Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เมืองขึ้น, เมือง, ขึ้น , then ขน, ขึ้น, มอง, เมือง, เมืองขึ้น .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เมืองขึ้น, 2790 found, display 2001-2050
  1. วินิจฉัย : ก. ตัดสิน, ชี้ขาด, เช่น เรื่องนี้วินิจฉัยได้ ๒ ทาง; ไตร่ตรอง, ใคร่ครวญ, เช่น คณะกรรมการขอเลื่อนเวลาออกไปอีกเพื่อวินิจฉัย ปัญหาให้รอบคอบยิ่งขึ้น. (ป.).
  2. วิวัฒนาการ : [วิวัดทะนากาน] น. กระบวนการเปลี่ยนแปลงหรือ คลี่คลายไปสู่ภาวะที่ดีขึ้นหรือเจริญขึ้น เช่น วิวัฒนาการ แห่งมนุษยชาติ วิวัฒนาการแห่งศิลปวัฒนธรรม.
  3. วิสามานยนาม : [วิสามานยะนาม] (ไว) น. คํานามที่เป็นชื่อเฉพาะ ตั้งขึ้นสําหรับ เรียกคน สัตว์ สิ่งของ และสถานที่ เพื่อให้รู้ชัดว่าเป็นใครหรืออะไร เช่น นายดํา ช้างเอราวัณ เรือสุพรรณหงส์ จังหวัดเชียงใหม่.
  4. วุ่นวาย : ก. เอาเป็นธุระมากเกินไป เช่น เขาชอบเข้าไปวุ่นวายกับ เรื่องของคนอื่นไม่ต้องเตรียมอะไรมากหรอก อย่าวุ่นวายไปเลย; ไม่สงบ เช่น บ้านเมืองวุ่นวายเกิดจลาจลไปทุกหนทุกแห่ง. น. ความไม่สงบ เช่น เกิดวุ่นวายไปทั่วบ้านทั่วเมือง.
  5. เวท, เวท : [เวด, เวทะ] น. ความรู้, ความรู้ทางศาสนา; ถ้อยคําศักดิ์สิทธิ์ที่ผูก ขึ้นเป็นมนตร์หรือคาถาอาคมเมื่อนํามาเสกเป่าหรือบริกรรมตาม ลัทธิวิธีที่มีกําหนดไว้ สามารถให้ร้ายหรือดี หรือป้องกันอันตราย ต่าง ๆ ตามคติไสยศาสตร์ได้ เช่น ร่ายเวท, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ มนตร์ เป็น เวทมนตร์; ชื่อคัมภีร์ภาษาสันสกฤตโบราณซึ่งเป็น พื้นฐานของศาสนาพราหมณ์ยุคแรก มี ๔ คัมภีร์ได้แก่ ๑. ฤคเวท ว่าด้วยบทสวดสรรเสริญเทพเจ้าทั้งหลาย ตอนท้ายกล่าวถึงการ สร้างโลกซึ่งต่อมาได้กลายเป็นต้นแบบความเชื่อของชาวอินเดีย ๒. ยชุรเวท ว่าด้วยรายละเอียดการประกอบยัญพิธีและลำดับมนตร์ ที่นำมาจากคัมภีร์ฤคเวทเพื่อสวดในขั้นตอนต่าง ๆ ของพิธี ๓. สามเวท ว่าด้วยบทขับที่คัดเลือกมาจากประมาณหนึ่งในหก ของฤคเวท และใช้เฉพาะในพิธีที่บูชาด้วยน้ำโสม ๔. อถรรพเวท หรือ อาถรรพเวท เป็นเวทมนตร์คาถาเพื่อให้เกิดผลดีแก่ฝ่ายตน หรือผลร้ายแก่ฝ่ายศัตรู ตลอดจนการบันดาลสิ่งที่เป็นมงคล หรืออัปมงคล การทำเสน่ห์ การรักษาโรค และอื่น ๆ สามคัมภีร์แรก เรียกว่า ไตรเวท หรือ ไตรเพท ต่อมารับอถรรพเวทหรืออาถรรพเวท เข้ามารวมเป็นสี่คัมภีร์เรียกว่า จตุรเวท หรือ จตุรเพท, เรียกยุคแรก ของศาสนาพราหมณ์จนถึงประมาณสมัยพุทธกาลว่า ยุคพระเวท มีวรรณกรรมหลักประกอบด้วยคัมภีร์พระเวท คัมภีร์พราหมณะ คัมภีร์อารัณยกะและคัมภีร์อุปนิษัทรุ่นแรก. (ป., ส.).
