Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ตา , then , ตะ, ตา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ตา, 1174 found, display 151-200
  1. กระเจาะ ๑ : ว. มีแผลเป็นที่ลูกตา เรียกว่า ตากระเจาะ.
  2. กระด้ง : น. ภาชนะรูปแบน ขอบกลม สําหรับฝัดข้าวเป็นต้น, ถ้าขนาดใหญ่ เรียกว่า กระด้งมอญ, ถ้ามีตาห่าง เรียกว่า ตะแกรง.
  3. กระดอง : น. ส่วนแข็งที่หุ้มตัวสัตว์บางชนิดเช่น เต่า ปู หรือแมงดาทะเล. (ทางเหนือว่า ออง).
  4. กระเต็น : น. ชื่อนกชนิดหนึ่งในวงศ์ Alcedinidae หัวโต คอสั้น ปากแหลมยาวตรงและแข็งแรง ส่วนใหญ่มีสีสวยสด สะดุดตา หากินโดยวิธีพุ่งตัวลงจับปลาในน้ำ มีหลายชนิด เช่น กระเต็นปักหลักหรือ ปักหลัก (Ceryle rudis) กระเต็นน้อยธรรมดา (Alcedo atthis)กระเต็นอกขาว (Halcyon smyrnensis).
  5. กระทุงหมาบ้า : น. ชื่อไม้เถาชนิด Dregea volubilis (L.f.) Benth. ex Hook.f. ในวงศ์ Asclepiadaceae มียางขาวเป็นพิษ ใบมนหรือรูปไข่ ปลายแหลม โคนใบเว้าหรือป้าน ออกเป็นคู่ตรงข้ามกันตามลําต้น ดอกสีเขียวอ่อนเป็นพวงกลม ใช้ทํายา, ฮ้วนหมู ก็เรียก.
  6. กระทุ่ม ๑ : น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางและขนาดใหญ่ชนิด Anthocephalus chinensis (Lam.) A. Rich. ex Walp. ในวงศ์ Rubiaceae ใบออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน ตามลํากิ่งและในระหว่างใบมีหูใบรูปสามเหลี่ยมปลายแหลมติดกับ กิ่งทั้ง ๒ ด้าน ดอกเป็นช่อกลมสีเหลืองอ่อนหอม เนื้อไม้เหลือง หรือขาว ใช้ทําเสากระดาน และเยื่อกระดาษชนิดเลวได้, กระทุ่มบกตะกู หรือ ตะโกส้ม ก็เรียก. (เทียบ ป. กทมฺพ).
  7. กระทู้ ๓ : น. ชื่อหนอนของแมลงกลุ่มหนึ่งในวงศ์ Noctuidae หรือ Phalaenidae ลําตัวอ่อนนุ่ม ผิวเป็นมัน มีขนตามลําตัวน้อย ส่วนใหญ่สีคล้ำ ทางด้านท้องสีอ่อนกว่า มักมีแถบหรือ เส้นสีต่าง ๆ เช่น สีส้มอมน้ำตาล เหลืองอมขาว พาดตามยาว ที่สันหลังและข้างลําตัว มีขาจริง ๓ คู่ ขาเทียม ๕ คู่ กินพืช โดยมักจะกัดต้นพืชให้ขาดออกจากกัน ทําให้เหลือแต่ตอโผล่ เหนือพื้นดิน มองคล้ายกระทู้หรือซอไม้ไผ่ที่ปักเป็นหลัก ชนิดที่รู้จักกันทั่วไป เช่น หนอนกระทู้ควายพระอินทร์ หรือ หนอนกระทู้คอรวง (Mythimna separata) ที่ทําลายต้นข้าว.
