Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: หม่อมหลวง, หม่อม, หลวง , then หมอม, หม่อม, หมอมหลวง, หม่อมหลวง, หลพง, หลวง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : หม่อมหลวง, 517 found, display 301-350
  1. ดอก ๓ : ว. คําประกอบให้ได้ความชัดขึ้น เช่น ฉันดอก ไม่ใช่คนอื่น ทําไม่ได้ดอก, (ปาก) มักพูดว่า หรอก เช่น ไม่ไปหรอก. ก. หลอก เช่น บ้างดอกล้อแล้ว โลมคืน. (ม. คําหลวง ชูชก).
  2. ด่อม : ว. ดุ่ม เช่น สู่ซุ้มไพรเดียวด่อม. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์).
  3. ดักดน : (กลอน) ว. ลําบาก, ตรากตรําอยู่นาน, เช่น แสนสะดุ้งดักดน. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์).
  4. ดัด ๑ : ก. ทําให้คดหรือตรงตามประสงค์ เช่น ดัดไม้ ดัดนิสัย; ทําให้เที่ยงตรง เช่น พระดัดคดีดล โดยเยี่ยง ยุกดิ์นา. (ตะเลงพ่าย); ปลุก เช่น เคยดัดฤดีตาตื่นตรับ. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์). ว. ที่ทําให้คดหรือตรงตามประสงค์ เช่น ไม้ดัด ตะโกดัด.
  5. ดันเหิม : (โบ; กลอน) ก. ตันเหิม, รื่นเริง, บันเทิงใจ, เช่น ดันเหิมหื่นหรรษาโมทย์. (ม. คําหลวง จุลพน).
  6. ด้าง : (โบ) น. ดั้ง เช่น แหลนไป่ติดด้าง. (ม. คําหลวง ชูชก).
  7. ด้าม : น. ส่วนของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ใช้ถือใช้จับ เช่น ด้ามมีด ด้ามขวาน, ลักษณนาม เรียกของบางอย่างที่มีลักษณะเช่นนั้นว่า ด้าม เช่น ปากกาด้ามหนึ่ง ปากกา ๒ ด้าม; ต้น, ทาง, เช่น โดยด้ามอาทิสวคนธ์. (ม. คําหลวง จุลพน), ผู้เผด็จ ด้ามตัณหา. (ม. คําหลวง ฉกษัตริย์), โดยด้ามอาทิทศธรรมสนท้าว. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์), แลราชผู้มีอยู่ในด้ามมารคธรรม. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์).
  8. ดาม ๒ : ก. ด้อม, เดินประกับไป, มักใช้เข้าคู่กับคํา ด้อมว่า ดามด้อม เช่น มาอยู่ดาม ด้อมหน. (ม. คําหลวง มัทรี), ใช้ว่า ด้าม ก็มี เช่น เสือสางด้ามด้อมทาง. (ลอ).
  9. ดาร-, ดาระ : (แบบ) น. เสียง, เสียงดัง, เสียงสูง, เสียงแหลม. ก. ข้าม เช่น ฝ่ายคนผู้ข้า ได้ดํารวจดารทาน. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์). (ป., ส. ตาร).
  10. ดาล ๒ : ก. เกิดขึ้น, เป็นขึ้น, มีขึ้น. น. พื้น, ฝ่า (ใช้แก่มือหรือเท้า) เช่น ดาลได ว่า ฝ่ามือ ดาลเชิง ว่า ฝ่าเท้า. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์).
  11. ดำกล : ก. ก่อสร้าง, ตั้ง, ตั้งไว้, ในวรรณคดีหมายความว่า งาม เช่น ดํากลดาดด้วย ดวงดาว. (ม. คําหลวงจุลพน). (แผลงมาจาก ถกล).
  12. ดำเกิง : ก. ขึ้น. ว. รุ่งเรือง, สูง, สูงศักดิ์ เช่น รื่นเริงดําเกิงใจยะย้าว. (ม. คําหลวง มหาพน). (แผลงมาจาก เถกิง).
  13. ดำนาน : แบบ) น. เรื่องแสดงกิจการอันมีมาแล้วแต่ปางหลัง เช่น น้าวเอาดํานาน พระมหาแพศ ยันดรธรรมเทศนา. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์). (ดู ตํานาน).
  14. ดำนู : (แบบ; กลอน; แผลงมาจาก ดนู) ส. ฉัน, ข้าพเจ้า, เช่น กึ่งกายกามดํานู. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์).
  15. ดำพอง, ดำโพง : (แบบ; กลอน; แผลงมาจาก ตะพอง) น. ส่วนที่นูนเป็น ๒ แง่อยู่เหนือ หน้าผากช้าง เช่น พลอยผูกกระพัดรัดดําโพง. (ม. คําหลวง มหาราช).
  16. ดำรวจ : [-หฺรวด] (แบบ; กลอน; แผลงมาจาก ตรวจ) ก. ตรวจตรา, พิจารณา, เช่น ฝ่ายคนผู้ข้าได้ดํารวจดารทาน. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์).
