Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เมืองขึ้น, เมือง, ขึ้น , then ขน, ขึ้น, มอง, เมือง, เมืองขึ้น .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เมืองขึ้น, 2790 found, display 301-350
  1. กระเบน : น. ชื่อปลากระดูกอ่อนพวกหนึ่ง มีหลายชนิด หลายสกุล และหลายวงศ์ ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ลําตัวแบนลงมาก ครีบอกแผ่ออกด้านข้าง บางชนิดแผ่ออกไปจดด้านหน้าและด้านท้าย เกือบเป็นวงกลมดูคล้ายจานหรือว่าว บางชนิดแผ่ยื่นด้านข้าง ออกไปเป็นปีกคล้ายนกหรือผีเสื้อ และบางชนิดครีบอกแผ่ ไปไม่ถึงส่วนหน้า ทำให้หัวแยกจากลำตัวและส่วนยื่นของหัว เป็นลอน มีเหงือก ๕ คู่ อยู่ด้านล่างของส่วนหัว บริเวณถัดจาก ส่วนท้ายของนัยน์ตามีรูเปิดข้างละช่อง ซึ่งด้านในติดต่อกับ โพรงเหงือกและปาก หางส่วนมากเรียว สั้นบ้างยาวบ้าง มักมีผิวหยาบหรือขรุขระ บางพวกมีเงี่ยงอยู่บนหางตอน ใกล้ลำตัว และมีต่อมน้ำพิษอยู่บริเวณโคนเงี่ยง เมื่อใช้เงี่ยงแทง จะปล่อยน้ำพิษออกมาด้วย ทำให้คนหรือสัตว์ที่ถูกแทงรู้สึกปวด; เรียกชายผ้านุ่งที่ม้วนแล้วสอดไปใต้หว่างขา ดึงขึ้นไปเหน็บ ขอบผ้านุ่งด้านหลังระดับบั้นเอว ว่า ชายกระเบน หรือ หางกระเบน; โคนหางช้าง เช่นผูกกระเบนสักหลาดถกล สัปทนแดงกางกั้ง. (กฐินพยุห).
  2. กระเบียน : น. (๑) กระเบากลัก. (ดู กระเบา๑). (๒) ชื่อไม้ต้นผลัดใบ ขนาดเล็กชนิด Gardenia turgida Roxb. ในวงศ์ Rubiaceae ขึ้นในป่าเต็งรังและป่าเบญจพรรณ ต้นมีหนามห่าง ๆ เปลือกเรียบ ดอกเมื่อแรกบานสีขาว แล้วเปลี่ยนเป็น สีเหลืองอ่อน ผลคล้ายละมุดฝรั่ง แต่สุกแล้วแข็ง, กระดานพน มะกอกพราน หมุยขาว หรือ หัวโล้น ก็เรียก.
  3. กระเบื้องกาบกล้วย : น. กระเบื้องมุงหลังคาชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็น กระเบื้อง ๒ แผ่นวางคร่อมกัน แผ่นคว่ำมีรูปร่างเหมือนกาบกล้วย ข้างใต้ตอนบนมีงวงหรือขอสำหรับยึดกับระแนง ส่วนแผ่นหงาย ที่อยู่ข้างล่างนั้นเป็นแผ่นแบน งอริมขึ้นทั้ง ๒ ข้าง มีขออยู่ตอนบน เพื่อเกี่ยวกับระแนง ปัจจุบันนิยมทำให้กระเบื้องแผ่นคว่ำและ แผ่นหงายติดเป็นแผ่นเดียวกันเพื่อให้มีความคงทนมากขึ้น, กาบู ก็เรียก.
