Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เมืองขึ้น, เมือง, ขึ้น , then ขน, ขึ้น, มอง, เมือง, เมืองขึ้น .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เมืองขึ้น, 2790 found, display 1251-1300
  1. โบราณวัตถุ : [โบรานนะวัดถุ, โบรานวัดถุ] น. สิ่งของโบราณที่ เคลื่อนที่ได้ เช่น พระพุทธรูป เทวรูป ศิลาจารึก มีอายุเก่ากว่า ๑๐๐ ปีขึ้นไป; (กฎ) สังหาริมทรัพย์ที่เป็นของโบราณไม่ว่าจะ เป็นสิ่งประดิษฐ์ หรือเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ หรือที่เป็น ส่วนหนึ่งส่วนใดของโบราณสถาน ซากมนุษย์ หรือซากสัตว์ ซึ่ง โดยอายุหรือโดยลักษณะแห่งการประดิษฐ์หรือโดยหลักฐาน เกี่ยวกับประวัติของสังหาริมทรัพย์นั้นเป็นประโยชน์ในทาง ศิลปะ ประวัติศาสตร์ หรือโบราณคดี.
  2. โบราณสถาน : [โบรานนะสะถาน, โบรานสะถาน] น. สิ่งที่เคลื่อนที่ ไม่ได้ เช่น โบสถ์ วิหาร วัง มีอายุเก่ากว่า ๑๐๐ ปีขึ้นไป; (กฎ) อสังหาริมทรัพย์ซึ่งโดยอายุหรือโดยลักษณะแห่งการก่อสร้าง หรือโดยหลักฐานเกี่ยวกับประวัติของอสังหาริมทรัพย์นั้น เป็นประโยชน์ในทางศิลปะ ประวัติศาสตร์ หรือโบราณคดี ทั้งนี้รวมถึงสถานที่ที่เป็นแหล่งโบราณคดี แหล่งประวัติศาสตร์ และอุทยานประวัติศาสตร์ด้วย.
  3. ใบขนุน : น. (๑) ชื่อปลาทะเลชนิด Lactarius lactarius ในวงศ์ Lactariidae ลําตัวป้อม แบนข้าง หัวโตปากกว้างและเชิดขึ้น เกล็ดหลุดง่าย มีครีบหลัง ๒ ตอน ตอนที่ ๒ ยาวและมีลักษณะคล้ายครีบก้นซึ่ง อยู่ตรงข้ามและยาวกว่าเล็กน้อย ลําตัวสีเงินตลอด ที่ขอบด้านบน ของแผ่นปิดเหงือกมีจุดสีดําเด่น ครีบต่าง ๆ สีเหลืองอ่อน พบ ตลอดชายฝั่ง ขนาดยาวได้ถึง ๔๐ เซนติเมตร, ขนุน ญวน ซับขนุน หรือ สาบขนุน ก็เรียก. (๒) ชื่อหนึ่งของปลาตาเดียวโดยเฉพาะ ทุกชนิดในสกุล Pseudorhombus วงศ์ Bothidae เป็นปลาทะเล ที่มีตาทั้งคู่อยู่บนด้านซ้ายของหัว. (ดู ตาเดียว).
  4. ใบบอก : (โบ) น. หนังสือรายงานเหตุการณ์ทางราชการ; หนังสือ แจ้งราชการมาจากหัวเมือง.
  5. ใบสอ : น. ใบเสมาบนกําแพงเมือง.
  6. : พยัญชนะตัวที่ ๒๗ เป็นพวกอักษรกลาง เป็นตัวสะกดในแม่กบ ในคําที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น บาป เนปจูน, ตัว ป ตัว ป ที่ขึ้นต้นของคําหรือพยางค์ในภาษาบาลีและสันสกฤต มักแผลงมาเป็นตัว บ ในภาษาไทย เช่น ปท ปิตา เป็น บท บิดา.
  7. ปฏิรูป, ปฏิรูป- : [-รูบ, -รูปะ-] ว. สมควร, เหมาะสม, เช่น ปฏิรูปเทส คือ ถิ่นที่สมควร หรือ ถิ่นที่เหมาะสม; เทียม, ไม่แท้, เช่น มิตรปฏิรูป. ก. ปรับปรุงให้ สมควร เช่น ปฏิรูปบ้านเมือง. (ป.).
  8. ปฏิวัติ : น. การหมุนกลับ, การผันแปรเปลี่ยนหลักมูล; การเปลี่ยนแปลง ระบบ เช่น ปฏิวัติอุตสาหกรรม, การเปลี่ยนแปลงระบอบการ บริหารบ้านเมือง เช่น ปฏิวัติการปกครอง. (ป. ปฏิวตฺติ).
