Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ตา , then , ตะ, ตา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ตา, 1174 found, display 51-100
  1. ขวางหูขวางตา : ก. รู้สึกรำคาญ, หมั่นไส้.
  2. ขัดนัยน์ตา, ขัดลูกตา, ขัดลูกหูลูกตา : ก. ขัดตา.
  3. ข้ามหน้า, ข้ามหน้าข้ามตา : ก. ทําโดยไม่ไว้หน้าผู้ใด.
  4. ขายหน้า, ขายหน้าขายตา : ก. อับอาย.
  5. ขี้ตา, ขี้ตาเล็น : (ปาก) ว. เล็กมาก.
  6. ขึ้นหน้าขึ้นตา : ก. มีชื่อเสียง, เด่น.
  7. ขุดด้วยปากถากด้วยตา : (สํา) ก. แสดงอาการเหยียดหยามทั้งด้วย วาจาและสายตา.
  8. เข้าตาจน : ก. หมดทางไป, หมดทางที่จะแก้ไข, หมดหนทางหากิน. (มาจากภาษาหมากรุก).
  9. เข้าเมืองตาหลิ่วต้องหลิ่วตาตา : (สํา) ก. ประพฤติตนตามที่คนส่วนใหญ่ประพฤติกัน.
  10. แค็ตตาล็อก : น. หนังสือ เอกสาร สิ่งพิมพ์ เป็นต้น ที่มีภาพสินค้าเช่นเสื้อผ้า เครื่องใช้ ไฟฟ้า พร้อมรายละเอียดของสินค้าเพื่อเผยแพร่หรือสําหรับให้ลูกค้า เลือกซื้อ. (อ. catalogue, catalog).
  11. โคมตาวัว : น. โคมชนิดหนึ่ง มีที่เปิดปิดไฟ มีแว่นฉายแสงไปได้ไกล, กระสือ ก็ว่า.
  12. งงเป็นไก่ตาแตก : (สำ) ก. งงมากจนทำอะไรไม่ถูก.
  13. จิตตานุปัสสนา : น. การพิจารณาจิตเป็นอารมณ์เป็นข้อ ๑ ในสติปัฏฐาน ๔.
  14. เจริญตาเจริญใจ : ว. งาม, ต้องตาต้องใจ.
  15. เจ้าหน้า, เจ้าหน้าเจ้าตา : น. ผู้ชอบทําเอาหน้า, ผู้ชอบเสนอหน้าเข้าไป ทําธุระให้คนอื่นโดยเขาไม่ได้ขอร้อง.
  16. : พยัญชนะตัวที่ ๒๑ นับเป็นพวกอักษรกลาง ใช้เป็นตัวสะกด ในแม่กดในคําที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น จิต เมตตา ฟุต.
  17. ถี่ลอดตาช้าง ห่างลอดตาเล็น : (สํา) ว. ดูเหมือนรอบคอบถี่ถ้วน แต่ไม่รอบคอบถี่ถ้วนจริง, ประหยัดในสิ่งที่ไม่ควรประหยัด ไม่ ประหยัดในสิ่งที่ควรประหยัด.
  18. ทองตากู : น. ทองตะโก. ทองทราย น. ทองที่เป็นเม็ด ๆ อย่างทรายปนอยู่กับทราย. ว. มี พื้นทาทองให้เป็นจุด ๆ อย่างเม็ดทราย.
  19. เทียนตาตั๊กแตน : น. ชื่อเรียกผลแก่แห้งของผักชีลาว (Anethum graveolens L.) และไม้ล้มลุกชนิด A. sowa Roxb. ในวงศ์ Umbelliferae ใช้เป็นเครื่องเทศได้.
  20. นอนตาไม่หลับ : ก. นอนหวาดต่อภัยหรือเป็นทุกข์หรือห่วงใย.
  21. ปะตาระกาหลา : [-หฺลา] น. เทวดาผู้ใหญ่. (ช.).
  22. ปัตตานุโมทนา : น. การอนุโมทนาส่วนบุญที่ผู้อื่นให้. (ป.).
  23. ปากว่าตาขยิบ : (สํา) ก. พูดอย่างหนึ่งแต่ทําอีกอย่างหนึ่ง. ว. ปาก กับใจไม่ตรงกัน.
  24. เป็นหูเป็นตา : (สํา) ก. ช่วยสดับตรับฟังและดูแลรักษาแทน.
