Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เสียงเพลง, เสียง, เพลง , then พลง, เพลง, สยง, เสียง, เสียงเพลง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เสียงเพลง, 1183 found, display 351-400
  1. ค้อนทอง : น. ชื่อนกร้องเสียงดังกุ๊ก ๆ. (พจน. ๒๔๙๓).
  2. คอเป็นเอ็น : (สํา) ว. ขึ้นเสียงเถียงโต้อย่างไม่ยอมลดละ, เถียงเก่ง, เช่น หวงแหนหึงผัวตัวเป็นเกลียว จนเสียงขุ่นเสียงเขียวคอเป็นเอ็น. (คาวี).
  3. ค่อย ๒, ค่อย ๆ ๑ : ว. ใช้ประกอบหลังนามหรือกริยา หมายความว่า ไม่ดัง, เบา, เช่น เสียงค่อย พูดค่อยเดินค่อย ๆ อย่าลงส้น; ไม่แรง, เบามือ, เช่น นวดค่อย ๆ จับค่อย ๆ.
  4. คอสอง ๑ : น. ผู้ร้องถัดจากคนที่ ๑ ในวงเพลงที่ร้องแก้กันเป็นต้น, ผู้ว่าคล้อยตามอย่างลูกคู่.
  5. คอหอย : น. อวัยวะภายในลำคอ เป็นทางร่วมของระบบทางเดินอาหาร และระบบทางเดินอากาศหายใจ เริ่มตั้งแต่หลังโพรงจมูก หลังช่องปาก ลงไปจนถึงหลังกล่องเสียง. (อ. pharynx).
  6. คอแห้ง ๑ : ว. อาการที่คอไม่ชุ่มจนผากด้วยอยากดื่มน้ำเพราะต้องออกเสียงมาก หรือเพราะกระหายน้ำเนื่องจากเดินหรือวิ่งมาเป็นระยะเวลาอันยาวนาน.
  7. คะนอง : ก. แสดงอาการร่าเริง, คึก, ลําพอง; พูดหรือทําเกินขอบเขต เช่น คะนองปาก คะนองมือ; เรียกอาการของฟ้าที่มีเสียงลั่นเปรี้ยง ๆ ว่า ฟ้าคะนอง.
  8. คัก, คั่ก, คั่ก ๆ : ว. เสียงดังอย่างเสียงฝนตกหนัก; เสียงหัวเราะ.
  9. คับ : ว. มีขนาดไม่พอดีกัน ทําให้แน่น ตึง หรือ ฝืด สวมหรือใส่ได้โดยยาก เช่น เสื้อคับ หมวกคับ แหวนคับ, ตรงข้ามกับ หลวม. ก. มีลักษณะ หรือปริมาณเกินพอดี เช่น จระเข้คับคลอง ลิ้นคับปาก ฝูงคนคับถนน เสียงคับบ้าน ข้าวคับหม้อ.
  10. คายก, คายก- : [-ยก, คายะกะ-] (แบบ) น. ผู้ร้องเพลง, ผู้ขับร้อง. (ป., ส.).
  11. คายัน : (แบบ) ก. ร้องเพลง, ขับร้อง, เช่น สยงสังคีตคายัน. (ม. คําหลวง มหาราช). (ป., ส.).
  12. คำ ๒ : น. เสียงพูด, เสียงที่เปล่งออกมาครั้งหนึ่ง ๆ, เสียงพูดหรือลายลักษณ์อักษร ที่เขียนหรือพิมพ์ขึ้นเพื่อแสดงความคิด โดยปรกติถือว่าเป็นหน่วยที่เล็ก ที่สุดซึ่งมีความหมายในตัว, ใช้ประกอบหน้าคําอื่นมีความหมายเช่นนั้น เช่น คํานาม คํากริยา คําบุรพบท; พยางค์ซึ่งเป็นส่วนย่อยของวรรคหรือ บาทในฉันท์ แต่ละพยางค์ถือว่าเป็นคำหนึ่ง, ๒ วรรคของคำกลอน; ลักษณนามของเสียงพูด เช่น พูดคําหนึ่ง, ลักษณนามบอกจําพวกของเคี้ยว ของกิน เช่น ข้าวคําหนึ่ง, ลักษณนามเรียก ๒ วรรคของคํากลอนว่า คําหนึ่ง.