  9. ปม : น. เนื้อที่เป็นปุ่มขึ้นตามตัว, ขอดของผ้าหรือเชือก, ข้อยุ่งที่แก้ยาก.
  10. ปรง : น. (๑) ชื่อเฟิน ๒ ชนิดในสกุล Acrostichum วงศ์ Pteridaceae ต้นเป็นกอขึ้นริมนํ้า ใบยาวเป็นทาง ใบอ่อนสีแดง กินได้ คือ ปรงทะเล (A. aureum L.) และ ปรงหนู (A. speciosum Willd.). (๒) ชื่อพรรณไม้ในกลุ่มพืชเมล็ดเปลือยหลายชนิดในสกุล Cycas วงศ์ Cycadaceae เป็นไม้ต้น ลําต้นกลม สีดําขรุขระ ใบเล็กยาวเรียงถี่ ๆ บนแกนกลาง เช่น ปรงญี่ปุ่น (C. revoluta Thunb.) ใบใช้ทําพวงหรีด ปรงเขา (C. pectinata Griff.).
  11. ปรนปรือ : [ปฺรนปฺรือ] ก. บํารุงเลี้ยงดูให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น.
  12. ปรบไก่ : น. ชื่อเพลงพื้นเมืองอย่างหนึ่ง ใช้ตบมือเป็นจังหวะ และว่า แก้กันอย่างเพลงฉ่อย, ชื่อหน้าทับประกอบเพลงดนตรีแบบหนึ่ง.
  13. ประ- ๑ : [ปฺระ] ใช้เติมหน้าคําอื่นเพื่อให้คําหนักแน่นขึ้น เช่น ชิด เป็น ประชิด, ท้วง เป็น ประท้วง; คําที่แผลงมาจาก ผ เช่น ผทม เป็น ประทม แล้วแผลง ประ เป็น บรร เช่น ประทม เป็น บรรทม.
  14. ประกัน : ก. รับรองว่าจะรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้น, รับรองว่าจะมีหรือ ไม่มีเหตุการณ์นั้น ๆ. น. หลักทรัพย์ที่ให้ไว้เป็นเครื่องรับรอง.
  15. ประกันภัย : (กฎ) น. ชื่อสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับ ประกันภัย ตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือใช้เงินจํานวนหนึ่ง ให้ในกรณีที่หากมีวินาศภัยขึ้น หรือในเหตุอย่างอื่นในอนาคตดัง ได้ระบุไว้ในสัญญา และการนี้บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้เอา ประกันภัย ตกลงจะส่งเงินซึ่งเรียกว่า เบี้ยประกันภัย, สัญญา ประกันภัย ก็เรียก.
  16. ประกายพรึก : [ปฺระกายพฺรึก] น. ดาวรุ่ง คือ ดาวพระศุกร์ที่เห็นใน เวลาเช้ามืด, ถ้าเห็นในเวลาหัวคํ่า เรียกว่า ดาวประจําเมือง. (ข. ผกาย ว่า ดาว + พรึก ว่า รุ่ง).
  17. ประคอง : ก. พยุงให้ทรงตัวอยู่ เช่น ประคองตัวเอง, ช่วยพยุงไม่ให้เซไม่ให้ล้ม เป็นต้น เช่น ประคองคนเจ็บให้ลุก ประคองคนแก่เดิน, ระมัดระวัง ไม่ให้หกหรือพลั้งพลาด เช่น ประคองชามแกงให้ดี, โอบรัดเบา ๆ เช่น หนุ่มสาวเดินประคองกันไป; โดยปริยายหมายถึงอาการที่ คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ประคองสถานการณ์บ้านเมืองไว้ให้ดี.
  18. ประคำร้อย : น. ชื่อฝีชนิดหนึ่งเกิดขึ้นบริเวณลําคอ เป็นเม็ดเรียงกัน รอบคอ.
  19. ประโคน ๑ : น. เรียกเสาใหญ่ที่ปักหมายเขตแดนระหว่างประเทศหรือเมือง เป็นต้นว่า เสาประโคน.
  20. ประจาน : ก. ประกาศเปิดเผยความชั่วให้รู้ทั่วกันด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น พูดประจาน ตัดหัวเสียบประจาน พาตระเวนประจานทั่วเมือง. (ข. ผจาล ว่า ทําให้เข็ดหลาบ).
  21. ประจุคมน์ : ก. ลุกขึ้นต้อนรับ. (ป. ปจฺจุคฺคมน).
  22. ประเจิด : ก. บรรเจิด, เชิดขึ้นสูง, สูงเด่น, เฉิดฉาย. ว. งาม.
  23. ประชาภิบาล : น. ผู้ปกครองพลเมือง; การปกครองชาวเมือง. (ส.).
