Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ตา , then , ตะ, ตา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ตา, 1174 found, display 351-400
  1. ถึง : ก. บรรลุจุดหมาย เช่น เมื่อไรจะถึง; รับนับถือ, ยึดถือ, เช่น ถึง พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งที่ระลึก; โดยปริยาย หมายความว่า เท่าทัน, ทัดเทียม, เช่น เขาถึงกัน มีความรู้ไม่ถึง ฝีมือไม่ถึง. ว. มากพอ เช่น ถึงเกลือ ถึงนํ้าตาล ถึงเครื่อง. บ. สู่, กระทั่ง, ยัง, เช่นไปถึงบ้าน; จนกระทั่ง เช่น ถึงนํ้าตาตก ถึงลุกไม่ขึ้น, ถึงแก่ ถึงกับ ถึงกะ ก็ว่า; ใช้เป็นคําจ่าหน้าในจดหมายระบุตัวผู้รับ. สัน. แม้ เช่น ถึงเขาจะเป็นเด็ก เขาก็มีความคิด; (ปาก) จึงเช่น ทําอย่างนี้ถึงจะดี.
  2. ถึงคราว : ก. ถึงกําหนดจะเป็น เช่น ถึงคราวมีบุญ ถึงคราวตกอับ, ถ้าใช้ตามลําพัง มักหมายไปในทางไม่ดี เช่น เขาถึงคราวแล้ว.
  3. ถุง : น. เครื่องใช้สําหรับใส่สิ่งของ ทําด้วยผ้าหรือกระดาษเป็นต้น ก้นปิด ปากเปิด บางชนิดที่ปากมีหูรูดหรือหูหิ้ว, เรียกเครื่องใช้สําหรับสวมมือ สวมเท้า มีลักษณะยืดหรือหดได้ ว่า ถุงมือ ถุงเท้า, โดยปริยายใช้เรียก สิ่งที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ถุงนํ้าดี ถุงนํ้าครํ่า ถุงนํ้าตา, เรียกผ้านุ่งของ ผู้หญิงซึ่งใช้ผืนผ้าเย็บริมด้านข้างให้ติดกันว่า ผ้าถุง.
  4. เถา : น. เครือไม้, ลําต้นของไม้เลื้อย; ภาชนะที่จัดเข้าเป็นชุดเดียวกันอย่าง ปิ่นโต, ภาชนะหรือสิ่งของในจําพวกเดียวกันที่ใหญ่ รอง และเล็ก เรียง ไปตามลําดับอย่างตะลุ่มมุกหรือหม้อ, ลักษณนามเรียกภาชนะที่จัดเข้า เป็นชุดเดียวกัน เช่น ปิ่นโตเถาหนึ่ง ปิ่นโต ๒ เถา หรือเรียกภาชนะหรือ สิ่งของในจําพวกเดียวกันที่ใหญ่ รอง และเล็ก เรียงไปตามลําดับ เช่น ตะลุ่มมุกเถาหนึ่ง หม้อ ๒ เถา; เพลงมโหรีปี่พาทย์ซึ่งเป็นเพลงเดียวกัน แต่มีอัตราลดหลั่นกันลงไปเป็นลําดับไม่ตํ่ากว่า ๓ ขั้น และบรรเลง ติดต่อกันไปไม่ขาดระยะจนจบ เรียกว่า เพลงเถา เช่น เพลงแขกมอญเถา เพลงราตรีประดับดาวเถา.
  5. ทนโท่ : ว. ปรากฏชัดแก่ตา, จะแจ้ง, เช่น เห็นอยู่ทนโท่, โทนโท่ ก็ว่า.
  6. ทนายหน้าหอ : (ปาก) น. หัวหน้าคนรับใช้ที่ใช้ออกหน้าออกตา, ผู้รับหน้าแทนนาย.
  7. ทรราช : น. ผู้ปกครองบ้านเมืองที่ใช้อํานาจตามอําเภอใจ ทําความ เดือดร้อนทารุณให้แก่ผู้อยู่ใต้การปกครองของตน. (อ. tyrant), เรียกลัทธิเช่นนั้นว่า ทรราชย์ หรือ ระบบทรราชย์. (อ. tyranny).
