Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: หม่อมหลวง, หม่อม, หลวง , then หมอม, หม่อม, หมอมหลวง, หม่อมหลวง, หลพง, หลวง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : หม่อมหลวง, 517 found, display 451-500
  1. ราชวรวิหาร : [ราดชะวอระวิหาน] น. เรียกพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดหนึ่งซึ่งมีฐานะตํ่ากว่าชนิดราชวรมหาวิหาร ว่า ชั้นเอก ชนิด ราชวรวิหาร เช่น วัดเบญจมบพิตร วัดราชประดิษฐ์, เรียกพระอาราม หลวงชั้นโทชนิดหนึ่ง ซึ่งมีฐานะตํ่ากว่าชนิดราชวรมหาวิหาร ว่า ชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร เช่น วัดเทพศิรินทร์ วัดราชสิทธาราม, เรียก พระอารามหลวงชั้นตรีชนิดสูงสุด ว่า ชั้นตรี ชนิดราชวรวิหาร เช่น วัดปทุมวนาราม วัดรัชฎาธิษฐาน.
  2. รำโคม : น. การรําแบบหนึ่ง ผู้เล่นถือโคมรําเป็นท่าต่าง ๆ, เดิมเล่นเฉพาะ ในงานหลวง.
  3. รำแย้ : น. ชื่อพืชชนิดหนึ่ง เช่น กระเทียมหอมรําแย้ก็มี. (ม. คําหลวง มหาพน).
  4. ริบราชบาตร : [–ราดชะบาด] ก. รวบเอาทรัพย์สินของคนที่ต้อง พระราชอาญาเข้าเป็นของหลวง.
  5. รุบาการ : (กลอน) น. อาการแห่งรูป, รูป, เช่น เทพยดาก็กําบงงรุบาการอันตรธาน ไป. (ม. คําหลวง มหาราช). (ป., ส. รูป + อาการ).
  6. เรียงราย : ก. เรียงติดต่อกันไปเป็นระยะ ๆ เช่น ต้นมะขามเรียงรายรอบ สนามหลวง นักเรียนเข้าแถวเรียงรายไปตามถนน.
  7. เรือกัญญา : น. เรือหลวงที่จัดตั้งเก๋งประกอบหลังคาทรงกัญญา ใช้เป็น เรือประทับแรม หรือเรือพระประเทียบ.
  8. เรือแซง : น. เรือกราบซึ่งจัดเข้าร่วมไปในกระบวนเรือหลวง มีหน้าที่ ป้องกันภัยกระบวนเรือพระที่นั่งโดยแซงขนาบอยู่ ๒ ข้างและปิดท้าย กระบวน.
  9. เรือประตู : น. เรือหลวงที่จัดเข้าร่วมในกระบวนเสด็จทางชลมารค ทำ หน้าที่ถวายอารักขาและป้องกันอันตรายกระบวนเรือพระที่นั่ง จัดอยู่ ตามตำแหน่งเป็นชั้น ๆ ข้างหน้ากระบวนมีเรือประตูนอกหรือเรือ ประตูชั้นนอกอยู่ข้างหน้าเรือคู่ชักหมู่หนึ่งกับอยู่ต่อเรือคู่ชักเข้ามาก่อน ถึงเรือดั้งอีกแถวหนึ่งเรียกว่า เรือประตูใน และยังมีอยู่ทางตอนท้าย กระบวนอีก ๒ หมู่ หมู่ต้นอยู่ต่อท้ายเรือกันเรียกว่า เรือประตูในกับ หมู่ปลายอยู่ต่อท้ายหมู่เรือพระที่นั่งกรมพระราชวังบวรฯ และเรือ ที่นั่งเจ้านายเรียกว่า เรือประตูนอก.
  10. เรือพระที่นั่ง : น. เรือหลวงที่จัดเป็นพระราชพาหนะสำหรับพระมหากษัตริย์ เสด็จทางชลมารค เช่น เรือพระที่นั่งจักรี เรือพระที่นั่งจันทร หรือเสด็จใน กระบวนพยุหยาตราทางชลมารค เช่น เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่ง อนันตนาคราช.
  11. เรือพระที่นั่งกราบ : น. เรือหลวงที่จัดเป็นพระราชพาหนะเสด็จไปอย่าง ลำลอง เป็นเรือขุดเสริมกราบขนาดใหญ่ สะดวกแก่การประทับทรง สำราญพระอิริยาบถไปทางไกล ๆ เช่น เรือศรีเมือง เรือเฟื่องฟ้า เรือทิพากร.