  6. เวทิ, เวที ๑ : น. ที่ที่ยกขึ้นให้สูงใช้เป็นที่ทําการสักการบูชา, แท่นบูชา; ยกพื้น สําหรับเล่นละครและอื่น ๆ เช่น เวทีละคร เวทีมวย. (ป., ส.).
  7. เวสิ, เวสิยา : น. หญิงงามเมือง. (ป.).
  8. เวฬุ : ถวายพระพุทธเจ้า อยู่ใกล้เมืองราชคฤห์.
  9. แว้ด : ว. เสียงดังเช่นนั้น เช่น ตวาดแว้ด. (ปาก) ก. ขึ้นเสียง เช่น พูดด้วยดี ๆ กลับมาแว้ดใส่อีก.
  10. แวดวง : (ปาก) น. วงการ, กลุ่มที่สังกัดอยู่, เช่น ในแวดวงนักการเมือง ในแวดวงนักธุรกิจ.
  11. แว่นตา : น. สิ่งที่ทําด้วยแก้วหรือวัสดุใส เป็นเครื่องสวมตาเพื่อช่วย ให้แลเห็นชัดขึ้นเป็นต้น.
  12. แวบวับ : ว. อาการที่แสงสว่างปรากฏอยู่ชั่วแว็บเดียวแล้วก็หายไป และปรากฏขึ้นมาใหม่ต่อเนื่องกัน เช่น ไฟจากป้ายโฆษณามีแสง แวบวับ แสงดาวแวบวับอยู่บนท้องฟ้า.
  13. แว่ว : ก. ได้ยินแต่ไม่ชัดแจ้ง เช่น มีข่าวแว่วมาว่าปีนี้จะได้เงินเดือนขึ้น, ได้ยินมาจากที่ไกล เช่น แว่วเสียงขลุ่ยมาจากชายป่า.
  14. โวยวาย : ก. ส่งเสียงร้องเอะอะเป็นการประท้วงหรือแสดงความไม่ พอใจ เป็นต้น เช่น พอประกาศเงินเดือนขึ้นอีกกลุ่มก็โวยวาย. ว. อาการที่ส่งเสียงเอะอะเป็นการประท้วงหรือแสดงความไม่พอใจ เป็นต้น เช่น เขาไม่ได้เงินเดือนขึ้นก็ส่งเสียงโวยวาย, กระโวยกระวาย ก็ว่า.
  15. ไว้ : ก. เก็บเข้าที่, เอาเข้าที่, เช่น เอาของไปไว้ที่, วาง เช่นเอาไว้ตรงนั้น แหละ ไว้ของให้เป็นที่, บางทีใช้ประกอบท้ายกริยาบางคําเพื่อให้ ความหมายสมบูรณ์หรือหนักแน่นยิ่งขึ้น เช่น เก็บไว้ รักษาไว้ ปลูกไว้, ให้มีอยู่, ให้ดํารงอยู่, รักษา, เช่น ไว้จุก ไว้หนวด ไว้ชีวิต ไว้ยศ.
  16. ศักราช : [สักกะหฺราด] น. อายุเวลาซึ่งกําหนดตั้งขึ้นเป็นทางการ เริ่มแต่ จุดใดจุดหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นที่หมายเหตุการณ์สําคัญ เรียงลําดับกัน เป็นปี ๆ ไป เช่น พุทธศักราช ๑, ๒, ๓, .. จุลศักราช ๑, ๒, ๓, ... (ตามความนิยมที่ใช้เป็นธรรมเนียมกันมา, คํา ศักราชในคํา เช่น พุทธศักราช คริสต์ศักราชจะใช้ว่า ศก เป็น พุทธศก คริสต์ศก ก็ได้ แต่คํา เช่น มหาศักราช จุลศักราช ไม่นิยมใช้ว่า มหาศก จุลศก ส่วนคําว่า รัตนโกสินทรศกไม่นิยมใช้ว่า รัตนโกสินทรศักราช), (ปาก) โดยปริยายหมายความว่า ช่วงใดช่วงหนึ่งซึ่งเริ่มต้น เหตุการณ์สำคัญในชีวิตบุคคล เช่น เริ่มศักราชแห่งชีวิตใหม่ พอเรียนหนังสือจบก็เริ่มศักราชของการทำงาน.