  4. กระพัด : น. เชือกหรือลวดหนังตีเป็นเกลียวหุ้มผ้าแดง ปรกติคล้องผูกอยู่ รอบคอช้าง เมื่อตั้งสัปคับหรือกูบอย่างใดอย่างหนึ่ง ใช้ปลาย ทั้ง ๒ ข้างผูกสัปคับหรือกูบเพื่อรั้งมิให้เลื่อนไปทางท้ายช้างขณะ เดินขึ้นที่ชัน, เขียนเป็น กระพัตร ก็มี เช่น และกระพัตรรัตคนควร. (ดุษฎีสังเวย). ก. ผูก, คาด, ล้อม, เช่น เหตุกระพัดรัดตาด้วยไฟราค. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
  5. กระพัตร : [-พัด] น. เชือกหรือลวดหนังตีเป็นเกลียวหุ้มผ้าแดง ปรกติคล้องผูก อยู่รอบคอช้าง เมื่อตั้งสัปคับหรือกูบอย่างใดอย่างหนึ่ง ใช้ปลายทั้ง ๒ ข้างผูกสัปคับหรือกูบเพื่อรั้งมิให้เลื่อนไปทางท้ายช้างขณะเดินขึ้น ที่ชัน เช่น และกระพัตรรัตคนควร. (ดุษฎีสังเวย), กระพัด ก็ว่า.
  6. กระพี้เขาควาย : น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงใหญ่ชนิด Dalbergia cultrata Grah. ex Benth. ในวงศ์ Leguminosae ขึ้นตามป่าเบญจพรรณ และป่าทุ่งทั่วไป เว้นแต่ปักษ์ใต้ แก่นสีดําแข็งและหนักมาก ใช้ทําเครื่องเรือน เพลาเกวียน และด้ามเครื่องมือต่าง ๆ.
  7. กระพือ : ก. เอาสิ่งที่เป็นผืนแผ่นบาง ๆ โบกขึ้นลง, พัดหรือโบกด้วยอาการเช่นนั้น, โดยปริยายหมายถึง แพร่กระจาย เช่น ข่าวนี้กระพือไปอย่างรวดเร็ว.
  8. กระเพื่อม : ก. อาการของสิ่งเหลวหรือนุ่มที่ไหวขึ้น ๆ ลง ๆ เช่น น้ำกระเพื่อม.
  9. กระย่อน : ก. ขย้อน คือ อาการขยับขึ้นขยับลง, กระหย่อน ก็ใช้; ยวบยาบ, แกว่ง เช่น ลมไกวกิ่งกลฟ้อนก็กระย่อนอยู่ยานโยน. (สมุทรโฆษ); ขยับ เช่น ยกค้อนกระย่อนดูบริพาร. (สมุทรโฆษ).
  10. กระลับกระเลือก : [-เหฺลือก] ว. กลอกขึ้นกลอกลง (ใช้แก่ตา), (โบ) กลับเกลือก.
  11. กระวาน ๑ : น. (๑) ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Amomum krervanh Pierre ในวงศ์ Zingiberaceae ชอบขึ้นในป่าดิบชื้นตามภูมิประเทศ ที่เป็นเขาทางจันทบุรีและตราด ผลมีกลิ่นหอมฉุน ใช้ปรุงอาหาร และทํายา; อีกชนิดหนึ่ง คือ Elettaria cardamomum (L.) Maton ในวงศ์เดียวกัน เรียกว่า กระวานเทศ มาจากประเทศอินเดียตอนใต้, เอลา ลูกเอ็ล หรือ ลูกเอ็น ก็เรียก. (๒) ชื่อเรียกใบของไม้ต้นชนิด Laurus nobilis L. ในวงศ์ Lauraceae กลิ่นคล้ายกระวาน ใช้เป็น เครื่องเทศและแต่งกลิ่นยา.
  12. กระสง : น. ชื่อปลาน้ำจืดชนิด Channa lucius ในวงศ์ Channidae รูปร่างคล้ายปลาช่อนซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกัน แต่หัวแหลมกว่าและ แอ่นงอนขึ้นเล็กน้อย มีลายพาดขวางลําตัวข้างละ ๗-๑๒ แถบ ทุกครีบมีจุดประหรือริ้วสีดํา.
  13. กระสบ : น. ชื่อโรคลมชนิดหนึ่ง ในตําราแพทย์แผนโบราณว่า มักขึ้นในไส้ ให้เวียนหัว ให้ราก จุก สมุฏฐานเกิดจากธาตุไฟหย่อน.
