Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: หม่อมหลวง, หม่อม, หลวง , then หมอม, หม่อม, หมอมหลวง, หม่อมหลวง, หลพง, หลวง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : หม่อมหลวง, 517 found, display 151-200
  1. กัลหาย : [กัน-] ก. กรรหาย เช่น ชายใดเดอรร้อนรนน จวนจวบ สร้อยสรสวรก็หายกัลหายหื่นหรรษ์. (ม. คําหลวง จุลพน).
  2. กัศมล : [กัดสะมน] (แบบ) ว. น่าเกลียด, ไม่งาม, อุจาด, เช่น บพิตรพราหมณ์นี้กาจกัศมลร้ายพ้นคนในโลกย์นี้. (ม. คําหลวง กุมาร). (ส.).
  3. กัษณ : [กัดสะหฺนะ] (กลอน) น. กษณะ, ขณะ, เช่น ในเมื่อกาลกัษณ. (ม. คําหลวง สักบรรพ).
  4. ก่าน : ว. ด่าง, ผ่าน, มีลายพาด, เช่น พนคณนกหค ก่านแกม ปีกหางนวยแนม นนวยนเนียร้องริน. (ม. คำหลวง มหาพน); เก่ง, กล้า, กั่น, เช่น ปางเมื่อเจ้าเข้าดงด่าน ตววก่านกาจชาติชัฏขน สัตวตนสื่อชื่อมนนหมี ได้ทีทำนำความเข็ญ. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์).
  5. กานน ๑ : [-นน] (แบบ) น. ป่า, ดง, เช่น อันว่าท้องเขาวงกฏกานน. (ม. คําหลวง วนปเวสน์). (ป., ส.).
  6. กามท- : [กามมะทะ-] ว. ผู้ให้ตามที่ปรารถนา เช่น หนึ่งโสดกามทราช จักประพาศยลราชี ตามวิถีแนวไม้ ไพรระเรียง. (ม. คําหลวง หิมพานต์). (ป., ส.).
  7. กามามิศ : น. อามิสคือกาใม เช่น ฝ่ายเจ้าช้างจงจม ตมเปือกกามามิศ. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์). (ป. กาม + ส. อามิษ).
  8. กาโมทย : [-โมด] (แบบ) ว. เป็นที่ตั้งขึ้นแห่งความรัก, น่ารัก, เป็นที่เกิดแห่งความรัก, เช่น พรมงคลน้นนโสด แก่แก้วกาโมทยมหิษี กัลยาณีสาวสวรรค์ประเสริฐนั้น. (ม. คําหลวง ทศพร). (ป. กาม + อุทย).
  9. กำเนียจ : [กำเหฺนียด] ว. เกียจ, คด, ไม่ซื่อ, โกง; คร้าน; (โบ) เขียนเป็น กำนยจ ก็มี เช่น อนนว่าพระโพธิสัตว์ก็ใส่กลกล่าว กํานยจกยจแก่นางพญาด่งงนี้. (ม. คําหลวง กุมาร).
  10. กำพง : น. ท่าน้า, ตําบล, เช่น มีทงงสมรรถพนจร รม่งงมรกําพงไพร. (ม. คําหลวง มหาพน). (ข. กํพง ว่า ท่าน้า; มลายู กัมพง ว่า ตําบล).
  11. กำรอ : ว. เข็ญใจ เช่น แก่ฝูงมนุษย์ผู้กํารอ. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์).
  12. กำราล : [-ราน] (แบบ) น. เครื่องลาด เช่น นั่งในกําราลไพโรจน์ ในนิโครธารามรังเรจน้นน. (ม. คําหลวง ทศพร). (ข. กํราล).
  13. กำลูน : (โบ) ว. น่ากรุณา, น่าเอ็นดู, น่าสงสาร, เช่น ครั้นเห็นยิ่งระทดกําลูน สลดชีวา. (ม. คําหลวง มัทรี). (ป. กลูน).
  14. กินน้ำใต้ศอก : (สํา) ก. จําต้องยอมเป็นรองเขา, ไม่เทียมหน้าเทียมตาเท่า, (มักหมายถึงเมียน้อยที่ต้องยอมลงให้แก่เมียหลวง).
  15. กินบ้านกินเมือง : ก. ตื่นสายมาก ในความว่า นอนกินบ้านกินเมือง; (ปาก) ฉ้อราษฎร์บังหลวง.
  16. กินริน, กินรี : [กินนะริน, กินนะรี] (กลอน) น. กินนรเพศหญิง เช่น ดุจกินรินแน่ง พักตราแพ่งมานุษย์. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์), กินรีแอ่นกินรากร. (ม. คําหลวง วนปเวสน์).
