Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ตา , then , ตะ, ตา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ตา, 1174 found, display 1001-1050
  1. มักฏกะ : [มักกะตะกะ] (แบบ) น. แมงมุม. (ป. มกฺกฏก; ส. มรฺกฏก).
  2. มักฏะ : [มักกะตะ] (แบบ) น. ลิง. (ป. มกฺกฏ; ส. มรฺกฏ).
  3. มัชฌิมนิกาย : น. ชื่อคัมภีร์นิกายที่ ๒ แห่งพระสุตตันตปิฎก แปลว่า หมวดปานกลาง รวบรวมพระสูตรขนาดปานกลางไว้ในหมวดนี้. (ป.).
  4. มิตร, มิตร- : [มิด, มิดตฺระ-] น. เพื่อนรักใคร่คุ้นเคย เช่น มิตรแท้ มิตรเทียม ฉันมิตร. (ส.; ป. มิตฺต).
  5. มุตกิด : [มุดตะ-] น. โรคระดูขาว, ตกขาว ก็เรียก.
  6. มุตฆาต : [มุดตะ-] น. โรคขัดปัสสาวะชํ้าเลือดชํ้าหนอง.
  7. มุตตะ ๒ : [มุด-] ว. ซึ่งพ้นแล้ว. (ป.; ส. มุกฺต).
  8. มุหุต : [-หุด] น. เวลาครู่หนึ่ง, ขณะหนึ่ง. (ป. มุหุตฺต).
  9. มูตร : [มูด] น. นํ้าปัสสาวะ, นํ้าเบา, เยี่ยว. (ส. มูตฺร; ป. มุตฺต).
  10. ยถาภูตญาณ : [ยะถาพูตะ] น. ความรู้ตามความเป็นจริง. (ป.; ส. ยถาภูต + ชฺ?าน).
  11. ยุกต์ : ว. ชอบ, ถูกต้อง, ประกอบ. (ส.; ป. ยุตฺต).
  12. ยุคันตวาต : [ยุคันตะ] น. ลมในที่สุดยุค หมายความว่า ลมที่มาทําลาย โลกเมื่อสิ้นยุค. (ป.).
  13. ยุต ๑ : [ยุด] ก. ประกอบ. (ป. ยุตฺต; ส. ยุกฺต).
  14. รชตะ : [ระชะตะ] น. เงิน. (ป.).
  15. รตนะ : [ระตะ–] น. รัตน์. (ป.; ส. รตฺน).
  16. รตะ : [ระตะ] น. ความสุข, ความสนุก. ก. ยินดี, ชอบใจ, สนุก. (ป., ส. รต ว่า ผู้ยินดี).
  17. รัชดาภิเษก : ดู รัชด–, รัชต–.
  18. รัตคน : [รัดตะ–] น. รัดประคน.
  19. รัตจันทน์ : [รัดตะจัน] น. ชื่อไม้ต้นชนิด Pterocarpus santalinus L.f. ในวงศ์ Leguminosae แก่นสีแดงเข้ม ใช้ทํายา. (ป. รตฺตจนฺทน).
  20. รัตนโกสินทรศก : [รัดตะนะโกสินสก] น. ปีนับตั้งแต่วันตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ เริ่มตั้งภายหลังพุทธศักราช ๒๓๒๔ ปี (พุทธศักราชลบด้วย ๒๓๒๔ เท่ากับ รัตนโกสินทรศก).
  21. รัตน–, รัตน์, รัตนะ : [รัดตะนะ–, รัด, รัดตะ–] น. แก้วที่ถือว่ามีค่ายิ่ง เช่น อิตถีรัตนะ คือ นางแก้ว หัตถิรัตนะ คือ ช้างแก้ว; คน สัตว์ หรือสิ่งของที่ถือว่าวิเศษ และมีค่ามาก เช่น รัตนะ ๗ ของพระเจ้าจักรพรรดิ ได้แก่ ๑. จักรรัตนะ –จักรแก้ว ๒. หัตถิรัตนะ–ช้างแก้ว ๓. อัสสรัตนะ–ม้าแก้ว ๔. มณิรัตนะ –มณีแก้ว ๕. อิตถีรัตนะ–นางแก้ว ๖. คหปติรัตนะ–ขุนคลังแก้ว ๗. ปริณายกรัตนะ–ขุนพลแก้ว; ของประเสริฐสุด, ของยอดเยี่ยม, เช่น รัตนะ ๓ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นแก้วอันประเสริฐสุด ของพุทธศาสนิกชน; ใช้ประกอบคําอื่นหมายถึงยอดเยี่ยมในพวกนั้น ๆ เช่น บุรุษรัตน์ นารีรัตน์ รัตนกวี. (ป. รตน; ส. รตฺน).