  8. ทรายขาว : [ซาย-] น. ชื่อปลาทะเลในสกุล Scolopsis วงศ์ Nemipteridae ลำตัวสั้น รูปไข่ แบนข้าง ปากเล็ก ไม่มีฟันเขี้ยว มีหนามแหลม อยู่บริเวณใต้ตา ปลายชี้ไปทางด้านหลัง เช่น ชนิด S. cancellatus, S. dubiosus.
  9. ทองตะโก : น. สีทองที่เกิดจากการใช้รงผสมนํ้ามันยางอาบลงบน แผ่นตะกั่ว ถ้าทาลงบนโลหะจะมีสมบัติจับแน่นและกันสนิมได้, ทองตะกู หรือ ทองตากู ก็เรียก.
  10. ทะเล้น : ก. โปนออก เช่น ตาทะเล้น, ล้นออก เช่น เนื้อผ้าตรงตะเข็บทะเล้น ออก. ว. ทําหน้าหัวเราะอย่างทะลึ่งโดยไม่เหมาะแก่บุคคลหรือ โอกาส.
  11. ทะเลิ่กทะลั่ก : ว. อาการที่ทำหน้าตาตื่น เหลียวหน้าเหลียวหลัง เช่น เขาวิ่ง หน้าตาทะเลิ่กทะลั่กเข้ามา.
  12. ทัก ๒ : (ถิ่น) น. ตะกร้าเก็บเกลือ ทําด้วยไม้ไผ่สาน ตาห่างคล้ายชะลอม ทรงสูงคล้ายชะลอม. (วิทยาจารย์).
  13. ทันตา : ว. ทันที่ตาเห็นในปัจจุบัน, ในชาตินี้, ในเวลานั้น, ทันตาเห็น ก็ว่า.
  14. ทัศนวิสัย : (ภูมิ) น. ระยะทางไกลที่สุดซึ่งสามารถมองเห็นวัตถุ ด้วยตาเปล่าและบอกได้ว่าวัตถุนั้นเป็นอะไร.
  15. ท่า ๒ : น. ลักษณะท่วงทีของร่างกายที่อยู่นิ่ง ๆ ในบางอิริยาบถ เช่น ท่ายืน ท่านั่ง ท่านอน; การแสดงกิริยายกมือยกเท้าเป็นต้นตามกําหนดเป็น วิธีไว้ เช่น ท่ามวย ท่ารํา; ชั้นเชิง, ท่วงที, วิธี, เช่น พลาดท่า ได้ท่า เสียท่า.
  16. ทางมะพร้าว : น. ชื่องูชนิด Elaphe radiata ในวงศ์ Colubridae ท่อนหัวมีลายยาว ตามลําตัวสีดําขาว ท่อนหางสีนํ้าตาลแดง ไม่มีพิษ, ก้านมะพร้าว ก็เรียก.
  17. ทานบารมี : [ทานนะ-] น. จรรยาอย่างเลิศ คือ ทาน. (ป. ทานปารมี; ส. ทานปารมิตา).
  18. ทำตา : ก. แสดงความรู้สึกด้วยสายตา เช่น ทําตาเล็กตาน้อย ทําตาขุ่นตาเขียว.
  19. ทำไพ่ : ก. ละเลงไพ่ทั้งกองให้คละกันแล้วรวบเข้าเป็นกองใหม่ หลังจากกินแต่ละตาแล้ว การทําไพ่อาจทําให้เป็นประโยชน์แก่ มือใดมือหนึ่งก็ได้.
  20. ทำเวลา : ก. ทําให้ได้เวลาตามกําหนด, เร่งให้เร็วขึ้น.
  21. ทำหน้าทำตา : ก. แสดงกิริยาอาการทางหน้าตา เช่น ทําหน้าทําตา ล้อหลอก.
