Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เมืองขึ้น, เมือง, ขึ้น , then ขน, ขึ้น, มอง, เมือง, เมืองขึ้น .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เมืองขึ้น, 2790 found, display 2201-2250
  1. หมา ๒ : (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ภาชนะสำหรับตักน้ำขึ้นจากบ่อ ทำด้วยกาบปูเลเป็นต้น, ตีหมา ก็เรียก. (ม. timba).
  2. หมายกำหนดการ : น. เอกสารแจ้งกําหนดขั้นตอนของงานพระราชพิธีที่ จะต้องอ้างพระบรมราชโองการ คือขึ้นต้นด้วยข้อความว่า ''นายกรัฐมนตรี หรือเลขาธิการพระราชวัง รับพระบรมราชโองการเหนือเกล้าฯ สั่งว่า'' เสมอไป.
  3. หมืน : (ถิ่น-พายัพ) ก. เป็นผื่นขึ้นมาก ๆ ตามผิวเนื้อ.
  4. หมื่น ๒ : (โบ) น. ชื่อบรรดาศักดิ์ในราชการ เหนือพันขึ้นไป.
  5. หมุบหมิบ : ว. อาการที่ริมฝีปากเผยอขึ้นและหุบลงโดยเร็ว, อาการของ ปากที่พูดอย่างไม่ออกเสียง เช่น ทำปากหมุบหมิบ สวดมนต์หมุบหมิบ, ขมุบขมิบ ก็ว่า.
  6. หมูสี ๒ : น. เรียกตาไม้เสาเรือนที่สูงจากพื้นดินประมาณศอกหนึ่ง ถือว่าเป็นเสามี ลักษณะไม่ดี; เรียกจอมปลวกขนาดย่อมที่ขึ้นใต้ถุนบ้านว่า ปลวกหมูสี.
  7. หยก ๒ : ก. ยกขึ้นลงค่อย ๆ ในคําว่า หยกเบ็ด.
  8. หย่ง ๑ : ก. ทําให้สูงขึ้น เช่น หย่งตัว, ทำสิ่งที่รวมตัวกันให้โปร่งหรือขยายตัวให้ หลวมขึ้น เช่น หย่งฟาง หย่งผม หย่งเส้นบะหมี่, โหย่ง ก็ว่า.
  9. หย่ง ๒, หย่ง ๆ : ว. อาการที่เดินหรือวิ่งไม่เต็มเท้า คือ จดแต่ปลายเท้า เพื่อทําให้ตนสูงขึ้น หรือเพื่อไม่ให้เกิดเสียงดัง เช่น เดินหย่ง ๆ วิ่งหย่ง ๆ, เรียกรอยเท้าที่ไม่เต็ม เห็นแต่ปลายเท้าและส้นเท้า ว่า รอยเท้าหย่ง หรือรอยเท้าหย่ง ๆ, อาการ ที่นั่งเอาปลายเท้าตั้งลงที่พื้น ส้นเท้าทั้ง ๒ รับก้น เรียกว่า นั่งหย่ง หรือ นั่งหย่ง ๆ, กระหย่ง กระโหย่ง โหย่ง หรือ โหย่ง ๆ ก็ว่า.
  10. หย่อง : น. สิ่งสําหรับใส่หมากพลู มีรูปเหมือนถาดขอบสูง มีตีน โดยมากทําด้วย ทองเหลือง; เครื่องรองรับไม้แม่กำพองประจำช่องหน้าต่าง; ส่วนประกอบ ของเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย เช่น ซอสามสาย ซอด้วง ขิม ไวโอลิน ใช้รองรับสายเพื่อรับแรงสั่นสะเทือนจากสายลงสู่เครื่องดนตรีให้เสียง กังวานขึ้น, ส่วนประกอบของจะเข้ ใช้หนุนสายเพื่อมิให้แตะนมจะเข้. ว. อาการที่นั่งชันเข่าทั้ง ๒ ข้างโดยก้นไม่ถึงพื้น เรียกว่า นั่งหย่อง หรือ นั่งยอง ๆ.
