Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ตา , then , ตะ, ตา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ตา, 1174 found, display 801-850
  1. ตยาค : [ตะยาก] (แบบ) น. การสละ, การให้ปัน, เช่น อันมีใจตยาคนั้น. (ม. คําหลวง กุมาร). (ส.).
  2. ตยาคี : [ตะยา-] น. ผู้บริจาค, วีรบุรุษ, นักพรต, เช่น พระศรีศรีสรศาสดา มีพระมหิมา นุภาพพ้นตยาคี. (สมุทรโฆษ). (ส.).
  3. ตยุติ : [ตะยุติ] (แบบ) ก. เคลื่อน, ตาย, (โดยมากใช้แก่เทวดา) เช่น ก็จะจยรตยุติ ลงเกอด. (ม. คําหลวง ทศพร). (ส.; ป. จุติ).
  4. ตรณี : [ตะระนี] (แบบ) น. เรือ. (ป., ส.).
  5. ตรละ ๑ : [ตะระละ] (แบบ) น. ข้าวต้ม. (ป., ส.).
  6. ตรละ ๒ : [ตะระละ] (แบบ) น. พลอยเม็ดกลางของเครื่องสร้อยคอ, สร้อยคอ; เพชร, เหล็ก; พื้นล่าง, พื้นราบ; ส่วนลึก. ว. กลับกลอก; หวั่นไหว, สั่น. (ป., ส.).
  7. ตรลา : [ตะระลา] (แบบ) น. ข้าวต้ม; นํ้าผึ้ง; เหล้า. (ป., ส. ตรล).
  8. ตรุ ๒ : [ตะรุ] (แบบ) น. ต้นไม้. (ป., ส.).
  9. ตรุณ, ตรุณะ : [ตะรุน, ตะรุนะ] (แบบ) น. เด็กรุ่น. ว. ดรุณ, หนุ่ม, อ่อน, รุ่น, เพศหญิงใช้ว่า ตรุณี. (ป., ส.).
  10. ยาตนา : [ตะนา] น. ความเจ็บปวด, การทรมาน. (ป., ส.).
  11. อนันตริยกรรม : [ตะริยะกํา] น. กรรมที่ให้ผลไม่เว้นระยะ คือ กรรม ที่เป็นบาปหนักที่สุด มี ๕ อย่าง คือ ๑. ฆ่าบิดา ๒. ฆ่ามารดา ๓. ฆ่าพระอรหันต์ ๔. ทําให้พระกายพระพุทธเจ้าห้อเลือด ๕. ทําให้ สงฆ์แตกแยกกัน. (ป. อนนฺตริยกมฺม).
  12. อาฆาตนะ : [ตะนะ] น. การฆ่า, การตี; สถานที่ฆ่าคน. (ป., ส.).
  13. กตเวทิตา : [กะตะ-] น. ความเป็นผู้ประกาศคุณท่าน, ความเป็นผู้สนอง คุณท่าน, เป็นคําคู่กันกับ กตัญญุตา. (ป.).
  14. กตเวที : [กะตะ-] ว. (ผู้) ประกาศคุณท่าน, (ผู้) สนองคุณท่าน, เป็นคําคู่กัน กับ กตัญญู. [ป. กต ว่า (อุปการคุณ) ที่ท่านทําแล้ว + เวที ว่า ผู้ให้รู้, ผู้ประกาศ].
  15. กถามรรคเทศนา : [-มักคะเทดสะหฺนา] น. เทศนาฝ่ายกถามรรค, คู่กับ สุตตันตเทศนา. ( ส. -เทศนา ว่า การแสดง).
  16. กปิ : [กะ-] (แบบ) น. ลิง เช่น ทรงพาหะองคต กปิยศโยธิน. (พากย์). (ป., ส.).
  17. กระดูกค่าง : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Diospyros undulata Wall. ex G. Don var. cratericalyx (Craib) Bakh. ในวงศ์ Ebenaceae ขึ้นในป่าดิบ มีมากทางภาคใต้ สูงได้ถึง ๒๐ เมตร ไม่ผลัดใบ, จะเพลิง ชะเพลิง คําดีควาย ดูกค่าง ตะโกดํา พลับเขา ไหม้ หม้าย หรือ สะลาง ก็เรียก.