  12. เรือพระที่นั่งกิ่ง : น. เรือหลวงแบบโบราณสำหรับเป็นลำทรงของ พระมหากษัตริย์ เสด็จในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค เช่น เรือ พระที่นั่งกิ่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งกิ่งศรีสมรรถไชย เรือพระที่นั่ง กิ่งไกรสรมุข.
  13. เรือพระที่นั่งรอง : น. เรือหลวงที่จัดเป็นพระราชพาหนะสำรองไปใน กระบวนเสด็จทางชลมารค เช่น เรืออนงคนิกร เรืออัปสรสุรางค์.
  14. เรือพระที่นั่งศรี : น. เรือหลวงที่จัดเป็นพระราชพาหนะสำรองไปใน กระบวนเสด็จทางชลมารค ทอดบัลลังก์กัญญา ดาดหลังคาด้วยผ้า สักหลาดสอดสีอย่างพนักอินทรธนู ถ้าเป็นเรือพระที่นั่งเพิ่มผ้าเยียรบับ ลายทองกลางกรอบพนักอินทรธนู.
  15. เรือพระประทีป : น. เรือที่ใช้ลอยในงานพระราชพิธีลอยพระประทีป ทำด้วยไม้ขุดจำลองจากเรือหลวงที่ใช้ในพระราชพิธีกระบวนพยุหยาตรา ทางชลมารค ปักเทียนรายตามหลังกระทงเรือ ถวายให้ทรงจุดและปล่อย ลอยไปตามน้ำแทนกระทงหลวงซึ่งมีมาแต่เดิม.
  16. เรือพระประเทียบ : น. เรือหลวงจัดเป็นที่ประทับของเจ้านายฝ่ายในหรือ พระราชทานเป็นยานพาหนะของสมเด็จพระสังฆราช.
  17. เรือพิฆาต ๑ : น. เรือหลวงสมัยโบราณ ทำหน้าที่ลาดตระเวนนำไปข้างหน้า กระบวนเรือเสด็จทางชลมารค และอยู่ท้ายกระบวนคอยถวายอารักขา กระบวนหนึ่งมีหลายลำ เช่น เรือมังกรจำแลง เรือมังกรแผลงฤทธิ์ เรือเหราล่องลอยสินธุ์.
  18. เรือรูปสัตว์ : น. เรือหลวง มีทั้งประเภทเรือที่ขุดขึ้นจากซุงทั้งต้นกับเรือ เสริมกราบ มีลักษณะพิเศษตรงศีรษะเรือต่อไม้ขึ้นไปแล้วสลักเป็นรูป สัตว์หิมพานต์ หรือรูปอมนุษย์ต่าง ๆ เช่น ครุฑ อสุรปักษา พญานาค ตอนท้ายเรือต่อไม้ทำเป็นทวนเชิดงอนไปล่ปลิวไปทางด้านหลัง เช่น เรือเอกไชยเหินหาว เรือพาลีรั้งทวีปเรือครุฑเหินระเห็จ เรืออสุรปักษี, บางทีเรียกว่า เรือกระบวนปิดทอง.
  19. ลบม : [ละบม] (แบบ) ก. ระบม เช่น นางก็ถวายบังคม ลบมพิลาลศกําสรด ไปมา. (ม. คําหลวง วนปเวสน์).
  20. ลาช, ลาชะ, ลาชา : [ลาด, ลาชะ] น. ข้าวตอก เช่น อนนเรืองรองด้วยจตุรพรรณมาลา ลาชาชาติห้าสิ่ง. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์). (ป., ส.).
  21. ลิตร : น. ชื่อหน่วยมาตราตวงตามวิธีเมตริก เท่ากับ ๑,๐๐๐ ลูกบาศก์ เซนติเมตร เทียบกับอัตราวิธีประเพณี เท่ากับ ๑ ทะนานหลวง. (ฝ. litre).
  22. ลูกขุน : (โบ) น. ลูกขุน ณ ศาลหลวง.