  8. กระบอก ๑ : น. ไม้ไผ่ที่ตัดเป็นท่อน, ของอื่น ๆ ที่มีรูปคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น กระบอกปืน กระบอกตา; ลักษณนามบอกสัณฐาน สําหรับใช้กับ ของกลมยาวแต่กลวง เช่น ข้าวหลาม ๓ กระบอก; เสื้อชนิดหนึ่ง ในสมัยรัชกาลที่ ๔ แขนยาว ช่วงตัวสั้นเสมอบั้นเอว แขนรัด ตัวรัด คอสูง เรียกว่า เสื้อกระบอก; หุ่นชนิดหนึ่งมีแต่ส่วนหัวและ มือ ๒ ข้าง ลำตัวทำด้วยไม้กระบอก มีผ้าเย็บเป็นถุงคลุม เวลาเชิด ใช้มือสอดเข้าไปจับไม้กระบอกนั้นเชิด เรียกว่า หุ่นกระบอก; (เรขา) รูปตันที่กําเนิดขึ้นจากการเขียนรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยใช้ด้านใดด้าน หนึ่งเป็นแกนแล้วหมุนโดยรอบฐาน ปลายทั้ง ๒ ข้างมีหน้าเป็น วงกลม เรียกว่า รูปทรงกระบอก หรือ รูปกระบอก, ลักษณะได้แก่ รูปที่มีสัณฐานกลมยาวและตรงซึ่งมีส่วนสัดกลมเท่ากันตั้งแต่ต้น จนปลาย. (อ. cylinder). (รูปภาพ กระบอก)
  9. กระพัด : น. เชือกหรือลวดหนังตีเป็นเกลียวหุ้มผ้าแดง ปรกติคล้องผูกอยู่ รอบคอช้าง เมื่อตั้งสัปคับหรือกูบอย่างใดอย่างหนึ่ง ใช้ปลาย ทั้ง ๒ ข้างผูกสัปคับหรือกูบเพื่อรั้งมิให้เลื่อนไปทางท้ายช้างขณะ เดินขึ้นที่ชัน, เขียนเป็น กระพัตร ก็มี เช่น และกระพัตรรัตคนควร. (ดุษฎีสังเวย). ก. ผูก, คาด, ล้อม, เช่น เหตุกระพัดรัดตาด้วยไฟราค. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
  10. กระลอม : (ถิ่น-อีสาน) น. เครื่องสานชนิดหนึ่ง สานด้วยตอกเป็นต้น ตาห่าง ๆ สำหรับใส่สิ่งของ, ชะลอม ก็ว่า.
  11. กระลับกระเลือก : [-เหฺลือก] ว. กลอกขึ้นกลอกลง (ใช้แก่ตา), (โบ) กลับเกลือก.
  12. กระสือ ๑ : น. ผีชนิดหนึ่งที่ถือว่าเข้าสิงในตัวผู้หญิง ชอบกินของโสโครก, คู่กับ กระหัง ซึ่งเข้าสิงในตัวผู้ชาย; ในทางวิทยาศาสตร์ คือ แก๊สมีเทน (methane) ที่เกิดจากการเน่าเปื่อยผุพังของ สารอินทรีย์แล้วติดไฟในอากาศ เป็นแสงวอบแวบในที่มืด; โคมชนิดหนึ่ง มีที่เปิดปิดไฟ มีแว่นฉายแสงไปได้ไกล, โคมตาวัว ก็ว่า.
  13. กระไส : น. ทราย เช่น สีคงคาขุ่นเป็นเปือกเทือกกระไส. (ม. กาพย์ วนปเวสน์), ประทับทอดจอดอ่าวเข้าไม่ได้ โขดกระไสติดช่องร่องวิถี. (นิ. เกาะแก้วกัลกตา).
  14. กระเหม่น : [-เหฺม่น] ก. เขม่น คือ อาการที่กล้ามเนื้อกระตุกเต้นเบา ๆ ขึ้นเอง ตามความเชื่อโบราณถือว่าเป็นนิมิตบอกเหตุร้ายหรือดีได้ เช่น กระเหม่นตา; เขม้น เช่น กระเหม่นตรับตัว. (เสือโค). (แผลงมาจาก เขม่น).
  15. กระเหลียก : [-เหฺลียก] (โบ) ก. แลดู, เขียนเป็น กรลยก ก็มี เช่น สูวนนเจดีรสสมีกรลยกงามหนกกหนา. (จารึกสยาม หลัก ๒), เหลือบแล เช่น ครั้นเช้าไก่ขันเรียก ไก่กระเหลียกตาดู. (ลอ). (ข. กฺรเฬก ว่า เหลือบดู).
  16. กริว ๑ : [กฺริว] น. เต่า เช่น เขียนกริวขึ้นขี่ที่ต้นคอ. (ขุนช้างขุนแผน), จริว หรือ ตริว ก็ว่า. (ดู ตะพาบ, ตะพาบน้ำ).
