Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: บรรยาย .

Eng-Thai Lexitron Dict : บรรยาย, more than 7 found, display 1-7
  1. lecture : (VI) ; บรรยาย
  2. lecture : (VT) ; บรรยาย
  3. lecture about : (PHRV) ; บรรยาย ; Related:สั่งสอน, ปาฐกถา
  4. lecture on : (PHRV) ; บรรยาย ; Related:สั่งสอน, แสดงปาฐกถา
  5. Eng-Thai Lexitron Dict : บรรยาย, more results...

Thai-Eng Lexitron Dict : บรรยาย, more than 7 found, display 1-7
  1. บรรยาย : (V) ; describe ; Related:narrate, lecture, recite ; Syn:เล่า, ชี้แจง, อธิบาย, นำเสนอ ; Def:ชี้แจงหรืออธิบายเรื่องให้ฟัง ; Samp:ผู้ประสบเหตุกำลังบรรยายเรื่องราวที่เกิดขึ้นให้ตำรวจฟัง
  2. ปาฐกถา : (V) ; lecture ; Related:make a speech ; Syn:บรรยาย ; Def:การกล่าวถ้อยคำหรือเรื่องราวทางวิชาการที่กล่าวหรือบรรยายในที่ชุมนุมหรือในห้องเรียนขั้นอุดมศึกษา ; Samp:นักวิชาการกำลังปาฐกถาเรื่องบทบาทของนักวิชาการต่อการบริหารประเทศ
  3. พากย์ : (V) ; narrate ; Related:recite ; Syn:บรรยาย ; Def:พูดหรือบรรยายไปตามภาพที่เห็น ; Samp:เขาหัดพากย์ฟุตบอลเวลาที่มีการถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์จนคล่อง
  4. คำบรรยาย : (N) ; lecture ; Related:narration, expository, explanation, relation, speech ; Syn:ปาฐกถา ; Samp:หากเราสนใจฟังคำบรรยายของอาจารย์ เราก็จะไม่ได้ยินเสียงอื่นๆ เลย ; Unit:เรื่อง
  5. ผู้บรรยาย : (N) ; narrator ; Related:storyteller, lecturer ; Syn:วิทยากร, ผู้พูด ; Ant:ผู้ฟัง ; Samp:ผู้บรรยายบางคนออกเสียง ร ควบกล้ำไม่ได้เลย ; Unit:คน, ท่าน
  6. พรรณนา : (V) ; describe ; Related:depict, narrate, relate, explain ; Syn:บรรยาย, สาธยาย ; Def:กล่าวเป็นเรื่องเป็นราวอย่างละเอียด ให้ผู้ฟังนึกเห็นเป็นภาพ ; Samp:ทหารด้วยกันพูดภาษาทหารกันสั้นๆ ก็รู้เรื่อง ไม่จำเป็นต้องพรรณนาอะไรมาก
  7. เหนือคำบรรยาย : (ADV) ; beyond description ; Related:cannot be put into words ; Samp:ภาพที่เขาวิ่งเข้าไปสวมกอดพ่อนั้น คงมีความหมายเหนือคำบรรยายใดๆ
  8. Thai-Eng Lexitron Dict : บรรยาย, more results...