  14. กระสอบทราย : น. ถุงผ้าใบหรือหนัง ลักษณะคล้ายหมอนข้าง ขนาดใหญ่ เดิมบรรจุทราย ปัจจุบันบรรจุด้วยขี้เลื่อย เศษผ้า หรือฟองน้ำ อัดแน่น เป็นอุปกรณ์อย่างหนึ่งในการฝึกซ้อมของ นักมวยเพื่อฝึกการชก เตะ ขึ้นเข่า เป็นต้น, (ปาก) ผู้ที่ถูกทำร้าย ร่างกายอย่างบอบช้ำ โดยที่ไม่มีทางหรือไม่กล้าต่อสู้ เช่น นักมวยฝ่ายน้ำเงินถูกนักมวยฝ่ายแดงถลุงเป็นกระสอบทราย.
  15. กระสัง ๑ : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Peperomia pellucida Korth. ในวงศ์ Peperomiaceae ขึ้นอยู่ทั่วไปตามที่ชื้น ลําต้นอวบน้ำ.
  16. กระเสด : น. หาดทรายที่ขึ้นสูงพ้นน้ำ.
  17. กระหม่อม : น. ส่วนของกะโหลกอยู่ตรงแนวศีรษะแต่ต่ำกว่าส่วนสูงสุด ลงมาใกล้หน้าผาก ในเด็กแรกเกิดจนถึง ๒ ขวบส่วนนี้จะมี เนื้อเยื่ออ่อนปิดรอยประสานกะโหลกที่ยังเปิดอยู่ หลังจากนั้น เนื้อเยื่ออ่อนนี้จะกลายเป็นกระดูก, โดยปริยายหมายรวม ๆ ว่า หัว เช่น เป่ากระหม่อม ลงกระหม่อม, ขม่อม ก็ว่า; คําสําหรับใช้ควบ กับคําที่ขึ้นต้น ว่า ``เกล้า'' เช่น ทราบเกล้าทราบกระหม่อม ทูลเกล้าทูลกระหม่อม ในการเขียนหนังสือใช้ไปยาลน้อยแทน เช่น ทราบเกล้าฯ ทูลเกล้าฯ. ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย เพ็ดทูลเจ้านายชั้นหม่อมเจ้า และพระวรวงศ์เธอที่มิได้ทรงกรม, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑. (ราชา) ว. คำรับหรือคำลงท้ายที่ผู้ชาย ใช้เพ็ดทูลเจ้านายชั้นหม่อมเจ้า. (ย่อมาจาก ขอรับกระหม่อม). (แผลงมาจาก ขม่อม).
  18. กระหมุบกระหมิบ : ก. หมุบหมิบ, อาการที่ริมฝีปากเผยอขึ้นและ หุบลงโดยเร็ว, อาการของปากที่พูดอย่างไม่ออกเสียง, เช่น ทำปากกระหมุบกระหมิบ สวดมนต์กระหมุบกระหมิบ. (แผลงมาจาก ขมุบขมิบ).
  19. กระหย่ง ๑ : ก. ทําให้สูงขึ้น เช่น กระหย่งตัว, ทำสิ่งที่รวมตัวกันให้โปร่ง หรือขยายตัวให้หลวมขึ้น เช่น กระหย่งฟาง, กระโหย่ง หย่ง หรือ โหย่ง ก็ว่า.
  20. กระหย่ง ๒ : ว. อาการที่เดินหรือวิ่งไม่เต็มเท้า คือ จดแต่ปลายเท้า เพื่อทําให้ตนสูงขึ้น หรือเพื่อไม่ให้เกิดเสียงดัง เช่น เดินกระหย่ง วิ่งกระหย่ง, เรียกรอยเท้าที่ไม่เต็มเห็นแต่ ปลายเท้าและส้นเท้าว่า รอยเท้ากระหย่ง, อาการที่นั่งเอา ปลายเท้าตั้งลงที่พื้น ส้นเท้าทั้ง ๒ รับก้น เรียกว่า นั่งกระหย่ง, กระโหย่ง หย่ง หย่ง ๆ โหย่ง หรือ โหย่ง ๆ ก็ว่า.
