Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: หม่อมหลวง, หม่อม, หลวง , then หมอม, หม่อม, หมอมหลวง, หม่อมหลวง, หลพง, หลวง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : หม่อมหลวง, 517 found, display 201-250
  1. ขะข่ำ : (โบ; กลอน) ว. คลํ้า, มืดมัว, เขียนเป็น ขข่ำ ก็มี เช่น ฟ้าแมลบมล่นนร้อง ท้องฟ้าเขียวขขํ่า ยงงฝนพพร่ำพรอยพรำ อื้ออึงอัมพรระงม ด้วยกำลงง ลมพายุพัดน้นน. (ม. คําหลวง ฉกษัตริย์).
  2. ขะแข่น, ขะแข้น : (โบ; กลอน) ว. แข้น, แข็ง, เขียนเป็น ขแข่น ก็มี เช่น สองอ่อน โอ้อาดูร ร้อนแสงสูรย์ขแข่น. (ม. คําหลวง กุมาร), (ม. คําหลวง กุมาร), ร้อนขะแข้น. (ม. คําหลวง กุมาร).
  3. ขะแถก : (ถิ่น) ก. กระแทก, กระทบโดยแรง, กระทุ้ง, เช่น ขะแถกแทงทอท่ยว เขาส้ยมส่ยวยงงมี. (ม. คําหลวง มหาราช).
  4. ขัดมอนตัวผู้ : ดู หญ้าขัดหลวง ที่ หญ้าขัด.
  5. ข่า ๓ : น. ชื่อสัตว์นํ้าชนิดหนึ่ง ในมหาชาติคําหลวงแปลจากศัพท์ว่า สุสู, คือ จระเข้, เช่น มงงกรฉลองเข้ข่าก็มี. (ม. คําหลวง มหาพน).
  6. ขิ่ง : ก. พยายามทําสิ่งที่ยากอันตนจะต้องทําให้เสร็จ เช่น ท้าวธผู้ข้อนขิ่ง ทําทาน. (ม. คําหลวง ชูชก).
  7. ขีณะ : (แบบ) ว. สิ้นไป เช่น ถั่นคํ่าขีณะแล้ว. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์). (ป.).
  8. ขึ้นระวาง : ก. เข้าทําเนียบ, เข้าประจําการ, (ใช้แก่พาหนะของหลวง คือ ม้า ช้าง รถ และเรือ).
  9. ขุน ๑ : น. ผู้เป็นใหญ่, หัวหน้า, บรรดาศักดิ์ข้าราชการรองจากหลวงลงมา เช่น ขุนวิจิตรมาตรา; เรียกหมากรุกตัวสําคัญที่สุด. ว. ใหญ่ เช่น ขุนเขา. ขุนนาง (โบ) น. ข้าราชการที่ได้รับพระราชทานสัญญาบัตร ตามปรกติ ต้องมีศักดินาตั้งแต่ ๔๐๐ ขึ้นไป.
  10. เขดา : [ขะเดา] น. กําเดา, ความร้อน, เช่น ชลเขดาเดือดดาลพอง. (ม. คําหลวง ฉกษัตริย์). (ข. เกฺดา).
  11. เขม้น : [ขะเม่น] ก. เพ่ง, จ้องดู, มุ่งโดยเฉพาะ เช่น ฝ่ายผู้ได้พิจารณาว่ากล่าว บางคนก็ลำเอียงไปว่าทรัพจะได้เปนหลวง เขม้นว่ากล่าวกันโชกข่มขี่ จเอาแต่ทรัพเปนหลวงจงได้. (สามดวง), มักใช้เข้าคู่กับคำ มอง เป็น เขม้นมอง หรือ มองเขม้น, (โบ) เขียนเป็น ขเม่น ก็มี เช่น ขเม่น, คือ คนฤๅสัตวแลดูสิ่งของใด ๆ เพ่งตาดูไม่ใคร่จะกพริบ. (ปรัดเล)
  12. เขา ๓ : น. ชื่อนกในวงศ์ Columbidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับนกลุมพูและนกพิราบ ขนสีนํ้าตาล บางชนิดออกสีนํ้าตาลแดง ลําตัวมีลาย มักอยู่เป็นคู่หรือเป็นฝูง หากินเมล็ดพืชบนพื้นดิน ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น เขาใหญ่ หรือ เขาหลวง (Streptopelia chinensis) เขาไฟ (S. tranquebarica) เขาชวา (Geopelia striata). เขาเปล้า ดู เปล้า.