  13. คำโท : (ฉันทลักษณ์) น. คำที่มีเครื่องหมายวรรณยุกต์โทกำกับอยู่ไม่ว่า คำนั้นจะเป็นเสียงวรรณยุกต์ใด เป็นคำบังคับในการแต่งโคลง เช่น ข้า คว้า แล้ว.
  14. คำราม : ก. ทําเสียงขู่ เช่น เสือคําราม.
  15. คำสร้อย : น. คำหรือวลีที่ใช้ลงท้ายวรรค ท้ายบาท หรือท้ายบทร้อยกรอง เพื่อความไพเราะของเสียงและความหมาย หรือเพื่อแสดงว่าจบตอน เช่น นาเฮย ฤๅ บารนี แก่แม่นา โสตถิ์เทอญ.
  16. คิก ๆ : ว. เสียงหัวเราะเบา ๆ.
  17. คีต, คีต-, คีตกะ, คีตะ : [คีด, คีตะ-, คีตะกะ] (แบบ) น. เพลงขับ, การขับร้อง, เช่น แลคีต สําเนียงบรรสาน. (สมุทรโฆษ). (ป., ส.).
  18. คีรีบูน : น. ชื่อนกขนาดเล็กในวงศ์ Fringillidae มีหลายชนิดและหลายสี ถิ่นกําเนิดอยู่ในทวีปยุโรป กินเมล็ดพืช เป็นนกเลี้ยงใส่กรงไว้ฟัง เสียงร้องซึ่งไพเราะ ที่นิยมคือ ชนิดสีเหลือง (Serinus pusillus) และชนิดสีชมพู (Carpodacus erythrinus).
  19. คึ่ก, คึ่ก ๆ : ว. เสียงดังเช่นนั้น เช่น เสียงลมพัดคึ่ก ๆ.
  20. คุกพาทย์ : น. ชื่อเพลงปี่พาทย์เพลงหนึ่ง ใช้เป็นหน้าพาทย์ประกอบการรําในท่าที่ดุร้าย.
  21. คุดทะราดเหยียบกรวด : น. ชื่อเพลงปี่พาทย์ชนิดหนึ่ง.
  22. คูหา : น. ถํ้า; สิ่งก่อสร้างเป็นห้อง ๆ อย่างตึกแถว แต่ละห้องเรียกว่า คูหา, ลักษณนามเรียกสิ่งก่อสร้างเช่นนั้น เช่น ตึกแถวนี้มี ๑๐ คูหา; โดย อนุโลมใช้เรียกช่องที่กั้นไว้เป็นสัดส่วนสำหรับใช้ประโยชน์อย่างใด อย่างหนึ่ง เช่น คูหาลงคะแนนในที่เลือกตั้งสำหรับใช้ในการกาบัตร ออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้ง.
  23. เครงครื้น : ว. เสียงดังครึกครื้น, ครื้นเครง ก็ว่า.
  24. เครดิต : [เคฺร-] น. ชื่อเสียงหรือความเชื่อถือในตัวบุคคลหรือในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง, ความเชื่อถือในฐานะทางการเงินของบุคคลหรือสถาบัน; รายการเจ้าหนี้ ตามบัญชี, เงินที่เข้าบัญชีเป็นรายรับ; ตัวเลขแสดงสิทธิที่นิสิตนักศึกษา จะพึงได้รับเมื่อศึกษาตรงตามกําหนดและสอบวิชานั้น ๆ ได้, หน่วยกิต ก็เรียก. (อ. credit).
  25. เครือ ๒ : [เคฺรือ] ว. ลักษณะของเสียงที่สั่นพร่าไม่แจ่มใส เรียกว่า เสียงเครือ.
  26. เคาะ : ก. ใช้อวัยวะมีมือเป็นต้นกระทบเบา ๆ เช่น เคาะจังหวะ เคาะบุหรี่, ใช้มือหรือวัตถุงอ ๆ ตีหรือทุบให้เกิดเสียงเป็นต้น เช่น เคาะประตู เคาะระฆัง เคาะตัวถังรถ; พูดเย้าแหย่. ว. เลียบเคียง เช่น พูดเคาะ.
