Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เสียงเพลง, เสียง, เพลง , then พลง, เพลง, สยง, เสียง, เสียงเพลง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เสียงเพลง, 1183 found, display 451-500
  1. ฉับ, ฉับ ๆ : ว. อาการที่พูดหรือฟันเป็นต้นอย่างเร็ว เช่น ฟันฉับ พูดฉับ ๆ; เสียงดัง เช่นนั้น.
  2. ฉ่าง : ก. เสี่ยงทายว่าใครจะเป็นผู้ขึ้นต้น, ลองดูว่าท่าไหนจะดี, (โดยมากใช้ สําหรับเล่นลูกเต๋าหรือไพ่). ว. เสียงดังเช่นเสียงม้าล่อ.
  3. ฉาด : ว. เสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงดังเมื่อตบหน้าโดยแรงเป็นต้น.
  4. ฉาน ๔ : น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง.
  5. ฉิ่ง ๑ : น. เครื่องตีกำหนดจังหวะชนิดหนึ่ง ทําด้วยโลหะหล่อหนา รูปร่างกลม คล้ายถ้วยเจาะรูตรงกลางไว้ร้อยเชือกให้เป็นคู่กันสําหรับถือตีบอกจังหวะ เข้ากับดนตรี; ชื่อเพลงไทยประเภทหนึ่ง.
  6. ฉี่ : (ปาก) ก. ถ่ายปัสสาวะ. น. ปัสสาวะ. ว. เสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงของที่ ทอดน้ำมัน; อย่างยิ่ง เช่น เงียบฉี่ ร้อนฉี่.
  7. ฉุยฉาย : น. ชื่อเพลงร้องและท่ารําแบบหนึ่ง. ว. กรีดกราย.
  8. ฉู่ : ว. โฉ่, ฟุ้ง, (ใช้แก่กลิ่นเหม็น); เสียงแมลงวันซึ่งตอมสิ่งของอยู่มาก ๆ.
  9. แฉ่ : ว. เสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงฝนตกพรํา ๆ เป็นระยะ ๆ หรือเสียงที่เอาโลหะ เผาไฟร้อนจุ่มลงในน้า.
  10. โฉ่งฉ่าง : ว. เสียงอย่างเสียงโลหะกระทบกัน, มีท่าทางเก้งก้างไม่รัดกุม เช่น กิริยา โฉ่งฉ่าง ชกโฉ่งฉ่าง, ส่งเสียงดังอย่างไม่เกรงใจใคร เช่น เขาพูดจาโฉ่งฉ่าง.
  11. โฉลก : [ฉะโหฺลก] น. โชค, โอกาส; ลักษณะซึ่งมีทั้งส่วนดีและส่วนไม่ดี ถ้าดี เรียกว่า ถูกโฉลกถ้าไม่ดีเรียกว่า ไม่ถูกโฉลก มักกำหนดด้วยการดูลักษณะ วัดขนาด นับ จำนวน เป็นต้นของคน สัตว์ สิ่งของ ว่าเป็นมงคลหรือไม่เป็น มงคล, อีสานเรียก โสก; ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง, โฉลกแรก ก็ว่า.
  12. ชกมวย : น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง.
  13. ชมชาญ : ก. เหิม, รื่นเริง, เช่น เสียงโห่เอาชัยชมชาญ. (สมุทรโฆษ).
  14. ชโย : [ชะ] น. ความชนะ. (คําเดียวกับ ชัย). อ. คําที่เปล่งเสียง อวยชัยให้พรหรือแสดงความดีใจเมื่อได้รับชัยชนะเป็นต้น.
  15. ชะนี ๑ : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Hylobatidae แขนยาวมาก ไม่มีหาง ขนยาวนุ่มเดินตัวตั้งตรงได้ ห้อยโหนอยู่ตามต้นไม้ สูง ๆ ร้องเสียงดัง เสียงร้องแสดงถึงอาณาเขตของแต่ละคู่ แต่ละชนิดมีเสียงร้องไม่ เหมือนกัน กินผลไม้และใบไม้ ใน ประเทศไทยมี ๓ ชนิด คือ ชะนีมือขาว (Hylobates lar) สีดํา และนํ้าตาล, ชะนีหัวมงกุฎ (H. pileatus) ตัวผู้สีดํา ตัวเมีย สีเทา, ชะนีมือดํา (H. agilis) สีดํา นํ้าตาล และเทา. ชะนีร่ายไม้ น. ท่าละครท่าหนึ่ง.