  11. หย่อม, หย่อม ๆ : น. หมู่เล็ก ๆ, กองเล็ก ๆ, เช่น หญ้าขึ้นเป็นหย่อม ๆ.
  12. หยักรั้ง : ว. อาการนุ่งผ้าถุงหรือผ้าโสร่งรั้งผ้าทางด้านข้างมาเหน็บเอว ทั้ง ๒ ข้างให้ชายผ้าร่นสูงขึ้น.
  13. หยับ, หยับ ๆ : ว. อาการที่เคี้ยวเนิบ ๆ เช่น คนแก่เคี้ยวหมากหยับ ๆ; อาการขึ้นลงเนิบ ๆ เช่น พายอ่อนหยับจับงามงอน (เห่เรือ); อาการที่หัวเรือโต้คลื่นเหยิบ ๆ.
  14. หยิบ : ก. เอานิ้วมือจับขึ้น. น. ประมาณของเท่า ๒ นิ้วมือหรือ ๓ นิ้วมือหยิบ ขึ้นครั้งหนึ่ง, หยิบมือ ก็เรียก.
  15. หยิบมือ : น. ประมาณของเท่า ๒ นิ้วมือหรือ ๓ นิ้วมือหยิบขึ้นครั้งหนึ่ง, หยิบ ก็เรียก.
  16. หยิบยก : ก. ยกขึ้นอ้าง เช่น หยิบยกเรื่องอดีตขึ้นมาพูด, (กลอน) ยกหยิบ.
  17. หยุบ ๆ : ว. อาการที่ขึ้น ๆ ลง ๆ เช่น นกเด้าลมทำหางหยุบ ๆ.
  18. หรดาล : [หอระดาน] น. แร่ชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยธาตุสารหนูและกํามะถัน มี ปรากฏในธรรมชาติ ๒ ชนิด คือ หรดาลแดงกับหรดาลกลีบทอง มักจะ ปรากฏอยู่ปนกัน ในปัจจุบันสามารถสังเคราะห์ขึ้นได้ทั้ง ๒ ชนิด. (ป.; ส. หริตาล).
  19. หร็อมแหร็ม : ว. มีเล็กน้อย, มีห่าง ๆ ไม่เป็นพวกเป็นหมู่, เช่น ต้นไม้ขึ้นหร็อมแหร็ม, กะหร็อมกะแหร็ม หรือ หย็อมแหย็ม ก็ว่า.
  20. หรีด : น. ดอกไม้ที่จัดแต่งขึ้นตามโครงรูปต่าง ๆ เช่น วงกลม วงรี มักมีใบไม้ เป็นส่วนประกอบด้วย สําหรับใช้เคารพศพ, พวงหรีด ก็เรียก. (อ. wreath).
  21. หล่อดอก : ก. เอายางรถยนต์ที่สึกแล้วไปเสริมดอกยางเพื่อให้มีสภาพดีขึ้น.
  22. หล่อน้ำ : ก. เอาน้ำใส่ภาชนะเพื่อรองรับสิ่งใดสิ่งหนึ่งกันไม่ให้มดขึ้น เช่น หล่อน้ำขาตู้กับข้าว, เอาสิ่งของบางอย่างใส่ไว้ในภาชนะแล้วเอาภาชนะนั้น วางไว้บนอีกภาชนะหนึ่งซึ่งขังน้ำไว้เพื่อกันไม่ให้มดขึ้น เช่น เอาจานขนม ไปวางบนแก้วที่หล่อน้ำไว้; (โบ) เอาน้ำไปขังไว้ในภาชนะเพื่อใช้ใน พระราชพิธีมูรธาภิเษกเป็นต้น.
  23. หลักบ้านหลักเมือง : (ปาก) น. ผู้เป็นใหญ่ในการปกครองบ้านเมือง.