  17. กรุกกรัก : ก. ขลุกขลัก เช่น กรุกกรักประดักประเดิดเปิดฝาลุ้ง. (คาวี). ว. เสียงดังกุกกัก เช่น ได้ยินเสียงกรุกกรักก็ทักถาม. (ม. ร่ายยาว ชูชก). ว. เสียงนกเขาขันคู, จุ๊กกรู๊ ก็ว่า. [กฺรุง] น. เมืองหลวง, เมืองซึ่งเป็นที่ตั้งรัฐบาลกลาง, แต่ก่อนหมายถึงประเทศก็ได้ เช่น กรุงสยาม กรุงจีน; (โบ) กษัตริย์ เช่น จึ่งกรุงสุทโธทนเห็นอัศจรรย์ก็ทูลพลันด่งงนี้ฯ. (ม. คำหลวง ทศพร). [กฺรุ้งกฺริ่ง] ก. แสดงสีหน้า แววตา และท่าทางเจ้าชู้, กรุ้มกริ่ม ก็ว่า. [กฺรุงขะเหฺมา] น. ชื่อไม้เถาชนิด Cissampelos pareira L. var. hirsuta (Buch. ex DC.) Forman ในวงศ์ Menispermaceae ใบรูปสามเหลี่ยมปลายมน ผลกลม เมื่อสุกสีแดง.
  18. กรุ้งกริ่ง : [กฺรุ้งกฺริ่ง] ก. แสดงสีหน้า แววตา และท่าทางเจ้าชู้, กรุ้มกริ่ม ก็ว่า.
  19. กรุ้มกริ่ม : [กฺรุ้มกฺริ่ม] ก. แสดงสีหน้า แววตา และท่าทางเจ้าชู้ เช่น เห็นผู้หญิงเดินผ่านมาก็ทำกรุ้มกริ่มขึ้นมาทันที, กรุ้งกริ่ง ก็ว่า.
  20. กล้วยน้อย : น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Xylopia vielana Pierre ในวงศ์ Annonaceae กิ่งสีน้ำตาลดําดอกหอม รากสีดํา กลิ่นเหมือนน้ำมันดิน เชื่อกันว่ารากใช้แก้พิษงู.
  21. กลอก : [กฺลอก] ก. เคลื่อนหรือขยับเขยื้อนกลับไปกลับมา ภายในเขตของสิ่งนั้น ๆ เช่น กลอกตา กลอกหน้า, ทําให้มีอาการเช่นนั้น เช่น กลอกน้ำร้อนในถ้วยเพื่อให้เย็น.
  22. กล้องสลัด : น. กล้องที่ใช้ใส่อาวุธซัดไป. (พิชัยสงคราม); กล้องส่องทางไกล มีตาเดียว.
  23. กลับเกลือก : ว. กลอกขึ้นกลอกลง (ใช้แก่ตา), กระลับกระเลือก ก็ว่า.
  24. กลีบ : [กฺลีบ] น. ส่วนของดอกไม้ที่เรียงหรือซ้อนกันเป็นชั้น ๆ รอบเกสร โดยปรกติเป็นแผ่นบาง ๆ, ใช้เรียกของอื่นที่มี ลักษณะเช่นนั้น เช่น กลีบตา กลีบผ้า กลีบเมฆ.
  25. กวาดตา : ก. ส่ายตาดูทั่วไป.
  26. กะ ๒ : ว. ใช้รวมกับคําวิเศษณ์ เช่น เหมือนกะ ราวกะ ถึงกะ. บ. ใช้นําหน้าผู้รับพูดหรือรับบอก เช่นพี่พูดกะน้อง เขากล่าวกะฉัน เขาบอกกะท่าน. สัน. ใช้แทนคําว่า กับ เช่น ยายกะตา, ใช้แทนคําว่าแก่ เช่น มีกะใจ. (เป็นคําเสียงกร่อนมาจาก กับ หรือ แก่).
  27. กะทกรก : น. (๑) ชื่อไม้พุ่มรอเลื้อยชนิด Olax scandens Roxb. ในวงศ์ Olacaceae ตามลําต้นมีหนามห่าง ๆ ใบรูปไข่หรือรี ๆ ดอกเล็ก สีขาว อยู่เป็นกระจุกที่ง่ามใบ ผลกลมหรือรีขนาดเท่า เม็ดบัวเขื่อง ๆ เป็นสมุนไพรที่รู้จักกันทั่วไป, น้ำใจใคร่ นางจุม หรือ นางชม ก็เรียก, อุดรเรียก เยี่ยวงัว. (๒) ชื่อไม้เถาชนิด Passiflora foetida L. ในวงศ์ Passifloraceae มีมือเกาะ ใบป้อมมี ๓ หยัก ดอกสีขาว ผลกลม เมื่อสุกสีเหลือง มีกาบเป็นฝอยหุ้ม ยอดนํามาต้มใช้เป็นผัก, เถาเงาะ เงาะป่า หญ้ารกช้าง เถาสิงโต ถลกบาตร หรือ กระโปรงทอง ก็เรียก.