  23. ลูกเมียน้อย : น. ลูกของเมียน้อยซึ่งมีสิทธิ์ด้อยกว่าลูกของเมียหลวง, โดยปริยายหมายถึงผู้มีฐานะไม่เทียมหน้าเทียมตาผู้อื่นหรือสิ่งอื่นที่ มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น บางคนบ่นว่าสถาบันของตนเป็น ลูกเมียน้อย.
  24. เลียง ๒ : ว. เย็น เช่น นํ้าล้นเลียงเอมโอช. (ม. คําหลวง วนปเวสน์).
  25. วรมหาวิหาร : [วอระ] น. เรียกพระอารามหลวงชั้นเอกชนิดตํ่าสุด ว่าชั้นเอกชนิดวรมหาวิหาร เช่น วัดพระศรีมหาธาตุ วัดพระธาตุพนม, เรียกพระอารามหลวงชั้นโทชนิดหนึ่ง มีฐานะตํ่ากว่าชนิด ราชวรวิหาร ว่า ชั้นโทชนิดวรมหาวิหาร เช่น วัดจักรวรรดิ วัดระฆัง.
  26. วรวิหาร : [วอระ] น. เรียกพระอารามหลวงชั้นโทชนิดตํ่าสุดว่า ชั้นโทชนิดวรวิหาร เช่น วัดบพิตรพิมุข วัดอนงคาราม, เรียกพระ อารามหลวงชั้นตรีชนิดหนึ่ง มีฐานะตํ่ากว่าชนิดราชวรวิหาร ว่า ชั้นตรีชนิดวรวิหาร เช่น วัดราชนัดดา วัดเทพธิดา.
  27. วังหน้า : น. วังซึ่งเป็นที่ประทับของพระมหาอุปราช เรียกใน ราชการว่า พระราชวังบวรสถานมงคล ตั้งอยู่ด้านหน้าพระราชวัง หลวงหรือพระบรมมหาราชวัง มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา, ในรัชกาลที่ ๔ ทรงบัญญัติให้เรียกว่า พระบวรราชวัง, ปัจจุบันเรียก พระราชวงศ์ฝ่ายนี้ว่า ฝ่ายวังหน้า.
  28. วังหลัง : น. วังซึ่งเป็นที่ประทับของกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข มักตั้งอยู่ทางด้านหลังของพระราชวังหลวง.
  29. วัดราษฎร์ : น. วัดที่ได้รับพระราชทานที่วิสุงคามสีมา แต่มิได้เข้า บัญชีเป็นพระอารามหลวง.
  30. วัดหลวง : (ปาก) น. พระอารามหลวง, วัดที่พระเจ้าแผ่นดิน ทรงสร้างหรือทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เข้าจํานวนในบัญชี เป็นพระอารามหลวง.
  31. วิลาสินี : (ม. คําหลวง นครกัณฑ์). (ส.).
  32. วิเสท : [เสด] น. ผู้ทํากับข้าวของหลวง.
  33. ศฤงคาร : [สิงคาน, สะหฺริงคาน] น. สิ่งให้เกิดความรัก, บริวารหญิงผู้บําเรอ ความรัก เช่น สาวศฤงคารคนใช้. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์). (ส. ศฺฤงฺคาร ว่า ความใคร่).
  34. สถาปนา : [สะถาปะนา] ก. ยกย่องโดยแต่งตั้งให้สูงขึ้นเช่นเลื่อนเจ้านายให้ สูงศักดิ์ขึ้น หรือยกวัดราษฎร์ขึ้นเป็นพระอารามหลวง, ตั้งขึ้น (มัก ใช้แก่หน่วยราชการหรือองค์การที่สําคัญ ๆ ในระดับกระทรวง ทบวงมหาวิทยาลัย) เช่น วันสถาปนากระทรวงมหาดไทย วันสถาปนา ราชบัณฑิตยสถาน วันสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (ส. สฺถาปน; ป. ?าปน).
  35. สนามวัด : น. สถานที่ที่สำนักเรียนพระปริยัติธรรมแต่ละสำนักได้ กำหนดให้เป็นที่ทดสอบบาลีก่อนที่จะส่งเข้าสอบบาลีสนามหลวง.
  36. สพาบ : [สะ] ว. พังพาบ เช่น ก็มาให้มึงล้มสพาบ. (ม. คําหลวง ชูชก). (ข.).