  16. ชั้นเดียว : น. จังหวะของดนตรีไทยที่มีระดับเร็ว คือ เร็วกว่า สองชั้นเท่าตัวหรือเร็วกว่าสามชั้น ๔ เท่า, เรียกเต็มว่า อัตรา จังหวะชั้นเดียว, เรียกหน้าทับและเพลงที่มีจังหวะเช่นนี้ว่า หน้าทับชั้นเดียว เพลงชั้นเดียว.
  17. ช้า ๓ : น. ชื่อเพลงในบทละคร เรียกว่า เพลงช้า, ชื่อเพลงบทละคร อื่น ๆ มีชื่อขึ้นต้นด้วยคําว่า ช้า เช่น ช้าปี่ ช้าหวน ช้าครวญ ช้ากล่อม. ก. ขับ, กล่อม.
  18. ช้างประสานงา : น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง; ท่าละครท่าหนึ่ง; ชื่อเพลงบทละคร.
  19. ช้างเผือก ๑ : น. ช้างในตระกูลชาติพรหมพงศ์ อิศวรพงศ์ พิษณุพงศ์หรืออัคนิพงศ์ ที่มีลักษณะ ๗ สี คือ ขาว เหลือง เขียว แดง ดํา ม่วง เมฆและมีตา เล็บ ขน เป็นต้น ประกอบ ด้วยคชลักษณ์ด้วย; โดยปริยายหมายถึงคนดีมีวิชาเป็นต้น ที่เกิดในชนบทแล้วมามีชื่อเสียงโด่งดังอยู่ในกรุง.
  20. ช้างร้อง : น. ชื่อดอกไม้ไฟชนิดหนึ่ง จุดมีเสียงดังเหมือน เสียงช้างร้อง.
  21. ช้าปี่ : น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง.
  22. ชายา ๒ : (แบบ) น. เมีย. (ป., ส.), บางแห่งใช้หมายความว่า ผู้หญิง, นางผู้มีเสียงพูดเป็น ฉายา ฉัยยา ไฉยา หรือ สายา ก็มี.
  23. ช้าหงส์,ช้าเจ้าหงส์ : น. ชื่อเพลงเครื่องปี่พาทย์ กล่อมใน พิธีพราหมณ์, ชาวบ้านมักเรียกว่า กล่อมหงส์.
  24. ชำนาญเกลากลอน : น. ชื่อโคลงโบราณแบบหนึ่ง; ชื่อเพลงปี่พาทย์ทํานองหนึ่ง. (ดึกดําบรรพ์).
  25. ชำลา : ว. ที่ผึ่งแดดยังไม่แห้งสนิท (ใช้แก่ปลา). (ต. ชมฺร ออกเสียงว่า เจมเรียะ ว่า เหี่ยว, ความเหี่ยว).
  26. ชุด ๓ : น. ของที่คุมเข้าเป็นสํารับ เช่น ชุดนํ้าชา ชุดสากล, คนที่เป็น พวกเดียวกันได้ เช่น ชุดระบํา, การแสดงตอนหนึ่ง ๆ ของ โขนเป็นต้น เช่น ชุดพรหมาสตร์ ชุดนางลอย, ลักษณนาม เรียกของหรือคนที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น เสื้อผ้าชุดหนึ่ง; การบรรเลงเพลงไทยซึ่งมีทํานองคล้ายคลึงกัน เช่น ชุดจีน ชุดแขก.
  27. เชิด : ก. ยื่นหรือยกขึ้นจนเห็นเด่น เช่น เชิดหน้า เชิดอก; โดยปริยาย หมายความว่า ถูกใช้ให้ออกหน้าแทน ในคําว่า ถูกเชิด. ว. ที่ ยื่นหรือยกขึ้นจนเห็นเด่น เช่น ปากเชิด จมูกเชิด หน้าเชิด. น. ชื่อเพลงไทยประเภทหนึ่ง ใช้บรรเลงในการแสดงกิริยา ไปมาอย่างรวดเร็วหรือการเดินทางระยะไกล เรียกว่า เพลงเชิด เช่น เชิดกลอง เชิดฉิ่ง เชิดฉาน เชิดนอก; ท่าโขน ท่าหนึ่ง.
  28. เชียบ : ก. เงียบ เช่น เชียบเสียงสงสารองค์. (สมุทรโฆษ).
  29. ซด : ก. อาการที่กินนํ้าร้อน นํ้าชา หรือนํ้าแกงทีละน้อย ๆ มักมีเสียงดังซู้ด.
