Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ตา , then , ตะ, ตา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ตา, 1174 found, display 701-750
  1. การิตวาจก : [การิดตะ-] (ไว) ก. กริยาที่บอกว่าประธานเป็นการิตการกหรือผู้รับใช้, กริยาของประโยคที่แสดงว่าประธานทําหน้าที่เป็นการิตการก คือ เป็นผู้ถูกใช้ กริยาของการิตวาจกใช้กริยานุเคราะห์ ''ถูก'' ''ถูก-ให้'' หรือ ''ถูกให้'' เช่น ลูกจ้างถูกนายจ้างให้ทํางาน.
  2. วสันต, วสันต์ : [วะสันตะ, วะสัน] น. ฤดูใบไม้ผลิในคำว่า ฤดูวสันต์, วสันตฤดู ก็ว่า.(ป., ส.).
  3. ตโมไพรี : น. ไฟ. (ส. ตโมไพรี ว่า ศัตรูของความมืด).
  4. ตะบี้ตะบัน : (ปาก) ว. ซํ้า ๆ ซาก ๆ, ไม่รู้จักจบจักสิ้น, ไม่เปลี่ยนแปลง, เช่น เถียงตะบี้ตะบัน.
  5. ตะยองสะลา : น. งูบ้องตะลา.
  6. ตะรังกะนู : น. เรียกของบางอย่างที่มาจากเมืองตะรังกะนู เช่น ส้มตะรังกะนู พิมเสนตะรังกะนู. (ปัจจุบัน คือ รัฐตรังกานูในประเทศมาเลเซีย).
  7. ตะกร่อม : [-กฺร่อม] น. เครื่องมือจับปูทะเล. (ดู กะกร่อม).
  8. ตะครั่นตะครอ : ว. อาการครั่นเนื้อครั่นตัวสะบัดร้อนสะบัดหนาวเวลาเริ่มจะเป็นไข้หรือค ล้ายจะเป็นไข้.
  9. ตะคลับตะคล้าย : ก. คลับคล้าย. (ดึกดําบรรพ์).
  10. ตะปัดตะป่อง : ว. สะบัดสะบิ้ง, แสนงอน, กระตุ้งกระติ้ง, ตุปัดตุป่อง ก็ใช้.
  11. ตะลิงปลิง : [-ปฺลิง] น. ชื่อไม้ต้นชนิด Averrhoa bilimbi L. ในวงศ์ Oxalidaceae ใบคล้าย ใบมะยม ผลยาวคล้ายมะดันแต่มีร่องตื้น ๆ รสเปรี้ยว.
  12. ตะแลงแกง : น. ทางสี่แพร่ง, ต่อมาเลือนไปหมายถึงที่สําหรับฆ่านักโทษในสมัยโบราณ.
  13. ตะโล้ดโป๊ด : น. ชื่อกลองสองหน้าชนิดหนึ่ง ยาวประมาณ ๗๘ เซนติเมตร ใช้ตีประกอบการฟ้อนและการเล่นพื้นเมือง ทางภาคเหนือ, คู่กับ กลองแอว.
  14. ตะหนึ่งรัด : ว. เป็นใหญ่. (ช.).
  15. ตะเหลนเป๋น : ว. ใช้ประกอบคํา สูง หรือ ยาว หมายความว่า สูงผิดส่วน ยาวผิดส่วน.
  16. ตะเหลาะเปาะ : ว. กลมน่าดู, กะเหลาะเปาะ ก็ว่า.
  17. ตะแหง่ว, ตะแหง่ว ๆ : ว. รบเร้าออดอ้อนเรื่อยไปจนน่ารําคาญ.
  18. ตะแหมะแขะ : [-แหฺมะ-] ว. ใช้ประกอบคํา เตี้ย หมายความว่า เตี้ยผิดส่วน.
  19. ตะแหลนแป๋น : [-แหฺลน-] ว. ใช้ประกอบคํา แบน หมายความว่า แบนผิดส่วน.