  21. กระหย่อน : (โบ) ก. ขย้อน คือ อาการขยับขึ้นขยับลง เช่น พระยานั่งอยู่ แลกระหย่อนองค์โลดขึ้นทั้งนั้นก็ดี ขึ้นสูงได้ ๑๘ ศอก. (ไตรภูมิ; สรรพสิทธิ์; พงศ. เหนือ), กระย่อน ก็ว่า.
  22. กระเหม่น : [-เหฺม่น] ก. เขม่น คือ อาการที่กล้ามเนื้อกระตุกเต้นเบา ๆ ขึ้นเอง ตามความเชื่อโบราณถือว่าเป็นนิมิตบอกเหตุร้ายหรือดีได้ เช่น กระเหม่นตา; เขม้น เช่น กระเหม่นตรับตัว. (เสือโค). (แผลงมาจาก เขม่น).
  23. กระเหม่า : [-เหฺม่า] น. เขม่า, ละอองขึ้นที่ลิ้นเด็กอ่อน โบราณเรียกว่า กระเหม่าซาง. (แผลงมาจาก เขม่า).
  24. กระแหย่ง : [-แหฺย่ง] ว. อาการปีนขึ้นอย่างพลั้ง ๆ พลาด ๆ. ก. คะยั้นคะยอ เช่น มาหยักเหยาเซ้าซี้กระแหย่งชาย. (รามเกียรติ์ ร. ๑).
  25. กระแหร่ม : [-แหฺร่ม] ก. กระแอม คือ ทําเสียงขึ้นมาจากคอ เช่นเพื่อ มิให้น้ำมูกลงคอเมื่อเป็นหวัด หรือเพื่อให้หายเสลดติดคอ.
  26. กระโหย่ง ๑ : [-โหฺย่ง] ก. ทําให้สูงขึ้น เช่น กระโหย่งตัว, ทำสิ่งที่รวมตัวกันให้โปร่งหรือขยายตัวให้หลวมขึ้น เช่น กระโหย่งฟาง, กระหย่ง หย่ง หรือ โหย่ง ก็ว่า.
  27. กระโหย่ง ๒ : [-โหฺย่ง] ว. อาการที่เดินหรือวิ่งไม่เต็มเท้า คือ จดแต่ปลายเท้า เพื่อทําให้ตนสูงขึ้น หรือเพื่อไม่ให้เกิดเสียงดัง เช่น เดินกระโหย่ง วิ่งกระโหย่ง, เรียกรอยเท้าที่ไม่เต็ม เห็นแต่ปลายเท้าและส้นเท้าว่า รอยเท้ากระโหย่ง, อาการที่นั่งเอาปลายเท้าตั้งลงที่พื้น ส้นเท้าทั้ง ๒ รับก้น เรียกว่า นั่งกระโหย่ง, กระหย่ง หย่ง หย่ง ๆ โหย่ง หรือ โหย่ง ๆ ก็ว่า.
  28. กระแอม ๒ : น. ลายที่ผูกเป็นตัวลอย ๆ ลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยม ขนมเปียกปูนคล้ายลายกระหนกหางโต ใช้สําหรับอุด หรือปิดช่องไฟระหว่างลายกระหนกเครือวัลย์ เรียกว่า ลูกกระแอม, ตัวที่บอกให้รู้ว่าได้ทําอะไรแปลกไปจาก การประดิษฐ์ แสดงเป็นตัวลูกไม้เพิ่มขึ้น เรียกว่า ตัวกระแอม.
  29. กราด ๔ : [กฺราด] น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Dipterocarpus intricatus Dyer ในวงศ์ Dipterocarpaceae ขึ้นในป่าเต็งรัง ต้นมียางเหนียว เจาะ เอาน้ำมันยางได้, ยางกราด เหียงกราด ตะแบง หรือ สะแบง ก็เรียก.
