Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ตา , then , ตะ, ตา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ตา, 1174 found, display 751-800
  1. ตะคริว, ตะคิว : น. อาการหดตัวของกล้ามเนื้อและค้างอยู่ ทําให้เกิดการเจ็บปวด.
  2. ถมตะทอง : น. เครื่องถมที่ทําโดยวิธีเปียกทองทาทับลงบนเส้นเงิน.
  3. นั่งขัดตะหมาด : (ปาก) ก. นั่งขัดสมาธิ.
  4. ปัจจัตตะ : (แบบ) ว. เฉพาะตน. (ป.).
  5. ผิตะ ผีตะ : ว. มั่งคั่ง, ผึ่งผาย, กว้างขวาง. (ป.).
  6. ผีตะ : ว. มั่งคั่ง, ผึ่งผาย, กว้างขวาง. (ป.).
  7. มิจฉากัมมันตะ : น. ''การงานอันผิด'' คือ ประพฤติกายทุจริต. (ป.).
  8. แม่ตะงาว : น. ชื่องูขนาดเล็กชนิด Boiga multomaculata ในวงศ์ Colubridae หัวโต ตาโต ตัวยาวเรียว สีนํ้าตาล ลายสีนํ้าตาลเข้ม ออกหากินในเวลากลางคืน มีพิษอ่อนมาก.
  9. ยั่นตะนี : น. ผ้ามัสลินพิมพ์ดอก. (เทียบฮินดูสตานี jamdani).
  10. รักดะ, รักตะ : ว. แดง; มีความกําหนัด, มีความรักใคร่. (ส. รกฺต; ป. รตฺต).
  11. รัชด–, รัชต– : [รัดชะ–] น. รชตะ, เงิน. (ส., ป. รชต).
  12. วสันตฤดู : น. ฤดูใบไม้ผลิ, ฤดูวสันต์ ก็ว่า.
  13. สันตะวา : น. ชื่อไม้นํ้าชนิด Ottelia alismoides (L.) Pers. ในวงศ์ Hydrocharitaceae ใบบาง สีเขียวอมนํ้าตาล กินได้.
  14. สัมภัต, สัมภัตตะ : น. ผู้ร่วมคบหากัน, เพื่อนร่วมกินร่วมนอน. (ป. สมฺภตฺต; ส. สมฺภกฺต).
  15. สัมมากัมมันตะ : น. ''การงานชอบ'' คือ ประพฤติกายสุจริต.(ป.).
  16. อิติวุตตกะ : น. ชื่อคัมภีร์ในพระพุทธศาสนาส่วน ๑ ใน ๙ ส่วนเรียกว่า นวังคสัตถุศาสน์. (ป.).
  17. อึดตะปือ : ว. มากมาย, ล้นหลาม.
  18. ปาฏลิ : [-ตะ] (แบบ) น. ไม้แคฝอย. (ป.).
  19. มิต- : [-ตะ-] ว. พอประมาณ, น้อย. (ป.).
  20. กด ๑ : น. เรียกคำหรือพยางค์ที่มีตัว จ ฉ ช ซ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ด ต ถ ท ธ ศ ษ ส สะกด ว่า แม่กด หรือ มาตรากด.
  21. กรวน : [กฺรวน] (ถิ่น-ภูเก็ต) น. กลอยทําเป็นชิ้นเล็ก ๆ. (วิทยาจารย์ ล. ๑๖ ต. ๒).