  17. ศัพท์เฉพาะวิชา : น. คำที่ตราหรือกำหนดขึ้นใช้ในแต่ละวิชา เช่น ปฏิชีวนะ ประสบการณ์ มลพิษ.
  18. ศัพท์บัญญัติ : น. คำที่ตราหรือกำหนดขึ้นไว้ให้มีความหมายเฉพาะ เป็นเรื่อง ๆ ไป เช่น โทรทัศน์ ธนาคาร รัฐวิสาหกิจ. ศัพทมูลวิทยา [สับทะมูนละ, สับทะมูน] น. วิชาว่าด้วยที่มา และประวัติของคํา. (อ. etymology).
  19. ศากย, ศากยะ : [สากกะยะ] น. ชื่อวงศ์กษัตริย์วงศ์หนึ่งในเมืองกบิลพัสดุ์ เรียกว่า ศากยวงศ์, เรียกกษัตริย์ในวงศ์นี้ว่า ศากยะ. (ส. ศากฺย; ป. สกฺย).
  20. ศาลกงสุล : (เลิก) น. ศาลของประเทศที่มีสิทธิสภาพนอกอาณาเขต ที่ตั้งขึ้นในอีกประเทศหนึ่ง เพื่อให้กงสุลเป็นผู้พิจารณาคดีคนใน บังคับของตน.
  21. ศาลโปริสภา : [สานโปริดสะพา] (กฎ; เลิก) น. ศาลชั้นต้นที่ จัดตั้งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ แทนศาลกองตระเวนเมื่อ ร.ศ. ๑๑๒ มีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีทํานองเดียวกับศาลแขวงปัจจุบัน.
  22. ศาลเพียงตา : น. ศาลเทพารักษ์ที่ทําขึ้นชั่วคราว มีระดับเสมอ นัยน์ตา เพื่อความเคารพและสวัสดิมงคลเป็นต้น.
  23. ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ : (กฎ) น. องค์กรใหญ่ฝ่ายตุลาการ ขององค์การสหประชาชาติ ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๙ (ค.ศ. ๑๙๔๖) ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ สืบต่อจากศาลประจำยุติธรรม ระหว่างประเทศของสันนิบาตชาติ (Permanent Court of International Justice) ตามบทบัญญัติต่อท้ายกฎบัตรองค์การ สหประชาชาติ มีอำนาจจำกัดเฉพาะการพิจารณาตัดสินคดีแพ่ง ที่เกิดขึ้นระหว่างประเทศสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ ด้วยกัน ซึ่งประเทศคู่กรณียินยอมให้ศาลเป็นผู้พิจารณาตัดสิน เท่านั้น นอกจากนี้ ยังมีหน้าที่ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับกรณีพิพาท ต่าง ๆ ทางกฎหมายและสนธิสัญญาตามที่สมัชชาใหญ่คณะมนตรี ความมั่นคง หรือองค์การชำนัญพิเศษแห่งองค์การสหประชาชาติ ร้องขอ, เรียกย่อว่า ศาลโลก. (อ. International Court of Justice).
  24. ศาลเยาวชนและครอบครัว : (กฎ) น. ศาลยุติธรรมชั้นต้นซึ่งมี อํานาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคําสั่งในคดีอาญาที่มีข้อหาว่าเด็ก หรือเยาวชนกระทําความผิด หรือคดีอาญาที่ศาลซึ่งมีอํานาจ พิจารณาคดีธรรมดาได้โอนมาตามกฎหมาย หรือคดีครอบครัว อันได้แก่คดีแพ่งที่ฟ้องหรือร้องขอต่อศาลหรือกระทําการใด ๆ ในทางศาลเกี่ยวกับผู้เยาว์หรือครอบครัวแล้วแต่กรณี ซึ่งจะต้อง บังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือคดีที่ศาลจะ ต้องพิพากษาหรือสั่งเกี่ยวกับตัวเด็กและเยาวชนตามบทบัญญัติ ของกฎหมายซึ่งบัญญัติให้เป็นอํานาจหน้าที่ของศาลเยาวชน และครอบครัว ได้แก่ ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ศาลเยาวชน และครอบครัวจังหวัด หรือแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวใน ศาลจังหวัดซึ่งจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชน และครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว.