  30. กราน ๒ : [กฺราน] ใช้เข้าคู่กับคําอื่น หมายความว่า ทอดตัว หรือ ล้มตัวลงราบ เช่น ก้มกราน หมอบกราน, หมายความว่า ค้ำ, ยัน, เช่น ยันกราน ยืนกราน, ในบทกลอนใช้โดยลําพังก็มี เช่น ก็กรานในกลางรณภู. (สมุทรโฆษ), พระรามตัดตีนสินมือเสีย กรานคอไปไว้ที่นอกเมือง. (มโนห์รา), โบราณเขียนเป็น กราล ก็มี.
  31. กราบ ๑ : [กฺราบ] น. ไม้เสริมแคมเรือให้สูงขึ้น, ส่วนของเรือตอนที่มีไม้เสริม, ไม้กระดานที่ติดตรงแคมเรือไปตามแนวนอนสําหรับเดิน, เรียกส่วนด้านข้างของเรือรบว่า กราบ.
  32. กราบ ๒ : [กฺราบ] ก. แสดงความเคารพด้วยวิธีนั่งประนมมือขึ้นเสมอหน้าผาก แล้วน้อมศีรษะลงจดพื้น, ถ้าหมอบแล้วน้อมศีรษะลงจดมือที่ ประนมอยู่กับพื้น เรียกว่า หมอบกราบ, ประนมมือเสมอหน้าผาก แล้วน้อมศีรษะลงจดมือที่วางอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ก็อนุโลมถือว่าเป็น กราบ เช่น กราบลงบนตัก, เรียกกราบไหว้ด้วยตั้งอวัยวะทั้ง ๕ ลงกับพื้น คือ กราบเอาเข่าทั้ง ๒ จดพื้น ฝ่ามือทั้ง ๒ วางราบ ติดพื้น และหน้าผากจดพื้นว่า กราบโดยเบญจางคประดิษฐ์ เป็นอาการแสดงความเคารพอย่างสูงสุด, โดยปริยายใช้เป็น คําแสดงอาการเคารพเหมือนอย่างกราบ เช่น กราบทูล กราบเรียน. กราบพระ (โบ) น. ผ้ากราบ.
  33. กราฟ : น. แผนภูมิที่ใช้เส้น จุด หรือภาพเป็นต้น เพื่อแสดงความ เปลี่ยนแปลงค่าของตัวแปรตัวหนึ่งเทียบกับความเปลี่ยนแปลง ค่าของตัวแปรตัวอื่น; (คณิต) เซตของจุดที่เรียงกันอย่างมีระเบียบ ตามที่กําหนดขึ้นด้วยสมการหรืออสมการ. (อ. graph).
  34. กรามช้าง ๑ : น. ตําราแพทย์แผนโบราณว่าเป็นโรคมะเร็งชนิดหนึ่ง ขึ้นที่แถวกราม มีอาการเป็นเนื้อร้ายงอกขึ้นที่ต่อมแถวก้านคาง ทําให้ขากรรไตรพองโตใหญ่ออกมา เรียกว่า มะเร็งกรามช้าง.
  35. กริว ๑ : [กฺริว] น. เต่า เช่น เขียนกริวขึ้นขี่ที่ต้นคอ. (ขุนช้างขุนแผน), จริว หรือ ตริว ก็ว่า. (ดู ตะพาบ, ตะพาบน้ำ).
  36. กรุกกรัก : ก. ขลุกขลัก เช่น กรุกกรักประดักประเดิดเปิดฝาลุ้ง. (คาวี). ว. เสียงดังกุกกัก เช่น ได้ยินเสียงกรุกกรักก็ทักถาม. (ม. ร่ายยาว ชูชก). ว. เสียงนกเขาขันคู, จุ๊กกรู๊ ก็ว่า. [กฺรุง] น. เมืองหลวง, เมืองซึ่งเป็นที่ตั้งรัฐบาลกลาง, แต่ก่อนหมายถึงประเทศก็ได้ เช่น กรุงสยาม กรุงจีน; (โบ) กษัตริย์ เช่น จึ่งกรุงสุทโธทนเห็นอัศจรรย์ก็ทูลพลันด่งงนี้ฯ. (ม. คำหลวง ทศพร). [กฺรุ้งกฺริ่ง] ก. แสดงสีหน้า แววตา และท่าทางเจ้าชู้, กรุ้มกริ่ม ก็ว่า. [กฺรุงขะเหฺมา] น. ชื่อไม้เถาชนิด Cissampelos pareira L. var. hirsuta (Buch. ex DC.) Forman ในวงศ์ Menispermaceae ใบรูปสามเหลี่ยมปลายมน ผลกลม เมื่อสุกสีแดง.