  13. แขนง ๒ : [ขะแหฺนง] ก. แหนง, แคลง, เช่น และแขนงหฤทัยนาง. (ม. คําหลวง มัทรี); ใช้ในการต่อของให้ราคาตํ่า ถือเป็นลางบอกว่าจะขายไม่ได้ราคาดีต่อไป.
  14. ครรหิต : [คันหิด] (แบบ) ว. ถูกจับไว้, ถูกยึดไว้, ซึ่งถือไว้, เช่น ก็บ่มิครรหิตให้แล้. (ม. คําหลวง กุมาร). (ป. คหิต; ส. คฺฤหิต).
  15. ครอก ๒ : [คฺรอก] (โบ) น. เจ้าโดยกำเนิดหรือที่สถาปนาขึ้น, เรียกพระราชโอรส และพระราชธิดาชั้นเจ้าฟ้าว่า เจ้าครอกฟ้า, เรียกพระองค์เจ้าและ หม่อมเจ้าว่า เจ้าครอก.
  16. คระเมิม : [คฺระ-] ว. ดุ, น่ากลัว, เช่น ครึ้มคระเมิมภัยรา. (ม. คําหลวง มหาพน).
  17. คล : [คน] (แบบ) น. คอ เช่น เหลือกตาเมียงเอียงคล. (ม. คําหลวง กุมาร). (ป., ส.).
  18. คลายเคล่ง : [-เคฺล่ง] (โบ; กลอน) ก. ขยายตรงออกไป, เดินตรงไป, เช่น ครองคลายเคล่งอาศรมบทนั้น. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์).
  19. คลิด : [คฺลิด] ก. ขัด, แคลง, เคลื่อน, เคล็ด, เช่น มาอย่าคลิดอย่าคลาด. (ม. คําหลวง มหาราช).
  20. ค้า ๒, ค้าค้า : (โบ) ก. ออกแสดง เช่น บค้าอาตม์ออกรงค์. (ตะเลงพ่าย), มีมือถือดาบ กล้าอวดค้าค้าคําราม. (ม. คําหลวง กุมาร).
  21. ค่ายผนบบ้านหล่อ : น. เครื่องกีดกั้นขวางทางในสมัยโบราณ ปักเสา สูงราว ๒ ศอก มีไม้เสาทับหลังขวางถนนเป็น ๒ แนวเยื้องไม่ตรงกัน ปลายต่อปลายเกินกันทั้ง ๒ ข้าง เช่น ตั้งหัวถนนป่าตองตรงจวนคลัง ๑ ตั้งท้ายถนนป่าตองต่อถ้าช้างปตูไชย ๑ ค่ายผนบบ้านหล่อ ตั้งรอบ พระราชวังหลวง ๑. (อธิบายแผนที่กรุงศรีอยุธยา), จังหล่อ จั้นหล่อ หรือ จำหล่อ ก็เรียก.
  22. คายัน : (แบบ) ก. ร้องเพลง, ขับร้อง, เช่น สยงสังคีตคายัน. (ม. คําหลวง มหาราช). (ป., ส.).
  23. คาส : [คาด] (แบบ) ก. กิน, กัด, เช่น ริ้นร่านห่านยุง ยงงคาสคุงใจ. (ม. คําหลวง สักบรรพ).
