Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เสียงเพลง, เสียง, เพลง , then พลง, เพลง, สยง, เสียง, เสียงเพลง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เสียงเพลง, 1183 found, display 701-750
  1. เผละ : [เผฺละ] ว. เสียงอย่างเสียงสาดโคลน; โดยปริยายหมายความว่า ไม่เป็นที่เป็นทาง เช่น โยนเผละ ทิ้งเผละ; ลักษณะเนื้อของคนอ้วน เที่กระเพื่อม เรียกว่า นื้อเผละ; ลักษณะที่ของข้น ๆ ที่ไหลล้น เลอะเทอะ ในคำว่า ไหลเผละ.
  2. เผลาะ : [เผฺลาะ] ว. เสียงหลุดจากช่องกระบอก.
  3. เผาะ ๑, เผาะ ๆ : ว. เปราะ; เสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงหักไม้เปราะ เช่น ข้อเท้าข้อมือ ลั่นเผาะ น้ำตาร่วงเผาะ ๆ.
  4. แผละ ๑ : [แผฺละ] ว. เสียงดังเช่นนั้น; แสดงอาการอ่อนกําลัง เช่น ล้มแผละ.
  5. แผ่ว, แผ่ว ๆ : ว. เบา ๆ เช่น เสียงแผ่ว คือเสียงเบาเกือบไม่ได้ยิน หายใจแผ่ว คือ หายใจเบาจนเกือบไม่รู้สึกว่าหายใจ วาดแผ่ว ๆ คือวาดเบา ๆ พอ ให้เห็น ปัดแผ่ว ๆ คือปัดเบา ๆ พอให้หมดฝุ่นละออง.
  6. โผง : ว. เสียงดังเช่นนั้น เช่น ไม้หักโผง ปลาฮุบโผง; โดยปริยายหมายความ ว่า ไม่ยับยั้งอ้อมค้อม (ใช้ในลักษณะอาการที่นึกจะพูดก็พูดออกมา ตรง ๆ ไม่เกรงใจ), โผงผาง ก็ว่า.
  7. โผละ : [โผฺละ] ว. เสียงดังอย่างเสียงทุบมะพร้าวให้แตก.
  8. โผะ : ว. เสียงที่หมอและควาญช้างร้องเมื่อทําพิธีบํารูงาช้าง เป็นการ เยาะเย้ยเมื่อรําท่าต่าง ๆ แล้ว.
  9. ฝรั่ง ๒ : [ฝะหฺรั่ง] น. ชื่อเพลงไทยจำพวกหนึ่ง มีชื่อขึ้นต้นด้วยคำว่า ฝรั่ง เช่น ฝรั่งควง ฝรั่งกลายฝรั่งจรกา.
  10. ฝักถั่ว : (ปาก) น. การแสดงความอ่อนน้อม อ้อนวอน หรือขอร้องโดย วิธียกมือไหว้ เช่น มืออ่อนเป็นฝักถั่ว, การพลอยยกมือแสดงความ เห็นชอบตามเขาไป มักใช้พูดตําหนิ นักการเมืองในเวลาลงคะแนนเสียง.
  11. ฝาก : ก. มอบให้ไว้เป็นต้นว่าเพื่อให้ช่วยดูแลคุ้มครองหรือพิทักษ์รักษา เช่น ฝากตัว ฝากบ้าน, ให้ปรากฏเป็นเกียรติ เช่น ฝากชื่อเสียง ฝากฝีมือ, ให้นําไปหรือให้ทําแทนตัว เช่น ฝากจดหมาย ฝากหน้าที่.
  12. พญาเดิน : น. ชื่อเพลงปี่พาทย์.
  13. พญาไฟ : น. ชื่อนกขนาดเล็กในวงศ์ Campephagidae มีเสียงร้องไพเราะและ สีสันสวยงาม ตัวผู้สีแดง ตัวเมียสีเหลือง บางชนิดเป็นสีเทาทั้งตัวผู้ และตัวเมีย รวมกันอยู่เป็นฝูงตามยอดไม้ มีหลายชนิด เช่น พญาไฟ สีกุหลาบ (Pericrocotusroseus) พญาไฟเล็กคอเทา (P. cinnamomeus) พญาไฟใหญ่ (P. flammeus) พญาไฟสีเทา (P. divaricatus).
  14. พญาโศก : น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่งในจําพวกเพลงโศก.
  15. พนียก : [พะนียก] น. วนิพก, คนขอทานโดยร้องเพลงขอ. (ส. วนียก).
  16. พรรลาย : [พันลาย] ก. มากมาย, เกลื่อนกลาด; เซ็งแซ่ เช่น ร้องก้องเสียง พรรลาย. (ตะเลงพ่าย).