  37. สมรู้ : ก. ร่วมคิดกัน, เป็นใจกัน, (มักใช้ในทางที่ไม่ดี) เช่น เขาสมรู้กัน ในทางทุจริต, บางทีใช้เข้าคู่กับคำ ร่วมคิด เป็น สมรู้ร่วมคิด เช่น เขาสมรู้ร่วมคิดกันในการฉ้อราษฎร์บังหลวง.
  38. ส่วนกลาง : น. ส่วนเมืองหลวง, ศูนย์กลาง.
  39. ส่วนองค์ : (ราชา) ว. ส่วนตัว (ใช้แก่หม่อมเจ้า) เช่น ของใช้ส่วนองค์.
  40. ส่วย ๑ : น. ของที่เรียกเก็บจากพื้นเมืองส่งเป็นภาคหลวงตามวิธีเรียกเก็บ ภาษีอากรในสมัยโบราณ; เงินช่วยราชการตามที่กําหนดเรียกเก็บจาก ราษฎรชายที่มิได้รับราชการทหารเป็นรายบุคคล, รัชชูปการ ก็ว่า.
  41. สะอิดสะเอียน : ก. ชวนให้คลื่นไส้อย่างรุนแรง ทั้งโดยตรงและโดยปริยายต่อสิ่งที่ เร้าเร่งให้เกิดอารมณ์เช่นนั้น เช่น เห็นหมาเน่าแล้วสะอิดสะเอียน เห็นคนฉ้อราษฎร์บังหลวงแล้วสะอิดสะเอียนไม่อยากเข้าใกล้.
  42. สักหมาย : (โบ) น. เครื่องหมายที่สักเป็นรูปต่าง ๆ เพื่อให้รู้ว่าสังกัดอยู่ ในหมู่ใดกรมใด เช่น ไพร่หลวงทั้งปวงซึ่งมีสักหมายหมู่กรมนั้นแล้ว. (ตราสามดวง).
  43. สังฆการี : น. เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่เกี่ยวกับสงฆ์ในงานหลวง.
  44. สังเวช, สังเวช : [สังเวด, สังเวชะ] ก. รู้สึกเศร้าสลดหดหู่ต่อผู้ที่ได้รับทุกขเวทนา หรือต้องตายไป หรือต่อผู้ที่ตนเคารพนับถือซึ่งประพฤติตนไม่ เหมาะสมเป็นต้น เช่น เห็นผู้คนประสบอุบัติเหตุเครื่องบินตกแล้ว สังเวช พอรู้ข่าวว่าญาติผู้ใหญ่ของตนพัวพันคดีฉ้อราษฎร์บังหลวง ก็สังเวช. (ป., ส. สํเวชน).
  45. สังสการ : [สะกาน] (โบ) น. พิธีกรรมเกี่ยวกับการปลงศพ, ส่งสการ ก็ว่า เช่น รุดเร่งส่งสการ. (ม. คําหลวง ชูชก). (ส. สํสการ).
  46. สัตตบงกช : [สัดตะบงกด] น. ชื่อบัวหลวงพันธุ์หนึ่ง. (ดู บัว).
  47. สัตตบุษย์ : [สัดตะบุด] น. (๑) ชื่อบัวหลวงพันธุ์หนึ่ง. (ดู บัว). (๒) เทียนสัตตบุษย์. (ดู เทียนสัตตบุษย์ ที่ เทียน๓).
  48. สัตถันดร, สัตถันดรกัป : [สัดถันดอน, สัดถันดะระกับ] น. ชื่อกัปหรือกัลป์หนึ่ง ซึ่งถือว่าคน เสื่อมจากศีลธรรมอย่างที่สุด มีการรบราฆ่าฟันกัน ไม่รู้จักญาติพี่น้อง เช่น ห้าขวบมีฆราวาส ใจร้ายกาจโกลี กัลปนั้นมีนามกร ชื่อสัตถันดร พึงมี. (มาลัยคําหลวง). (ป. สตฺถ + อนฺตร).
  49. สัตยวาที : น. ผู้พูดแต่ความจริง เช่น อันว่าพระมหาบุรุษรัตน ผู้อยู่ใน สัตยวาที. (ม. คําหลวงกุมาร). (ส. สตฺยวาทินฺ).
  50. หญิบ : [หฺยิบ] ว. ญิบ, สอง, เช่น ถ้วนหญิบหมื่นเป็นบริพาร. (ม. คําหลวง ทศพร).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | [451-500] | 501-517

(0.0947 sec)