Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: หม่อมหลวง, หม่อม, หลวง , then หมอม, หม่อม, หมอมหลวง, หม่อมหลวง, หลพง, หลวง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : หม่อมหลวง, 517 found, display 51-100
  1. กณิกนันต์ : [กะนิกนัน] (แบบ) ว. ละเอียดยิ่ง เช่น ลวดหลายลายกณิกนันต์. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์). (ป. กณิก ว่า น้อย + อนนฺต ว่า ไม่มีที่สุด).
  2. ก่น ๑ : (โบ) ก. ตั้งหน้า, มุ่ง, เช่น อยู่เย็นยงงก่นเกอดพิจลการ. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์).
  3. กบูร : [กะบูน] (แบบ) ว. แต่ง, ประดับ, งาม, เช่น ก็ใช้สาวสนม อนนกบูร. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์), คํานี้บางทีเขียนเป็น กระบูร กระบวร ขบูร ขบวร.
  4. กปณ : [กะปะนะ] ว. กําพร้า, อนาถา, ไร้ญาติ, ยากไร้, น่าสงสาร, (กลอน) เขียนเป็น กปนา ก็มี เช่น แม้มนุษยกปนาจํานง ขอสิ่งประสงค์ประสาททาน. (ม. คําหลวง มัทรี). (ป.).
  5. กมณฑลาภิเษก : [กะมนทะ-] (แบบ) น. หม้อน้ำสรง เช่น อนนเต็มใน กมณฑลาภิเษก. (ม. คําหลวง มหาราช). (ป., ส. กมณฺฑลุ = หม้อน้ำ + ส. อภิเษก = รด).
  6. กมณฑโลทก : [กะมนทะ-] (แบบ) น. น้ำในหม้อ เช่น ชําระพระองค์ด้วย กมณฑโลทก. (ม. คําหลวง มหาราช). (ป., ส. กมณฺฑลุ = หม้อน้ำ + อุทก = น้ำ).
  7. กมล : [กะมน] (แบบ) น. บัว เช่น บาทกมล. (สมุทรโฆษ); ใจ เช่น ดวงกมล. ว. เหมือนบัว เช่น เต้าสุวรรณกมลคนที. (ม. คําหลวง หิมพานต์), บางทีใช้ว่า กระมล. (ป., ส.).
  8. กมุท : [กะมุด] (แบบ) น. บัว เช่น ส่งดวงกมุทให้กัณหา. (ม. คําหลวง มัทรี). (ป., ส. กุมุท ว่า บัวสายดอกขาว).
  9. กรนทา : [กฺรน-] (โบ) น. ไม้คนทา (ลิปิ) เช่น กรนทาดาษดวงพรายก็มี. (ม. คําหลวง มหาพน).
  10. กรนนเช้า : [กฺรัน-] (โบ) น. กระเช้า เช่น คร้นนเช้าก็หิ้วกรนนเช้า ชายป่าเต้าไปหาชาย. (ม. คําหลวง มัทรี).
  11. กรพินธุ์ : [กอระ-] น. ทับทิม เช่น จงแต่งเขนแต่งขันธ์ ผ้าเกราะพรรณรายแพร้ว ดยรดาษแก้วกรพินธุ์. (ม. คําหลวง มหาราช). (บางทีจะเพี้ยนมาจาก กุรุพินท์ ซึ่งตรงกับคำสันสกฤตว่า กุรุวินฺท = ทับทิม).
  12. กรรกง : [กัน-] (เลิก) น. ที่ล้อมวง เช่น จําเนียรกรรกงรอบนั้น. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์), ใช้เป็น กงกรร ก็มี เช่น แลสับสังกัดกงกรร. (สมุทรโฆษ).
  13. กรรกศ : [กันกด] (แบบ) ว. หยาบช้า, เขียนเป็น กรรกษ ก็มี เช่น อันว่าพระญาติท่ววไท้ บมิหวังไหว้พระตถาคต ใจแลไป กรรกษ บารนี ฯ. (ม. คําหลวง ทศพร). (ส. กรฺกศ).