  17. พรวด ๑ : [พฺรวด] ว. อาการที่เป็นไปอย่างรวดเร็วโดยไม่ยับยั้ง เช่น เทพรวด; เสียงดังเช่น นั้น.
  18. พรวน ๑ : [พฺรวน] น. โลหะทําเป็นรูปกลมกลวง มีลูกกลิ้งเล็ก ๆ อยู่ข้างใน เพื่อให้เกิดเสียง ใช้ผูกคอสัตว์หรือข้อเท้าเป็นต้น เรียกว่า ลูกพรวน, กระพรวน หรือ ลูกกระพรวน ก็ว่า, (ถิ่นพายัพ, อีสาน) มะหิ่ง หรือ หมากหิ่ง.
  19. พรอด, พรอด ๆ : [พฺรอด] ว. เสียงดังอย่างเสียงของเหลวปนกับลมไหลออกจากช่อง เล็ก ๆ หรือขึ้นมาจากเลนตม. น. เรียกดินเลนที่ฟูดโป่งขึ้นมา เช่น พรอดปลาไหล คือดินที่โป่งขึ้นมาซึ่งเป็นที่มีปลาไหล, ฟอด ก็ว่า.
  20. พร้อม : [พฺร้อม] ว. คําแสดงกิริยาร่วมกัน เช่น ร้องเพลงพร้อมกัน ปรบมือ พร้อมกัน หรือในเวลาเดียวกัน เช่น ไปพร้อมกัน ถึงพร้อมกัน, โดยปริยายหมายความว่า ครบครัน เช่นงามพร้อม ดีพร้อม เตรียม พร้อม, เสร็จ เช่น พร้อมแล้ว. ก. เตรียมครบถ้วน เช่น พร้อมแล้ว.
  21. พร่า : [พฺร่า] ก. ทําให้เสียหาย, ทําลาย, ทําให้ย่อยยับ, เช่น พร่าชื่อเสียง พร่าทรัพย์สมบัติ พร่าประโยชน์. ว. กระจัดกระจายจนเห็นหรือ ได้ยินไม่ถนัดชัดเจน เช่น ตาพร่า รูปพร่า เสียงพร่า.
  22. พราด, พราด ๆ : [พฺราด] ว. เสียงดังเช่นนั้น; อาการที่ดิ้นบิดตัวไปมา เช่น เด็กดิ้นพราด หัวปลาช่อนถูกทุบดิ้นพราด ๆ.
  23. พรืด ๒ : ว. เสียงดังเช่นนั้น เช่น เบรกรถดังพรืด.
  24. พรูด : ว. เสียงดังเช่นนั้น.
  25. พฤทธิ์ : [พฺรึด] น. ความเจริญ, ความมั่งคั่ง, ความสมบูรณ์, ความอวบ, พฤฒิ ก็ใช้; ในไวยากรณ์หมายถึงเสียงยาวที่สุดของสระต่าง ๆ คือ ในบาลี และสันสกฤตได้แก่ อา เป็นพฤทธิ์ของ อะ เป็นต้น. ก. กระทําสระ ให้ยาวเช่นนั้น. (ส. วฺฤทฺธิ).
  26. พลการ : [พะละกาน] น. การกระทำโดยใช้กำลังหรืออำนาจเป็นต้น อย่างไม่ยอมฟังเสียงใคร, อําเภอใจ, เช่น ทําโดยพลการ. (ป. พลกฺการ; ส. พลาตฺการ).
  27. พลั่ก : [พฺลั่ก] ว. อาการที่ไหลทะลักออกมาด้วยกําลังดัน เช่น เลือดออกพลั่ก; เสียงดังเช่นนั้น.
  28. พลังเงียบ : (การเมือง) น. เสียงส่วนใหญ่ที่ไม่แสดงออก. (อ. silent majority).
  29. พลุ : [พฺลุ] น. ดอกไม้เพลิงชนิดหนึ่ง บรรจุดินปืนในกระบอกไม้ไผ่ เมื่อ จุดมีเสียงระเบิดดังคล้ายเสียงปืน, โดยอนุโลมเรียกดอกไม้เพลิง อย่างอื่นที่จุดมีเสียงระเบิดดังเช่นนั้นว่า พลุ. ว. ฟุ, ฟ่าม, ไม่แน่น.
  30. พวงมาลัย : น. ดอกไม้ประดิษฐ์แบบไทยลักษณะหนึ่ง โดยการนำ ดอกไม้ กลีบดอกไม้และใบไม้ มาร้อยด้วยเข็ม แล้วรูดออกมาใส่ ด้ายผูกเป็นพวง มีลักษณะต่าง ๆ กัน, มาลัย ก็เรียก; เครื่องสําหรับ บังคับเรือไฟหรือเรือยนต์ รถยนต์ ให้ไปตามทางที่ต้องการ; เครื่อง สําหรับช่วยพยุงคนตกนํ้า มีรูปคล้ายพวงมาลัย; ชื่อการเล่นของ ชาวบ้านชนิดหนึ่งเรียกว่า เพลงพวงมาลัย.
