป่อง : น. เรือขุดชนิดหนึ่งคล้ายเรือชะล่า แต่มีขนาดใหญ่ และยาวกว่า ท้ายต่อไม้ยกงอนสูงขึ้นคล้ายหางแมงป่อง มักใช้ถ่อ, เรือแม่ปะ ก็เรียก.
  9. เรือหางยาว : น. เรือยนต์ชนิดหนึ่ง มีลักษณะเพรียวยาว ขับเคลื่อนด้วย เครื่องยนต์ติดที่ท้ายเรือ มีท่อโลหะยาวคล้ายหางติดใบจักรใช้แทน หางเสือไปในตัวและยกขึ้นลง โยกไปทางซ้ายทางขวาเพื่อเปลี่ยน ทิศทางได้.
  10. แร่ ๑ : น. ธาตุหรือสารประกอบอนินทรีย์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ มีสูตรเคมีและ สมบัติอื่น ๆ ที่แน่นอนหรือเปลี่ยนแปลงได้ในวงจำกัดและนำมาถลุงได้ เช่น แร่ดีบุกนำมาถลุงได้โลหะดีบุก แร่ทองคำนำมาถลุงได้โลหะทองคำ; (กฎ) ทรัพยากรธรณีที่เป็นอนินทรียวัตถุ มีส่วนประกอบทางเคมีกับ ลักษณะทางฟิสิกส์แน่นอนหรือเปลี่ยนแปลงได้เล็กน้อยไม่ว่าจะต้อง ถลุงหรือหลอมก่อนใช้หรือไม่ และหมายความรวมตลอดถึงถ่านหิน หินนํ้ามัน หินอ่อน โลหะและตะกรันที่ได้จากโลหกรรม นํ้าเกลือใต้ดิน หินซึ่งกฎกระทรวงกําหนดเป็นหินประดับหรือหินอุตสาหกรรม และ ดินหรือทรายซึ่งกฎกระทรวงกําหนดเป็นดินอุตสาหกรรมหรือทราย อุตสาหกรรม แต่ทั้งนี้ไม่รวมถึงนํ้าเกลือสินเธาว์ ลูกรัง หิน ดิน หรือทราย. แร่ธาตุ น. แร่.
  11. โรงงาน : (กฎ) น. อาคาร สถานที่ หรือยานพาหนะที่ใช้เครื่องจักร มีกําลัง รวมตั้งแต่ ๕ แรงม้าหรือกําลังเทียบเท่าตั้งแต่ ๕ แรงม้าขึ้นไป หรือใช้ คนงานตั้งแต่ ๗ คนขึ้นไปโดยใช้เครื่องจักรหรือไม่ก็ตามสําหรับทํา ผลิต ประกอบ บรรจุ ซ่อม ซ่อมบํารุง ทดสอบ ปรับปรุง แปรสภาพ ลําเลียง เก็บรักษา หรือทําลายสิ่งใด ๆ ทั้งนี้ตามประเภทหรือชนิดของโรงงาน ที่กําหนดในกฎกระทรวง.
  12. โรงนา : น. โรงที่ชาวนาสร้างขึ้นเป็นที่อยู่อาศัย มักจะสร้างบนเนินดิน ที่สูงกว่าพื้นนากันน้ำท่วม ด้านหนึ่งมียกพื้นสำหรับนอน มีที่ทำครัว และมีที่ว่างสำหรับไว้วัวควายด้วย.
  13. โรงเรียนสาธิต : น. โรงเรียนที่ขึ้นกับสถาบันผลิตครู ตั้งขึ้นเพื่อเป็นที่ ฝึกสอนของนักศึกษาครู หรือเพื่อเป็นโรงเรียนตัวอย่างทางด้านการ สอนหรือการบริหาร.
  14. โรงแรม : น. ที่พักคนเดินทางซึ่งต้องเสียค่าพักแรมด้วย; (กฎ) สถานที่ ทุกชนิดที่จัดตั้งขึ้นเพื่อรับสินจ้างสําหรับคนเดินทางหรือบุคคลที่ ประสงค์จะหาที่อยู่หรือที่พักชั่วคราว.
