Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เสียงเพลง, เสียง, เพลง , then พลง, เพลง, สยง, เสียง, เสียงเพลง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เสียงเพลง, 1183 found, display 651-700
  1. ปูด ๒ : ว. นูนเบ่งขึ้นมาในลักษณะอย่างดินปูด หน้าปูด; เสียงดังเช่นนั้น.
  2. เปก ๑, เป๊ก ๑ : ว. เสียงดังอย่างเสียงเคาะไม้.
  3. เป๋ง : ว. ใช้ประกอบคําอื่นหมายความว่า ยิ่งกว่าปรกติ เช่น ตรงเป๋ง ตึงเป๋ง; เสียงดังเช่นนั้น.
  4. เป้ง ๒ : ว. โต เช่น มดเป้ง; ถูกอย่างจัง เช่น ชนเป้ง; เสียงดังอย่างเสียง ตีด้วยไม้แรง ๆ.
  5. เป็ดผี ๑ : น. ชื่อตั๊กแตนหนวดยาวพวกหนึ่งในวงศ์ Tettigoniidae ทําเสียงดัง หวีดหวิวในเวลากลางคืนโดยใช้ปีกกรีดกัน มีทั้งชนิดที่มีปีกยาว คลุมลําตัว ลักษณะปีกเหมือนใบไม้ เวลาเกาะเหมือนเอาใบไม้ ๒ ใบมาประกบกัน เช่น ชนิด Holochlora siamensis และชนิด ปีกสั้นซึ่งไม่สามารถหุ้มลําตัวได้ เช่น ชนิด Eleandrus titan.
  6. เปรต, เปรต- : [เปฺรด, เปฺรดตะ-] น. สัตว์พวกหนึ่งเกิดในอบายภูมิ คือ แดนทุกข์, ผีเลวจําพวกหนึ่ง มีหลายชนิด ชนิดหนึ่งตามที่ว่ากันว่ามีรูปร่าง สูงโย่งเย่งเท่าต้นตาล ผมยาวหยอกหยอย คอยาว ผอมโซ มีปาก เท่ารูเข็ม มือเท่าใบตาล กินแต่เลือดและหนองเป็นอาหาร มักร้อง เสียงดังวี้ด ๆ ในตอนกลางคืน; คําเรียกเป็นเชิงด่าหรือปรามาส คนที่อดอยากผอมโซ เที่ยวรบกวนขอเขากิน หรือเมื่อมีใครได้ โชคลาภก็เข้ามาขอแบ่งปันเป็นอย่างขอแบ่งส่วนบุญหรือใน ทํานองเช่นนั้น ว่า เปรต หรือ อ้ายเปรต. (ส.; ป. เปต).
  7. เปรี้ยง : [เปฺรี้ยง] ว. เสียงดังลั่นอย่างเสียงฟ้าผ่า; จัด, กล้า, (ใช้แก่แดด) ในคําว่า แดดเปรี้ยง.
  8. เปรียะ, เปรี๊ยะ : [เปฺรียะ, เปฺรี๊ยะ] ว. เสียงที่เกิดจากสิ่งของที่แตกหรือขาดเป็นต้น ซึ่งมีเสียงดังเช่นนั้นอย่างแก้วแตก; อาการที่แก้วหูลั่นเพราะขึ้นไป บนที่สูง ๆ เป็นต้น; โดยปริยายหมายความว่า คล่องไม่ติดขัด เช่น พูดเปรี๊ยะ, มากเกินไป เช่น ตึงเปรี๊ยะ.
  9. เปรื่อง : [เปฺรื่อง] ก. เชี่ยวชาญ, ปรุโปร่ง, แตกฉาน, เช่น ปัญญาเปรื่อง สมองเปรื่อง. ว. เสียงดังอย่างเสียงถ้วยชามกระทบกันหรือตกแตก.
  10. เปล่ง : [เปฺล่ง] ก. ฉายออก, แผ่ออก, เช่น เปล่งรัศมี, ออกเสียง เช่น เปล่งเสียง. ว. แจ่มใส, สุกใส.
