Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เสียงเพลง, เสียง, เพลง , then พลง, เพลง, สยง, เสียง, เสียงเพลง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เสียงเพลง, 1183 found, display 251-300
  1. กันเอา : ว. กรรเอา, กลมกล่อม, เช่น สรวญเสียงกันเอาเอา มโนเทพรังรักษ์. (อนิรุทธ์).
  2. กัมปนาท : น. เสียงสนั่นหวั่นไหว. (ป. กมฺป + นาท).
  3. กัลโหย : [กัน-] ก. กรรโหย เช่น สารเสียงหงสกัลโหย. (สมุทรโฆษ).
  4. กากบาท : [กากะบาด] น. ชื่อเครื่องหมายอย่างตีนกา มีรูป + หรือ x ; ใช้ + เป็นเครื่องหมายวรรณยุกต์บอกเสียงจัตวา.
  5. ก้าบ ๆ : ว. เสียงร้องของเป็ด.
  6. การเวก ๔ : [การะ-] น. ชื่อเพลงไทยชนิดหนึ่ง เรียกว่า การเวกตัวผู้ การเวกตัวเมีย หรือ การเวกใหญ่.
  7. การันต์ : [การัน] น. ``ที่สุดอักษร'', ตัวอักษรที่ไม่ออกเสียง ซึ่งมีไม้ทัณฑฆาตกํากับไว้ เช่นตัว ''ต์'' ในคําว่า ``การันต์'', (ปาก) เรียกตัวอักษรที่มีไม้ทัณฑฆาตกำกับ เช่น ล์ ว่า ล การันต์ ค์ ว่า ค การันต์.
  8. กาเรียนทอง : น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง. (ดู กระเรียน๒).
  9. กำดัด : ว. กําลังรุ่น เช่น วัยกำดัด; เต็มที่ เช่น สงัดเสียงสิงสัตว์กำดัดดึก. (โคบุตร). ก. พะวง, ห่วงใย, ขวนขวาย, เช่น ฤๅสองศุขารมย ชวนชายชํไม้เมิลป่า พระวงวิ่งวาศนาเด็กกำดัดเล่น. (ม. คำหลวง มัทรี); กําหนัด เช่น โอ้เจ้าพี่ศรีสวัสดิ์กำดัดสวาท นุชนาฏแม่อย่าลืมเนื้อความหลัง. (โคบุตร).
  10. กำทวน : ว. สนั่น, หวั่นไหว, ก้อง, เช่น เสียงมฤคคชสีหไกรสร สีหนาทกําธร กําทวนข้างป่าหิมพานต์. (สมุทรโฆษ).
  11. กำธร : [-ทอน] ว. สนั่น, หวั่นไหว, สะเทือน, เช่น เสียงเทพอวยอาศิรวาท กำธรอากาศ ฦๅเลวงไชยไชย. (สมุทรโฆษ). (เทียบ ข. กํทร ว่าบรรลือเสียง, ตีรัว).
  12. กำปอ : น. ชื่อเพลงเขมรชนิดหนึ่ง เรียกว่า เขมรกําปอ. (วิวาห์พระสมุทร).
  13. กำพวด ๑ : น. ส่วนประกอบของปี่ซึ่งทําให้เกิดเสียงเวลาเป่า สอดติดอยู่กับเลาปี่.
  14. กำพวด ๒ : น. ปลาจุมพรวด เช่น แลฝั่งล้วนหลังกําพวดพราย. (เพลงยาวนายภิมเสน). (ดู จุมพรวด).
  15. กิก, กิ๊ก : ว. เสียงของแข็งกระทบกัน.
  16. กิดาการ : น. อาการเล่าลือ, เสียงสรรเสริญ, ข่าวเลื่องลือ, บางทีเขียนเป็น กิฎาการ ก็มี เช่น แห่งเออกอึงกิฎาการ. (ตะเลงพ่าย). (ป. กิตฺติ + อาการ).
  17. กินนรรำ : น. ชื่อท่าละครชนิดหนึ่ง; ชื่อเพลงปี่พาทย์ชนิดหนึ่ง. (ดึกดําบรรพ์); ชื่อกลบทชนิดหนึ่งตัวอย่างว่า ชะจิตใจไฉนนางระคางเขิน ปะพบพักตร์จะทักทายชม้ายเมิน ละเลิงเหลือจะเชื้อเชิญเผอิญอาย.
  18. กิ๋ว ๑, กิ๋ว ๆ : ว. เสียงร้องเยาะเย้ย, บางทีทำอาการกระดิกนิ้วชี้ ตรงไปที่หน้าผู้ที่ถูกเย้ย, กุ๋ย หรือ กุ๋ย ๆ ก็ว่า.