  15. ลง : ก. ไปสู่เบื้องตํ่าหรือไปสู่เบื้องที่ถือว่าตรงข้ามกับขึ้น เช่น นํ้าลง เครื่องบินลง, ไปสู่พื้นดินและพื้นอื่น ๆ เช่น ลงดิน ลงบันได ลงเรือ; เอาเครื่องมือจับสัตว์นํ้าวางขึง หรือปัก เพื่อจับสัตว์นํ้า เช่น ลงข่าย ลงลอบ ลงอวน ลงเบ็ด; จด เช่น ลงบัญชี; ทําพิธี จารึกมนตร์หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น ลงเลขลงยันต์ ลงนะหน้าทอง ลงกระหม่อม; ยอม เช่น ผู้น้อยต้องลงผู้ใหญ่; ตีพิมพ์ออกเผยแพร่ เช่น เอาข่าวไปให้หนังสือพิมพ์ลง ลงแจ้งความ; ตกลงปลงใจ แล้วก็ปักใจถือเอาเป็นแน่ เช่น ลงได้ทําเป็นไม่ทิ้ง ลงสู้แล้วไม่ถอย; ปลูก เช่น ลงมะพร้าว ลงลิ้นจี่; ลด เช่น ราคาทองลง ค่าเงินดอลลาร์ลง; ตก เช่น นํ้าค้างลง ฝนลง หมอกลง; เฆี่ยน เช่น ลงไม้ เอาหวายลงหลัง; ท้องเดิน เช่น ทั้งลงทั้งราก. ว. อาการที่ไปสู่เบื้องตํ่า เช่น ไหลลง เลื่อนลง ถอยลง; มากกว่าเดิม เช่น เลวลง ผอมลง ถูกลง สั้นลง.
  16. ลงกา : น. ชื่อเมืองของทศกัณฐ์ในเรื่องรามเกียรติ์.
  17. ลงแขก : ก. ร่วมแรงเพื่อนบ้านมาช่วยกันทำงานเช่นดำนา เกี่ยวข้าว ให้ลุล่วงเร็วขึ้นโดยไม่รับค่าจ้าง และผลัดเปลี่ยนช่วยกันไปตาม ความจำเป็นของแต่ละบ้าน; (ปาก) รุมกันข่มขืนกระทําชําเราหญิง.
  18. ลงคราม : ก. เอาผ้าขาวที่ซักแล้วชุบลงในน้ำผสมครามอ่อน ๆ ก่อนนำขึ้นตาก เพื่อให้ผ้าขาวนวลเมื่อแห้งแล้ว.
  19. ลงอุโบสถ : ก. เข้าร่วมสังฆกรรมฟังพระปาติโมกข์ในวันขึ้น ๑๕ คํ่า วันแรม ๑๔ หรือ แรม ๑๕ คํ่าของเดือน (ใช้แก่พระสงฆ์), ลงโบสถ์ ก็ว่า.
  20. ลด : ก. น้อยลง ตํ่าลง หรือทําให้น้อยลงตํ่าลงกว่าที่มีอยู่เป็นอยู่แต่เดิม เช่น น้ำลด ลดโทษ ลดราคา ลดน้ำหนัก ไข้ลด ลดธงลงจากเสา, ผ่อนลง เช่น ลดฝีเท้า ลดฝีจักร ลดระดับ ลดเสียง, เอาออก เช่น ลดฝาเรือนออกด้านหนึ่งทำให้ห้องโล่งขึ้น, หย่อนตัวลงนั่งหรือ นอน เช่น ลดตัวลงนั่ง.
  21. ลม ๓ : น. ชื่อเห็ดชนิด Lentinus polychrous L?v. ในวงศ์ Polyporaceae ขึ้นบนขอนไม้ผุ ดอกเห็ดรูปปากแตร ด้านบนมีเกล็ดสีนํ้าตาลอ่อน ด้านล่างมีครีบสีนํ้าตาลแดง เนื้อเหนียว กินได้.