  14. กรรซ้นน : [กันซั้น] (โบ) ก. ทัน, กระชั้น, เช่น พราหมณ์จะมากรรซ้นน. (ม. คําหลวง กุมาร).
  15. กรรณยุคล : [กันนะ-] น. หูทั้ง ๒ ข้าง เช่น ในพระกรรณยุคลท่านนั้น. (ม. คําหลวง มหาราช). (ป., ส. ยุคล ว่า คู่).
  16. กรรพุม, กรรพุ่ม : [กัน-] (โบ; แผลงมาจาก กระพุ่ม) น. มือที่ประนม เช่น ถวายกรกรรพุม. (ม. คําหลวง ทศพร); พุ่ม เช่น กรรพุมมาลย์ = พุ่มดอกไม้.
  17. กรรแสง ๒ : [กัน-] (โบ) น. ผ้าสไบ เช่น กรรแสงสวมคอหิ้ว ตายบทันลัดนิ้ว หนึ่งดี. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์). (ดู กันแสง).
  18. กรรเหิม : [กัน-] (โบ; กลอน) ก. เหิม เช่น กรรเหิมหายหว่นนหว่า. (ม. คําหลวง ฉกษัตริย์).
  19. กรสาปน, กรสาปน์ : [กฺระสาบ] (แบบ) น. กระษาปณ์ เช่น แลพราหมณ์น้นนได้ทอง ร้อยกรสาปน เปนลาภด้วยเดอรขอทานทุกวันวารแก่มหาชน ทงงหลายบมิขาดเลย. (ม. คําหลวง ชูชก). (ส. การฺษาปณ).
  20. กระกรับกระเกรียบ : (โบ; กลอน) ว. กระด้าง, หยาบ, เช่น หนงงหยาบสุรเสียงศัพท์ ดูก็กระกรับกระเกรียบ. (ม. คําหลวง กุมาร).
  21. กระกวด : (โบ; กลอน) ว. สูงชัน, กรวด, กรกวด ก็ว่า เช่น อยู่จอมด้วยกรกวด กิ่งก้านรวดรยงงามอยู่น้นน. (ม. คําหลวง มัทรี).
  22. กระกัด : (โบ) ก. ใคร่, อยาก, ยินดี, เช่น ด้วยกระกัดศรัทธา. (มาลัยคําหลวง), ใช้ว่า ตระกัด ก็มี, เขียนเป็น กรกัติ หรือ กระกัติ ก็มี.
  23. กระเกรี้ยว : (โบ; กลอน) ว. เสียงขบฟันเกรี้ยว ๆ เช่น คุกคามขบฟันกระเกรี้ยว. (ม. คําหลวง ฉกษัตริย์).
  24. กระฉิ่ง : น. เครื่องเข้ากระบวนแห่ของหลวงชนิดหนึ่ง. (ดู กรรชิง).
  25. กระชอม : (โบ) ว. มาก, ใหญ่, เช่น ผักกาดกองกระชอมก็มี. (ม. คําหลวง มหาพน).
  26. กระช่าง : (โบ) ว. กระจ่าง เช่น เวหาเห็นกระช่าง. (ม. คําหลวง กุมาร), กระซ่าง ก็ว่า.
  27. กระชิง : น. เครื่องเข้ากระบวนแห่ของหลวงชนิดหนึ่ง เช่น กระชิงหุ้มผ้าแดง ได้แต่หลานหลวงอยู่ในวัง อยู่นอกวังกระชิงหุ้มผ้าขาวเลว. (กฎมนเทียรบาล). (ดู กรรชิง).
  28. กระซ่าง : (โบ) ว. กระจ่าง เช่น กระซ่างฟ้าเห็นกัน. (ม. คําหลวง สักบรรพ), กระช่าง ก็ว่า.