  25. ศาลอาญาศึก : (กฎ) น. ศาลที่ตั้งขึ้นเมื่อหน่วยทหารหรือเรือรบ อยู่ในยุทธบริเวณ เพื่อพิจารณาพิพากษาคดีอาญาทั้งปวงซึ่งการ กระทำผิดเกิดขึ้นในเขตอำนาจได้ทุกบทกฎหมายและไม่จำกัด ตัวบุคคล.
  26. ศาลอุทธรณ์ : (กฎ) น. ศาลยุติธรรมชั้นสูงถัดจากศาลฎีกาลงมา ได้แก่ ศาลอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์ภาค มีอํานาจพิจารณาพิพากษา บรรดาคดีที่อุทธรณ์คําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลชั้นต้นตามบท บัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการอุทธรณ์และว่าด้วยเขตอํานาจศาล และมีอำนาจพิพากษายืนตาม แก้ไข กลับ หรือยกคำพิพากษาของ ศาลชั้นต้นที่พิพากษาลงโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิต เมื่อคดีนั้นได้ส่งขึ้นมายังศาลอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค วินิจฉัย ชี้ขาดคำร้องคำขอที่ยื่นต่อศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาคตาม กฎหมาย และวินิจฉัยชี้ขาดคดีที่ศาลอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์ภาค มีอํานาจวินิจฉัยได้ตามกฎหมายอื่นด้วย.
  27. ศาลาประชาคม : น. สถานที่หรืออาคารที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ ประชุมประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ของประชาชนในชุมชนนั้น ๆ.
  28. ศาลาลงสรง : [สง] น. ศาลาที่สร้างขึ้นชั่วคราวสำหรับใช้ใน พระราชพิธีโสกันต์หรือพระราชพิธีเกศากันต์และพระราชพิธี ลงท่า.
  29. ศาสนจักร : [สาสะนะจัก, สาดสะนะจัก] น. อํานาจปกครองทาง ศาสนา เช่น ไตรภูมิโลกวินิจฉัยเป็นวรรณกรรมฝ่ายศาสนจักร, ถ้าเป็นฝ่ายพระพุทธศาสนา เรียกว่า พุทธจักร, ถ้าเป็นฝ่าย คริสต์ศาสนา เรียกว่า คริสตจักร, คู่กับ อาณาจักร ซึ่งหมายความ ว่า อํานาจปกครองทางบ้านเมือง.
  30. ศาสนสมบัติกลาง : น. ทรัพย์สินของพระศาสนาโดยส่วนรวม ส่วนใหญ่ได้แก่ ที่ดิน อาคาร และดอกผลที่เกิดขึ้นจากที่ดินและ อาคารนั้น ๆ รวมทั้งที่ดินวัดร้างทั่วประเทศที่ทางการได้ประกาศ ยุบเลิกวัดแล้ว.
  31. ศิรประภา : น. รัศมีที่พวยพุ่งขึ้นจากศีรษะของผู้ศักดิ์สิทธิ์และ พระพุทธรูป. (ส.; ป. สิรปภา).
  32. ศิลปกรรม : น. สิ่งที่เป็นศิลปะ, สิ่งที่สร้างสรรค์ขึ้นเป็นศิลปะ, เช่น งานประติมากรรม งานสถาปัตยกรรมจัดเป็นศิลปกรรม.
  33. ศิลปะประยุกต์ : น. กรรมวิธีในการนำทฤษฎีและหลักการทาง ศิลปะไปใช้ในภาคปฏิบัติเพื่อพัฒนาศิลปะให้มีความงามหรือ เป็นประโยชน์แก่สังคมยิ่งขึ้นเป็นต้นอย่างในการออกแบบ เครื่องแต่งกาย.
  34. ศิลปะพื้นบ้าน : น. ศิลปะแขนงต่าง ๆ เช่น วรรณกรรม สถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม นาฏศิลป์ หัตถกรรม ที่ชาวบ้านได้สร้างสรรค์ขึ้นจากการเรียนรู้และฝึกปรือในครอบครัว หรือในหมู่บ้าน เป็นงานสร้างสรรค์ของสังคมชาวบ้าน และได้ พัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่องกันมาหลายชั่วคน.