  22. ล่มจม : ก. สิ้นเนื้อประดาตัว เช่น ค้าขายขาดทุนจนล่มจม, ย่อยยับ, ฉิบหาย, เช่น บ้านเมืองล่มจม.
  23. ลมตะกัง : น. ชื่อโรคลมชนิดหนึ่ง ตามตำราแพทย์แผนโบราณว่า ทำให้มีอาการปวดหัวเวลาเช้า ๆ ปวดกระบอกตา เมื่อเห็นแดด จะลืมตาไม่ขึ้น, ลมปะกัง ก็ว่า.
  24. ลมทะเล : น. ลมที่พัดจากทะเลเข้าหาฝั่งในเวลากลางวัน เนื่องจาก เวลากลางวันพื้นดินร้อนกว่าพื้นนํ้า ทําให้อากาศที่อยู่เหนือพื้นดิน ลอยตัวสูงขึ้น อากาศจากทะเลซึ่งอยู่ในบริเวณใกล้เคียงจึงเข้ามาแทนที่.
  25. ลมบก : น. ลมที่พัดออกจากฝั่งไปสู่ทะเลในเวลากลางคืน เนื่องจาก อุณหภูมิของนํ้าทะเลอุ่นกว่าอุณหภูมิของพื้นดินที่อยู่ใกล้เคียง อากาศ เหนือผิวนํ้าจะลอยตัวสูงขึ้น อากาศจากพื้นดินจึงพัดเข้าไปแทนที่.
  26. ลมบ้าหมู ๑ : น. ลมหมุนที่เกิดในบริเวณแคบ ๆ มีความรุนแรง ไม่มากนัก มักหอบเอาของเป็นวงขึ้นไปในอากาศ.
  27. ล้มฝา : ก. ทำปลายฝาเรือนทรงไทยให้สอบขึ้น.
  28. ลมพิษ : น. ผื่นคันเป็นพิษเห่อขึ้นตามผิวหนัง. ลมเพลมพัด น. อาการที่เจ็บป่วยโดยไม่รู้สาเหตุ มักเข้าใจกันว่า ถูกกระทํา.
  29. ลมมรสุม : น. (ภูมิ) ลมที่เกิดขึ้นเนื่องจากความแตกต่างระหว่าง อุณหภูมิของพื้นดินกับพื้นน้ำ ในฤดูหนาวอุณหภูมิของพื้นดิน เย็นกว่าอุณหภูมิของน้ำในมหาสมุทรที่อยู่ใกล้เคียง อากาศเหนือ พื้นน้ำจะลอยตัวสูงขึ้น อากาศจากพื้นดินจึงพัดเข้าไปแทนที่ทำ ให้เกิดเป็นลมพัดออกจากทวีป ส่วนในฤดูร้อนอุณหภูมิของพื้นดิน ร้อนกว่าน้ำในมหาสมุทร จึงทำให้เกิดลมพัดไปในทิศทางตรง กันข้าม, พายุใหญ่ที่มีลมแรงและมีฝนตกหนัก.
  30. ล้มลุก : น. พืชที่มีอายุชั่วคราว เช่น พริก มะเขือ ถั่ว ข้าวโพด เรียกว่า พืชล้มลุก; เรียกตุ๊กตาชนิดหนึ่งเมื่อผลักล้มลงแล้วลุกขึ้นเองว่า ตุ๊กตาล้มลุก.
  31. ลมสว้าน : [–สะว่าน] ก. ลมแดกขึ้นอันเป็นอาการของไข้หนักจวน จะสิ้นใจ.
  32. ลวด : น. สิ่งที่ทําเป็นเส้นยาว ๆ เช่น ลวดหนัง คือ แผ่นหนังที่เอามาทําเป็น เส้นยาว ๆ, โลหะที่เอามารีดเป็นเส้นเช่นนั้นก็เรียกว่า ลวด เช่น ลวด สังกะสี ลวดทองแดง, โดยมากมักเรียกสั้น ๆ ว่า ลวด; เรียกสิ่งที่ทํา ด้วยลวด โลหะคล้ายสิ่งทอ ใช้กันยุงต่างมุ้ง ว่า มุ้งลวด; เรียกเครื่อง ปูลาดสําหรับรองนั่ง ทําด้วยต้นกก ทอเป็นผืน หน้ากว้างประมาณ ๑ เมตร ความยาวไม่จํากัด นิยมใช้ตามวัด ว่า เสื่อลวด; ลายที่ลอก เป็นเส้นกลมยาวไปตามขอบตัวไม้ต่าง ๆ, เรียกสิ่งที่นูนขึ้นซึ่งมี ลักษณะคล้ายลวด เช่นลวดปากปลา. (โบ) ว. เลย.