  37. กรุง : [กฺรุง] น. เมืองหลวง, เมืองซึ่งเป็นที่ตั้งรัฐบาลกลาง, แต่ก่อนหมายถึงประเทศก็ได้ เช่น กรุงสยาม กรุงจีน; (โบ) กษัตริย์ เช่น จึ่งกรุงสุทโธทนเห็นอัศจรรย์ก็ทูลพลันด่งงนี้ฯ. (ม. คำหลวง ทศพร).
  38. กรุ่ม : [กฺรุ่ม] ก. ขันบ่อย ๆ (ปรกติใช้แก่นกเขา แต่ใช้แก่นกอื่นก็มีบ้าง) เช่น บางพวกจับเป็นคู่คูขันกันโดยธรรมดาเวลากรุ่มกําลังที่ตั้งขึ้น ตามฤดู. (ม. ร. ๔ วนปเวสน์); โดยปริยายหมายความว่า สบายเรื่อย ๆ ไป เช่น มีเงินตรากินกรุ่มเป็นภูมิฐาน. (นิ. เดือน); รุ่มร้อน, ระอุ, เช่น นรกเท่ากรุ่ม เปลวร้อนเหมือนไฟ. (สุบิน).
  39. กรุ้มกริ่ม : [กฺรุ้มกฺริ่ม] ก. แสดงสีหน้า แววตา และท่าทางเจ้าชู้ เช่น เห็นผู้หญิงเดินผ่านมาก็ทำกรุ้มกริ่มขึ้นมาทันที, กรุ้งกริ่ง ก็ว่า.
  40. กฤดา, กฤดาการ : [กฺริดา, กฺริดากาน] (โบ; กลอน) น. บารมีอันยิ่งที่ทำไว้ (กร่อนมาจาก กฤดาธิการ) เช่น ทรงพระกฤดาเดชานุภาพยิ่งทวีขึ้น. (พงศ. อยุธยา), ผู้ใดมีบุญญากฤดาการ. (เสภาสุนทรภู่).
  41. กฤษฎาธาร : [กฺริดสะดาทาน] น. พระที่นั่งที่ทําขึ้นสําหรับเกียรติยศ (?) เช่น พระมหาพิชัยราชรถกฤษฎาธาร. (เรื่องพระบรมศพ).
  42. กฤษฎีกา : [กฺริดสะ-] น. แผลงมาจาก กติกา เช่น ก็รับพระกฤษฎีกากําหนด แห่งพระดาบสว่าสาธุแล. (ม. คําหลวง วนปเวสน์); (กฎ) บทกฎหมายซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้น เพื่อใช้ในการ บริหาร เรียกว่า พระราชกฤษฎีกา; ชื่อคณะกรรมการประกอบด้วย กรรมการร่างกฎหมายและกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ รวมเรียกว่า คณะกรรมการกฤษฎีกา; (กฎ; โบ) พระราชโองการที่มี ลักษณะเป็นกฎหมาย.
