Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ตา , then , ตะ, ตา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ตา, 1174 found, display 901-950
  1. ทุคตะ : [ทุกคะตะ] ว. ยากจน, เข็ญใจ. (ป. ทุคฺคต ว่า ถึงความยากแค้น).
  2. ทุตวิลัมพิตมาลา : [ทุตะวิลำพิตะ-] น. ชื่อฉันท์วรรณพฤติ กําหนดด้วย ๔ คณะ คือ น ภ ภ ร (ตามแบบว่า ทุตวิลมฺพิตมาห นภา ภรา) ตัวอย่างว่า ชินกถาคณนา วนิดาประมาณ พฤศติเพธพิสดาร อดิเรกภิปราย.
  3. ทุนนิมิต : ทุนนิมิด] (แบบ) น. ลางร้าย; เครื่องหมายอันชั่วร้าย. (ป. ทุนฺนิมิตฺต).
  4. ทุ่ม : ก. เอาของหนัก ๆ ทิ้งลงไป เช่น เอาก้อนหินทุ่มลงไปในนํ้า, ทิ้งทับลง, ทิ้งถมลง, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ทุ่มเงิน; ตี เช่น กระทุ่มดั่งทุ่มกร ตีอก เรียมฤๅ. (ตะเลงพ่าย). น. วิธีนับเวลา ตามประเพณีสําหรับ ๖ ชั่วโมงแรกของกลางคืน ตั้งแต่ ๑๙ นาฬิกา ถึง ๒๔ นาฬิกา เรียกว่า ๑ ทุ่ม ถึง ๖ ทุ่ม, แต่ ๖ ทุ่ม นิยมเรียกว่า สองยาม.
  5. ธงเยาวราชน้อย : (กฎ) น. ธงสําหรับองค์สมเด็จพระยุพราช แบ่งความยาว ออกเป็น ๒ ตอน ตอนต้นมีลักษณะและสีอย่างเดียวกับธงเยาวราชใหญ่ แต่ กว้างไม่เกิน ๖๐ เซนติเมตร ตอนปลายมีลักษณะเป็นชายต่อสีขาวแปลงเป็น รูปธงยาวเรียวโดยให้ปลายสุดกว้างครึ่งหนึ่งของตอนต้น ปลายธงตัดเป็น แฉกรูปหางนกแซงแซว ลึก ๓ ใน ๘ ส่วนของความยาวของผืนธง ความยาว ของผืนธงเป็น ๘ เท่าของความกว้างของตอนต้น ธงนี้ถ้าชักขึ้นแทนธง เยาวราชใหญ่ หมายความว่า โปรดเกล้าฯ ให้งดการยิงสลุตถวายคํานับ.
  6. ธตรฐ : [ทะตะรด] น. ชื่อท้าวจาตุมหาราชองค์หนึ่ง ประจําทิศบูรพา.
  7. ธรรมายตนะ : [ทํามายะตะนะ] น. แดนคือธรรมารมณ์, แดนแห่งมนัสคือใจ ได้แก่อารมณ์ที่ใจรู้ หรือเรื่องที่ใจรู้. (ป. ธมฺมายตน).
  8. ธัญเขต : น. นา. (ป. ธ?ฺ?เขตฺต; ส. ธานฺยเกฺษตฺร).
  9. ธาตวากร : [ทาตะวากอน] (แบบ) น. บ่อแร่. (ส.).
  10. นฤตย, นฤตย์ : [นะริดตะยะ, นะริด] น. การระบํา, การฟ้อนรํา, การเต้นรํา. (ส.).
  11. นฤปัตนี : [ปัดตะนี] น. พระราชินี. (ส.).
  12. นวังคสัตถุศาสน์ : [นะวังคะสัดถุสาด] น. คําสอนของพระศาสดา คือ พระพุทธเจ้ามีองค์ ๙ คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ. (ป.).
  13. นักขัต, นักขัต : [นักขัด, นักขัดตะ] น. ดาว, ดาวฤกษ์. (ดู นักษัตร). (ป. นกฺขตฺต, ส. นกฺษตฺร).
  14. นั่งขัดสมาธิ : [สะหฺมาด] ก. นั่งคู้เข่าทั้ง ๒ ข้างให้แบะลงที่พื้น แล้วเอา ขาไขว้กันทับฝ่าเท้า, (ปาก) นั่งขัดตะหมาด.
  15. นัฏ, นัฏกะ : [นัด, นัดตะกะ] (แบบ) น. ผู้ฟ้อนรํา. (ป., ส. นฏฺฏ, นฏฺฏก).
  16. นาฏกะ : [นาตะกะ, นาดตะกะ] (แบบ) น. ผู้ฟ้อนรํา. (ป., ส.).
  17. นาฏดนตรี : [นาตะดนตฺรี] น. ลิเก.