  11. เป่า : ก. พ่นลมออกมาทางปาก, อาการที่ลมพุ่งเข้ามาหรือออกไปเช่นนั้น เช่น ตรงหน้าต่างลมเป่าดี, ทําให้เครื่องดนตรีหรือสิ่งอื่นเกิดเสียง โดยใช้ลมปากเช่น เป่าขลุ่ย, ทําให้สิ่งที่อยู่ในลํากล้องเช่นกล้องเป่า เป็นต้น ออกจากลํากล้องโดยวิธีเป่า เช่น เป่ายานัตถุ์ เป่าลูกดอก.
  12. เป่าใบไม้ : ก. เอาใบไม้บางชนิด เช่น ใบฝรั่ง ใบมะยม มาเป่าให้ เป็นเพลง.
  13. เป่าปาก : ก. เอานิ้วมือใส่ปากแล้วเป่าให้เกิดเสียง; หายใจทางปาก เพราะเหนื่อยมาก.
  14. เปาะ : ว. ไม่หยุดปาก (ใช้แก่กริยาชม); เสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงเคาะไม้.
  15. เป๊าะ : ว. เสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงหักนิ้วหรือกิ่งไม้เล็ก ๆ หัก.
  16. เปิง ๆ : ว. ดังเต็มที่ เช่น เสียงร้องเปิง ๆ, เตลิดไป เช่น วิ่งเปิง ๆ.
  17. เปิดฉาก : ก. เริ่มต้นทํา เช่น เปิดฉากหาเสียง เปิดฉากตะลุมบอน, เริ่มต้นแสดง เช่น ละครเปิดฉาก.
  18. เปิ๊บ : ว. เสียงร้องเช่นนั้นอย่างเสียงอีเก้งร้อง.
  19. เปี๊ยว : ว. เสียงเป่าปากแสดงความพอใจเป็นต้น.
  20. แป๋ง : ว. เสียงดังเช่นนั้น.
  21. แป๊ด : ว. เสียงดังอย่างเสียงบีบแตร, แป๊น ก็ว่า.
  22. แป๊น : ว. เสียงดังอย่างเสียงบีบแตร, แป๊ด ก็ว่า.
  23. แปร่ง : [แปฺร่ง] ว. มีเสียงพูดผิดเพี้ยนไปจากเสียงที่พูดกันเป็นปรกติในถิ่น นั้น ๆ, ไม่สนิท.
  24. แปร่งหู : ว. ผิดเพี้ยนไปจากที่เคยตกลงกันไว้, มีเสียงพูดที่ผิดเพี้ยนไป จากปรกติ เนื่องจากมีอารมณ์ไม่พอใจแฝงอยู่.
  25. แปร้น : [แปฺร้น] ว. เสียงตะเบ็งเอ็ดอึงอย่างคนขึ้นเสียงทะเลาะกัน, แปร๋น หรือ แปร๋น ๆ ก็ว่า.
  26. แปร้นแปร๋ : ว. เสียงดังแหลมอย่างเสียงช้างร้องเมื่อโกรธหรือตกใจ, แปร๋ หรือ แปร๋แปร้น ก็ว่า.
  27. แปร๋, แปร๋แปร้น : ว. เสียงดังแหลมอย่างเสียงช้างร้องเมื่อโกรธหรือตกใจ, แปร้นแปร๋ ก็ว่า.
  28. แป๊ว : ว. เสียงอย่างเสียงแมวร้อง.
  29. แปะ : ก. เอาของแบน ๆ บาง ๆ ทาบเข้าไป. ว. เสียงดังอย่างเสียงตบมือ.
  30. โปก, โป๊ก : ว. เสียงดังอย่างเอาค้อนเคาะกระดาน.
  31. โป้ง : ว. อาการที่พูดโพล่งออกมาโดยไม่ระมัดระวังปาก หรือพูดเปิดเผย สิ่งที่ไม่สมควรออกมาโดยไม่คํานึงถึงความผิดพลาดเสียหาย; ใหญ่ เช่น หัวโป้ง; เสียงดังอย่างเสียงปืนเป็นต้น.
  32. โปง ๒ : (ถิ่น) น. เครื่องโลหะหรือเครื่องไม้มักมีรูปคล้ายกระดิ่ง มีลูก กระทบแขวนอยู่ภายในหรือห้อยกระหนาบอยู่ภายนอก มักใช้ แขวนคอสัตว์เช่นวัวควาย เพื่อให้เกิดเสียงดัง, กระดึง ก็ว่า.
  33. โป้งเป้ง : ว. สูง ๆ ใหญ่ ๆ; เสียงดังเช่นนั้น.