  27. แคน : น. เครื่องดนตรีทางถิ่นอีสาน ทําด้วยไม้ซางผูกเรียงต่อกับเต้าแคน สําหรับเป่าเป็นเพลง.
  28. แควก : [แคฺวก] ว. เสียงดังอย่างเสียงผ้าขาด.
  29. โคบุตร : [-บุด] น. ชื่อช้างหมู่ ๑ ในอัฏฐคช ตระกูลวิษณุพงศ์ มีสีผิว เหลือง หางเหมือนหางโค งางอน เวลาร้องมีเสียงเหมือนเสียงโคป่า เช่น ลางคือโคบุตรพรายพรรณ ลางสารสำคัญ คือสีหชงฆาควร. (สมุทรโฆษ).
  30. โคมเวียน : น. โคมชนิดที่มีที่ครอบหมุนได้ บนที่ครอบเขียนรูปภาพ ลำดับเรื่องในพระพุทธศาสนาเช่นมหาเวสสันดรชาดก เมื่อจุดไฟแล้ว ที่ครอบจะหมุนไปช้า ๆ ทำให้รูปภาพบนที่ครอบหมุนเวียนตามไปด้วย ใช้เป็นเครื่องตั้งดูเล่นตามงานในเทศกาลต่าง ๆ เช่น งานเทศน์มหาชาติ งานออกเมรุ; ชื่อเพลงโยนกลองในบทปี่พาทย์ทำนองหนึ่ง.
  31. โครก : [โคฺรก] ว. เสียงดังเช่นนั้น.
  32. โครกครอก : [โคฺรกคฺรอก] ว. เสียงดังเช่นนั้น.
  33. โครกคราก : [โคฺรกคฺราก] ว. เสียงท้องดังเช่นนั้น.
  34. โครงแคร : [โคฺรงแคฺร] (กลอน) ว. ครื้นเครง, อึกทึก, กึกก้อง, เช่น เสียงฉะฉาว โครงแคร. (สมุทรโฆษ).
  35. โครม : [โคฺรม] ว. เสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงคนหรือของหนัก ๆ ล้มหรือตกเป็นต้น.
  36. โครมคราม : [โคฺรมคฺราม] ว. เสียงดังเช่นนั้น.
  37. ฆ้อง : น. เครื่องตีให้เกิดเสียงอย่างหนึ่ง ทําด้วยโลหะผสม รูปร่างเป็น แผ่นวงกลม มีขอบยื่นลงมารอบตัว เรียกว่า ใบฉัตร มีปุ่มกลม ตรงกลางสําหรับตี มีหลายชนิด เช่น ฆ้องกระแต ฆ้องชัย ฆ้องวง.
  38. ฆ้องวง : น. ฆ้องที่ใช้ตีดำเนินทำนอง เจาะรูที่ใบฉัตร ๔ รู สําหรับร้อยหนัง ตีเกลียวผูกโยงกับวงที่ทําด้วยต้นหวายโป่ง วงหนึ่งมีลูกฆ้อง ๑๖-๑๙ ลูก ทุกลูกเทียบเสียงตํ่าสูงเรียงกันเป็นลําดับ มีหลายชนิด คือ ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ฆ้องมโหรี ฆ้องวงเล็กมโหรี.
  39. ฆ้องโหม่ง : น. ฆ้องขนาดใหญ่กว่าฆ้องเหม่ง มีเชือกร้อยรูทั้ง ๒ ที่ใบฉัตร แขวนห้อยทางตั้งกับขาหยั่งหรือคานไม้ ตรงหัวไม้ที่ใช้ตีพันด้วยผ้ากับ เชือกให้เป็นปุ่มโตอ่อนนุ่ม เวลาตีจะมีเสียงดังโหม่ง ๆ ใช้ตีกำกับจังหวะ ในวงปี่พาทย์ วงเครื่องสาย หรือวงมโหรี, สมัยโบราณใช้ตีในเวลา กลางวันเป็นสัญญาณบอก ''โมง'' คู่กับกลองที่ตีเป็นสัญญาณในเวลา กลางคืนบอก ''ทุ่ม''.