  18. นาฏ, นาฏ : [นาด, นาตะ, นาดตะ] น. นางละคร, นางฟ้อนรํา, ใช้ประกอบกับ คําอื่น หมายความว่า หญิงสาวสวย เช่น นางนาฏ นุชนาฏ. (ป., ส.). นาฏกรรม [นาดตะกํา] น. การละครหรือการฟ้อนรํา; (กฎ) งานเกี่ยวกับ การรํา การเต้น การทําท่า หรือการแสดงที่ประกอบขึ้นเป็นเรื่องราว และ หมายความรวมถึงการแสดงโดยวิธีใบ้ด้วย. (ส.).
  19. นาฏย : [นาดตะยะ] (แบบ) ว. เกี่ยวกับการฟ้อนรํา, เกี่ยวกับการแสดงละคร, เช่น นาฏยศาลา. (ส. นาฏฺย).
  20. นาฏศิลป์ : [นาดตะสิน] น. ศิลปะแห่งการละครหรือการฟ้อนรํา. (ส.).
  21. นิกาย : น. หมู่, พวก, หมวด, ใช้เกี่ยวกับศาสนา ในกรณีเช่นคณะนักบวช ในศาสนาเดียวกันที่แยกออกไปเป็นพวก ๆ เช่น มหานิกาย ธรรมยุติกนิกาย นิกายโรมันคาทอลิก นิกายโปรเตสแตนต์; เรียก คัมภีร์พระสุตตันตปิฎกที่แยกออกเป็น ๕ หมวดใหญ่ คือ ทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย '';สังยุตนิกาย อังคุตรนิกาย ขุทกนิกาย. (ป., ส.).
  22. นิตย ๑, นิตย์ : [นิดตะยะ, นิด] ว. เสมอไป, สมํ่าเสมอ, มักใช้ว่า เป็นนิตย์. (ส.; ป. นิจฺจ).
  23. นิตย ๒ : [นิดตะยะ] น. นิติ เช่น ผู้ชํานินิตยสาตรไสย. (ตะเลงพ่าย). (แผลงมาจาก นิติ).
  24. นิมมานรดี : [นิมมานะระดี, นิมมานอระดี] น. ชื่อสวรรค์ชั้นที่ ๕ แห่งสวรรค์ ๖ ชั้น ได้แก่ จาตุมหาราชหรือจาตุมหาราชิกหรือจาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี และปรนิมมิตวสวัตดี, มีท้าวสุนิมมิตเป็นผู้ครอง, ในบทกลอนใช้ว่า นิมมานรดีต ก็มี เช่น ช่อชั้นนิมมานรดีต. (อิเหนา). (ป.; ส. นิรฺมาณ + รติ).
  25. นิมิต ๒ : น. เครื่องหมาย, ลาง, เหตุ, เค้ามูล; (แบบ) อวัยวะสืบพันธุ์. (ป., ส. นิมิตฺต).
  26. นิยต, นิยต : [ยด, ยะตะ] (แบบ) ก. กําหนด เช่น พระพเนจรจรหลํ่า ได้หลายคํ่า หลายวัน ถึงแดนอันจะนิยต. (ลอ). (แบบ) ว. เที่ยง, แท้, แน่. (ป., ส.); (การศึกษา) ตระหนักแน่, เป็นที่ยอมรับ, เชิงสร้างสรรค์, ทางบวก. (อ. positive).
  27. นิยุต ๒ : (แบบ) ก. ประกอบ, เทียม, ทําให้แน่น. (ป. นิยุตฺต).
  28. นิรัติศัย : [รัดติไส] (แบบ) ว. พิเศษยิ่ง, ประเสริฐยิ่ง. (ส. นิรฺ + อติศย). นิรันดร, นิรันตร [รันดอน, รันตะระ] ว. ตลอดไปไม่เว้นว่าง, ติดต่อกันตลอดไป. (ป.).
  29. นิรันตราย : [รันตะราย] (แบบ) ว. ปราศจากอันตราย. (ป.).
  30. เนมิตก, เนมิตกะ : [เนมิดตะกะ] (แบบ) น. หมอดูทายลักษณะหรือโชคลาง. (ป. เนมิตฺตก).
  31. บรรพต, บรรพต- : [บันพด, บันพดตะ-] น. ภูเขา. (ส. ปรฺวต; ป. ปพฺพต).
  32. บานเกล็ด : น. บานหน้าต่างหรือบานประตูซึ่งใช้ไม้หรือกระจก แผ่นเล็ก ๆ พาดขวางซ้อนเหลื่อมกันเป็นเกล็ด บางชนิดดึงหรือ หมุนให้เกล็ดเหล่านั้นเปิดปิดได้พร้อม ๆ กัน. บานตะเกียง, บานตะโก้, บานตะไท, บานเบอะ, บานเบิก,
  33. บุญเขต : [บุนยะ-] น. เนื้อนาบุญ. (ป. ปุญ?กฺเขตฺต).