  17. ดำเลิง : (แบบ; กลอน; แผลงมาจาก เถลิง) ก. ขึ้น, ทําให้เลื่องลือ, เช่น ควันดําเลิง แลเห็นไกล. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์).
  18. ดำแลง : (แบบ; กลอน; แผลงมาจาก แถลง) ว. ดัดแปลง; กล่าว, ชี้แจง; จําแลง เช่น ก็ดําแลงเพศเป็นดาบส. (ม. คําหลวง ชูชก).
  19. ดำหนัก : (แบบ) น. ตําหนัก เช่น ผิธยลเยื้องไพรพระดําหนัก. (ม. คําหลวง ชูชก).
  20. ดีพร : [ดีบ] (แบบ) ว. กล้า, แข็ง, มาก, เช่น ม่ายเดือดดีพรในโลกย. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์). (ส. ตีวฺร; ป. ติพฺพ).
  21. ดีหลี : (ถิ่น) ว. แน่, แท้, แท้จริง, เช่น ธก็แจ้งจริงแท้ดีหลี. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์), อีหลี ก็ว่า.
  22. ดุรงค์ : น. ม้า เช่น เทียมดุรงค์รวดเรี่ยว. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์). (ป., ส. ตุรงฺค, ตุรค).
  23. เดียง ๑ : ก. รู้ เช่น มากูจะไปให้ดลเดียงถนัด. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์). (ข. ฎึง).
  24. เดื่อง : (แบบ) ก. กระเดื่อง เช่น แผ่นดินดื่นเดื่องไหว. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์).
  25. แด่น ๒ : ก. แล่น, ไปถึง เช่น ทัพถึงหมื่นถึงแสนแด่นถึงล้าน. (ม. คําหลวง มหาราช). (เทียบอะหม ดัน ว่าถึง).
  26. ตยาค : [ตะยาก] (แบบ) น. การสละ, การให้ปัน, เช่น อันมีใจตยาคนั้น. (ม. คําหลวง กุมาร). (ส.).
  27. ตยุติ : [ตะยุติ] (แบบ) ก. เคลื่อน, ตาย, (โดยมากใช้แก่เทวดา) เช่น ก็จะจยรตยุติ ลงเกอด. (ม. คําหลวง ทศพร). (ส.; ป. จุติ).
  28. ตรมวล : [ตฺรม-วน] (โบ) น. ตําบล เช่น เขาแก้วว่าวงกาจล ตรมวลใดท้าวธบอก. (ม. คําหลวง วนปเวสน์).
  29. ตระกัด : [ตฺระ-] (โบ) ก. ใคร่, อยาก, ยินดี, เช่น พ่อเอ๋ย ใช่ตั้งใจแก่ความกําหนัด ใน ความตระกัดกรีธา. (ม. คําหลวง กุมาร), กระกัด ก็ว่า.
  30. ตระคัร : [ตฺระคัน] (แบบ) น. ไม้กฤษณา เช่น กฤษณาขาวและตระคัร ก็มี. (ม. คําหลวง มหาพน). (ป.; ส. ตคร).
  31. ตระดาษ : [ตฺระ-] (กลอน) ว. ขาว, เผือก, เช่น อนนขาวตระดาษดุจสังข์. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์).
  32. ตระหง่อง, ตระหน่อง : [ตฺระ-] (โบ; กลอน) ก. จ้อง, คอยดู, เช่น ตาเรียมตระหง่องตั้ง ตาเรือ แม่ฮา. (ทวาทศมาส), เขียนเป็น ตรง่อง ก็มี เช่น อันว่าพระมหาสัตวก็ต้งงตาแลตรง่อง ซึ่งช้นนช่องมรรคา ที่มีผู้จะมาน้นน โสดแล. (ม. คําหลวง กุมาร), กระหง่อง หรือ กระหน่อง ก็ใช้.
  33. ตระอาล : [ตฺระอาน] (กลอน) ว. หวั่นไหว เช่น พยงแผ่นดินบตระอาล. (ม. คําหลวง กุมาร). (ข. ตรฺอาล ว่า ยินดี, สบายใจ).
  34. ตรัง : [ตฺรัง] (โบ) ก. ติดอยู่ เช่น สิ่งสินตรังตรา. (ม. คําหลวง มหาราช), ต้องกวางทราย ตายเหลือตรัง. (อนิรุทธ์).
  35. ตรีเกสรมาศ : น. เกสรทอง ๓ อย่าง คือ ผลมะตูมอ่อน เปลือกฝิ่น เกสรบัวหลวง.