  30. ซอ ๒ : น. ชื่อเครื่องดนตรีพวกหนึ่งสําหรับสี ในพวกเครื่องสายหรือมโหรี มีคันชักสีให้ดัง มีหลายชนิด เช่น ซออู้ ซอด้วง, ลักษณนามว่า คัน. ก. ร้องเพลง, ขับร้อง, เช่น ขับซอยอราชเที้ยร ทุกเมือง. (ลอ).
  31. ซอแซ : (โบ; กลอน) ว. เสียงจอแจ, ซ้อแซ้.
  32. ซ้อแซ้ : (กลอน) ว. ซอแซ, เสียงจอแจ, เช่น ผินหน้าปรับทุกข์กันซ้อแซ้. (สังข์ทอง).
  33. ซ้อน : ก. วางทับกัน เช่น เอาจานซ้อนกัน เอาหนังสือซ้อนสมุด, เรียงแทรกเสริมกัน เช่น ฟันซ้อน มะลิซ้อน; ซํ้า ๆ กัน เช่น ถูกชก ๒ ทีซ้อน เสียงปืนดัง ๓ นัดซ้อน; ว่ากันคนละทีในเชิงแข่งขัน เช่น เทศน์ซ้อน. ว. มีหรือทำอย่างเดียวกันกับที่มีหรือทำอยู่แล้ว เช่น เขามีประชุมซ้อน; ลักษณะที่จอดรถหรือเรือเรียงขนานกับอีกคันหนึ่ง หรือลําหนึ่งที่จอดอยู่แล้ว เรียกว่า จอดรถหรือเรือซ้อนกัน; ลักษณะ ที่จอดรถขวางรถที่จอดเป็นระเบียบอยู่แล้ว เป็นการกีดขวางทาง จราจร เรียกว่า จอดรถซ้อนคัน.
  34. ซะซร้าว : [–ซ้าว] (กลอน) ว. เสียงร้องเซ็งแซ่.
  35. ซะซอเซีย : (กลอน) ว. เสียงนกร้องจอแจ.
  36. ซะซิกซะแซ : (กลอน) ว. เสียงร้องไห้มีสะอื้น.
  37. ซะซิบ : (กลอน) ว. เสียงเช่นเสียงนกเล็ก ๆ ร้อง.
  38. ซั้ว ๑ : ว. เสียงที่ไล่นกหรือไก่เป็นต้น.
  39. ซ่า ๓ : ว. อาการที่ปรากฏแก่ร่างกายเมื่อเวลาขนลุกหรือเป็นเหน็บเป็นต้น; เสียงดังอย่างเสียงนํ้าแตกกระจาย.
  40. ซี้ด : ว. เสียงอย่างเสียงสูดปากเช่นกินอาหารเผ็ดเป็นต้น.
  41. ซุ้ม ๓ : น. ทำนองเพลงสำเนียงลาว ประดิษฐ์ขึ้นสำหรับบรรเลงต่อท้าย เพลงเดี่ยวลาวแพนโดยเฉพาะเรียกว่า ออกซุ้ม.
  42. ซุ่มเสียง : (โบ) น. สุ้มเสียง เช่น จึงตั้งนะโม ซุ่มเสียงใหญ่โต. (ประถม ก กา).
  43. ซู่ ๒, ซู่ ๆ : ว. เสียงดังอย่างเสียงฝนตกมาก ๆ แต่ตกไม่นาน.
  44. ซู้ด : ว. เสียงอย่างคนซดนํ้าร้อน นํ้าชา หรือนํ้าแกงทีละน้อย ๆ.
  45. ซูด, ซูดซาด : ว. เสียงอย่างเสียงคนกระทําเมื่อเวลากินของเผ็ด.
  46. เซ็ก : (กลอน) ก. เซ็งแซ่ เช่น เซ็กห้องเสียงหัว. (นิทราชาคริต).
  47. เซิ้ง : ก. ร้องรําทําเพลงแบบชาวอีสาน.
  48. แซ่ ๑ : ว. มีเสียงอื้ออึงจนฟังไม่ได้ศัพท์, โจษกันแพร่หลาย.
  49. แซ่ซ้อง : ก. เปล่งเสียงแสดงความนิยมยินดีหรือสรรเสริญกันทั่วไป.
  50. แซด : ว. มีเสียงเซ็งแซ่จนฟังไม่ได้ศัพท์ เช่น คุยกันแซด.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | [451-500] | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1183

(0.1305 sec)