  17. กิรินท : [-ริน,] (แบบ) น. ช้างสําคัญ เช่น อ้าบัดนี้แม่มาเดอรดิน สีพิกากิรินทไกรอาศน กวยนแก้วราชรจนา. (ม. คําหลวง วนปเวสน์). (ป. กรินฺท; ส. กรินฺ ว่า ผู้มีมือคืองวง).
  18. กิริเนศวร : [-เนสวน, -เนด] น. ช้างสําคัญ เช่น ทรงนั่งกิริเนศวรโจมทอง. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์).
  19. กุก : ว. เสียงของแข็ง ๆ กระทบกัน. ก. กิริยาที่หนูร้องดังเช่นนั้น เรียกว่า หนูกุก. น. เครื่องดักหนูเป็นหีบมีกระดานหก มีลูกกลิ้ง เมื่อหนูเข้าไปเหยียบกระดานหกลูกกลิ้งจะกลิ้งมาปิดช่อง แล้วหนูจะกระโดดเข้าไปยังอีกที่หนึ่ง และถูกขังอยู่ในนั้น; เสียงส่งท้ายการขันของนกเขาหลวง ซึ่งอาจมีได้ถึง ๓ กุก.
  20. กุณิ, กุณี : น. คนง่อย. (ป., ส.); กระเช้า เช่น แลมีมือกุ?กุณีแลขอขุดธงง ก็ท่องยงงไพรกันดาร เอามูลผลาหารในพนาลี. (ม. คําหลวง วนปเวสน์).
  21. กุดา : (แบบ) ใช้เป็นสร้อยคําของ กุฎี เช่น สู่กุฎีกุดาสวรรค์. (ม. คําหลวง มัทรี).
  22. กุรระ, กุรุระ : [กุระระ, กุรุระ] (แบบ) น. นกเขา, แปลว่า เหยี่ยว ก็มี เช่น แม่กุรร์จาปน้อยหาย แลนา. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์). (ป., ส. กุรร).
  23. กุรุพินท์ : น. ทับทิม, เขียนเป็น กรพินธุ์ ก็มี เช่น ดยรดาษแก้วกรพินธุ์. (ม. คําหลวง มหาราช). (ส. กุรุวินฺทุ ว่า แก้วทับทิม).
  24. กู่ ๑ : (โบ) น. วิหาร เช่น ในกู่แก้วเกษมมฤคทายพนน้นน. (ม. คําหลวง ทศพร); (ถิ่น-พายัพ) อนุสาวรีย์, กุฏิ, เจดีย์.
  25. เกรียง ๒ : [เกฺรียง] ว. ใหญ่, ยิ่ง, มาก, เช่น มีศัพท์สําเนียงเกรียงระงม. (ม. คําหลวง กุมาร).
  26. เกวียน : [เกฺวียน] น. ยานชนิดหนึ่ง มีล้อ ๒ ล้อ ใช้ควายหรือวัวเทียม, ลักษณนามว่า เล่ม; ชื่อมาตราตวง ๘๐ สัด หรือ ๑๐๐ ถัง เป็น ๑ เกวียน. เกวียนหลวง น. มาตราตวงตามแบบราชการ มีอัตราเท่ากับ ๒,๐๐๐ ลิตร หรือ ๒ กิโลลิตร, อักษรย่อว่า กว.
  27. เกศากันต์ : ก. ตัดจุก, โกนจุก, (ใช้เฉพาะเจ้านายชั้นหม่อมเจ้า).
  28. เกศินี : น. นางผู้มีผมงาม เช่น โฉมแก้วเกศินีนาฏ. (ม. คําหลวง ฉกษัตริย์). (ส.).
  29. เกสรทั้งห้า : น. เกสรดอกไม้ ๕ ชนิด มี เกสรดอกพิกุล เกสรดอก บุนนาค เกสรดอกสารภี เกสรดอกบัวหลวง เกสรดอกมะลิ.
  30. เกาทุมพร : [-ทุมพอน] น. ผ้าทอด้วยขนสัตว์เนื้อละเอียด เช่น เกาทุมพรแพงค่าควรแสน. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์). (ป. โกทุมฺพร, โกฏุมฺพร).
  31. เกามาร : [-มาน] (โบ) น. กุมาร เช่น กูจะขอพระราชทานเกามารท้งงสองพระองค์. (ม. คําหลวง กุมาร).
