เกรี้ยว, เกรี้ยว ๆ : [เกฺรี้ยว] ว. อาการที่แสดงความเดือดดาลหรือโกรธมาก เช่น อนิจจามาร้องอยู่เกรี้ยว ๆ. (มโนห์รา).
เกรี้ยวกราด : ก. แสดงกิริยาท่าทางพร้อมทั้งดุด่าว่ากล่าวเป็นต้น อย่างรุนแรงด้วยความโกรธ, กราดเกรี้ยว ก็ใช้.
เกรี้ยวโกรธ : ก. โกรธจัด, โกรธเกรี้ยว ก็ว่า.
กระเกรี้ยว : (โบ; กลอน) ว. เสียงขบฟันเกรี้ยว ๆ เช่น คุกคามขบฟันกระเกรี้ยว. (ม. คําหลวง ฉกษัตริย์).
กราดเกรี้ยว : ก. แสดงกิริยาท่าทางพร้อมทั้งดุด่าว่ากล่าวเป็นต้น อย่างรุนแรงด้วยความโกรธ, เกรี้ยวกราด ก็ใช้.
โกรธเกรี้ยว : ก. โกรธจัด, เกรี้ยวโกรธ ก็ว่า.
กระ ๔ : ใช้เป็นพยางค์หน้า (๑) ซึ่งเดิมเป็น ก กํา กุ ข ต ส เช่น กบิล - กระบิล, กําแพง - กระแพง, กุฎี - กระฎี, ขจัด - กระจัด, ตวัด - กระหวัด, สะท้อน - กระท้อน. (๒) โบราณใช้แทน ตระ เช่น ตระกูล - กระกูล, ตระลาการ - กระลาการ. (อัยการเบ็ดเสร็จ). (๓) เติมหน้าคําโดยไม่มีความหมายก็มี เช่น ซุ้ม - กระซุ้ม, โดด - กระโดด, พุ่ม - กระพุ่ม, ยาจก - กระยาจก, เติมให้มีความหมายแน่นแฟ้นขึ้นก็มี เช่น ทํา - กระทํา, ทุ้ง - กระทุ้ง, เสือกสน - กระเสือกกระสน. (๔) ย้าหน้าคําอันขึ้นต้นด้วย ก ในบทกลอน คือ กระกรี๊ด กระกรุ่น กระกลับกลอก กระเกริ่น กระเกรียม กระเกรียว กระเกรี้ยว กระเกริก. (๕) นอกนี้เป็น กระ มาแต่เดิม เช่น กระทรวง กระบือ.
จะกรัจจะกราจ : (กลอน) ว. เสียงขบฟันกรอด ๆ, ทําอาการเกรี้ยวกราด, เช่น ขบฟันขึงเขียว จะกรัจจะกราจคึกคาม. (สุธนู), เขียนเป็น จะกรัดจะกราด ก็มี.
จัณฑ-, จัณฑ์ : [จันทะ-, จัน] ว. ดุร้าย, หยาบช้า, เกรี้ยวกราด, ฉุน, ฉุนเฉียว; ราชาศัพท์. ใช้เรียกสุราหรือเมรัยว่า นํ้าจัณฑ์. (ป., ส.)
เกรียว : [เกฺรียว] ว. ลักษณะที่ต่อเนื่องกันมาก ๆ เป็นแถว ๆ เช่น มากันเกรียว, ลักษณะอาการที่เป็นอย่างเดียวพร้อม ๆ กัน เช่น ขนลุกเกรียว, เสียงเอ็ดอึงพร้อมกันหลาย ๆ เสียง เช่น หมาเห่าเกรียว เล่นกันเกรียว.
จณฺฑ จณฺฑาล : (วิ.) หยาบช้า, เกรี้ยวกราด, ร้ายกาจ, ดุ, ร้าย, ดุร้าย, ขึ้งเคียด, ขึ้ง เคียดนัก, จัด, ฉุนเฉียว, โหด, เหี้ยม, โหดเหี้ยม, จฑิ จณฺฑนโกเปสุ. ศัพท์แรก อ ปัจ. กัจฯ และรูปฯ ลง ก ปัจ. ลบ ก ศัพท์หลังลง อล ปัจ.
ผารุลิย : นป. ความรุนแรง, ความเกรี้ยวกราด, ความไม่กรุณา
พฺยาโรสนา : (อิต.) ความกริ้วกราด (โกรธมาก), กราดกริ้ว เกรี้ยวกราด (ดุและด่าอย่างรุนแรงด้วยความโกรธ). วิ. อา ปุพฺโพ, รุสฺ โรสเน, ยุ.