  28. กะทอ : น. ภาชนะสานด้วยไม้ไผ่ตาโปร่งอย่างชะลอม รูปร่างเป็นกระบอก สําหรับใส่เสื้อผ้าและของอื่น ๆ ใช้กันมากในภาคอีสาน.
  29. กะปริบ : [-ปฺริบ] ก. กะพริบ, มักใช้ซ้ำคําว่า กะปริบ ๆ หมายความว่า กะพริบถี่ ๆ เช่น ทําตากะปริบ ๆ, ปริบ ๆ ก็ว่า.
  30. กะปวกกะเปียก : ว. อ่อนกําลังจนแทบไม่อาจทรงตัวได้ตามลําพัง, ปวกเปียก ก็ว่า.
  31. กะปะ : น. ชื่องูพิษชนิด Calloselasma rhodostoma ในวงศ์ Viperidae ตัวยาว ๕๐-๘๐ เซนติเมตร ลายสีน้ำตาลเข้ม บนหลังมีลายรูปสามเหลี่ยมสีน้ำตาลแก่ เรียงสลับเยื้องกันเป็นคู่ ๆ จมูกงอน ริมฝีปากเหลือง และ มีแนวสีเหลืองพาดบนลูกตาถึงมุมปาก, ตัวที่มีสีคล้ำเรียก งูปะบุก.
  32. กะแป้น : น. เรือหางแมงป่องขนาดเล็ก มีใช้มากตามลําน้ำปิง.
  33. กะพง ๑ : น. ชื่อปลาหลายชนิดในหลายวงศ์ ลำตัวหนา แบนข้างเล็กน้อย หัวโตลาดลงมาจากด้านหลัง ตาค่อนข้างโต ปากกว้าง เช่น กะพงแดง (Lutjanus malabaricus) ในวงศ์ Lutjanidae, กะพงขาว (Lates calcarifer) ในวงศ์ Centropomidae, กะพงลาย (Datnioides quadrifasciatus) ในวงศ์ Lobotidae.
  34. กะพริบ : [-พฺริบ] ก. ปิดและเปิดหนังตาโดยเร็ว, โดยปริยายหมายถึงอาการที่ คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ไฟกะพริบ.
  35. กะรางหัวขวาน : น. ชื่อนกชนิด Upupa epops ในวงศ์ Upupidae ปากยาวแหลมโค้งสีดํา หงอนสีส้มขอบดํา ลักษณะหงอน เหมือนหมวกของอินเดียนแดง ขนตามลําตัวสีน้ำตาลแดง มีแถบดําขาวสลับกัน, การางหัวขวาน ก็เรียก.
  36. กะลา ๑ : น. ส่วนแข็งที่หุ้มเนื้อมะพร้าว ถ้าผ่าซีก ซีกที่มีตา เรียกว่า กะลาตัวผู้ ซีกที่ตัน เรียกว่า กะลาตัวเมีย; เรียกถ้วยชามชนิดเลวเนื้อหยาบหนาว่า ชามกะลา; เรียกผมที่ตัดเป็นรูปกะลาครอบว่า ผมทรงกะลาครอบ; เรียกหมวกที่มีรูปคล้ายกะลาครอบว่า หมวกกะลา หรือ หมวกกะลาครอบ; (ปาก) กะโหลก เป็นคําไม่สุภาพ เช่น ไม่เจียมกะลาหัว คุ้มกะลาหัว. (สํา) ว. ไม่มีค่า เช่น เก่ากะลา.
  37. กะวะ ๑ : น. เครื่องมือจับสัตว์น้ำชนิดหนึ่ง สําหรับรุนกุ้งรุนเคยตามชายฝั่งแม่น้ำ ลําคลอง หรือทะเล รูปคล้ายสวิง มีถุงตาข่ายอย่างตาละเอียดแขวนอยู่ ใช้ไสตามริมฝั่งเพื่อจับกุ้งเล็ก ๆ หรือเคย.
  38. กะโหลก : [-โหฺลก] น. ส่วนแข็งที่หุ้มเนื้อมะพร้าวหรือตาลเป็นต้น เรียกว่า กะโหลกมะพร้าว กะโหลกตาล, ภาชนะที่ทําด้วยกะโหลก มะพร้าวโดยตัดทางตาออกพอเป็นช่องกว้างเพื่อใช้ตักน้ำ; กระดูกที่ หุ้มมันสมอง; โดยปริยายหมายความถึงวัตถุที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น กะโหลกหุ่นหัวโขน; เรียกพรรณไม้บางชนิด เช่น ลําไย ลิ้นจี่ ที่มีผลโต เนื้อหนากว่าปรกติ เช่น ลําไยกะโหลก ลิ้นจี่กะโหลก.