  18. กระตร้อ : (โบ) น. เครื่องดับไฟสานเป็นรูปตะกร้อพันผ้าชุบน้ำ มีด้ามยาว สําหรับดับและคลึงลูกไฟที่มาติดหลังคา ผู้ดับนั่งบนอกไก่หลังคา เช่น ให้ตรวจเอาพร้าขอกระตร้อน้ำ จงทุกที่พนักงานให้สรัพไว้. (สามดวง), ตะกร้อ ก็เรียก.
  19. -กระตรำ : ใช้เข้าคู่กับคํา กระตรก เป็น กระตรกกระตรํา.
  20. กระยา : น. เครื่อง, สิ่งของ, เครื่องกิน, เช่น เทียนธูปแลประทีปชวาลา เครื่องโภชนกระยา สังเวยประดับทุกพรรณ. (ดุษฎีสังเวยกล่อมช้าง ของเก่า ครั้งกรุงเก่า), เขียนเป็น กรยา ก็มี เช่น พระไพรดมานโฉม นุบพิตรแลงผอง มนตรอัญสดุดิยฮอง กรยานุถกลทาบ. (ดุษฎีสังเวยกล่อมช้างของเก่า ขุนเทพกะวีแต่ง).
  21. กระวีชาติ : น. หมู่กวี, พวกกวี, เช่น เสดจ์ในพระที่นั่งพลับพลาทอง โดยอุตราภิมุขพร้อมด้วยหมู่มาตยามนตรีกระวีชาติราชปะโรหิตาจารย์ เฝ้าพระบาท. (สามดวง), เขียนเป็น กระวีชาต หรือ กระวิชาติ ก็มี เช่น พระองค์ทรงพระกรุณาเพื่อจะมิให้มุกขมนตรีกระวีชาตแลราษฎร ล่วงเกินพระราชอาญา, พร้อมด้วยหมู่มุกขมาตยามนตรีกระวิชาติราช สุริยวงษพงษพฤฒาโหราจารยเฝ้าเบื้องบาทบงกชมาศ. (สามดวง).
  22. กระหยัง : (ถิ่น-อีสาน) น. สมุกใส่เครื่องนุ่งห่ม. (ลัทธิ. ภาค ๑๘ ตอน ๑); ภาชนะชนิดหนึ่งคล้ายตะกร้าสําหรับใส่ของ.
  23. กริตย- : [กฺริดตะยะ-] (โบ; กลอน) ก. ทํา เช่น พระบาทสญไชยก็ชําระ กริตยภิษิตสรรพางค์. (ม. คําหลวง มหาราช). (ส. กฺฤตฺย).
  24. กฤดีกา, กฤตยฎีกา : [กฺริ-, กฺริดตะยะ-] แผลงมาจาก กติกา เช่น อันว่าความกฤดีกา แต่สองราแรกทรงพรต. (ม. คําหลวง กุมาร), ชําระกฤตยฎีกา. (ไวพจน์พิจารณ์).
  25. กฤตย- : [กฺริดตะยะ-] (โบ; กลอน) ก. ทํา. (ส.).
  26. กฤตยา ๑ : [กฺริดตะ-] (โบ; กลอน) น. เกียรติ เช่น เสื่อมกฤตยาสยามยศ. (ตะเลงพ่าย).
  27. กฤตยา ๒, กฤติยา : [กฺริดตะ-, กฺริดติ-] น. การใช้เวทมนตร์, เสน่ห์, อาถรรพณ์, เช่น มนตร์กฤตยานั้นซั้น เสื่อมสิ้นทุกอัน. (โลกนิติ), หาแม่มดถ้วนหน้า หมู่แก้ กฤติยา. (ลอ).