  36. ต่อ ๑ : น. ชื่อแมลงขนาดกลางถึงขนาดใหญ่หลายวงศ์ มีปีก ๒ คู่ ลักษณะเป็นแผ่น บางใส ปีกคู่หลังเล็กกว่าปากเป็นชนิดกัดกิน เอวคอดกิ่ว ตัวเมียมีเหล็กใน สําหรับต่อยปล่อยนํ้าพิษทําให้เจ็บปวดได้ บางชนิดอยู่อย่างปีกคู่หน้าโดดเดี่ยว แต่บางชนิดรวมกลุ่มเป็นฝูง ทํารัง ที่สําคัญได้แก่ วงศ์ Vespidae เช่น ต่อหลวง
  37. ตะโก้ ๒ : น. ชื่อลมทะเลพัดจากทิศตะวันตกเฉียงเหนือมาทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ มักมีในปลายฤดูฝน, ลมพัดหลวง ก็เรียก.
  38. ตะติน : (กลอน) ว. เตาะแตะ, ต้อย ๆ, บอกอาการเดิน เช่น แล่นตะตินยงงท่า. (ม. คําหลวง ชูชก).
  39. ตะบองแดง : (โบ) น. ตะบองอาญาสิทธิ์ สำหรับถือไปเก็บสมุนไพรเพื่อทํายาของหลวง.
  40. ตะพุ่น ๑ : (โบ) น. พวกคนหลวงที่ถูกเกณฑ์ให้เกี่ยวหญ้าเลี้ยงช้าง.
  41. ตะพุ่นหญ้าช้าง : (โบ) น. โทษอาญาหลวงสมัยโบราณ; คนที่ถูกลงโทษให้เกี่ยวหญ้า เลี้ยงช้าง.
  42. ตัน ๒ : น. มาตรานํ้าหนักและมาตราวัด มีหลายอัตราแล้วแต่วัตถุที่ใช้ คือ ๑. เมตริกตัน มาตราชั่ง เท่ากับ นํ้าหนัก ๑,๐๐๐ กิโลกรัม หรือ ๑๖ (เศษ ๒ ส่วน ๓) หาบหลวง หรือเป็นมาตราวัดเท่ากับ ๑.๑๓ ลูกบาศก์เมตร หรือ ๔๐ ลูกบาศก์ฟุต. ๒. ตันระวางเรือ ถ้าคํานวณระวางบรรทุกสินค้า และห้องทั่วไป เรียก ตันกรอส, ถ้าคํานวณเฉพาะบรรทุกสินค้า เรียก ตันเน็ต, และถ้าคํานวณนํ้าหนักทั้ง ลําเรือเช่นเรือรบ เรียก ตันระวางขับน้ำ, ทั้ง ๓ นี้วัด ๑๐๐ ลูกบาศก์ฟุต เป็นตันหนึ่งเช่นเดียวกัน. ๓. ตัน ระวางบรรทุกอื่น ๆ ถ้าของหนักคิด ๑,๐๑๖.๐๔๗ กิโลกรัม เป็นตันหนึ่ง ถ้าเป็นของเบาคิดวัด ๑.๑๓ ลูกบาศก์ เมตร หรือ ๔๐ ลูกบาศก์ฟุต เป็นตันหนึ่ง. (อ. ton).
  43. ถนัด : [ถะหฺนัด] ก. สันทัด, ชํานาญ, เช่น ถนัดแต่งกลอน. ว. สะดวก เช่น เดินไม่ถนัด; ชัด, แม่ยำ, เช่น เห็นไม่ถนัด; เช่น, ราวกับ, เช่น ถนัด ดั่งภูผาหลวง ทุ่มแท้. (ตะเลงพ่าย), สนัด ก็ว่า.
  44. ถนิม : [ถะหฺนิม] น. เครื่องประดับ เช่น ถนิมพิมพาภรณ์, ในโลกนี้ถนิมเจ้า เอกแท้นางเดียว. (นิทราชาคริต), ธารถนิมทองถ่องเถือก. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์), ใช้ว่า สนิม ก็มี เช่น สร้อยสนิมพิมพาภรณ์.
  45. ถนิมกาม : ว. น่ารัก เช่น นางนงถ่าวถนิมกาม. (ม. คําหลวง ทศพร).
  46. ถมอ : [ถะหฺมอ, ถะมอ] น. หิน เช่น ดาดดําถมอทะมื่น. (ม. คําหลวง จุลพน).
  47. ถวัด : [ถะหฺวัด] ก. ตวัด เช่น หมีแรดถวัดแสนงขนาย. (แช่งนํ้า). ว. ไว, คล่อง, เช่น ลางหมู่เอาดินก็ได้ถวัด. (ม. คําหลวง มหาราช).
  48. ถ้อง : (กลอน) น. ทาง เช่น พฤกษาในเถื่อนถ้อง. (ม. คําหลวง มหาพน).
  49. ถอยใจใหญ่ : (โบ) ก. ถอนใจใหญ่, หายใจแรงและยาวในขณะที่ รู้สึกกลุ้มอกกลุ้มใจหรือโล่งอกโล่งใจเป็นต้น เช่น ท้าวธก็ถอยใจ ใหญ่ไปมา. (ม. คําหลวง กุมาร).
  50. ถัทธ : [ถัด] (แบบ) ว. แน่น, แข็ง, กระด้าง, เช่น อันว่าชูชกใจถัทธ. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์). (ป.).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | [301-350] | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-517

(0.1038 sec)