  35. ศิลปะสถาปัตยกรรม : น. ศิลปะลักษณะด้านสถาปัตยกรรมที่ปรากฏ ในอาคารที่ได้รับการออกแบบและสร้างขึ้นอย่างวิจิตรงดงาม เช่น พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทพระปรางค์วัดอรุณราชวราราม.
  36. ศีลอด : [สีน] น. การถือบวชของชาวมุสลิม ไม่ดื่มไม่กินอะไร เลยตลอดเวลากลางวันตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นจนถึงพระอาทิตย์ตก ในเดือนเราะมะฎอน อันเป็นเดือนที่ ๙ แห่งปีในศาสนาอิสลาม นับแบบจันทรคติ.
  37. ศึก : น. การใช้กําลังเข้าประหัตประหารกันอย่างรุนแรงระหว่างรัฐ หรือประเทศตั้งแต่ ๒ รัฐ หรือ ๒ ประเทศขึ้นไป เช่น ศึกชายแดน, การต่อสู้กันระหว่างบุคคลกับบุคคลหรือระหว่างพวกหนึ่งกับอีก พวกหนึ่ง เช่น ศึกล้างบาง ศึกล้างโคตร, โดยปริยายหมายถึงการเกิด ขัดแย้งต่อสู้เป็นปฏิปักษ์ขึ้นในใจ เช่น ศึกในอก.
  38. ศึกเสือเหนือใต้ : (สำ) น. สงคราม เช่น ฝึกทหารไว้ให้พร้อมรบ ยามมีศึกเสือเหนือใต้จะได้ป้องกันบ้านเมือง.
  39. ศุกร, ศุกร์ : [สุกกฺระ, สุก] น. ชื่อวันที่ ๖ ของสัปดาห์; ชื่อดาวเคราะห์ดวง ที่ ๒ ในระบบสุริยะ อยู่ห่างดวงอาทิตย์ประมาณ ๑๐๘ ล้านกิโลเมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๒,๑๐๔ กิโลเมตร ไม่มีบริวาร เป็นดาวเคราะห์ ที่มีบรรยากาศหนาทึบด้วยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ และไอของ กรดกํามะถัน ปรากฏสว่างที่สุดบนฟ้า, ถ้าเห็นทางตะวันตกในเวลา หัวคํ่า เรียกว่า ดาวประจําเมือง, ถ้าเห็นทางตะวันออกในเวลาใกล้รุ่ง เรียกว่า ดาวรุ่ง หรือ ดาวประกายพรึก.ว. สว่าง. (ส.).
  40. ศุกลปักษ์ : น. เวลาข้างขึ้น. (ส.).
  41. ศุภมัสดุ : [มัดสะดุ] น. ขอความดีความงามจงมี, เป็นคําใช้ขึ้นต้น ลงท้ายในประกาศที่เป็นแบบหรือข้อความที่สําคัญ เช่น ประกาศ พระบรมราชโองการ.
  42. ศุภมาตรา : น. ตําแหน่งข้าราชการหัวเมืองตําแหน่งหนึ่ง ในปัจจุบัน หมายถึงผู้ช่วยสรรพากรจังหวัด.
  43. ศูนย์ชุมชน : น. หน่วยงานถาวรที่เป็นศูนย์กลางในการวางแผน ปฏิบัติงานและประสานงานบริการของหน่วยราชการและ องค์การต่าง ๆ โดยประชาชนในท้องถิ่นนั้นจะเลือกคณะ กรรมการขึ้นทําหน้าที่กําหนดนโยบายและบริหารงาน.
  44. ศูนย์บริการสาธารณสุข : น. สถานีอนามัยในเขตเมือง ได้แก่ เขตเทศบาล สุขาภิบาล กรุงเทพมหานคร และที่ตั้งเป็นเมืองพิเศษ.
  45. ศูนย์หน้า : น. ผู้ที่อยู่ในตำแหน่งกลางของแถวหน้าในการเล่น ฟุตบอลทำหน้าที่ยิงประตูเป็นสำคัญ บางครั้งอาจลงมาช่วย เซนเตอร์ฮาล์ฟซึ่งอยู่ในตำแหน่งกลางของแถวกลางและพาลูก ขึ้นไปในแดนฝ่ายตรงข้ามด้วย.