  39. กัจฉปะ : [กัดฉะปะ] (แบบ) น. เต่า เช่น หมู่มัจฉกัจฉปะทุกสิ่งสรรพ์. (ม. ร่ายยาว จุลพน). (ป., ส.).
  40. กันต์ : ก. ตัด, โกน, เช่น เกศากันต์ (ตัดผม, โกนผม); ยินดี, พอใจ, เช่น สุนทรกันต์ มุทุกันต์. ว. น่าใคร่, น่าพอใจ, งดงาม, เช่น กันตาภิรมย์ หมายถึง ยินดียิ่งในสิ่งที่น่าพอใจ.
  41. กับ ๒ : เป็นคําที่เชื่อมคําหรือความเข้าด้วยกัน มีความหมายว่า รวมกันหรือ เกี่ยวข้องกัน เช่น ฟ้ากับดิน กินกับนอน หายวับไปกับตา.
  42. กา ๒ : น. ชื่อปลาน้าจืดชนิด Morulius chrysophekadion ในวงศ์ Cyprinidae ปากงุ้มต่า ตาเล็ก ตลอดทั้งหัว ตัว และครีบมีสีม่วงจนดําทึบ เฉพาะเกล็ดมีจุดสีเหลืองประปราย, เพี้ย ก็เรียก.
  43. กานดา : น. หญิงที่รัก. (ส. กานฺตา; ป. กนฺตา).
  44. กาลัญญุตา : [กาลันยุตา] น. ความเป็นผู้รู้กาล. (ป.).
  45. ก้าวหน้า : ก. เปลี่ยนแปลงของเดิมให้ดีขึ้นตามลําดับ, เจริญวัฒนาเร็วกว่าปรกติ.
  46. กาฬาวก : [-วะกะ] น. ชื่อช้างตระกูล ๑ ใน ๑๐ ตระกูล กายสีดํา, ช้าง ๑๐ ตระกูล คือ ๑. กาฬาวกหัตถี สีดํา ๒. คังไคยหัตถี สีเหมือนสีน้ำไหล ๓. ปัณฑรหัตถี สีขาวดังเขาไกรลาส ๔. ตามพหัตถี สีทองแดง ๕. ปิงคลหัตถี สีทองอ่อนดั่งสีตาแมว ๖. คันธหัตถี สีไม้กฤษณา มีกลิ่นตัวหอม ๗. มงคลหัตถี สีนิลอัญชัน มีกิริยาท่าทางเดินงดงาม ๘. เหมหัตถี สีเหลืองดั่งทอง ๙. อุโบสถหัตถี สีทองคํา ๑๐. ฉัททันตหัตถี กายสีขาวบริสุทธิ์ดั่งสีเงินยวง แต่ปากและเท้าสีแดง. (ป.).
  47. กำแพงเจ็ดชั้น ๑ : น. ชื่อมนตร์. กำแพงมีหูประตูมีช่อง, กำแพงมีหูประตูมีตา (สํา) น. การที่จะพูด หรือทําอะไร ให้ระมัดระวัง แม้จะเป็นความลับเพียงไร ก็อาจมีคนล่วงรู้ได้.
  48. กำหนดการ : น. ระเบียบการที่บอกถึงขั้นตอนของงาน ที่จะต้องทําตามลําดับ.
  49. กิ้งกือ : น. ชื่อสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหลายวงศ์ มีเปลือกตัวแข็ง ลําตัวยาวแบ่งเป็นปล้อง ไม่แบ่งอกหรือท้องให้เห็น ปล้องตามลําตัวจับกันเป็นคู่ตามยาวยืดหดเข้าหากันได้ ทําให้สามารถขดตัวเป็นวงกลมได้เมื่อถูกรบกวน ปล้องแต่ละคู่จะมีขา ๒ คู่ ยกเว้นปล้องแรกไม่มีขา ปล้องที่ ๒ ถึง ๔ มีขาเพียงคู่เดียว จํานวนขาอาจมีได้ถึง ๒๔๐ คู่ ชนิดตัวโตที่พบบ่อย ๆ อยู่ในสกุล Graphidostreptus ส่วนตัวขนาดย่อมอยู่ในสกุล Cylindroiulus ทั้ง ๒ สกุลอยู่ในวงศ์ Julidae.
  50. กินน้ำใต้ศอก : (สํา) ก. จําต้องยอมเป็นรองเขา, ไม่เทียมหน้าเทียมตาเท่า, (มักหมายถึงเมียน้อยที่ต้องยอมลงให้แก่เมียหลวง).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | [151-200] | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1174

(0.1010 sec)