  33. ลอม : ก. รวมตะล่อมกันขึ้นไปให้เป็นจอม; อาการที่โค้งเข้าหากันเป็นวง เช่น ควายเขาลอม, รอม ก็ว่า. น. เรียกกองฟางกองข้าวเป็นต้นซึ่งมี ลักษณะเช่นนั้นว่า ลอมฟาง ลอมข้าว.
  34. ลอย ๆ : ว. ไม่เจาะจงผู้ใดโดยเฉพาะ เช่น ด่าลอย ๆ; ไม่มีเหตุผล หรือหลักฐาน เช่น เขียนกฎขึ้นมาลอย ๆ พูดลอย ๆ ไม่มีที่อ้างอิง; อาการที่พูดห้วน ๆ ไม่มีหางเสียงไม่มีคำลงท้าย เช่น พูดลอย ๆ ไม่มีคะขา.
  35. ลอยชาย : ว. ปล่อยชายผ้านุ่ง (คือ ไม่โจงกระเบน) ในคำว่า นุ่งผ้า ลอยชาย; กรีดกราย เช่น เดินลอยชายไม่ทำอะไรเลย, โดยปริยาย หมายความว่า ไม่มีผู้ขัดขวาง เช่น ข้าศึกเดินลอยชายเข้าเมือง.
  36. ลอยน้ำ : ก. หล่อน้ำ, เอาภาชนะใส่ของไปตั้งไว้ในน้ำไม่ให้มดขึ้น เช่น เอาขนมใส่ถ้วยไปลอยน้ำไว้; เอาดอกไม้หอมลอยลงในน้ำเพื่อ อบน้ำให้หอม เช่น เอาดอกมะลิลอยน้ำ.
  37. ลอว์เรนเซียม : น. ธาตุลําดับที่ ๑๐๓ สัญลักษณ์ Lr (ใช้ Lw ก็มี) เป็นธาตุกัมมันตรังสี ที่นักวิทยาศาสตร์ สร้างขึ้นไม่มีปรากฏในธรรมชาติ. (อ. lawrencium).
  38. ล่ะ : ว. คำใช้ประกอบข้อความข้างหน้าเพื่อยืนยันให้มีน้ำหนักขึ้น เช่น มิน่าล่ะ จะไปไหมล่ะ, เล่า ก็ว่า.
  39. ละ ๑ : ก. อาการที่แยกตัวให้พ้นจากสิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งเกี่ยวข้องอยู่ เช่น ละถิ่น ละบ้าน ละสมณเพศ; ทิ้งไว้, ปล่อยไว้, เช่น ละไว้ในฐาน ที่เข้าใจ ละพยศ; เว้นว่างคําหรือข้อความไว้ไม่กล่าวให้เต็ม โดย ใช้เครื่องหมาย ฯ หรือ ฯลฯ เรียกว่า ไปยาลน้อย หรือ ไปยาลใหญ่ หรือเขียนว่างเป็นจุด ๆ ดังนี้ … หรือเว้นว่างไว้โดยใช้เครื่องหมาย ดังนี้ – ''– แสดงว่ามีคําหรือข้อความซํ้ากับบรรทัดบน. ว. คําประกอบ คํานามให้รู้ว่าเป็นหน่วยหนึ่ง ๆ หรือส่วนหนึ่ง ๆ ในจํานวนรวม ซึ่งกําหนดเป็นราย ๆ ไป เช่น คนละ ปีละ, คําประกอบกริยาเพื่อ เน้นความให้มีนํ้าหนักขึ้น เช่น ไปละ เอาละ.