  22. ทิฏฐุชุกรรม : (แบบ) น. การทําความเห็นให้ตรง คือ เห็นถูกทาง เช่น เห็นว่า ทําดีได้ดี ทําชั่วได้ชั่ว (เป็นข้อหนึ่งในบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ คือ ทานมัย สีลมัย ภาวนามัย อปจายนมัย เวยยาวัจจมัย ปัตติทานมัย ปัตตานุโมทนามัย ธัมมัสสวนมัย ธัมมเทสนามัย ทิฏฐุชุกรรม). (ป. ทิฏฺฐุชุกมฺม).
  23. ทิพจักขุ : [ทิบพะจักขุ] น. ตาทิพย์ คือ จะดูอะไรเห็นได้ทั้งหมด, เป็นอภิญญาอย่าง ๑ ในอภิญญา ๖. (ป. ทิพฺพจกฺขุ; ส. ทิพฺยจกฺษุ).
  24. ทิพยจักษุ : [ทิบพะยะจักสุ] น. ตาทิพย์ คือ จะดูอะไรเห็นได้ทั้งหมด, เป็นอภิญญาอย่าง ๑ ในอภิญญา ๖. (ส. ทิพฺยจกฺษุ; ป. ทิพฺพจกฺขุ).
  25. ทิพย-, ทิพย์ : [ทิบพะยะ-, ทิบ] ว. เป็นของเทวดา เช่น อาหารทิพย์, ดีวิเศษอย่าง เทวดา เช่น ตาทิพย์ หูทิพย์, ดีวิเศษเหนือปรกติธรรมดา เช่น เนื้อทิพย์, ใช้ว่า ทิพ ก็มี. (ส. ทิวฺย; ป. ทิพฺพ).
  26. ทิ่ม : ก. เอาสิ่งที่มีลักษณะยาว ๆ หรือแหลม ๆ กระแทกโดยแรง เช่น เอามีดทิ่มพุง เอานิ้วทิ่มตา.
  27. ที่นั่ง : (ราชา) น. อาคารที่ประทับซึ่งตามปรกติอยู่ในพระราชวัง เช่น พระที่นั่งบรมพิมาน พระที่นั่งอัมพรสถาน, อาคารที่เสด็จออกมหา สมาคม เช่น พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย พระที่นั่งอนันตสมาคม พระที่นั่งวโรภาสพิมาน (บางปะอิน), ที่ ประทับสําหรับประทับบนพระแท่นราชบัลลังก์ภายใต้เศวตฉัตร เช่น พระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์ พระที่นั่งภัทรบิฐ, ยานที่ ประทับในการเสด็จพระราชดําเนินโดยขบวนแห่ทางบก เช่น พระที่นั่งพุดตานทอง พระที่นั่งราเชนทรยาน, ยานหรือพาหนะที่ พระเจ้าแผ่นดินและพระราชินีทรงหรือประทับ เช่น รถพระที่นั่ง ม้าพระที่นั่ง; ก้น, ที่นั่งทับ, ใช้ว่า พระที่นั่ง.
  28. ทึดทือ : น. ชื่อนกในวงศ์ Strigidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับนกเค้า ตัวสีนํ้าตาล มีลายกระสีขาว ลําตัวด้านบนและปีกสีเข้มกว่าด้านท้อง ขนคิ้วยาว เห็นได้ชัด ตาสีเหลือง ขาไม่มีขน หากินในเวลากลางคืน ในประเทศ ไทยมี ๒ ชนิด คือทึดทือพันธุ์เหนือ (Ketupa zeylonensis) และ ทึดทือมลายู (K. ketupa).
  29. ทุงงะ : (ถิ่น-ปัตตานี) น. ชื่อปลานํ้าจืดขนาดเล็กชนิด Acrossocheilus dukai ในวงศ์ Cyprinidae ลําตัวยาวเรียว แบนข้าง ปากเล็กอยู่ตํ่า บริเวณหัว ตอนหน้าหรือก่อนถึงตามีตุ่มเนื้อขนาดเล็กกระจายอยู่ เกล็ดใหญ่ มีจุดดําที่โคนครีบหาง พบอาศัยอยู่ตามเขตต้นนํ้าลําธารบริเวณภูเขา ทั่วประเทศ ที่ดอยหัวมด ในเขตของภาคเหนือ เรียก แป้งแช่.