  24. ประดอย : ก. ทําให้งดงามและละเอียดลออยิ่งขึ้น, มักใช้เข้าคู่กับคํา ประดิด เป็น ประดิดประดอย.
  25. ประดัง : ว. ยัดเยียดกันเข้ามา เช่น คนประดังกันเข้ามา, มาติด ๆ พร้อม ๆ กัน เช่น งานประดังเข้ามา; ดังขึ้นพร้อมกัน, แซ่ซ้อง, (หมายเอาเสียง).
  26. ประดิดประดอย : ก. บรรจงทําให้งดงามและละเอียดลออยิ่งขึ้น, ใช้ว่า ประดอย ก็ได้.
  27. ประดิษฐกรรม : น. การทําสิ่งของขึ้นจากวัตถุดิบ.
  28. ประดิษฐ-, ประดิษฐ์ : [ปฺระดิดถะ-, ปฺระดิด] ก. ตั้งขึ้น, จัดทําขึ้น, คิดทําขึ้น, สร้างขึ้น, แต่งขึ้น. ว. ที่จัดทําขึ้นให้เหมือนของจริง เช่น ดอกไม้ประดิษฐ์, ที่คิดทำขึ้นไม่เหมือนธรรมชาติ เช่น ลายประดิษฐ์. (ส. ปฺรติษฺ?; ป. ปติฏฺ?).
  29. ประดู่ : น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ ๒ ชนิดในสกุล Pterocarpus วงศ์ Leguminosae ดอกสีเหลือง กลิ่นหอม ชนิด P. indicus Willd. กิ่งมักทอดย้อย เปลือก สีเทา มีนํ้ายางน้อย ปลูกเป็นไม้ให้ร่มตามถนน, ชนิด P. macrocarpus Kurz กิ่งชูขึ้นเล็กน้อย เปลือกสีนํ้าตาลเข้ม มีนํ้ายางมาก ขึ้นตามป่า เบญจพรรณทั่วไป เนื้อไม้สีแดงนิยมใช้ทําดุมเกวียน.
  30. ประเด็น : น. ข้อความสําคัญของเรื่องที่แยกหยิบยกขึ้นพิจารณา; (กฎ) ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายอันเป็นสาระสําคัญที่คู่ความยกขึ้น เป็นข้ออ้างในคดี.
  31. ประตู : น. ช่องทางเข้าออกของบ้านเรือนเป็นต้น มีบานเปิดปิดได้ เช่น ประตูบ้าน ประตูเมือง, ช่อง, ทาง, เช่น ไม่มีประตูสู้, โดยปริยาย หมายถึงสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ประตูฟุตบอล ประตูรักบี้, ช่องหรือโอกาสที่จะได้หรือเสียในการเล่นการพนัน บางชนิด เช่น ถั่ว โป ไฮโล นํ้าเต้า; ลักษณนามเรียกจํานวนครั้ง ที่เตะลูกบอลเข้าไปในประตู เช่น ได้ ๒ ประตู เสีย ๓ ประตู, เรียก ช่องหรือโอกาสที่จะได้หรือเสียในการพนันบางชนิด เช่น ถูกประตู เดียวกิน ๓ ประตู.
  32. ประตูน้ำ : น. ประตูสําหรับควบคุมระดับนํ้าที่ไหลเข้าออก; (กฎ) สิ่ง ที่สร้างขึ้นในทางนํ้าเพื่อให้เรือแพผ่านทางนํ้าที่มีระดับนํ้าต่างกันได้.
  33. ประตูผี : (โบ) น. ประตูที่เป็นทางนําศพออกจากภายในเขตกําแพงเมือง.
  34. ประตูระบาย : น. สิ่งที่สร้างขึ้นในคลองส่งนํ้าเพื่อควบคุมนํ้าในคลอง ให้มีระดับหรือปริมาณตามที่ต้องการ; (กฎ) สิ่งที่สร้างขึ้นในทางนํ้า เพื่อทด กัก กั้น หรือระบายนํ้า ณ ที่อื่นอันมิใช่ที่มาแห่งนํ้าซึ่งจะส่งเข้า สู่เขตชลประทาน โดยมีช่องปิดเปิดได้.
  35. ประตูรับน้ำ : น. อาคารที่สร้างขึ้นตรงบริเวณคันคลองส่งนํ้า เพื่อรับนํ้า จากทางนํ้าอื่นที่อยู่ตามระยะทางของคลองส่งนํ้า.