  19. กึก : ว. เสียงของแข็ง ๆ กระทบกัน; ทันที เช่น หยุดกึก; (กลอน) ดังก้อง เช่น กึกฟ้าหล้าหล่มธรณี. (สมุทรโฆษ).
  20. กึกกัก : ว. เสียงดังเช่นนั้น, ติด ๆ ขัด ๆ.
  21. กึง : ว. เสียงดังเช่นนั้น, ดังก้อง.
  22. กึงกัง : ว. เสียงดังอย่างล้อเกวียนกระทบพื้นที่แข็ง.
  23. กุก : ว. เสียงของแข็ง ๆ กระทบกัน. ก. กิริยาที่หนูร้องดังเช่นนั้น เรียกว่า หนูกุก. น. เครื่องดักหนูเป็นหีบมีกระดานหก มีลูกกลิ้ง เมื่อหนูเข้าไปเหยียบกระดานหกลูกกลิ้งจะกลิ้งมาปิดช่อง แล้วหนูจะกระโดดเข้าไปยังอีกที่หนึ่ง และถูกขังอยู่ในนั้น; เสียงส่งท้ายการขันของนกเขาหลวง ซึ่งอาจมีได้ถึง ๓ กุก.
  24. กุกกัก, กุก ๆ กัก ๆ : ว. กึกกัก, ติด ๆ ขัด ๆ, ไม่สะดวก; เสียงดังเช่นนั้น.
  25. กุ้งดีด, กุ้งดีดขัน : น. ชื่อกุ้งขนาดเล็กหลายชนิดหลายสกุล เช่น สกุล Alpheus ในวงศ์ Alpheidae มีก้ามใหญ่ ๒ ข้าง โดยมีก้ามข้างหนึ่งโตกว่า สามารถงับก้ามทําให้เกิดเสียงดังโดยเฉพาะ เมื่อกระทบขันเสียงจะดังยิ่งขึ้น จึงได้ชื่อว่า กุ้งดีดขัน พบอาศัย หลบซ่อนอยู่ตามซอกวัสดุต่าง ๆ ริมฝั่งทั้งในน้ำเค็มและน้ำกร่อย ยกเว้นชนิด Alpheus microrhynchus ที่พบอยู่ในน้ำจืดด้วย, กระเตาะ ก็เรียก.
  26. กุญแจ : น. เครื่องสําหรับใส่ประตูหน้าต่างเป็นต้น เพื่อยึดหรือ สลักไม่ให้เปิดเข้าออกได้ เวลากดหรือไขออก มีเสียงลั่นดังกริ๊ก มีลูกไข เรียกว่า ลูกกุญแจ, ประแจ ก็เรียก. (ป., ส. กุ?ฺจิกา ว่า ลูกดาล, เทียบมลายู กุญจี).
  27. กุญแจเสียง : น. เครื่องหมายอย่างหนึ่งที่ใช้ในการบันทึกเสียง ดนตรีสากล เขียนไว้ตอนหน้าของบรรทัด ๕ เส้น เพื่อกําหนด ระดับเสียงของตัวโน้ต, กุญแจประจําหลัก ก็เรียก. (รูปภาพ กุญแจเสียง)
  28. กุบกับ : ว. เสียงดังเช่นนั้น.
  29. กุ๋ย, กุ๋ย ๆ : ว. เสียงร้องเยาะเย้ย, บางทีทำอาการกระดิกนิ้วชี้ตรงไป ที่หน้าผู้ที่ถูกเย้ย, กิ๋ว หรือ กิ๋ว ๆ ก็ว่า.
  30. กู่ ๒ : ก. ส่งเสียงเป็นสัญญาณให้รู้ว่าอยู่ที่ไหน โดยปรกติเปล่งเสียง วู้.
  31. กู้หน้า : (ปาก) ก. ช่วยทําให้ชื่อเสียงคงดีอยู่.
  32. เกริ่น ๑ : [เกฺริ่น] ก. บอกข่าวให้รู้ล่วงหน้า เช่น เกริ่นข่าว, อาการที่ฝ่ายชายร้องนํา ในเพลงพื้นเมือง เช่น เพลงฉ่อย เพลงเกี่ยวข้าว เพื่อเชื้อเชิญฝ่ายหญิง ให้ร้องตอบ; ร้องหา, เรียกหา, เช่นนกเขาขันเกริ่น ผีกู่เกริ่น.
  33. เกรียด : [เกฺรียด] ว. เสียงเขียดร้อง เช่น เสียงกรอดเกรียดเขียดกบเข้าขบเคี้ยว. (นิ. เพชร).
  34. เกรียวกราว : ว. เสียงเอ็ดอึงพร้อมกันหลาย ๆ เสียง, โดยปริยายหมายความว่า ที่รู้และพูดกันทั่วไป เช่น เป็นข่าวเกรียวกราว.