  30. เทพธิดา : [เทบ-] น. นางฟ้า, เทวดาผู้หญิง. (ป. เทวธีตา).
  31. เทวดา : [เทวะ-] น. พวกชาวสวรรค์ที่มีตาทิพย์ หูทิพย์ และกินอาหารทิพย์. (ป., ส. เทวตา).
  32. เทวัญ : น. พวกชาวสวรรค์ที่มีตาทิพย์ หูทิพย์ และกินอาหารทิพย์.
  33. เทียน ๓ : น. ชื่อเครื่องยาสมุนไพรจําพวกหนึ่ง ได้จากผลและเมล็ดแห้งของ ไม้ล้มลุก มีหลายชนิด คือ เทียนทั้ง ๕ ได้แก่ เทียนขาว เทียน ข้าวเปลือก เทียนดํา เทียนแดง เทียนตาตั๊กแตน เทียนทั้ง ๗ เพิ่ม เทียนเยาวพาณี เทียนสัตตบุษย์ เทียนทั้ง ๙ เพิ่ม เทียนตากบ เทียนเกล็ดหอย และยังมีเทียนพิเศษอีกหลายชนิด เช่น เทียนลวด เทียนขม เทียนแกลบ.
  34. เทียน ๔ : ดู เต่าเหลือง ที่ เต่า๑.
  35. เทียมบ่าเทียมไหล่ : ว. เทียบเท่ากัน, เท่าเทียมกัน, เช่น เขาพยายาม สร้างฐานะจนเทียมบ่าเทียมไหล่กับญาติพี่น้อง, เทียมหน้าเทียมตา หรือ เสมอบ่าเสมอไหล่ ก็ว่า.
  36. โทนโท่ : ว. ปรากฏชัดแก่ตา, จะแจ้ง, เช่น เห็นอยู่โทนโท่, ทนโท่ ก็ว่า.
  37. ธรรมดา : น. อาการหรือความเป็นไปแห่งธรรมชาติ เช่น การกิน การถ่ายเท การสืบพันธุ์ และการเสื่อมสลาย. ว. สามัญ, พื้น ๆ, ปรกติ, เช่น เป็นเรื่อง ธรรมดา. (ส. ธรฺมตา; ป. ธมฺมตา).
  38. ธิดา : น. ลูกหญิง. (ป., ส. ธีตา).
  39. นกเขา ๑ : น. ชื่อเหยี่ยวในวงศ์ Accipitridae สีเทานํ้าตาลมีลายตลอดตัว อกสีนํ้าตาลลายกระขาว มักเกาะซ่อนตัวบนต้นไม้เพื่อคอยโฉบล่าเหยื่อ อยู่ตามลําพัง มีหลายชนิด เช่น เหยี่ยวนกเขาหงอน (Accipiter trivirgatus) เหยี่ยวนกเขาชิครา (A. badius) เหยี่ยวนกเขาพันธุ์ญี่ปุ่น (A. gularis).
  40. นวลจันทร์ : น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Cirrhinus microlepis ในวงศ์ Cyprinidae ลําตัว ยาวเรียว แบนข้างเล็กน้อย ตาเล็ก ปากเล็กอยู่ตํ่าที่ปลายหัว ไม่มีหนวด เกล็ดเล็ก เฉพาะในแนวเส้นข้างตัวมีประมาณ ๖๐ เกล็ด ลําตัวด้านหลัง สีนํ้าตาลเทา ข้างท้องสีขาว ปลายครีบหลังและครีบท้องสีชมพู อาศัย ตามลํานํ้าในเขตที่ลุ่มภาคกลางไปจนถึงแม่นํ้าโขง ขนาดยาวได้ถึง ๖๕ เซนติเมตร.