Royal Institute Thai-Thai Dict : บรรยาย, 9 found, display 1-9
  1. บรรยาย : [บันยาย, บันระยาย] ก. ชี้แจงหรืออธิบายเรื่องให้ฟังเป็นต้น, เล่าเรื่อง เช่น ภาพยนตร์มีอักษรไทยบรรยายกํากับไว้. (ส.).
  2. การ์ตูน ๑ : น. ภาพล้อ, ภาพตลก, บางทีเขียนเป็นภาพบุคคล บางทีเขียนเป็นภาพแสดงเหตุการณ์ที่ผู้เขียนตั้งใจ ล้อเลียนจะให้ดูรู้สึกขบขัน, หนังสือเล่าเรื่องด้วยภาพเขียน ซึ่งแบ่งหน้ากระดาษเป็นช่อง ๆมีคำบรรยายสั้น ๆ อ่านง่าย เนื้อเรื่องมักเป็นนิทานหรือนวนิยาย.
  3. ขายตามคำพรรณนา : (กฎ) น. สัญญาซื้อขายที่คู่สัญญาตกลงซื้อขาย ทรัพย์สินตามลักษณะและคุณภาพที่ผู้ขายได้บรรยายไว้อย่างละเอียด.
  4. บริยาย : [บอริยาย] ก. บรรยาย, สอน, แสดง, เล่าเรื่อง.
  5. ปาฐกถา : [-ถะกะถา] น. ถ้อยคําหรือเรื่องราวที่บรรยายในที่ชุมนุมชน เป็นต้น. ก. บรรยายเรื่องราวในที่ชุมนุมชนเป็นต้น. (ป.).
  6. พากย์ : ก. พูดแทนผู้แสดงหรือตามบทบาทของผู้แสดงโขน หนัง หรือ ภาพยนตร์ เป็นต้น เช่น พากย์โขน พากย์หนังตะลุง พากย์หนัง ใหญ่ พากย์ภาพยนตร์, บรรยายถ่ายทอดในการแข่งขันกีฬาหรือ การแสดงบางอย่าง เช่น พากย์มวย พากย์ฟุตบอล, กล่าวเรื่องราว เป็นทำนองเมื่อเวลาแสดงโขนเล่นหนัง. น. คําพูด, ภาษา; คํากล่าว เรื่องราวเป็นทํานองเมื่อเวลาแสดงโขนหรือหนังใหญ่เป็นต้น, บทพากย์ ก็ว่า. (ป., ส. วากฺย).
  7. ละครดึกดำบรรพ์ : น. ละครแบบหนึ่ง ดำเนินเรื่องรวดเร็ว มีการ ตกแต่งฉากที่คล้ายของจริง ไม่มีบทบรรยายฉาก บรรยายกิริยา อาการของตัวละคร ตัวละครร้องและเจรจาบทของตนเอง และ ใช้ดนตรีที่ปรับปรุงตามแบบคอนเสิร์ตของฝรั่ง ฉากสุดท้ายจะ งดงามสง่าภาคภูมิ เช่น ละครดึกดำบรรพ์เรื่องอิเหนา เรื่องคาวี, ชื่อดึกดำบรรพ์มาจากชื่อโรงละครของเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (ม.ร.ว.หลาน กุญชร).
  8. ศูนยวาท : น. ปรัชญาฝ่ายมหายานที่ถือว่า (๑) โลกเป็นศูนยะ คือ ไม่ใช่สิ่งจริงแท้ถาวร (๒) นิพพานก็เป็นศูนยะ คือ ไม่มีวาทะ หรือลัทธิใด ๆ สามารถบรรยายได้ถูกต้องครบถ้วน, มาธยมิกะ ก็เรียก. (ส.).
  9. อัตนัย : ว. ที่เปิดโอกาสให้แสดงความรู้หรือความคิดเห็นส่วนตัวได้, เรียกการสอบแบบที่ให้ผู้ตอบบรรยายแสดงความรู้หรือแสดงความ คิดเห็นของตนเองว่า การสอบแบบอัตนัย, คู่กับ ปรนัย, จิตวิสัย ก็ว่า. (อ. subjective).

Budhism Thai-Thai Dict : บรรยาย, 8 found, display 1-8
  1. บรรยาย : การสอน, การแสดง, การชี้แจง; นัยโดยอ้อม, อย่าง, ทาง
  2. ปริยาย : การเล่าเรื่อง, บรรยาย; อย่าง, ทาง, นัยอ้อม, แง่
  3. สังคีติปริยาย : บรรยายเรื่องการสังคายนา, การเล่าเรื่องการสังคายนา
  4. ธรรมกถา : การกล่าวธรรม, คำกล่าวธรรม, ถ้อยคำที่กล่าวถึงธรรม, คำบรรยายหรืออธิบายธรรม
  5. ธรรมเทศนา : การแสดงธรรม, การบรรยายธรรม
  6. ธรรมีกถา : ถ้อยคำที่ประกอบด้วยธรรม, การพูดหรือสนทนาเกี่ยวกับธรรม, คำบรรยายหรืออธิบายธรรม
  7. มังคลัตถทีปนี : ชื่อคัมภีร์อธิบายมงคล ๓๘ ประการ ในมงคลสูตร พระสิริมังคลาจารย์แห่งลานนาไทย รจนาขึ้นที่เมืองเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ.๒๐๖๗ โดยรวบรวมคำอธิบายจากอรรถกถาฎีกา อนุฎีกาต่างๆ เป็นอันมาก พร้อมทั้งคำบรรยายของท่านเอง
  8. วินัยกถา : คำพูดเกี่ยวกับพระวินัย, คำบรรยาย คำอธิบาย หรือเรื่องสนทนาเกี่ยวกับพระวินัย