  20. จิต, จิต- : [จิด, จิดตะ-] น. ใจ, สิ่งที่มีหน้าที่รู้ คิดและนึก, (โบ เขียนว่า จิตร), ลักษณนามว่า ดวง. (ป. จิตฺต).
  21. ปริต, ปริต-, ปริตตะ : [ปะริด, ปะริดตะ-] ว. น้อย. (ป. ปริตฺต; ส. ปรีตฺต).
  22. ภุกต–, ภุกต์ : [พุกตะ–] ว. ซึ่งกินแล้ว, ซึ่งครองแล้ว. (ส.; ป. ภุตฺต).
  23. มุต-, มุตตะ ๑ : [มุดตะ-] น. นํ้าปัสสาวะ, นํ้าเบา, เยี่ยว. (ป. มุตฺต; ส. มูตฺร).
  24. มุตะ : [มุ-ตะ] ก. รู้แล้ว. (ป.).
  25. ยักษ์ : น. อมนุษย์พวกหนึ่ง ถือกันว่ามีรูปร่างใหญ่โตน่ากลัว มีเขี้ยวงอก ใจดํา อํามหิต ชอบกินมนุษย์ กินสัตว์ โดยมากมีฤทธิ์เหาะได้จําแลงตัวได้, บางทีใช้ปะปนกับคําว่า อสูร รากษส และมาร ก็มี; เทวดาพวกหนึ่งใน สวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกและชั้นปรนิมมิตวสวัตดี; ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์ ศตภิษัช มี ๔ ดวง, ดาวพิมพ์ทอง หรือ ดาวสตะภิสชะ ก็เรียก. ว. โดย ปริยายหมายความว่า มีลักษณะหรืออาการอย่างยักษ์ เช่น ใจยักษ์ หน้า ยักษ์, มีลักษณะใหญ่เป็นพิเศษในพวก เช่น ปลาหมึกยักษ์. (ส. ยกฺษ ว่า อมนุษย์พวกหนึ่ง บริวารท้าวเวสวัณ; ป. ยกฺข).
  26. วิกฤต, วิกฤต, วิกฤติ, วิกฤติ : [วิกฺริด, วิกฺริดตะ,วิกฺริด, วิกฺริดติ] ว. อยู่ในขั้นล่อแหลมต่ออันตราย เช่น การเมืองอยู่ในขั้นวิกฤติ, มักใช้แก่เวลาหรือเหตุการณ์ เป็น วิกฤติกาล หรือ วิกฤติการณ์, อยู่ในระยะหัวเลี้ยวหัวต่อ เช่น มุมวิกฤติ จุดวิกฤติ. (ส.; ป. วิกต, วิกติ).
  27. สังยุตนิกาย : [สังยุดตะ] น. ชื่อคัมภีร์นิกายที่ ๓ แห่งพระสุตตันตปิฎก แปลว่า หมวดประมวล คือ ประมวลเรื่องประเภทเดียวกันไว้ด้วยกันทั้งหมด.
  28. อังคุตรนิกาย : [คุดตะระ] น. ชื่อคัมภีร์นิกายที่ ๔ แห่งพระสุตตันตปิฎก แสดง หลักธรรมโดยแบ่งเป็นหมวด เรียงลำดับตามจำนวนหัวข้อธรรมะ ตั้งแต่ ๑ หัวข้อถึง ๑๑ หัวข้อ.
  29. กระตรกกระตรำ : (โบ; กลอน) ก. ตรากตรํา เช่น หาเลี้ยงและโดยสฤษฎิตน กระตรกกระตรำก็นําพา. (กล่อมพญาช้าง).
  30. ขัดตะหมาด : (ปาก) ว. เรียกท่านั่งคู้เข่าทั้ง ๒ ข้างให้แบะลงที่พื้น แล้วเอาขาไขว้กันทับฝ่าเท้า ว่า นั่งขัดตะหมาด.