  28. กฤษฎา ๓, กฤษฎาญ, กฤษฎาญชลิต, กฤษฎาญชลี, กฤษฎาญชวลิตวา, กฤษฎาญชวลิศ, กฤษฎาญชวเลศ, กฤษฎาญชุลี : [กฺริดสะดา, -ดาน, -ดานชะลิด, -ดานชะลี, -ดานชะวะลิดตะวา, -ดานชะวะลิด, -ดานชะวะเลด,-ดานชุลี] (โบ; กลอน) แผลงมาจาก กฤดาญชลี เช่น ถวายอภิวันทกฤษฎาญ กฤษฎาการกราบเกล้า. (ม. คําหลวง มัทรี; ฉกษัตริย์), กฤษฎาญชลิตไหว้. (มาลัยคําหลวง), กฤษฎาญชลียะยุ่งแล. (ม. คําหลวง ทศพร), อันว่ากฤษฎาญชวลิตวา. (มาลัยคำหลวง), อนนว่าเจ้าสากลกฤษฎาญชวลิศท่านธแล้ว. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์), ถวายกฤษฎาญชวเลศ ทูลแถลงเหตุนุสนธ์. (เพชรมงกุฎ), กฤษฎาญชุลีน้อม. (ฉันทลักษณ์).
  29. กะกร่อม : (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. เครื่องมือจับปูทะเล เป็นของชาวประมงตั้งแต่ จังหวัดชุมพรถึงสุราษฎร์ธานี, บางทีเรียกว่า กร่อม หรือ ตะกร่อม, ใช้ไม้ไผ่อันเดียวผ่าตอนปลายออกเป็น ๔ ซี่ และซี่เหล่านั้นเหลา ให้อ่อน จะเป็นรูปกลมหรือแบนก็ได้ เอาวงแหวนทําด้วยไม้ไผ่ หรือหวายหรือลวดใส่ในหว่างซี่เหล่านั้นเพื่อบังคับให้ถ่างออก.
  30. กะนัด : (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ไม้แบน ๒ อันนอกตะกอสําหรับขัดเส้นด้าย เพื่อกันด้ายยุ่ง.
  31. กะเหลาะเปาะ : ว. กลมน่าดู, ตะเหลาะเปาะ ก็ว่า.
  32. กัณฏกะ, กัณฐกะ : [กันตะกะ, กันถะกะ] (แบบ) น. หนาม. (ป., ส. กณฺฏก).
  33. กัมมันตภาพรังสี : [กํามันตะ-] น. การเสื่อมสลายโดยตัวเองของนิวเคลียสของอะตอม ที่ไม่เสถียร เป็นผลให้ได้อนุภาคแอลฟา อนุภาคบีตา รังสีแกมมา ซึ่งเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีช่วงคลื่นสั้นมากและมีพลังงานสูง ทั้งหมดนี้พุ่งออกมาด้วยความเร็วสูงมาก ในบางกรณีอาจมี พลังงานความร้อนและพลังงานแสงเกิดตามมาด้วย เช่น การเสื่อมสลายของนิวเคลียสของธาตุเรเดียมไปเป็นธาตุเรดอน. (อ. radioactivity).
  34. กัมมันตรังสี : [กํามันตะ-] ว. ที่สามารถเกิดกัมมันตภาพรังสีได้ (ใช้แก่ธาตุหรือสาร). (อ. radioactive).
  35. การิตการก : [การิดตะ-] (ไว) น. ผู้ถูกใช้ให้ทํา, เป็นประธานของประโยค เรียงไว้หน้ากริยา ''ถูก-ให้'' เช่น คนงานถูกนายจ้างให้ทํางาน ทั้งกลางวันและกลางคืน, ถ้ามิได้เป็นประธานก็เรียงไว้หลังบุรพบท ''ยัง'' หรือ กริยานุเคราะห์ ''ให้'' เช่น นายจ้างยังลูกจ้างให้ทํางาน นายจ้างให้ลูกจ้างทํางาน.