  40. งอม : ว. สุกจัดจนเกือบเน่าหรือเละ เช่น กล้วยงอม มะม่วงงอม, โดยอนุโลม ใช้กับคนที่แก่มากจนทำอะไรไม่ไหว เช่น ปีนี้คุณยายดูงอมมาก, โดย ปริยายหมายความว่า แย่ เช่น ถูกใช้ให้ทํางานเสียงอม, บอบชํ้า เช่น ถูกตีเสียงอม, ได้รับทุกข์ทรมานมาก เช่น เป็นไข้เสียงอม.
  41. งอหาย : ว. อาการที่ร้องไห้หรือหัวเราะจนเสียงเงียบหายไป.
  42. ง่ำ, ง่ำ ๆ : ว. เสียงขู่ของหมาที่กำลังกินข้าว. ก. งับเบา ๆ เช่น หมางํ่าน่อง.
  43. งึม : ว. เสียงบ่นเบา ๆ; (ถิ่น-อีสาน) ซึม.
  44. งึมงำ : ว. เสียงพูดหรือบ่นพึมพํา.
  45. งูกลืนหาง, งูกินหาง ๑ : น. ชื่อกลอนกลอักษร วรรคหนึ่ง ๆ ต้องมีคำ ซ้ำกัน ๓ คู่ คือระหว่าง ๓ คำหน้ากับ ๓ คำสุดท้ายของวรรค แต่เวลา เขียนจะตัดคำซ้ำ ๓ คำสุดท้ายของแต่ละวรรคออก เวลาอ่านให้อ่านไป จนจบวรรคแล้วย้อนกลับไปอ่านคำที่ ๑ ถึงคำที่ ๓ ในวรรคเดียวกันอีก ครั้งหนึ่ง ตัวอย่างว่า ฟังเสียงหวานขานเสียงดัง เหมือนน้ำตาลหวานเตือน เสนาะจริงยิ่งคำหวาน อ่านว่า ฟังเสียงหวานขานเสียงดังฟังเสียงหวาน เหมือนน้ำตาลหวานเตือนเหมือนน้ำตาล เสนาะจริงยิ่งคำหวานเสนาะจริง.
  46. เงียบ : ว. ไม่มีเสียง เช่น นั่งเงียบ, ไม่มีเสียงอื้ออึง เช่น บ้านนี้เงียบ, สงบ, ปราศจากเสียงรบกวนหรือการก่อกวน, เช่น เหตุการณ์เงียบลงแล้ว; โดยปริยายหมายความว่า ไม่กระโตกกระตากเช่น เก็บเรื่องเงียบ, ไม่ แสดงออก เช่น พลังเงียบ. ก. หายไปโดยไม่มีข่าวคราวหรือไม่เป็น ข่าวเลย เช่น หมู่นี้นาย ก เงียบไป.
  47. เงียบ ๆ : ว. ไม่มีเสียงเอะอะ เช่น นั่งทำงานเงียบ ๆ, ไม่เอิกเกริกอื้ออึง เช่น ทำอย่างเงียบ ๆ; นิ่งไม่พูดจา, ไม่ทำเสียงเอะอะโวยวายหรืออื้ออึง, เช่น เขาเป็นคนเงียบ ๆ.
  48. เงียบเชียบ : ก. วังเวง, เงียบไม่มีเสียง.
  49. เงือก ๓ : น. ชื่อนกในวงศ์ Bucerotidae ส่วนใหญ่ลําตัวสีดํา ปากใหญ่ อยู่รวมกัน เป็นฝูงในป่าลึกเวลาบินเสียงดังมาก ขณะตกไข่ตัวเมียจะอยู่ในโพรงไม้ แล้วใช้เศษอาหารและอุจจาระปิดปากโพรงไว้ เหลือรูพอที่ตัวผู้จะหา อาหารมาป้อนให้ขณะกกไข่และเลี้ยงลูกอ่อนได้ ร้องเสียงดังมาก กิน เนื้อสัตว์และผลไม้ มีหลายชนิด เช่น เงือกกรามช้าง (Rhyticeros undulatus) เงือกหัวแรด (Buceros rhinoceros) แก๊ก (Anthracoceros albirostris).
  50. แง ๒, แง ๆ : ว. เสียงเด็กร้องไห้.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | [351-400] | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1183

(0.1451 sec)