  31. พสุธากันแสง : น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง, ธรณีกันแสง หรือ ธรณีร้องไห้ ก็ว่า.
  32. พ้อง : ว. ต้องกัน, ตรงกัน, ซํ้ากัน, เช่น พ้องรูป พ้องเสียง พ้องความ เห็นพ้องด้วย ชื่อพ้องกัน.
  33. พ่อเจ้าประคุณ : คำเรียกแสดงความรักใคร่หรือประชดประชัน แล้วแต่น้ำเสียง (ใช้แก่ผู้ชาย) เช่น โถ! พ่อเจ้าประคุณของย่า เจ็บไหม ทำไมไม่นอนที่โรงละครเลยล่ะพ่อเจ้าประคุณ.
  34. พัวะ : ว. เสียงดังเช่นนั้น.
  35. พาง ๒ : น. แผ่นโลหะสําหรับตีบอกเสียง.
  36. พาณี : น. เสียง, ถ้อยคํา, ภาษา; เจ้าแม่แห่งวาจา คือ พระสรัสวดี. (ป., ส. วาณี).
  37. พำพึม, พำ ๆ, พึม ๆ : ว. เสียงอย่างเสียงคนพูดหรือบ่นค่อย ๆ, พึมพํา ก็ว่า.
  38. พิราบ : น. ชื่อนกในวงศ์ Columbidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับนกเขา รูปร่าง คล้ายกันแต่ขนาดใหญ่กว่า ส่วนใหญ่ลําตัวสีเทาอมฟ้า หากินบน พื้นดิน กินเมล็ดพืช ที่พบทั่วไป คือ ชนิด Columba livia. (ส. วิราว, พิราว, พิราพ ว่า เสียงร้อง).
  39. พิราม ๑ : น. การหยุดพัก, การหยุดเสียง, ที่สุด. (ส. วิราม).
  40. พึ่บ, พึ่บพั่บ : ว. ทันทีทันใด เช่น ไฟลุกพึ่บ ลุกกันพึ่บพั่บ; เสียงดังเช่นนั้นอย่าง เสียงนกกระพือปีกเป็นต้น.
  41. พึม : ว. เสียงบ่นเบา ๆ เช่น นักเรียนบ่นกันพึมเลย.
  42. พูด : ก. เปล่งเสียงออกเป็นถ้อยคํา, พูดจา ก็ว่า.
  43. เพ้ย : ว. คําขับไล่ที่เปล่งเสียงแรง ๆ ให้สัตว์เช่นไก่หนีไป; คํารับในเวลา พากย์โขน คนรับร้องเพ้ย. ก. ตะเพิด เช่น ถูกเพ้ย.
  44. เพราะ ๑ : ว. น่าฟัง, เสนาะ, ไพเราะ, เช่น เสียงเพราะ พูดเพราะ.
  45. เพลี้ย ๒ : น. ชื่อเครื่องดีดฟังเสียงชนิดหนึ่ง ทําด้วยไม้ไผ่คล้ายจ้องหน่อง แต่จ้องหน่องใช้กระตุก ส่วนเพลี้ยใช้ดีด, เพี้ย ก็ว่า.
  46. เพี้ย ๒ : น. ชื่อเครื่องดีดฟังเสียงชนิดหนึ่ง ทําด้วยไม้ไผ่คล้ายจ้องหน่อง แต่จ้องหน่องใช้กระตุก ส่วนเพี้ยใช้ดีด, เพลี้ย ก็ว่า.
  47. เพียงออ : น. ชื่อขลุ่ยชนิดหนึ่งเสียงทุ้ม.
  48. เพี้ยน : ว. ผิดแปลกไปเล็กน้อย เช่น หน้าเพี้ยน, คลาดเคลื่อน เช่น พูดเพี้ยน เสียงเพี้ยน, ผิดเพี้ยน ก็ว่า, โบราณใช้ เพียน ก็มี; (ปาก) ไม่ค่อยปรกติ (มักใช้แก่คน) เช่น เขามีท่าทางเพี้ยน ๆ.
  49. โพละ : [โพฺละ] ว. เสียงอย่างเสียงทุบหม้อดินแตกเป็นต้น.
  50. ไพเพิด : ก. ตะเพิด, ทําเสียงขับไล่.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | [701-750] | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1183

(0.1247 sec)