  22. กระ ๔ : ใช้เป็นพยางค์หน้า (๑) ซึ่งเดิมเป็น ก กํา กุ ข ต ส เช่น กบิล - กระบิล, กําแพง - กระแพง, กุฎี - กระฎี, ขจัด - กระจัด, ตวัด - กระหวัด, สะท้อน - กระท้อน. (๒) โบราณใช้แทน ตระ เช่น ตระกูล - กระกูล, ตระลาการ - กระลาการ. (อัยการเบ็ดเสร็จ). (๓) เติมหน้าคําโดยไม่มีความหมายก็มี เช่น ซุ้ม - กระซุ้ม, โดด - กระโดด, พุ่ม - กระพุ่ม, ยาจก - กระยาจก, เติมให้มีความหมายแน่นแฟ้นขึ้นก็มี เช่น ทํา - กระทํา, ทุ้ง - กระทุ้ง, เสือกสน - กระเสือกกระสน. (๔) ย้าหน้าคําอันขึ้นต้นด้วย ก ในบทกลอน คือ กระกรี๊ด กระกรุ่น กระกลับกลอก กระเกริ่น กระเกรียม กระเกรียว กระเกรี้ยว กระเกริก. (๕) นอกนี้เป็น กระ มาแต่เดิม เช่น กระทรวง กระบือ.
  23. ขนอบ ๑ : [ขะหฺนอบ] ก. นิ่ง. (ต.).
  24. ขมีขมัน : [ขะหฺมีขะหฺมัน] ว. รีบเร่งในทันทีทันใด. (ข. ขฺมี; ต. ขมัน).
  25. คณ-, คณะ : [คะนะ-] น. หมู่, พวก, (ซึ่งแยกมาจากส่วนใหญ่); กลุ่มคนผู้ร่วมกันเพื่อ การอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น คณะกรรมการ คณะสงฆ์ คณะนักท่องเที่ยว; หน่วยงานในมหาวิทยาลัยหรือสถาบันที่เทียบเท่า ซึ่งรวมภาควิชาต่าง ๆ ที่จัดการเรียนการสอนวิชาในสายเดียวกัน เช่น คณะนิติศาสตร์ คณะ อักษรศาสตร์; กลุ่มคำที่จัดให้มีลักษณะเป็นไปตามแบบรูปของร้อยกรอง แต่ละประเภท ประกอบด้วยบท บาท วรรค และคำ ตามจำนวนที่กำหนด, หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการแต่งฉันท์วรรณพฤติ มี ๘ คณะ คือ ช คณะ ต คณะ น คณะ ภ คณะ ม คณะ ย คณะ ร คณะ ส คณะแต่ละคณะมี ๓ คำ หรือ ๓ พยางค์ โดยถือครุและลหุเป็นหลัก. (ป., ส.).
  26. จักกาย : น. แม่ทัพ. (ต.).
  27. ชำลา : ว. ที่ผึ่งแดดยังไม่แห้งสนิท (ใช้แก่ปลา). (ต. ชมฺร ออกเสียงว่า เจมเรียะ ว่า เหี่ยว, ความเหี่ยว).
  28. ชุ : (กลอน) น. ต้นไม้ เช่น กินลูกชุลุเพรางาย. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์). (ต. ชุ ว่า ต้นไม้).
  29. ตละ ๒ : [ตะละ] น. เจ้า. (ต.).
  30. ธาตุมมิสสา : [ทาตุมมิดสา] น. ชื่อฉันท์วรรณพฤติ กําหนดด้วย ๓ คณะ คือ ม ภ ต คณะ กับลงท้ายเป็นครุอีก ๒ พยางค์ (ตามแบบว่า ธาตุมฺมิสฺสา ยติ สา มฺภา ตคา โค) ตัวอย่างว่า จักสําแดงมิตร สุจริตจิตนามขนาน บัญญัติคือสมาน สุขทุข เสมอประดุจกัน. (ชุมนุมตํารากลอน).
  31. บัง ๒ : คําพยางค์หน้า เมื่ออยู่หน้าพยัญชนะ ก วรรค เช่น บังเกิด บังควร บังคับ หรือเมื่ออยู่หน้าเศษวรรค เช่น บังวาย บังหวน บังอาจ, เมื่อ อยู่หน้าพยัญชนะ จ วรรค หรือ ต วรรค แปลงเป็น บัน เช่น บันเจิด บันโดย, เมื่ออยู่หน้าพยัญชนะ ป วรรค เขียนเป็นสระอํา เช่น บําเพ็ญ.
  32. เบญจวรรค : น. วรรคทั้ง ๕ ได้แก่ พยัญชนะตั้งแต่ ก ถึง ม คือ กะ วรรค จะ วรรค ฏะ วรรค ตะ วรรค ปะ วรรค, พวก ๕.