  29. กระแซ ๒ : น. ชื่อเรือพายชนิดหนึ่งอยู่ในกระบวนเรือรบหลวง เรียกว่า เรือกระแซ.
  30. กระดก ๒ : (โบ; กลอน) ก. ตระหนก, กลัว, เช่น ก็กระดกตกใจกลวว แก่มรณภยานตราย. (ม. คําหลวง ชูชก).
  31. กระดาษเทศ : (โบ) น. ตาดเทศ เช่น อันทําด้วยกระดาษเทศทอพราย. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์).
  32. กระทรวง ๑ : [-ซวง] น. หมู่, พวก, เช่น ทุกหมวดทุกกระทรวงทรง ฤทธิเรื้อง. (ยอพระเกียรติกรุงธน), ชนิด, อย่าง, เช่น อนึ่งนั้นอุเบกขาว่าเพ่งเฉย คือแหวกเลยสุขทุกข์อาลัยห่วง ไม่มีทุกข์ไม่มีสุขสิ้นทั้งปวง สามกระทรวงนี้เป็นชื่อเวทนา. (ปกีรณําพจนาดถ์), แบบ, อย่าง, กระบวน, เช่น ส่วนองค์พระอัยกาก็ทรงพาหนะหัสดินทร กรินทรราชเป็นทัพหลวงตามกระทรวงพยุหยาตรา. (ม. ร่ายยาว มหาราช), โดยสมควรแก่กระทรวงแล้วส่งไป. (สามดวง), ผจญคนกลิ้งกลอกกลับหลอกลวง เอากระทรวงสัตย์ ซื่อให้เสื่อมเท็จ. (สุ. สอนเด็ก). (ดู กระซุง).
  33. กระเทียมหอม : น. ต้นหอม เช่น กระเทียมหอมรําแย้ ก็มี. (ม. คําหลวง มหาพน).
  34. กระไทชาย : (โบ; มาจาก กระทาชาย) น. คนผู้ชาย เช่น อันว่ากระไทชายผู้หนึ่ง. (ม. คําหลวง กุมาร; มหาราช), กระทาชาย ก็ว่า.
  35. กระบอกหัว : (โบ) น. กะโหลกหัว เช่น อีกกระบอกหววมึงกูจะผ่า. (ม. คําหลวง ชูชก), ปักษ์ใต้ว่า บอกหัว.
  36. กระแบ่ : (โบ) น. กระบิ, ชิ้น, ส่วน, เช่น เราจะให้บั่นให้แล่ ทุกกระแบ่จงหนําใจ. (ลอ), ทุกกระแบ่เนื้อเห็นเปล่าเลย. (ม. คําหลวง กุมาร), กระแบะ ก็ว่า.
  37. กระแบก : น. ต้นตะแบก เช่น หูกวางพรรค์กระแบก. (ม. คําหลวง จุลพน), ตระแบก ก็ว่า.
  38. กระป่ำ ๑ : ว. เป็นปุ่มป่ำ เช่น บนเขากระป่ำ. (ม. คําหลวง กุมาร), มักใช้เข้าคู่กับคํา กระปุ่ม เป็น กระปุ่มกระป่ำ.
  39. กระป่ำ ๒ : ว. อร่อย เช่น อนี้ต้นหว้าหวานกระป่ำ. (ม. คําหลวง กุมาร; มัทรี).
  40. กระลบ : [-หฺลบ] (กลอน; แผลงมาจาก กลบ) ก. ตระหลบ. ว. ฟุ้ง เช่น ก็หอมกระลบอบองค์. (ม. คําหลวง จุลพน).