  24. คำนับ ๑ : ก. ทําความเคารพ, ทําความเคารพโดยก้มศีรษะให้. (โบ) น. คําที่ต้อง นับถือ, หลักฐาน, เช่น ธก็ให้โกษาธิบดีลําดับคํานับนี้ไว้. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์).
  25. คำนับ ๒ : ก. มิดชิด เช่น บมิให้เห็นรูเห็นช่อง ที่ล่องลับคํานับนิแล้ว. (ม. คําหลวง ชูชก).
  26. คำหลวง : น. คําประพันธ์ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ มีโคลงฉันท์กาพย์ กลอนปนกัน คือ มหาชาติคําหลวงและพระนลคําหลวง, คําประพันธ์ ที่แต่งมีลักษณะอย่างมหาชาติคําหลวง คือ นันโทปนันทสูตรคําหลวง และพระมาลัยคําหลวง.
  27. คุณชาย : (ปาก) น. คําที่ใช้เรียกหม่อมราชวงศ์ที่เป็นชาย.
  28. คุณหญิง : น. คํานําหน้าชื่อสตรีที่สมรสแล้วและได้รับพระราชทาน เครื่องราชอิสริยาภรณ์ตั้งแต่ชั้นจตุตถจุลจอมเกล้าถึงชั้นทุติยจุลจอมเกล้า; (โบ) คำนำหน้าชื่อสตรีที่เป็นเอกภรรยาของพระยา; (ปาก) คำที่ใช้เรียก หม่อมราชวงศ์ที่เป็นหญิง.
  29. คู่เคียง : น. ผู้ที่เข้ากระบวนแห่ของหลวงซึ่งเดินเคียงราชยานไปคนละข้าง.
  30. เคจฉะ : [เคดฉะ] (แบบ) ก. ไป, ถึง, เช่น ผู้ข้าคุงควรเคจฉเล็ดลอดลุเขาคด. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์). (ป. คจฺฉ).
  31. เคน ๑ : (โบ) น. เครื่องเป่า เช่น ปยวปี่แก้วเคนผสาร. (ม. คําหลวง มหาราช).
  32. เคน ๒ : (โบ) ก. ประเคน เช่น สิ่งสินเวนเคน. (ม. คําหลวง มหาราช).
  33. เคลี้ยคลิง : [เคฺลี้ยคฺลิง] (โบ) ก. เกลี้ยกล่อม, ปลอบโยน, เช่น เพื่อเคลี้ยคลิงวิงวอน. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์).
  34. เคา : (โบ) น. โค เช่น ดั่งว่าพฤติโคเคาเฒ่าชราจร. (ม. ร่ายยาว ชูชก), มีหนวด เพียงหลังเคา. (ม. คําหลวง กุมาร).
  35. เคี้ย : (ถิ่น; กลอน) ก. อยู่ เช่น อันเดียรดาษด้วยเตี้ยเค้าค่อม เคี้ยคอยทวาร ทุกแห่งแล. (ม. คําหลวง ทศพร).
  36. เคียม : (กลอน) ก. ไหว้, คํานับ, เช่น เคียมคัล, เคี่ยม ก็ว่า; เรียบร้อย, ตรง, เช่น เคียมค่อยมาดลสํานักจอมจักรนักไทธรรม. (ม. คําหลวง สักบรรพ). (ถิ่น–อีสาน เขี่ยม ว่า ตรง, เรียบร้อย).
  37. เคื้อ ๒ : (ถิ่น; กลอน; โบ) น. เครือ, เชื้อสาย, เช่น เคื้อคู ว่า เชื้อสายของครู. (ม. คําหลวง กุมาร).
  38. แคบ ๒ : น. อานม้า เช่น สรรพแคบหมอนทองห้อยภู่พราย. (ยวนพ่าย). (เทียบ ข. แคบ ว่า เบาะ, อานม้า). ก. ขลิบ เช่น ล้วนอลงกฎด้วย อลงการ เบาะลอออานแคบคํา. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์). (ถิ่น-อีสาน แขบ ว่า ขลิบ).