  31. คีต, คีต-, คีตกะ, คีตะ : [คีด, คีตะ-, คีตะกะ] (แบบ) น. เพลงขับ, การขับร้อง, เช่น แลคีต สําเนียงบรรสาน. (สมุทรโฆษ). (ป., ส.).
  32. เจ็ดตะคลี : [-คฺลี] น. ผ้าลายอย่างดีชนิดหนึ่ง, เขียนเป็น เจตตะคลี หรือ เจ็ตคลี ก็มี.
  33. ตะแก, ตะแก่ : น. ตัวแก เช่น ตะแก่เสียจริตผิดแล้วเหวย. (สังข์ทอง).
  34. ธุต, ธุตตะ : [ทุด, ทุด] (แบบ) น. นักเลง. (ป. ธุตฺต).
  35. บ้องตะลา : น. งูชนิดหนึ่ง, ตะยองสะลา ก็ว่า. (พจน. ๒๔๙๓).
  36. ปัจจันต-, ปัจจันต์ : [ปัดจันตะ-, ปัดจัน] (แบบ) ว. ที่สุดแดน, ปลายเขตแดน. (ป.).
  37. เป็นตุเป็นตะ : ว. อาการที่เล่าเป็นจริงเป็นจังเหมือนกับรู้เห็นมาด้วย ตนเอง เช่น พูดเป็นตุเป็นตะ.
  38. มหาภารตะ : [มะหาพาระตะ] น. ชื่อบทประพันธ์มหากาพย์เรื่องใหญ่เรื่องหนึ่งของอินเดีย, คู่กับ รามายณ คือ รามเกียรติ์. (ส.).
  39. วินาศสันตะโร : [วินาด] (ปาก) ว. ความเสียหายป่นปี้ เช่น รถชนกันวินาศสันตะโร.
  40. สักฏะ, สักตะ : [สักกะตะ] (แบบ) น. ภาษาสันสกฤต. (ป. สกฺกฏ, สกฺกต).
  41. สังขต, สังขตะ : [ขะตะ] ว. ที่ปรุงแต่งขึ้น (ใช้ในทางศาสนา). (ป.).
  42. อสิตะ : [อะสิตะ] ว. มีสีดํา, มีสีคลํ้า, มีสีแก่. (ป., ส.).
  43. อัตตโนบท : น. ''บทเพื่อตน'', ในตำราไวยากรณ์บาลีและสันสกฤตใช้เป็น เครื่องหมายให้ทราบว่า เป็นกริยากรรมวาจกหรือภาววาจก เช่น สูเทน โอทโน ปจิยเต = ข้าวสุกอันพ่อครัวหุงอยู่, ปจิยเต เป็น กริยาอัตตโนบท, ตรงข้ามกับ ปรัสสบท.
  44. อายตะ : [ยะตะ] ว. ยืด, แผ่ออกไป, กว้างขวาง, ยาว. (ป., ส.).
  45. อำมาตยาธิปไตย : [อำหฺมาดตะยาทิปะไต, อำหฺมาดตะยาทิบปะไต] น. ระบอบการปกครองที่ขุนนางหรือข้าราชการเป็นใหญ่. (อ. bureaucracy).
  46. กฐินัตถารกรรม : ดู กฐิน, กฐิน-.
  47. กฐินัตถารกรรม : [กะถินัดถาระกํา] น. การกรานกฐิน. (ป. ก??น + อตฺถาร + ส. กรฺม).
  48. เขียดตะปาด : ขีดให้เป็นตัวหนังสือหรือเลข, ขีดให้เป็นเส้นหรือรูปต่าง ๆ, วาด, แต่งหนังสือ.
  49. ตระแตร้น, ตะแตร้น : [ตฺระแตฺร้น, -แตฺร้น] (กลอน) ว. เสียงช้างร้อง.
  50. ตรีกันสวาต : [-สะหฺวาด] น. กลิ่นแก้ลม ๓ อย่าง คือ ผลเร่วใหญ่ ผลจันทน์เทศ
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | [701-750] | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1174

(0.1155 sec)