  41. นองหน้า : ว. อาบหน้า (ใช้แก่นํ้าตา).
  42. น้อยโหน่ง : น. ชื่อไม้พุ่มขนาดเล็กถึงขนาดกลางชนิด Annona reticulata L. ในวงศ์ Annonaceae ดอกคล้ายดอกน้อยหน่า แต่ผลโตกว่า เปลือกบางแต่เหนียว ค่อนข้างเรียบ ไม่นูนเป็นตา ๆ สีเขียวจาง ๆ ปนสีแดงเรื่อ ๆ เนื้อในผล หนาขาว รสหวานไม่สนิทเหมือนน้อยหน่า มีเมล็ดมาก.
  43. นัดดา : น. หลานปู่, หลานตา. (ป. นตฺตุ).
  44. นัยนามพุ : [ไนยะนามพุ] น. นํ้าตา. (ป. นยน + อมฺพุ).
  45. นามธรรม : [นามมะทํา] น. สิ่งที่ไม่มีรูป คือ รู้ไม่ได้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย รู้ได้เฉพาะทางใจเท่านั้น, คู่กับ รูปธรรม. (ส.; ป. นามธมฺม).
  46. นายท่า : ( น. ผู้มีหน้าที่ควบคุมดูแลกิจการที่ท่าเรือท่ารถ เช่นในการ ปล่อยเรือปล่อยรถตามกําหนดเวลาเป็นต้น.
  47. น้ำ : น. สารประกอบซึ่งมีองค์ประกอบเป็นธาตุไฮโดรเจนและออกซิเจน ในอัตราส่วน ๑ : ๘โดยนํ้าหนัก เมื่อบริสุทธิ์มีลักษณะเป็นของเหลว ใส ไม่มีสี กลิ่น รส มีประโยชน์มากเช่นใช้ดื่ม ชําระล้างสิ่งสกปรก, โบราณถือว่าเป็น ธาตุ ๑ ในธาตุ ๔ คือ ดิน นํ้า ไฟ ลม, ใช้เรียกสิ่งอื่น ที่มีลักษณะเป็นนํ้าหรือเหลวเหมือนนํ้า เช่น นํ้าตา นํ้าปลา นํ้าพริก นํ้าส้ม; โดยปริยายหมายถึงคุณสมบัติที่ถือว่าเป็นสาระของสิ่งที่กล่าวถึง เช่น นํ้าคํา นํ้าใจ นํ้าพัก นํ้าแรง นํ้ามือ; ความแวววาว (ใช้แก่รัตนชาติ); ลักษณนามเรียกเรือที่ใช้มาแล้ว ๒ ปี ๓ ปี ว่า เรือ ๒ นํ้า เรือ ๓ นํ้า, และ ที่ใช้เกี่ยวกับนํ้าหมายความว่า ครั้ง เช่น ล้าง ๓ นํ้าต้ม ๓ นํ้า. ว. มีแสง แวววาว (ใช้แก่รัตนชาติ) เช่น เพชรนํ้าหนึ่ง ทับทิมนํ้างาม.
  48. น้ำเลี้ยง : น. ของเหลวที่หล่อเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิต เช่น นํ้าเลี้ยง ลูกตา นํ้าเลี้ยงลําต้น.
  49. น้ำหน้า : น. หน้า (ใช้ในความแดกดัน รังเกียจ หรือดูหมิ่น เป็นต้น) เช่น นํ้าหน้าอย่างนี้ทําไม่สําเร็จดอก เกลียดนํ้าหน้า ชังนํ้าหน้า; (โบ; กลอน) นํ้าตา เช่น นํ้าหน้าไล้กําลูน. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์).
  50. นิจ ๒ : ว. ตํ่า (คู่กับ อุจ ว่า สูง) ใช้แก่ดาวนพเคราะห์ เช่นว่า พระอาทิตย์ขึ้นอุจ ในเดือนเมษายน และตกนิจในเดือนตุลาคม. (ป. นีจ).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | [351-400] | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1174

(0.1311 sec)