  22. รัตนา : [รัดตะนา] (กลอน) น. แก้ว.
  23. รัตมา : [รัดตะ–] น. ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กชนิด Parkinsonia aculeata L. ในวงศ์ Leguminosae กิ่งห้อยย้อยมีหนามแหลม ใบเล็กมาก ดอกสีเหลือง ออกเป็นช่อ.
  24. รึกต์ : ว. ว่าง, เปล่า. (ส. ริกฺต; ป. ริตฺต).
  25. เรือดไม้ : น. ชื่อแมลงในอันดับ Psocoptera ขนาดเล็กมาก ตัวยาว ๑–๒ มิลลิเมตร ลําตัวอ่อนมาก มักมีสีขาว อาจพบได้ทั้งชนิดมีปีกและไม่มีปีก ปีกมี ๒ คู่ เป็นแผ่นบางและมักใส เวลาหุบปีก ปีกจะคลุมตัวคล้ายหลังคา อาศัยอยู่ ตามกองกระดาษ หนังสือ เศษขยะเก่า ๆ ในบ้าน ที่เก็บของในพิพิธภัณฑ์ ต่าง ๆ ตามเปลือกไม้หรือบริเวณตะไคร่นํ้านอกบ้าน ที่อยู่ตามหนังสือ ในบ้าน คือ ชนิด Psocatropos microps ในวงศ์ Psyllipsocidae, เลือดไม้ หรือ เหาไม้ ก็เรียก.
  26. เรือมาด : น. เรือขุดชนิดหนึ่ง ยาวประมาณ ๔ วา, ถ้าเพียงแต่ขุดไว้ แต่ ยังไม่ได้เบิก เรียกว่า มาดเรือโกลน หรือ ลูกมาด, ถ้ามีประทุน เรียกว่า เรือมาดประทุน, ถ้ามีเก๋ง เรียกว่า เรือมาดเก๋ง.
  27. ลฆุจิต : ว. มีใจเบา. (ส. ลฆุจิตฺต).
  28. ลิต : ก. ฉาบทา. (ป. ลิตฺต; ส. ลิปฺต).
  29. ลิปต์ : ก. ฉาบทา. (ส.; ป. ลิตฺต).
  30. ลุต : (แบบ) ก. ลบออก, ตัดออก. (ป. ลุตฺต; ส. ลุปฺต).
  31. ลุปต์ : (แบบ) ก. ลบออก, ตัดออก. (ส.; ป. ลุตฺต).
  32. เลต : ก. ลูบไล้, ฉาบทา. (ป. ลิตฺต; ส. ลิปฺต).
  33. โลกอุดร, โลกุตระ : [โลกอุดอน, โลกุดตะระ] ว. เหนือโลก, พ้น วิสัยของโลก. (ป., ส. โลก + อุตฺตร). โลกัตถจริยา
  34. โลกุตรธรรม : [โลกุดตะระทํา] น. ธรรมที่พ้นวิสัยของโลก มี ๙ คือ มรรค ๔ (คือ โสดาปัตติมรรค สกิทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตมรรค) ผล ๔ (คือ โสดาปัตติผล สกิทาคามิผล อนาคามิผล อรหัตผล) และนิพพาน ๑. (ส.; ป. โลก + อุตฺตร + ธมฺม).
  35. โลกุตรภูมิ : [โลกุดตะระ–] น. ภูมิที่พ้นจากโลก; ระดับจิตใจของ พระอริยบุคคล.
  36. โลกุตร–, โลกุตระ : [โลกุดตะระ] ว. เหนือโลก, พ้นวิสัยของโลก, เช่น โลกุตรธรรม เรื่องโลกุตระ.
  37. วต, วตะ : [วะตะ] น. พรต, ข้อปฏิบัติ; ความประพฤติ; การจําศีล, การบําเพ็ญ ทางศาสนา, การปฏิบัติ; ประเพณี, ธรรมเนียม. (ป. วต; ส. วฺรต).