  34. บุพนิมิต : น. ลางที่บอกเหตุขึ้นก่อน. (ป. ปุพฺพนิมิตฺต).
  35. เบ็ดเตล็ด : [เบ็ดตะเหฺล็ด] ว. เล็ก ๆ น้อย ๆ หลาย ๆ อย่างรวมกัน เช่น ของ เบ็ดเตล็ด, โดยปริยายหมายความว่า ไม่สู้จะสําคัญอะไรนัก เช่น เรื่องเบ็ดเตล็ด.
  36. ปฏิภาคนิมิต : น. ''อารมณ์เทียบเคียง'' คือ เมื่อพบเห็นสิ่งใดจนติดตา หลับตาเห็นแล้วอาจนึกทายส่วนหรือแบ่งส่วนแห่งสิ่งนั้นให้สมรูป สมสัณฐาน เรียกว่า ปฏิภาคนิมิต. (ป. ปฏิภาคนิมิตฺต; ส. ปฺริตภาค + นิมิตฺต).
  37. ปรตยักษ์ : [ปฺรดตะยัก] (กลอน) ก. ประจักษ์. (ส. ปฺรตฺยกฺษ; ป. ปจฺจกฺข).
  38. ปรตยาค : [ปฺรดตะยาก] (กลอน) ก. ประจาค, บริจาค. (ส. ปฺรตฺยาค; ป. ปริจฺจาค).
  39. ปรนิมมิตวสวัตดี : [ปะระนิมมิตตะวะสะวัดดี, ปอระ-] น. ชื่อสวรรค์ชั้นที่ ๖ แห่ง สวรรค์ ๖ ชั้น ได้แก่ จาตุมหาราชหรือจาตุมหาราชิกหรือจาตุ มหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี และปรนิมมิตวสวัตดี, มีท้าววสวัตดีมารเป็นผู้ครอง.
  40. ปรมาตมัน : [ปะระมาดตะมัน] (ปรัชญา) น. อาตมันสูงสุด เป็น ต้นกําเนิดและที่รวมของทุกสิ่งทุกอย่างในจักรวาล. (ส. ปรม + อาตฺมนฺ).
  41. ปรสิต, ปรสิต- : [ปะระสิด, ปะระสิดตะ-] น. (แพทย์) สัตว์พวกพยาธิที่อาศัยอยู่ใน มนุษย์และสัตว์; (เกษตร) ตัวเบียน เช่น กาฝาก. (อ. parasite).
  42. ปรสิตวิทยา : [ปะระสิดตะวิดทะยา, ปะระสิดวิดทะยา] (แพทย์) น. วิชาที่ว่าด้วยพยาธิ.
  43. ประตยาค : [ปฺระตะยาก] ก. ประจาค. (ส. ปฺรตฺยาค).
  44. ประทุษฏจิต, ประทุษฐจิต : [ปฺระทุดตะจิด, ปฺระทุดถะจิด] น. จิตร้าย, จิตโกรธ.
  45. ประยุกต์ : ก. นําความรู้ในวิทยาการต่าง ๆ มาปรับใช้ให้เป็นประโยชน์. ว. ที่นํา ความรู้มาปรับใช้ให้เป็นประโยชน์ เช่น วิทยาศาสตร์ประยุกต์ จิตวิทยา ประยุกต์. (ส. ปฺรยุกฺต; ป. ปยุตฺต).
  46. ปรัตยนต์ : [ปะรัดถะจะ-] น. ความประพฤติให้เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น. (ป.). [ปฺรัดตะยัก] (โบ; กลอน) ว. ประจักษ์. (ส. ปฺรตฺยกฺษ; ป. ปจฺจกฺข).
  47. ปรัตยักษ์ : [ปฺรัดตะยัก] (โบ; กลอน) ว. ประจักษ์. (ส. ปฺรตฺยกฺษ; ป. ปจฺจกฺข).
  48. ปรัตยันต์ : [ปฺรัดตะยัน] (โบ; กลอน) ว. ปัจจันต์. (ส.; ป. ปจฺจนฺต).
  49. ปรัตยัย : [ปฺรัดตะไย] (โบ; กลอน) น. ปัจจัย. (ส. ปฺรตฺยย; ป. ปจฺจย).
  50. ปรัตยุตบัน, ปรัตยุบัน : [ปฺรัดตะยุดบัน, ปฺรัดตะยุบัน] น. ปัจจุบัน. (ส. ปฺรตฺยุตฺปนฺน; ป. ปจฺจุปฺปนฺน).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | [901-950] | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1174

(0.1075 sec)