  33. พลาย : [พฺลาย] ว. เรียกช้างตัวผู้ว่า ช้างพลาย. (ต.).
  34. มะ ๒ : น. นาย (ใช้นําหน้าชื่อคน). (ต.).
  35. เมตริกตัน : น. ชื่อมาตราชั่งตามวิธีเมตริก มีอัตราเท่ากับ ๑,๐๐๐ กิโลกรัม หรือ ๖๐ หาบ, อักษรย่อว่า ต. (อ. metric ton).
  36. แม่ : น. หญิงผู้ให้กําเนิดหรือเลี้ยงดูลูก, คําที่ลูกเรียกหญิงผู้ให้กําเนิดหรือเลี้ยงดูตน; คําที่ผู้ใหญ่เรียกผู้หญิงที่มีอายุน้อยกว่าด้วยความสนิทสนมหรือรักใคร่เป็นต้นว่า แม่นั่น แม่นี่; คําใช้นําหน้านามเพศหญิง แปลว่า ผู้เป็นหัวหน้า เช่น แม่บ้าน; ผู้หญิงที่กระทํากิจการหรืองานอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ค้าขาย เรียกว่า แม่ค้า ทําครัว เรียกว่า แม่ครัว; เรียกสัตว์ตัวเมียที่มีลูก เช่น แม่ม้า แม่วัว; เรียกคน ผู้เป็นหัวหน้าหรือเป็นนายโดยไม่จํากัดว่าเป็นชายหรือหญิง เช่น แม่ทัพ แม่กอง; คํายกย่องเทวดาผู้หญิงบางพวก เช่น แม่คงคา แม่ธรณี แม่โพสพ, บางทีก็ใช้ว่า เจ้าแม่ เช่น เจ้าแม่กาลี; เรียกสิ่งที่เป็นประธานของสิ่งต่าง ๆ ในพวกเดียวกัน เช่น แม่กระได แม่แคร่ แม่แบบ; เรียกชิ้นใหญ่กว่าในจําพวกสิ่งที่สําหรับกัน เช่น แม่กุญแจ คู่กับ ลูกกุญแจ; แม่นํ้า เช่น แม่ปิง แม่วัง; คําหรือพยางค์ที่มีแต่สระ ไม่มีตัวสะกด เรียกว่า แม่ ก กา, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ก ข ค ฆ สะกด เรียกว่า แม่กก, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ง สะกด เรียกว่า แม่กง, คําหรือพยางค์ที่มีตัว จ ฉ ช ซ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ด ต ถ ท ธ ศ ษ ส สะกด เรียกว่า แม่กด, คําหรือพยางค์ ที่มีตัว ญ ณ น ร ล ฬ สะกด เรียกว่า แม่กน, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ม สะกด เรียกว่า แม่กม, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ย สะกด เรียกว่า แม่เกย แต่ในมูลบทบรรพกิจมี ย ว อ สะกด, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ว สะกด เรียกว่า แม่เกอว.
  37. สมัคร : [สะหฺมัก] ก. ยื่นความจำนงขอเข้าร่วมเป็นสมาชิกหรือร่วมในกิจกรรม อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นต้น เช่น สมัครเป็นสมาชิกสมาคม สมัครเข้า ทำงาน, บางทีก็มีคํา ใจ ประกอบอยู่ด้วย ซึ่งเป็นคําผสมชนิดที่ต้องการ เน้น เช่น ใจสมัคร ว่า ใจที่สมัคร, สมัครใจ ว่า สมัครด้วยความเต็มใจ. (ต. สมัค ว่า เต็มใจ; ป. สมคฺค; ส. สมคฺร ว่า พร้อม).