  32. แกล้ง : [แกฺล้ง] ก. ทําให้เดือดร้อนรําคาญ เช่น เขาแกล้งฉัน, แสร้ง เช่น เขาแกล้งทําเป็นปวดฟัน, จงใจทํา พูด หรือแสดงอาการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้เขาเสียหาย อาย เดือดร้อน ขัดข้อง เข้าใจผิด เป็นต้น เช่น ข้าพเจ้าไม่ได้ทําผิดเลยแต่เขาแกล้งใส่ร้าย; (โบ) ตั้งใจ, จงใจ, เช่น แกล้งประกาศแก่สงฆ์. (ม. คําหลวง วนปเวสน์).
  33. โกเชาว์ : (แบบ; กลอน) น. ผ้าทําด้วยขนแพะ เช่น ไพจิตรนิทรกําราล กาฬโกเชาว์. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์). (ป. โกชว).
  34. โกฐาส : [โกดถาด] (แบบ) น. ส่วน เช่น พรพอใจบ้นนน้นนอนนเป็น โกฐาสถ้อย. (ม. คําหลวง ทศพร). (ป. โกฏฺ?าส).
  35. โกณก, โกณะ : [-นก] (แบบ) น. มุม, เหลี่ยม, เช่น เปนจดูรโกณก ครรโภทกเพ็ญพยง. (ม. คําหลวง วนปเวสน์). (ป.).
  36. โกมล ๒ : น. ดอกบัว เช่น ก็ทัดทานวาริชโกมล. (ม. คําหลวง มหาราช). (ป. กมล).
  37. โกรม : [โกฺรม] (แบบ) ว. ใต้, ต่า, ล่าง, ใต้ฟ้า เช่น อนนสองดไนยหน่อเหน้า เหง้ากรุงโกรมกษัตริย. (ม. คําหลวง ฉกษัตริย์). (ข.).
  38. โกรมธาตุ : (โบ) น. ธาตุใต้ฟ้า คือแผ่นดิน เช่น ปางน้นนไกรโกรมธาตุ. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์).
  39. โกษ ๒ : [โกด] (โบ; กลอน) น. โลก เช่น อันว่าโกลาหลแต่ผืนแผ่น ดลเท้าแท่นพรหมโกษ. (ม. คําหลวง กุมาร). (ส. โกฺษณิ).
  40. โกษม : [กะโสม] น. ผ้าใยไม้ (ผ้าลินิน), ผ้าขาว, ผ้าป่าน, เช่น อีกโกษมสวัสดิวรรณึก. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์). (ส. เกฺษามฺ).
  41. โกษย : [โกไส] (โบ) น. โกไสย เช่น ผ้าแพรทองโกษย. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์).
  42. โกษีย์ : (โบ) น. โกสีย์ เช่น สมเด็จท้าวโกษีย์. (ม. คําหลวง หิมพานต์).
  43. ไกรพ : [-รบ] น. บัวสาย เช่น ไกรพแกมสโรช. (ม. คําหลวง มัทรี). (ส. ไกรว).
  44. ไกรสิทธิ : [ไกฺรสิด] (โบ; กลอน) น. ราชสีห์ เช่น สูจงนฤมิตรเป็นราชไกรสิทธิ. (ม. คําหลวง มัทรี).
  45. ขมอย : [ขะมอย] น. หลาน, ลูกหลาน, เช่น ขมอยเมือเฝือแฝกหญ้า ยุงชุมฉ่า ฝ่าเหลือบฝูง. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์). (ข. กฺมวย ว่า หลาน, ลูกของพี่ หรือของน้อง).
  46. ขวง ๒ : น. ข่วง, บริเวณ, ลาน, เช่น ให้ยกหอกลองยังขวงหลวงริมสนาม. (พงศ. โยนก).
  47. ขวน : [ขฺวน] (โบ) ก. ขวนขวาย, ใฝ่, เช่น ขวนทรรป ว่าใฝ่จองหอง. (ม. คําหลวง สักบรรพ).
  48. ขวัญเกี่ยง : ว. ขวัญร้าย เช่น ขวัญเกี่ยงได้เป็นดี. (ม. คําหลวง สักบรรพ).
  49. ขษีณาศรพ : [ขะสีนาสบ] (โบ; กลอน) น. พระขีณาสพ, พระอรหันต์, เช่น ดูกร ขษีณาศรพทั้งหลาย. (ม. คําหลวง สักบรรพ).
  50. ข้อย : (ถิ่น-พายัพ, อีสาน) ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑. น. ข้า, บ่าว, เช่น เมื่อให้สูสองราชเป็นข้อยขาดแก่พราหมณ์. (ม. คําหลวง กุมาร).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | [151-200] | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-517

(0.0860 sec)