  36. กี้, กี๊ : น. เวลาที่ล่วงไปหยก ๆ, มักใช้ประกอบกับคํา เมื่อ เมื่อแต่ หรือ เมื่อตะ เป็น เมื่อกี้ เมื่อแต่กี้ เมื่อตะกี้ หรือ เมื่อกี๊ เมื่อแต่กี๊ เมื่อตะกี๊.
  37. กีฏ- : [กีตะ-] (แบบ) น. แมลง. (ป. กีฏ ว่า ตั๊กแตน).
  38. กุกกุฏ- : [-กุตะ-] (แบบ) น. ไก่, ไก่ป่า, เช่น กุกกุฏ สังวัจฉร (ปีระกา). (ป.).
  39. เกษตร : [กะเสด] น. ที่ดิน, ทุ่ง, นา, ไร่; (โบ) แดน เช่น พุทธเกษตร. (ส. เกฺษตฺร; ป. เขตฺต).
  40. ข้าวปาด : (ถิ่น-อีสาน) น. ขนมชนิดหนึ่ง คล้ายขนมเปียกปูน แต่ เหนียวมาก.
  41. ขุทกนิกาย : น. ชื่อคัมภีร์นิกายที่ ๕ แห่งพระสุตตันตปิฎก แปลว่า หมวดเล็กน้อย รวบรวมข้อธรรมะที่ไม่อยู่ใน ๔ นิกายข้างต้น มี ๑๕ เรื่อง ซึ่งมี ธรรมบทและชาดก รวมอยู่ในคัมภีร์นี้ด้วย.
  42. เขต : [เขด] น. แดนที่กําหนดขีดคั่นไว้ เช่น เขตป่า เขตบ้าน, เวลาที่กําหนด ขีดคั่นไว้ เช่น หมดเขตวันที่ ๑๕. (ป. เขตฺต). (โบราณเขียนว่า เขตร).
  43. คณิต, คณิต- : [คะนิด, คะนิดตะ-] น. การนับ, การคํานวณ, วิชาคํานวณ, มักใช้เป็น คําหลังของวิชาบางประเภท เช่น พีชคณิต เรขาคณิต.
  44. คณิตศาสตร์ : [คะนิดตะสาด] น. วิชาว่าด้วยการคํานวณ. (ส. คณิต + ศาสฺตฺร).
  45. -คต : [-คะตะ, -คด] ก. ถึงแล้ว, ไปแล้ว, มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส เช่น ตถาคต สุคต สวรรคต ทิวงคต. (ป.).
  46. คฤหปัตนี : [คะรึหะปัดตะนี] (แบบ) น. หญิงที่เป็นเจ้าบ้าน, ภรรยาของ คฤหบดี, คหปตานี ก็ว่า. (ส. คฺฤหปตฺนี; ป. คหปตานี).
  47. คุต : [คุด] (แบบ) ก. รักษา, คุ้มครอง, ปกครอง, มักใช้ประกอบท้ายศัพท์อื่น เช่น ธรรมคุต. (ป. คุตฺต; ส. คุปฺต).
  48. คุป, คุปต์ : (แบบ) ก. รักษา, คุ้มครอง, ปกครอง. (ส.; ป. คุตฺต).
  49. โคก ๒ : น. ชื่อปลาทะเลทุกชนิดในสกุล Anodontostoma และ Nematalosa วงศ์ Clupeidae หัวเล็ก ปากเล็ก ลําตัวสั้น แบนข้าง ท้องเป็นสันแหลม เกล็ด ที่สันท้องเป็นเหลี่ยมคมเรียงต่อกันคล้ายฟันเลื่อย พื้นลําตัวสีเงิน อยู่รวม กันเป็นฝูงเล็ก ๆ ตามชายฝั่งที่มีพื้นท้องทะเลเป็นโคลน, ตะเพียนนํ้าเค็ม ก็เรียก.
  50. ฆาต, ฆาต- : [คาด, คาดตะ-] น. การฆ่า, การทําลาย. ก. ตี เช่น เจ้าวิลาสฆาตกลอง เร่งกองรบ. (อภัย).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | [801-850] | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1174

(0.1091 sec)