  24. หลังเต่า : ว. มีลักษณะนูนโค้งขึ้น เช่น ถนนเป็นหลังเต่า ทับทิมเม็ดนี้ เจียระไนแบบหลังเต่า. น. สันดอน.
  25. หลังบ้าน : (ปาก) น. ภรรยาของผู้มีอำนาจในวงราชการบ้านเมือง.
  26. หลับหูหลับตา : ก. อาการที่ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างลวก ๆ โดยไม่พินิจ พิเคราะห์ให้รอบคอบเสียก่อน เช่น รายงานนี้ดูคล้ายกับหลับหูหลับตา ทำ; อาการที่ไม่รับรู้เหตุการณ์ใด ๆ เลย เช่น เรื่องนี้เขารู้กันทั่วบ้าน ทั่วเมืองแล้ว คุณมัวไปหลับหูหลับตาอยู่เสียที่ไหน; อาการที่ต้อง แข็งใจหรือฝืนใจทำ เช่น แม้ว่าอาหารจะไม่อร่อยก็ต้องหลับหูหลับตา กลืนเข้าไป.
  27. หลุมพอ : น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Intsia palembanica Miq. ในวงศ์ Leguminosae ขึ้นตามป่าดิบทางภาคใต้ เนื้อไม้ใช้ในการก่อสร้าง, กะลําพอ หรือ ตะลุมพอ ก็เรียก.
  28. หวาย : น. (๑) ชื่อเรียกปาล์มหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Palmae ขึ้นเป็นกอ ลําผิวต้นยาวทอดเลื้อย เกลี้ยงเหนียว กาบและก้านใบมีหนาม เช่น หวายตะค้าทอง (Calamus caesius Blume), หวายขม (C. viminalis Willd.) หัวใช้ทํายาได้, หวายนํ้า (Daemonorops angustifolia Mart.). (๒) ชื่อกล้วยไม้ในสกุล Dendrobium วงศ์ Orchidaceae เช่น หวายตะมอย.
  29. หวิว, หวิว ๆ : ว. มีความรู้สึกที่ดูเหมือนใจจะขาดไป เช่น รู้สึกใจหวิวคล้ายจะเป็นลม, มีความรู้สึกหวาดอย่างใจหาย เช่น ขึ้นไปในที่สูง ๆ ใจมักจะหวิว ๆ; มีเสียงดังเช่นนั้น เช่น ลมพัดหวิว ๆ.
  30. หอกข้างแคร่ : (สํา) น. คนใกล้ชิดที่อาจคิดร้ายขึ้นมาเมื่อไรก็ได้ มักใช้แก่ ลูกเลี้ยงที่ติดมากับพ่อหรือแม่, ศัตรูที่อยู่ข้างตัว.
  31. หอการค้า : (กฎ) น. สถาบันที่บุคคลหลายคนจัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมการค้า อุตสาหกรรม เกษตรกรรม การเงินหรือเศรษฐกิจ อันมิใช่เป็นการหาผล กําไรหรือรายได้แบ่งปันกัน.
  32. หอคอย : น. อาคารสูงที่สร้างขึ้นสําหรับคอยระวังเหตุและสังเกตการณ์.
  33. หอง ๒ : ก. ส่งให้สูงขึ้น, แต่งให้สูงขึ้น. (จ.).
  34. หอฉัน : น. อาคารที่สร้างขึ้นในวัด เป็นที่สำหรับพระภิกษุสามเณรนั่งฉัน อาหารและทำวัตรสวดมนต์เป็นต้น.
  35. หอพัก : น. ที่พักอาศัยสําหรับนักเรียนนักศึกษาเป็นต้น; (กฎ) สถานที่ที่จัด ขึ้นเพื่อรับผู้พักตามกฎหมายว่าด้วยหอพัก.
  36. ห้อม ๑ : ก. แวดล้อม ในคำว่า แห่ห้อม; (โบ) ระวังรักษา เช่น คนผู้ดังนี้ คือว่า พระราชภักดีจักช่อยห้อมบ้านห้อมเมือง (จารึกหลักที่ ๓๘ ประชุมพงศ. ภาค ๓).