  39. แครครั่ง : [แคฺรคฺรั่ง] (โบ; กลอน) ก. คับคั่ง, มาก, เช่น ที่ใดคนแครครั่ง. (ม. คําหลวง ชูชก).
  40. แครง ๔ : [แคฺรง] ว. ตกแต่ง เช่น ธก็ผลัดแผลงแครงเครื่องอันบริสุทธิ์. (ม. คําหลวง วนปเวสน์). ว. งามพรายแพรว, หมดจด, ผ่องใส, เช่น ธก็ทรงพสตรพาสแครง ดุจแสงสังข์ใสสุทธ. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์), อนนธกทําด้วยไหมประไพแครงเครื่องฟ้า. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์), พายคํ่าจํารัสแครง ใสส่อง. (ทวาทศมาส). น. ผ้า เช่น นางก็ทรงพัสตราภรณ์ พาดแครง. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์). (เทียบ อีสาน แครง ว่า ผ้า, ผ้าพันคอชนิดผืนยาว).
  41. แครงเครียว : [แคฺรงเคฺรียว] (โบ; กลอน) ว. แรงมาก, โบราณเขียนเป็น แครงครยว ก็มี เช่น ท่านนี้แครงครยว คืนคํ่าขํ่าขยว จักขอสักอัน. (ม. คําหลวง มหาพน).
  42. จงอร : [-ออน] (แบบ) ก. จงทำให้ดีใจ, จงทำให้ปลาบปลื้ม, เช่น ใครรู้แห่ง พระแพศยันดร บอกจงอรใจกู. (ม. คําหลวง ชูชก). (ข. อร ว่า ดีใจ, ปลาบปลื้ม).
  43. จดูร- : [จะดูระ-] ว. สี่ เช่น จดูรพรรค ว่า รวม ๔ อย่าง. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์).
  44. จตุลังคบาท : [จะตุลังคะบาด] (โบ) น. เจ้ากรมพระตำรวจหลวงประจำ ๔ เท้าช้างทรงของพระมหากษัตริย์หรือพระมหาอุปราชในเวลาสงคราม เช่น จตุลังคบาทสี่ตน ล้วนขุนพลสามรรถ. (ตะเลงพ่าย), จัตุลังคบาท ก็ว่า.
  45. จรกลู่ : [จอระกฺลู่] (กลอน) ก. เที่ยวลอยเกลื่อนกลาดอยู่ เช่น จรกลู่ขึ้น กลางโพยมากาศ. (ม. คําหลวง ทศพร).
  46. จรบน, จรบัน : [จะระ-] (กลอน) ก. เที่ยวไปเบื้องบน, ฟุ้งไป, บินไป, เช่น ด้วยคันธามลกชําระจรบันสระหอมรส. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์).
  47. จรส : [จะหฺรด] ว. จรัส, แจ่มแจ้ง, รุ่งเรือง, สว่าง, เช่น เหลืองจรุลจรสรจนา. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์).
  48. จราว ๒ : [จะ-] (กลอน) น. ดอกไม้ เช่น แคแจรเจรอญจราว. (ม. คําหลวง จุลพน). (แผลงมาจาก จาว). (ดู จาว๔).
  49. จริก ๒ : [จะหฺริก] (กลอน) น. ต้นจิก เช่น จริกโจรตพยงผกากรรณก็มี. (ม. คําหลวง มหาพน).
  50. จลนี ๒ : [จะ-] (กลอน) น. ชะนี เช่น จลนีหวนโหนปลายทูม. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์). (ป.). [จะ-] (แบบ) น. ธูป, ของหอม; แสงสว่าง, ฟ้าแลบ, เช่น จลาจเลนทร์. (ม. คําหลวง แปลจากคํา คนฺธมาทโน; ส. จล + อจล + อินฺทฺร). [จะลาจน] น. ความปั่นป่วนวุ่นวายไม่มีระเบียบ. (ป., ส. จล + อจล).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | [201-250] | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-517

(0.0934 sec)