  43. กลม ๓ : [กฺลม] ลักษณนามเรียกจํานวนเหล้าบางประเภท ที่บรรจุในภาชนะกลม ส่วนมากเป็นขวด เช่น เหล้ากลมหนึ่ง เหล้า ๒ กลม. ว. มีสัณฐานโดยรอบไม่เป็นเหลี่ยม, ถ้าเหมือนลูกหิน เรียกว่า ลูกกลม, ถ้าเหมือนเส้นที่ลาก เป็นวงมาจดกัน โดยมีเส้นรัศมียาวเท่ากัน เรียกว่า วงกลม, ถ้าเหมือนสตางค์ เรียกว่า กลมแบน, ถ้าเหมือนกระบอกไม้ไผ่ เรียกว่า กลมยาว, ถ้าเหมือนลูกไข่ แต่หัวและท้ายเท่ากัน เรียกว่า กลมรี; (ปาก) อ้วน เช่น เขามีสุขภาพดีขึ้นจนดูกลมไปทั้งตัว; (กลอน) โดยปริยายว่า เรียบร้อยดี เช่น ใจพระลออยู่บมิกลม. (ลอ); กลิ้งกลอกเต็มตัว เช่น คนกลมดั่งน้ำกลอกใบบัว.
  44. กลม ๔ : [กฺลม] ว. (โบ) ปวง, หมด, สิ้น, เช่น ทั้งกลม คือ ทั้งปวง, จึ่งได้เมืองแก่กูทงงกลํ. (จารึกสยาม); เรียกหญิงที่ตายพร้อม กับลูกที่อยู่ในท้องว่า หญิงตายทั้งกลม หมายถึง ตายทั้งหมด คือ ตายทั้งแม่ทั้งลูก.
  45. กล้วยไม้ : น. (๑) ชื่อพรรณไม้หลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Orchidaceae ลักษณะต้น ใบ และช่อดอกต่าง ๆกัน บางชนิดเกาะตามต้นไม้ และหิน บางชนิดขึ้นอยู่บนพื้นดิน บางชนิดมีดอกงาม บางชนิดมี กลิ่นหอม, พายัพเรียก เอื้อง. (๒) (ถิ่น-ปักษ์ใต้) ต้นจุกโรหินี. (ดู จุกโรหินี).
  46. กลศาสตร์ : [กนละ-] น. วิชาฟิสิกส์สาขาหนึ่ง ที่ศึกษาเกี่ยวกับ การกระทําของแรงต่อเทหวัตถุ และผลที่เกิดขึ้นแก่เทหวัตถุนั้น ภายหลังที่ถูกแรงมากระทํา. (อ. mechanics).
  47. กลอง ๑ : [กฺลอง] น. เครื่องตีทําด้วยไม้เป็นต้น มีลักษณะกลม กลวง ขึงด้วยหนัง มีหลายชนิด, ถ้าขึ้นหนังหน้าเดียว มีรูปยาวมาก ใช้สะพายในเวลาตี เรียกว่า กลองยาว หรือ เถิดเทิง, ถ้าขึ้นหนังหน้าเดียว มีรูปกลมแบนและตื้น เรียกว่า กลองรํามะนา, ถ้าขึ้นหนังทั้ง ๒ หน้า ร้อยโยงเข้าด้วยกันด้วยหนังเรียด เรียกว่า กลองมลายู, ถ้าร้อยโยงด้วยหวาย เรียกว่า กลองแขก กลองชนะ, ถ้าขึ้นหนังตรึงแน่นทั้ง ๒ หน้า เรียกว่า กลองทัด.
  48. กลอนบทละคร : น. กลอนเล่าเรื่อง ใช้เป็นบทแสดง วรรคแรกจะต้อง ขึ้นต้นด้วย เมื่อนั้น บัดนั้น หรือ มาจะกล่าวบทไป.
  49. กลอนเพลงยาว : น. กลอนที่เขียนขึ้นเพื่อแสดงความรัก หรือเล่าสู่กันฟัง เป็นต้น ขึ้นต้นด้วยวรรครับหรือวรรคที่ ๒ ของบท.
  50. กลอนสด : น. กลอนที่ผูกและกล่าวขึ้นในปัจจุบันโดยไม่ได้คิดมาก่อน, โดยปริยายหมายความว่า ข้อความที่กล่าวขึ้นในปัจจุบัน โดยมิได้เตรียมตัวมาก่อน เช่น พูดกลอนสด.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | [301-350] | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2790

(0.1561 sec)