  25. เปิดหูเปิดตา : ก. ให้ได้ฟังและให้ได้เห็นมาก (มักใช้เกี่ยวกับการ ไปพักผ่อนหย่อนใจและหาความรู้ไปในตัว).
  26. ผงเข้าตาตัวเอง : (สํา) น. เมื่อปัญหาหรือความเดือดร้อนเกิดแก่ผู้อื่น ช่วยแก้ไขให้เขาได้แต่เมื่อเกิดแก่ตน กลับแก้ไขไม่ได้.
  27. พรหมัญตา : [พฺรมมันยะ] น. ความเป็นผู้เกื้อกูลแก่พราหมณ์. (ป.).
  28. พรหมัญตา : ดู พรหม, พรหม.
  29. พราวตา : ว. อาการที่ทำให้เห็นพร่าไปหมด.
  30. พริบตาเดียว : ว. เร็วมาก, ทันที.
  31. เพชรตาแมว : น. ไพฑูรย์.
  32. เพลินตา : ก. ดูเพลิน, ดูไม่รู้จักเบื่อ.
  33. มอมหน้า, มอมหน้ามอมตา : ก. เอามินหม้อเป็นต้นละเลงบนหน้า เพื่อไม่ให้คนอื่นจำหน้าได้.
  34. มีตาแต่หามีแววไม่ : (สำ) ก. ดูแต่ไม่ลึกซึ้ง, เซ่อ.
  35. มีหน้ามีตา : ว. มีคนนับถือ, มีเกียรติ, ได้รับความยกย่อง.
  36. เมาะตาโยกัก : ว. มีชื่อเสียงโด่งดัง, เลื่องลือไม่มีใครเสมอ. (ช.).
  37. ไม่ดูตาม้าตาเรือ : (สํา) ก. ไม่พิจารณาให้รอบคอบ.
  38. ยิ้มด้วยปาก ถากด้วยตา : (สํา) ก. เยาะเย้ยด้วยกิริยาท่าทาง.
  39. รอดหูรอดตา : ก. หลงหูหลงตาไป.
  40. ลอยหน้า, ลอยหน้าลอยตา : ก. ทำหน้าเชิดไปมา, โดยปริยาย หมายความว่า มีลักษณะอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ทำผิด แล้วยังมาลอยหน้าเถียงอีก.
  41. ลานตา. : ว. ตั้งสติไม่อยู่เพราะกลัว, มักใช้ควบกับคํา กลัว เป็น กลัวลาน เช่น เด็กถูกดุเสียจนกลัวลาน.
  42. เลือดเข้าตา : (สำ) ก. ฮึดสู้โดยไม่เกรงกลัวเพราะไม่มีทางเลือกหรือ เจ็บช้ำน้ำใจเป็นต้น, กล้าทำในสิ่งที่ไม่เคยทำเพราะทนถูกบีบคั้น ไม่ไหว.
  43. วิชชุ, วิชชุดา, วิชชุตา : [วิด] น. แสงไฟฟ้า, สายฟ้า. (ป.; ส. วิทฺยุตฺ).
  44. วุ้นตาวัว : น. ชื่อวุ้นหวานชนิดหนึ่ง หยอดในถ้วยตะไล มีไส้ทำด้วย ถั่วกวนปั้นเป็นก้อนเล็ก ๆ อยู่ตรงกลาง.
  45. ศาลเพียงตา : น. ศาลเทพารักษ์ที่ทําขึ้นชั่วคราว มีระดับเสมอ นัยน์ตา เพื่อความเคารพและสวัสดิมงคลเป็นต้น.
  46. สะการะตาหรา : น. ดอกกรรณิการ์. (ช.).
  47. หน้าชื่นตาบาน : ว. มีสีหน้าเบิกบานแจ่มใส.
  48. หายวับไปกับตา : (สำ) ก. หายไปอย่างฉับไวต่อหน้าต่อตา.
  49. หูตาสว่าง : ว. รู้เหตุการณ์ดีขึ้น, รู้ความจริงมากขึ้น.
  50. หูป่าตาเถื่อน : ว. รู้ไม่ทันเหตุการณ์เพราะอยู่ห่างไกลหรือไม่สนใจ เป็นต้น, โดยปริยายหมายความว่า ไม่รู้ขนบธรรมเนียมว่าควรปฏิบัติ อย่างไรเพราะไม่ได้รับการอบรม เช่นคนสามัญเดินบนลาดพระบาท.
  51. 1-50 | [51-100] | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1174

(0.1104 sec)