  38. สมิง : [สะหฺมิง] น. เสือที่เชื่อว่าเดิมเป็นคนที่มีวิชาอาคมแก่กล้าแล้วต่อมา สามารถจำแลงร่างเป็นเสือได้ หรือเสือที่กินคนมาก ๆ เข้า เชื่อกันว่า วิญญาณคนตายเข้าสิง ต่อมาสามารถจำแลงร่างเป็นคนได้ เรียกว่า เสือสมิง; ตําแหน่งขุนนางผู้ใหญ่ฝ่ายมอญ. (ต. สมิง ว่า พระเจ้าแผ่นดิน, เจ้าเมือง, ผู้ปกครอง).
  39. หกโล่ : [หกกะโล่] ก. หกกลิ้ง. (ต. โล่ ว่า กลิ้ง).
  40. อโฆษะ : ว. ไม่ก้อง, เสียงสระหรือพยัญชนะซึ่งขณะที่เปล่งออกมาเส้นเสียง ไม่สั่น ในภาษาไทยได้แก่เสียง อ เมื่อเป็นพยัญชนะต้น เสียง บ ด เมื่อเป็นพยัญชนะสะกด และเสียง ก ค จ ช ซ ต ท ป พ ฟ ฮ เสียงสระ ในภาษาไทยไม่เป็นอโฆษะ, (ไว) เรียกพยัญชนะในภาษาบาลีและ สันสกฤตที่มีเสียงไม่ก้องว่า พยัญชนะอโฆษะ ได้แก่ พยัญชนะตัวที่ ๑, ๒ ของวรรค และ ศ ษ ส. (ส.; ป. อโฆส).
  41. อักษรกลาง : [อักสอน] น. พยัญชนะที่คําเป็นมีพื้นเสียงเป็นเสียง สามัญ ผันได้ครบ ๔ รูป ๕ เสียง มีรูปวรรณยุกต์กับเสียงวรรณยุกต์ ตรงกัน เช่น กา ก่า ก้า ก๊า ก๋า คําตายมีพื้นเสียงเป็นเสียงเอก ผันได้ ๔ เสียง มี ๓ รูป คือ พื้นเสียงเป็นเสียงเอก ผันด้วยวรรณยุกต์ ?เป็น เสียงโท ผันด้วยวรรณยุกต์ ? เป็นเสียงตรี ผันด้วยวรรณยุกต์ ? เป็นเสียง จัตวา เช่น จะ จ้ะ จ๊ะ จ๋ะ มี ๙ ตัว คือ ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ.
  42. อันด๊าก : น. ลิ้น. (ต.).
  43. ตจ- : [ตะจะ-] น. หนัง, เปลือกไม้. (ป.).
  44. ตจปัญจกกรรมฐาน : [ตะจะปันจะกะกำมะถาน] น. กรรมฐานอัน บัณฑิตกําหนดด้วยอาการมีหนังเป็นที่ ๕ เป็นอารมณ์ คือ กรรมฐานที่ ท่านสอนให้พิจารณาส่วนต่าง ๆ ของร่างกายตั้งแต่ผม ขน เล็บ ฟัน ไป ถึงหนังเป็น ๕ อย่าง. (ป.).
  45. ตจสาร : [ตะจะสาน] น. ต้นไม้มีผิวเปลือกแข็งเช่นต้นไผ่. (ป. ตจสาร ว่า ต้นไม้มีเปลือกเป็นแก่น).
  46. ตติย- : [ตะติยะ-] ว. ที่ ๓, คํารบ ๓, มักใช้ประกอบหน้าคําอื่น เช่น ตติยวาร. (ป.).
  47. ตถาคต : [ตะถาคด] น. พระนามพระพุทธเจ้า. (ป. ตถาคต ว่า พระผู้ไปแล้ว อย่างนั้น เป็นคําที่พระพุทธเจ้าทรงเรียกพระองค์เอง).
  48. ตนัย : [ตะไน] (แบบ) น. ลูกชาย. (ป., ส.).
  49. ตนุ ๑ : [ตะนุ] (แบบ) น. ตัว, ตน. ส. ฉัน, ข้าพเจ้า. (ป., ส.).
  50. ตม- ๑, ตโม- : [ตะมะ-] น. ความมืด, ความเศร้าหมอง, ความเขลา. (ป.; ส. ตมสฺ).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | [751-800] | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1174

(0.1096 sec)