  35. เกาะ ๓ : ว. เสียงเคาะ.
  36. เกียรติ, เกียรติ-, เกียรติ์ : [เกียด, เกียดติ-, เกียน] น. ชื่อเสียง, ความยกย่องนับถือ, ความมีหน้ามีตา. (ส. กีรฺติ; ป. กิตฺติ ว่า คำเล่าลือ, คำสรรเสริญ).
  37. เกียรติคุณ : [เกียดติคุน] น. คุณที่เลื่องลือ, ชื่อเสียงโดยคุณงามความดี.
  38. เกี่ยวข้าว : น. เรียกเพลงร้องแก้กันในเวลาเกี่ยวข้าวทํานองเพลงเรือว่า เพลงเกี่ยวข้าว.
  39. แก้ ๒ : ก. ทําให้คลายจากลักษณะที่แน่นที่ติดขัดหรือที่เป็นเงื่อนเป็นปมอยู่ เช่น แก้ปม แก้เงื่อน; ทําให้หลุดให้พ้นไป เช่น แก้คดี; ทําให้ดีขึ้น, ทําให้ใช้การได้, ทำส่วนที่เสียให้คืนดีอย่างเดิม, ดัดแปลงให้ดีขึ้น, เช่น แก้นาฬิกา แก้เครื่องจักร, แก้ไข ก็ว่า; ทําให้หาย เช่น แก้เก้อ แก้ขวย แก้จน แก้โรค; เฉลย, อธิบายให้เข้าใจ, เช่น แก้ปัญหา แก้กระทู้; ร้องเพลงหรือลำตัดเป็นต้นโต้ตอบกัน; เอากลับคืนมาให้ได้ เช่น ไปตีแก้เอาเมืองคืน.
  40. แกรก : [แกฺรก] ว. เสียงดังเหมือนเล็บขูดพื้น, เสียงอย่างเสียงที่เกิดจากการ ย่องหรือเล็ดลอด.
  41. แก้วหู : น. เยื่อในหูสําหรับรับเสียง.
  42. โกก ๑ : น. ไม้รูปโค้งปลายทั้ง ๒ ข้างงอขึ้นเล็กน้อย ใช้พาดคอวัว หรือคอควายสําหรับลากเลื่อนเป็นต้น, คอม ตะโกก หรือ ตะโหงก ก็เรียก. ว. เสียงดังอย่างเคาะไม้ด้วยกะลา.
  43. โกญจนะ : [โกนจะนะ] (กลอน) ย่อมาจาก โกญจนาท เช่น เสียงช้างก้องโกญจนสำเนียง. (สมุทรโฆษ).
  44. โกญจนาท : น. การบันลือเสียงเหมือนนกกระเรียน, ความกึกก้อง, (โดยมากใช้แก่เสียงช้าง). (ป.).
  45. โกรง : [โกฺรง] ว. เสียงกระแทกดังโครม ๆ เช่น กระทุ้งเส้ากราวโกรง. (สุบิน).
  46. โกรศ : [โกฺรด] น. เสียงร้อง; มาตราวัด เท่ากับ ๕๐๐ คันธนู. (ส.).
  47. โกลาหล : [-หน] น. เสียงกึกก้อง. ว. อื้ออึง, เอิกเกริก, วุ่นวาย, (โบ; กลอน) ใช้เป็น โกลา โกลี ก็มี เช่น เสียงโห่โกลาเกรียงไกร. (คําพากย์), พระกุมารโกรธใจเป็นโกลี. (ไชยเชฐ). (ป., ส.).
  48. ไกรศร, ไกรสร : [ไกฺรสอน] (กลอน) น. สิงโต เช่น เสือคร่งเสือแผ้วเอน กาไลยไกรสรสีหส่งเสียงแขง. (ม. ร่ายยาว มหาพน). (แผลงมาจาก เกสรี).
  49. ขบเผาะ : ว. เรียกผลมะม่วงอ่อน ๆ ขนาดหัวแม่มือว่า มะม่วงขบเผาะ หมายเอาเสียงเวลาเอาฟันขบดังเผาะ; โดยปริยายเรียกวัยของเด็กหญิง ที่เพิ่งเริ่มแตกเนื้อสาวว่า วัยขบเผาะ.
  50. ขมุบขมิบ : [ขะหฺมุบขะหฺมิบ] ก. อาการที่ริมฝีปากเผยอขึ้นและหุบลงโดยเร็ว, อาการของปากที่พูดอย่างไม่ออกเสียง เช่น ทำปากขมุบขมิบ สวดมนต์ ขมุบขมิบ, หมุบหมิบ ก็ว่า.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | [251-300] | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1183

(0.1230 sec)