  38. วรุตดม, วรุตมะ, วโรดม, วโรตมะ : [วะรุดดม, วะรุดตะมะ, วะโรดม, วะโรดตะมะ] ว. ประเสริฐสุด. (ป. วร + อุตฺตม). [วะรง] น. ''ส่วนสําคัญของร่างกาย'' คือ หัว. (ส. วร + องฺค). [วะระนะ] น. ป้อม, กําแพง, ที่ป้องกัน; การป้องกัน. (ป., ส.). [วัก] น. ตอน, บางทีก็ใช้เข้าคู่กันเป็น วรรคตอน เช่น เครื่องหมาย วรรคตอน เขียนหนังสือควรให้มีวรรคตอน, หมวด เช่น วรรค ก; ช่วงหนึ่งของคําหรือข้อความที่สุดลงแล้วเว้นเป็นช่องว่างไว้ระยะ หนึ่ง เรียกว่า เว้นวรรค, ถ้าเป็นเรื่องร้อยกรองถือข้อความช่วงหนึ่ง เป็น วรรคหนึ่ง เช่น ถึงม้วยดินสิ้นฟ้ามหาสมุทร; ชื่อมาตรา ปักษคณนา ๔ หรือ ๕ ปักษ์ เรียก วรรคหนึ่ง คือ ปักษ์ถ้วน ๓ ปักษ์ ขาด ๑ เรียก จุลวรรค, ปักษ์ถ้วน ๔ ปักษ์ขาด ๑ เรียก มหาวรรค; (กฎ) ย่อหน้าหนึ่ง ๆ ของบทบัญญัติในแต่ละมาตราของกฎหมาย. (ส. วรฺค; ป. วคฺค). [วัก] ว. เกี่ยวกับหมู่กับคณะ, เป็นหมวด, เป็นหมู่. (ส. วรฺคฺย; ป. วคฺคิย). [วัด] น. โทษ, ความผิด. (ส. วรฺช; ป. วชฺช). [วัด] ว. ที่ควรเว้น. (ส. วรฺชฺย). [วันนะ] น. สี เช่น เบญจวรรณ แปลว่า ๕ สี, มักใช้เข้าคู่กับคำ สีสันเป็น สีสันวรรณะ; ผิว เช่น ขอให้เจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ, มักใช้เข้าคู่กับคำ ผิวพรรณ เป็น ผิวพรรณวรรณะ; ชั้นชน, ในสังคมฮินดูแบ่งคนออกเป็น ๔ วรรณะ คือ พราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ ศูทร; หนังสือ เช่น วรรณกรรม วรรณคดี. (ส. วรฺณ; ป. วณฺณ).
  39. วรุตดม, วรุตมะ, วโรดม, วโรตมะ : [วะรุดดม, วะรุดตะมะ, วะโรดม, วะโรดตะมะ] ว. ประเสริฐสุด. (ป. วร + อุตฺตม).
  40. วัฏกะ : [วัดตะกะ] น. นกกระจาบ. (ป. วฏฺฏก; ส. วรฺตก).
  41. วัตนะ : [วัดตะนะ] น. ความเป็นไป, ความเป็นอยู่. (ป. วตฺตน; ส. วรฺตน).
  42. วันต์ : (แบบ) ก. คายแล้ว, ทิ้งหรือเลิกแล้ว. (ป.; ส. วานฺต).
  43. วาจก : น. ผู้กล่าว, ผู้บอก, ผู้พูด. (ไว) ก. กริยาของประโยคที่แสดงว่า ประธานทําหน้าที่เป็นผู้ทํา ผู้ใช้ ผู้ถูกทํา หรือผู้ถูกใช้ แบ่งเป็น ๓ ชนิด คือ กรรตุวาจก กรรมวาจกและการิตวาจก. (ป., ส.).
  44. วาทิต : น. สังคีต, ดนตรี; ผู้บรรเลงดนตรี. (ป. วาทิต, วาทิตฺต; ส. วาทิต, วาทิตฺร).
  45. วิกรานต์ : [วิกฺราน] ว. กล้าหาญ, มีชัยชนะ, ก้าวหน้า. (ส. วิกฺรานฺต).
  46. วิกัต : ว. วิกฤต. (ป. วิกต).
  47. วิจิตร : [จิด] ว. งามประณีต. (ส.; ป. วิจิตฺต).
  48. วินตกะ : [วินตะกะ] น. ชื่อภูเขาชั้นที่ ๖ ในหมู่เขาสัตบริภัณฑ์ที่ล้อมเป็น วงกลมรอบเขาพระสุเมรุ. (ป., ส. วินตก). (ดู สัตบริภัณฑ์, สัตภัณฑ์).
  49. วิมุต : [มุด] ก. พ้น, หลุดพ้น. (ป. วิมุตฺต; ส. วิมุกฺต).
  50. วิวิต : ว. สงัด, ปลีกตัวไปอยู่ในที่สงัด. (ป. วิวิตฺต, ส. วิวิกฺต).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | [1001-1050] | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1174

(0.1096 sec)