  40. ละ ๒ : ว. คําใช้ประกอบหน้าคํา ก็ เป็น ละก็ เพื่อเน้นความให้กระชับขึ้น เช่น เด็กละก็ซนอย่างนี้.
  41. ละครนอก : น. ละครรำแบบหนึ่ง ปรับปรุงให้ดีขึ้นจากละครชาตรี ในชั้นต้นตัวละครเป็นชายล้วน ภายหลังหญิงชายแสดงปนกัน มีบทเจรจา การแสดงพลิกแพลงนอกเรื่องได้ไม่ต้องรักษาระเบียบ แบบแผนนัก แสดงได้ทุกเรื่อง ยกเว้นเรื่องที่ละครในใช้แสดง.
  42. ละบองราหู : น. ชื่อโรค ตามตําราแพทย์แผนโบราณว่าเป็นโรคซาง ชนิดหนึ่งที่ขึ้นเป็นเม็ดที่เด็กอ่อน, กระบองราหู ก็เรียก.
  43. ละเมาะ ๑ : น. หมู่ไม้ขนาดเล็ก ซึ่งขึ้นในที่โล่งเป็นหย่อม ๆ, บางทีก็เรียกว่า เกาะ, ถ้ามีลักษณะเป็นป่า ก็เรียกว่า ป่าละเมาะ.
  44. ละโว้ ๑ : น. ชื่อเก่าของเมืองลพบุรี.
  45. ละออง : น. สิ่งซึ่งมีลักษณะเป็นผงเป็นฝอยละเอียดยิบ เช่น ละอองฝน ละอองน้ำ ละอองฟาง ละอองข้าว; ฝ้าขาวที่ขึ้นในปากเด็กเล็ก ๆ เมื่อไม่สบาย เช่น เด็กท้องเสียลิ้นเป็นละออง.
  46. ลักลอบ : ก. ลอบกระทำการบางอย่าง เช่น ลักลอบได้เสียกัน ลักลอบ เข้าเมือง ลักลอบเล่นการพนัน.
  47. ลัคน–, ลัคน์, ลัคนา : [ลักคะนะ–, ลัก, ลักคะนา] น. ราศีที่ปรากฏขึ้นที่ขอบฟ้าทางทิศ ตะวันออกในเวลาเจ้าของชะตาเกิด เช่น นาย ก เกิดเวลา ๑๑.๐๐ น. ลัคนาสถิตราศีกันย์, ในดวงชะตาถ้าอาทิตย์อยู่ในราศีเดียวกับลัคน์ เรียกว่า อาทิตย์กุมลัคน์; เวลาหรือวันที่ถือว่าเป็นมงคลสําหรับ ลงมือทําการใด ๆ, ถ้าเป็นเวลาที่เป็นมงคล เรียกว่า ลัคนกาล ถ้าเป็นวันที่เป็นมงคล เรียกว่า ลัคนทิน เช่น โหรคํานวณว่าวันที่ ๑๔ พฤษภาคม เป็น ลัคนทิน เวลา ๑๗.๐๐ น. เป็น ลัคนกาล เป็นวันและเวลาที่เหมาะสําหรับทําพิธีรดนํ้าแต่งงาน.
  48. ลัดเนื้อ : ว. ค่อยมีเนื้อมากขึ้น (ใช้แก่แผล), ค่อยอ้วนขึ้น.
  49. ลับแล : น. เครื่องกั้นหรือบังตา เป็นแผงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีขาตั้ง ขนาบ ๒ ข้าง ยกย้ายได้ มักตั้งต่อช่องประตูเข้าไป บังตาคนภาย นอกไม่ให้เห็นภายใน; ชื่อเมืองที่เร้นลับ ถือกันว่าจะพบได้ก็แต่ โดยบังเอิญ ถ้าตั้งใจไปไม่พบ.
  50. ล้า ๑ : ว. หย่อนแรงหรือกำลัง เช่น เดินขึ้นเขามาก ๆ เข่าล้า ยกของมาก จนแขนล้า สมองล้า, ย่อหย่อน เช่น จิตใจล้า.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | [1851-1900] | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2790

(0.1988 sec)