  36. ประเทศ : น. บ้านเมือง, แว่นแคว้น; คำเพิ่มข้างหลังของคำเดิม เมื่อเพิ่มแล้ว ความหมายคงเดิม เช่น อุรประเทศ หทัยประเทศ. (ส.; ป. ปเทส); (กฎ) ชุมนุมแห่งมนุษย์ซึ่งตั้งมั่นอยู่ในดินแดนอันมีอาณาเขตแน่นอน มีอํานาจอธิปไตยที่จะใช้ได้อย่างอิสระ และมีการปกครองอย่างเป็น ระเบียบเพื่อประโยชน์ของบรรดามนุษย์ที่อยู่ร่วมกันนั้น, รัฐ ก็เรียก.
  37. ประเทศกันชน : น. รัฐหรือประเทศเล็กที่เป็นเอกราชตั้งอยู่ระหว่าง ประเทศมหาอํานาจ มีฐานะสําคัญทางการเมืองที่ช่วยไม่ให้ประเทศ มหาอํานาจเกิดบาดหมางทําสงครามต่อกันได้โดยง่าย, รัฐกันชน ก็เรียก. (อ. buffer state).
  38. ประเทศชาติ : น. บ้านเกิดเมืองนอน.
  39. ประเทศราช : [ปฺระเทดสะราด] น. เมืองที่มีเจ้าผู้ครองเมืองของตนเอง แต่อยู่ภายใต้อํานาจควบคุมดูแลและคุ้มครองของพระมหากษัตริย์ ของอีกประเทศหนึ่ง ซึ่งเจ้าเมืองประเทศราชนั้นมีหน้าที่ส่งเครื่อง ราชบรรณาการถวายเป็นประจํา และในเวลาเกิดศึกสงครามต้อง เกณฑ์กําลังทหารเข้าร่วมกองทัพหลวงด้วย.
  40. ประเท้า : ก. กิริยาที่ผู้รำใช้ส่วนหน้าของฝ่าเท้าแตะพื้นและยกขึ้นทันที, เป็นท่ารำท่าหนึ่ง.
  41. ประเทือง : ก. ทําให้ดีขึ้น เช่น ประเทืองผิว, ทําให้รุ่งเรืองขึ้น เช่น ประเทืองปัญญา.
  42. ประธาน ๓ : น. ความเพียร มี ๔ อย่าง คือ ๑. สังวรประธาน เพียรระวังไม่ให้บาป เกิดขึ้นในสันดาน ๒. ปหานประธาน เพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว ๓. ภาวนาประธาน เพียรให้กุศลเกิดขึ้นในสันดาน ๔. อนุรักขนา ประธาน เพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้วไม่ให้เสื่อม. (ส. ปฺรธาน; ป. ปธาน).
  43. ประนม : ก. ยกกระพุ่มมือ, ยกมือขึ้นกระพุ่ม.
  44. ประนีประนอมยอมความ : (กฎ) น. ชื่อสัญญาซึ่งผู้เป็นคู่สัญญาทั้ง ๒ ฝ่าย ระงับข้อพิพาทอันใดอันหนึ่งซึ่งมีอยู่หรือจะมีขึ้นนั้นให้เสร็จ ไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน.
  45. ประพาส : [ปฺระพาด] (ราชา) ก. ไปต่างถิ่นหรือต่างแดน เช่น ประพาสหัวเมือง ประพาสยุโรป, ไปเที่ยว เช่น ประพาสป่า. (ส.).
  46. ประภัสสร : [ปฺระพัดสอน] น. เลื่อม ๆ พราย ๆ, มีแสงพราว ๆ เหมือนแสง พระอาทิตย์แรกขึ้น; ผ่องใส, บริสุทธิ์ เช่น จิตประภัสสร, เขียนเป็น ประภัสร์ ก็มี เช่น ธรรมรสเรืองรองผ่องประภัสร์ เป็นมิ่งฉัตร สุขสันต์นิรันดร. (ชีวิตและงานของสุนทรภู่). (ป. ปภสฺสร).
  47. ประภามณฑล : น. รัศมีที่พวยพุ่งขึ้นจากศีรษะของผู้ศักดิ์สิทธิ์และ พระพุทธรูป.
  48. ประเมินภาษี : ก. กําหนดจํานวนเงินที่จะต้องเสียเป็นภาษี, กําหนด จํานวนเงินที่เจ้าพนักงานเรียกเก็บเป็นภาษีจากผู้มีหน้าที่ต้องเสียภาษี ตามที่ได้ประเมินไว้แล้ว ซึ่งอาจเพิ่มขึ้นหรือลดลงก็ได้.
  49. ประศาสน์ : [ปฺระสาด] น. การแนะนํา, การสั่งสอน; การปกครอง, การงําเมือง, การสั่ง. (ส. ปฺรศาสน; ป. ปสาสน).
  50. ประสิทธิ์ประสาท : [ปฺระสิดปฺระสาด] ก. อํานวยความสําเร็จให้เกิดมีขึ้น.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | [1251-1300] | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2790

(0.1535 sec)