ETipitaka Pali-Thai Dict : บรรยาย, 10 found, display 1-10
  1. ปริยาย : ป. ระเบียบ, อันดับ, เหตุ, หนทาง, คุณภาพ, วิธีการพูดอ้อมค้อม, ไวพจน์, บรรยาย
  2. อุจฺจารณ : (วิ.) เปล่ง, เทสนา, ชี้แจง, แถลง, บรรยาย, แสดง, สวด. อุปุพฺโพ, จรฺ คติยํ, ยุ.
  3. กมฺมกถา : อิต. การกล่าวเรื่องของกรรม, กรรมบรรยาย
  4. เทสก เทสิก : (วิ.) ผู้แสดง, ผู้บรรยาย, ผู้ชี้แจง, ผู้สอน. ทิสฺ ทิสิ วา อุจจารเณ, ณวุ. ส. เทศก.
  5. เทสนา : (อิต.) วาจาเป็นเครื่องแสดง, การแสดง, การบรรยาย, การชี้แจง, การแถลง, การสอน, เทสนา, เทศนา (การแสดงธรรม คำสั่งสอนในทางศาสนา). วิ. เทสียตีติ เท สนา. เทสนํ วา เทสนา, ทิสฺ ทิสิ วา อุจุจารเณ, ยุ, อิศฺถิยํ อา.
  6. ปริกถา : (อิต.) การพูดเลียบเคียง, การพูดและ เล็ม, การพูดบรรยาย, คำอธิบาย, นิยาย, คำพูดเลียบเคียง, ฯลฯ. ปริปุพฺโพ, กถฺ วจเน, อ.
  7. ภวงฺคจิตตฺ : (นปุ.) จิตเป็นองค์แห่งภพ, จิตตกลงสู่กระแสภวังค์, จิตเป็นภวังค์, ภวังคจิต คือ จิตตกลงสู่กระแสภวังค์ เป็นอยู่โดยไม่รู้สึกตัว สืบต่อไว้ซึ่งภพ บังเกิดติดต่อกันดุจกระแสน้ำไหล ทำหน้าที่รักษาภพชาติให้ดำรงอยู่ อีกบรรยายหนึ่งจิตที่เกิดต่อจากปฏิสนธิ จิตทำหน้าที่รักษาภพชาติให้ดำรงอยู่เท่าที่อายุของสังขารจะอยู่ได้ในภพที่ปฏิสนธิ (เกิด) นั้น เกิดดับโดยไม่ขาดสายจนกว่าจะถึงจุติจิต (ตาย) จิตนั้นจะขาดจากภวังค์เมื่อขึ้นสู่วิถีรับอารมณ์ทางทวารทั้ง ๖ ก็ขาดจากภวังค์ เมื่อรับอารมณ์แล้ว จิตก็ตกกระแสภวังค์ต่อไป วนอยู่อย่างนี้.
  8. มหากจฺจายน : (ปุ.) พระมหากัจจายนะ ชื่อ พระเถระครั้งพุทธกาลองค์หนึ่ง ซึ่งเป็นเอตทัคคะในการบรรยายธรรมให้พิสดาร.
  9. มิจฉาทิฏฺฐ : (อิต.) ความเห็นผิด, ความเห็นที่ผิด, ลัทธิเป็นเครื่องเห็นผิด. มิจฺฉาทสฺสนํ มิจฺฉาทิฏฺฐ. แก้มิจฉาทิฏฐิ ได้โดย ๑.     ธัมมัสสวนะ ฟังธรรม ฟังบรรยายธรรม จากท่านผู้รู้ถูกต้อง เทศน์สอน อ่านหนังสือธรรม ที่ท่านผู้รู้ถูกต้องเขียน ๒. ธัมมานุสสรณะ หมั่นทบทวนคำสอน ๓.  ธัมมาสากัจฉา สนทนาธรรมกับท่านผู้รู้ถูกต้อง.
  10. อุทฺเทส : (ปุ.) การยกขึ้นแสดง, การยกขึ้น ชี้แจง, การยกขึ้นอ้างอิง, การแสดง, การชี้แจง, การบรรยาย, การสวด, คำชี้แจง, คำอธิบาย, พระปาติโมกข์ ชื่อพระบาลีที่ ยกขึ้นสวดทุกกึ่งเดือน, อุเทศ คือ การจัด อย่างสังเขปรวมเป็นข้อ ๆ ไว้ การสอน หรือการเรียนพระบาลี. อุปุพฺโพ, ทิสฺ ปกาสนอติสชฺชเนสุ, โณ, ทฺสํโยโค. ส. อุทฺเทศ.

Pramaha Prasert Mantasevi's Thai-Pali Dict : บรรยาย, not found

(0.0552 sec)