  37. หัก : ก. พับงอ, พับงอหรือทําให้พับให้งอเพื่อให้ขาดหรือหลุดออกจากกัน; เอาออกจากจํานวนที่มีอยู่ เช่น หักจํานวนเงิน; ถูกตีอย่างแรงจนงงม่อยไป (ใช้แก่ไก่); เลี้ยวอย่างกะทันหัน เช่น หักหัวเรือ หักพวงมาลัย; เรียกแต้ม ลูกเต๋า ๓ ลูก ที่ขึ้นแต้ม ๑ ๒ ๓ ตามลําดับ ถือว่าเป็นแต้มเลวที่สุด.
  38. หักใจ : ก. ตัดใจไม่คิดในเหตุที่เกิดขึ้น, มักใช้กับเหตุการณ์ที่ทำให้เสียใจหรือ สูญเสียเป็นต้น.
  39. หับเผย : ก. ปิดงับและเปิดคํ้าขึ้นได้. น. โรงเรือนที่มีลักษณะด้านหน้า ปิดงับหรือเปิดค้ำขึ้นได้.
  40. หัวขาด : น. ชื่อฝีชนิดหนึ่ง เมื่อแรกขึ้นเป็นตุ่มเล็ก ๆ แล้วจึงเป็นฝี.
  41. หัวขี้แต้ : น. ดินที่แห้งแข็งเป็นตะปุ่มตะปํ่าอยู่ตามทุ่งนามักอูดขึ้นมาจาก รอยกีบเท้าวัวเท้าควาย.
  42. หัวคันนา : น. ดินที่พูนขึ้นเป็นคันตามท้องนาสำหรับขังน้ำไว้, คันนา หรือ ลูกคัน ก็เรียก.
  43. หัวซุน : ว. อาการที่ซวนไปข้างหน้า เช่น เดินหัวซุน, โดยปริยายหมายถึง อาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่นพูดว่า ใช้เสียหัวซุน คือ ใช้เสียจนโงหัว ไม่ขึ้นหรือใช้เสียจนไม่มีเวลาว่าง.
  44. หัวด้วน ๑ : น. เรียกลมพายุที่เกิดขึ้นอย่างปัจจุบันทันด่วนแล้วหายไปว่า ลมหัวด้วน.
  45. หัวดาวหัวเดือน : น. เม็ดตุ่มที่ผุดขึ้นตามตัว มีพิษมาก โดยมากขึ้นที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้าและนิ้วมือนิ้วเท้า.
  46. หัวตะโหงก : [-โหฺงก] น. สิ่งที่นูนโหนกขึ้นมาจากพื้นราบ เช่น หัวตะโหงก ตอไม้.
  47. หัวเถิก : ว. มีผมที่หัวตอนหน้าผากร่นสูงขึ้นไป.
  48. หัวปลวก : น. จอมปลวก, รังปลวกที่เป็นดินสูงขึ้น.
  49. หัวปักหัวปำ : ว. อาการที่หัวถลำไปข้างหน้าเพราะเมาเหล้าเมารถเป็นต้น เช่น คนเมาเดินหัวปักหัวปำ, โดยปริยายหมายความว่า โงหัวไม่ขึ้น เช่น ถูกใช้ทำงานจนหัวปักหัวปำ หลงผู้หญิงจนหัวปักหัวปำ.
  50. หัวหาด : น. ชายฝั่งทะเลที่อยู่ในความครอบครองของข้าศึก ซึ่งถ้ายึดได้แล้ว จะทําให้สะดวกในการยกพลขึ้นบก เรียกว่า ยึดหัวหาด, โดยปริยายหมายถึง จุดสำคัญหรือบุคคลสำคัญเป็นต้นซึ่งถ้ายึดไว้ได้ก็จะสามารถทำให้แผนการ ขั้นต่อไปประสบความสำเร็จ.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | [2201-2250] | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2790

(0.1528 sec)