  41. กระหม่อม : น. ส่วนของกะโหลกอยู่ตรงแนวศีรษะแต่ต่ำกว่าส่วนสูงสุด ลงมาใกล้หน้าผาก ในเด็กแรกเกิดจนถึง ๒ ขวบส่วนนี้จะมี เนื้อเยื่ออ่อนปิดรอยประสานกะโหลกที่ยังเปิดอยู่ หลังจากนั้น เนื้อเยื่ออ่อนนี้จะกลายเป็นกระดูก, โดยปริยายหมายรวม ๆ ว่า หัว เช่น เป่ากระหม่อม ลงกระหม่อม, ขม่อม ก็ว่า; คําสําหรับใช้ควบ กับคําที่ขึ้นต้น ว่า ``เกล้า'' เช่น ทราบเกล้าทราบกระหม่อม ทูลเกล้าทูลกระหม่อม ในการเขียนหนังสือใช้ไปยาลน้อยแทน เช่น ทราบเกล้าฯ ทูลเกล้าฯ. ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย เพ็ดทูลเจ้านายชั้นหม่อมเจ้า และพระวรวงศ์เธอที่มิได้ทรงกรม, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑. (ราชา) ว. คำรับหรือคำลงท้ายที่ผู้ชาย ใช้เพ็ดทูลเจ้านายชั้นหม่อมเจ้า. (ย่อมาจาก ขอรับกระหม่อม). (แผลงมาจาก ขม่อม).
  42. กระเหน็จ : (โบ) น. วิธี, อย่าง, อุบาย, เช่น กลกระเหน็จต่าง ๆ. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์).
  43. กระเห่อ : ก. เห่อ เช่น คนห่ามกระเห่อทํา อวดรู้. (พระนลคําหลวง อารัมภกถา).
  44. กระอั้วแทงควาย : น. ชื่อการเล่นชนิดหนึ่งในการสมโภชของหลวง, บางทีเรียก กระอั้ว ว่า นางอั้ว เช่น นางอั้วเพ่งผัวเอน ควายเสี่ยว.
  45. กระอึก : (กลอน) ก. อึกทึก, อึง, เช่น ตระคอกคึกกระอึกอึง. (กลบท ๒; ม. คําหลวง จุลพน).
  46. กระเอบ : (กลอน) ว. อร่อย, หอมหวาน, เช่น ลิ้มไล้โอชกระเอบหวาน. (ม. คําหลวง จุลพน).
  47. กระเอิบ : (กลอน) ก. เอิบ, อิ่ม, เช่น เถ้ากระเอิบเรอสมออกแล. (ม. คําหลวง กุมาร).
  48. กรัม : [กฺรํา] น. หน่วยมาตราชั่งน้ำหนัก ตามมาตราเมตริก มีอัตรา = ๑๐๐ เซนติกรัม หรือ ๑ ใน ๑,๐๐๐ แห่งกิโลกรัม, ตามมาตราประเพณี อัตรา ๖๐๐ กรัม = ๑ ชั่งหลวง, อักษรย่อว่า ก. (ฝ. gramme).
  49. กร่าง : [กฺร่าง] น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ชนิด Ficus altissima Blume ในวงศ์ Moraceae เปลือกเรียบสีเทา ใบกว้างหนารูปไข่ ปลายมน ไม่มีขน ผลกลม เมื่อสุกสีส้มออกแดง, ลุง ฮ่างหลวง หรือ ไทรทอง ก็เรียก. (ปาก) ว. อาการที่ทำท่าทางหรือพูดจาวางโต เช่น เขาชอบทำกร่างอยู่เรื่อย.
  50. กราง ๒ : [กฺราง] (โบ; กลอน) ว. เสียงอย่างเสียงใบตาลแห้งที่ถูกลมพัด กระทบกัน เช่น ด่งงไม้รงงรจิตร อันอยู่ชชิดทางเทา ร่มเย็นเอาใจโลกย์ ลําโล้โบกใบกราง. (ม. คําหลวง ชูชก).
  51. 1-50 | [51-100] | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-517

(0.0965 sec)