  34. โปงลาง : (ถิ่น-อีสาน) น. เครื่องดนตรีชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นท่อนไม้กลม ผูกร้อยเรียงกันตามลําดับขนาดและลําดับเสียงเช่นเดียวกับระนาด แต่มีขนาดใหญ่กว่า.
  35. ไปยาล : น. เครื่องหมายละคํา รูปดังนี้ ฯ เรียกว่า ไปยาลน้อย สําหรับละคํา ที่ประกอบคําหน้า เช่น กรุงเทพฯ โปรดเกล้าฯ, รูปดังนี้ ฯลฯ หรือ ฯเปฯ เรียกว่า ไปยาลใหญ่ สําหรับละข้อความข้างท้าย เช่น ในป่า มีช้าง เสือ ลิง ค่าง ฯลฯ อ่านว่า ''ละ'', หรือละข้อความในระหว่าง เช่น เพลงสรรเสริญพระบารมีว่า ข้าวรพุทธเจ้า ฯลฯ ดุจถวายชัย ชโย อ่านว่า ''ละถึง'', เปยยาล ก็เรียก. (ป. เปยฺยาล).
  36. ผล็อง : [ผฺล็อง] ว. เสียงเช่นของตกลงในไห.
  37. ผลับ : [ผฺลับ] ว. เร็ว; เสียงอย่างเสียงสุนัขกินนํ้าข้าว.
  38. ผลัวะ : [ผฺลัวะ] ว. อาการที่ผลุนผลันเข้าไปหรือออกมาอย่างรวดเร็ว เช่น เปิดประตูผลัวะเข้าไป; เสียงดังอย่างเอาดินปาพุ่มไม้หรืออย่างเสียง นกเขาที่บินออกจากพุ่มไม้.
  39. ผลึ่ง : [ผฺลึ่ง] ก. บวมขึ้น, พองขึ้น. ว. เสียงดังอย่างเสียงของหนัก ๆ ตกลงที่พื้น, อาการที่ล้มหงายไปทันทีทันใด ในคําว่า ล้มผลึ่ง หงายผลึ่ง.
  40. ผลุ : [ผฺลุ] ว. เสียงดังอย่างเสียงของอ่อนน่วมตกลง เช่น มะละกอสุก หล่นลงมาดังผลุ.
  41. ผลุง : [ผฺลุง] ว. อาการที่ทิ้งหรือปาสิ่งของไปโดยเร็ว เช่น ทิ้งผลุง, อาการที่กระโดดไปโดยเร็วในคำว่า โดดผลุง, เสียงอย่างเสียง ของหนักตกนํ้า.
  42. ผ่อง ๒ : ก. ออกเสียงร้องว่า ''ผ่อง'' เมื่อเปิดไพ่ขึ้นมาเข้าตอง เป็นคําใช้ ในการเล่นไพ่ผ่องไทยหรือจีน.
  43. ผันอักษร : ก. เปลี่ยนเสียงพยัญชนะให้สูงตํ่าไปตามวรรณยุกต์.
  44. ผับ, ผับ ๆ : ว. เสียงดังเช่นนั้น (ใช้ในลักษณะรวดเร็วทันทีทันใด) เช่น เตะผับ วิ่งผับ ๆ.
  45. ผัวะ : ว. เสียงอย่างเสียงไม้หักหรือเสียงตบ.
  46. ผาง : ว. เสียงดังอย่างเสียงเอามือตบสิ่งของ.
  47. ผ่าง ๆ : ว. เสียงดังเช่นนั้น.
  48. ผิวปาก : ก. ห่อริมฝีปากให้แคบพอ แล้วเป่าลมออกให้เกิดเสียง ตามที่ต้องการ.
  49. ผึง : ว. เสียงดังเช่นนั้น เช่น เชือกขาดดังผึง; อาการที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว ทันทีทันใด เช่น ขาดผึง ดีดผึง; ใช้ประกอบคำ แห้ง ว่า แห้งผึง หมายความว่า แห้งสนิท เช่น ปลักควายแห้งผึง.
  50. เผง : ว. เสียงดังเช่นนั้น, โดยปริยายหมายความว่า แน่เทียว, ไม่ผิดพลาด, เช่น ตรงเผง ถูกเผง, เพะ ก็ว่า.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | [651-700] | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1183

(0.1138 sec)