  46. สง : ก. หย่งให้กระจายตัวหรือยกขึ้นให้นํ้าหรือของเล็ก ๆ ร่วงลง เช่น สงข้าว สงฟาง สงถั่วงอก สงเส้นบะหมี่. ว. สุกจัด, แก่จัด, (ใช้แก่หมาก) ในคำว่า หมากสง.
  47. ส่ง : ก. ทําให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งเคลื่อนพ้นจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง เพื่อให้ถึง ผู้รับหรือเป้าหมายด้วยอาการต่าง ๆ กัน เช่น ส่งข้าม ส่งผ่าน ส่งต่อ; หนุน ดัน หรือเสริมให้สูงขึ้น เช่น คนอยู่ข้างล่างช่วยส่งก้นคนข้างบน ให้ปีนพ้นกำแพง ติดไม้ปั้นลมส่งหลังคาเรือน; แสดงอัธยาศัยในเมื่อ มีผู้จะจากไป เช่น ไปส่ง เลี้ยงส่ง; อาการที่ส่งเครื่องหมาย ข้อความ ข่าวสาร หรือภาพ เป็นต้นไปให้อีกฝ่ายหนึ่งโดยอาศัยกรรมวิธีต่าง ๆ เช่น ส่งสัญญาณ ส่งรหัส ส่งโทรเลข ส่งวิทยุ ส่งโทรภาพ.
  48. สงกรานต์ ๑ : [กฺราน] น. เทศกาลเนื่องในการขึ้นปีใหม่อย่างเก่า ซึ่งกําหนดตาม สุริยคติ ปรกติตกวันที่ ๑๓๑๔๑๕ เมษายน วันที่ ๑๓ คือวัน มหาสงกรานต์ วันที่ ๑๔ คือวันเนา และวันที่ ๑๕ คือวันเถลิงศก. (ส. สงฺกฺรานฺติ).
  49. สงครามเย็น : น. การต่อสู้ระหว่างประเทศต่อประเทศโดยไม่ใช้อาวุธ แต่ใช้อํานาจอื่นแทน เช่น อำนาจทางการเมือง อำนาจทางเศรษฐกิจ.
  50. สงฆ์ : น. ภิกษุ เช่น ของสงฆ์ พิธีสงฆ์, บางทีก็ใช้ควบกับคํา พระ หรือ ภิกษุ เป็น พระสงฆ์ หรือ ภิกษุสงฆ์ เช่น นิมนต์พระสงฆ์มาเจริญ พระพุทธมนต์ มีภิกษุสงฆ์มารับบิณฑบาตมาก, ลักษณนามว่า รูป หรือ องค์ เช่น ภิกษุสงฆ์ ๒ รูป พระสงฆ์ ๔ องค์; ภิกษุตั้งแต่ ๔ รูป ขึ้นไปร่วมกันทําสังฆกรรม แต่จํานวนภิกษุที่เข้าร่วมสังฆกรรม แต่ละอย่างไม่เท่ากัน คือในสังฆกรรมทั่ว ๆ ไป เช่น ในการสวด พิธีธรรม สวดอภิธัมมัตถสังคหะ ประกอบด้วยภิกษุ ๔ รูป เรียกว่า สงฆ์จตุรวรรค ในการรับกฐิน สวดพระปาติโมกข์ ปวารณากรรม และอุปสมบทในถิ่นที่ขาดแคลนภิกษุ ต้องประกอบด้วยภิกษุ ๕ รูป เรียกว่า สงฆ์ปัญจวรรค ในการอุปสมบทในถิ่นที่มีภิกษุมาก ต้อง ประกอบด้วยภิกษุ ๑๐ รูป เรียกว่า สงฆ์ทสวรรค และในการสวด อัพภานระงับอาบัติสังฆาทิเสส ต้องประกอบด้วยภิกษุ ๒๐ รูป เรียกว่า สงฆ์วีสติวรรค, ภิกษุที่เข้าร่วมสังฆกรรมดังกล่าว ถ้ามากกว่า จํานวนที่กําหนดจึงจะใช้ได้ ถ้าขาดจํานวนใช้ไม่ได้. (ป. สงฺฆ; ส. สํฆ).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | [2001-2050] | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2790

(0.1645 sec)