Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: หม่อมหลวง, หม่อม, หลวง , then หมอม, หม่อม, หมอมหลวง, หม่อมหลวง, หลพง, หลวง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : หม่อมหลวง, 517 found, display 251-300
  1. จังกวด ๒ : (กลอน) ว. บ้า เช่น เฒ่าจังกวดกามกวน. (ม. คําหลวง ชูชก). (ข. ฉฺกวต).
  2. จัตุลังคบาท : [จัดตุลังคะบาด] (โบ) น. เจ้ากรมพระตำรวจหลวงประจำ ๔ เท้า ช้างทรงของพระมหากษัตริยหรือพระมหาอุปราชในเวลาสงคราม เช่น จัตุลังคบาทบริรักษ์ พิทักษ์เท้ากุญชร. (ตะเลงพ่าย), จตุลังคบาท ก็ว่า.
  3. จำเบศ : ความหมายอย่างเดียวกับ จําบัง แต่เพื่อประโยชน์ในกลอนจึงใช้ ศ เข้าลิลิต เช่น หมู่โยธาโยเธศ รู้จําเบศจําบัง. (ม. คําหลวง มหาราช).
  4. เจริด : [จะเหฺริด] (แบบ) ว. งาม, เชิด, สูง, เช่น ป่านั้นเจริดจรุงใจก็มี. (ม. คําหลวง มหาพน).
  5. เจ้า ๑ : น. ผู้เป็นใหญ่, ผู้เป็นหัวหน้า, เช่น เจ้านคร; เชื้อสายของกษัตริย์นับตั้งแต่ ชั้นหม่อมเจ้าขึ้นไป, บางแห่งหมายถึงพระเจ้าแผ่นดินก็มี เช่น เจ้ากรุงจีน; ผู้เป็นเจ้าของ เช่น เจ้าทรัพย์ เจ้าหนี้; ผู้ชํานาญ เช่น เจ้าปัญญา เจ้าความคิด เจ้าบทเจ้ากลอน; มักใช้เติมท้ายคําเรียกผู้ที่นับถือ เช่น พระพุทธเจ้า เทพเจ้า; เทพารักษ์ เช่น เจ้าพ่อหลักเมือง.
  6. เจ้าครอก : (โบ) น. เจ้าโดยกําเนิดหรือที่สถาปนาขึ้น, เรียกพระราชโอรส และพระราชธิดาชั้นเจ้าฟ้าว่า เจ้าครอกฟ้า, เรียกพระองค์เจ้าและหม่อมเจ้า ว่า เจ้าครอก.
  7. เจ้าคุณจอม : น. ตําแหน่งพระสนมเอกวังหลวง.
  8. เจ้าจอม : น. ตําแหน่งพระสนมวังหลวง.
  9. แจร : [แจฺร] น. ต้นแคแตร เช่น แคแจรเจริญจราว. (ม. คําหลวง จุลพน).
  10. ฉวาง : [ฉะหฺวาง] น. วิธีเลขชั้นสูงของโบราณอย่างหนึ่ง. (ข. ฉฺวาง) ก. ขวาง เช่น อันว่า พยัคฆราช อันฉวางมรรคาพระมัทรี. (ม. คําหลวง มัทรี).
  11. ฉาทนะ : [ฉาทะนะ] น. เครื่องปิดคลุม, เครื่องกําบัง, หนัง, การซ่อน, การบัง, เช่น ท้าวก็แรงสุกลพัสตรฉาทน อนนขาวตระดาษดุจสังข์ โสดแล. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์). (ป., ส.).
  12. ฉิน ๓ : ว. ฉัน, มีแสงกล้า, มีแสงที่พุ่งออกไป; งาม, มักใช้เข้าคู่กับคํา โฉม เป็น ฉินโฉม หรือโฉมฉิน เช่น ฉินโฉมเฉกช่างวาด. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์).
  13. เฉท : [เฉด] (แบบ) น. การตัด, การฟัน, การฉีก, การเด็ด, การขาด, เช่น เฉทเฌอ. (ม. คําหลวงทานกัณฑ์). (ป., ส.).
  14. ชคดี : [ชะคะดี] น. แผ่นดิน เช่น แลเนืองนองด้วยมนุษยชาติ เดียรดาษชคดี. (ม. คําหลวง วนปเวสน์). (ป. ชคติ; ส. ชคตี).
  15. ชคัตตรัย : [ชะคัดไตฺร] (แบบ) น. โลก ๓ เช่น ชคัตตรยาพดง ว่า ผู้เป็นยอด ของ โลก ๓. (ม. คําหลวง วนปเวสน์).
  16. ชนบท : [ชนนะบด] น. บ้านนอก, เขตแดนที่พ้นจากเมืองหลวง ออกไป. (ป., ส. ชนปท).
  17. ชนมาพิธี, ชนมายุพิธี : [ชนนะ] น. อายุ, อายุขัย, กําหนดอายุ, เช่น ครั้นว่าจะสิ้นชนมาพิธีแล้วก็เสด็จเข้าสู่นฤพานแล. (ไตรภูมิ), ก็อยู่จนสิ้นชนมายุพิธี ในธรณีดลน้นน. (ม. คําหลวง ทศพร). (พิธี ว่า กําหนด).
  18. ชนะ ๒ : [ชะ] น. ชื่อกลองชนิดหนึ่ง รูปเหมือนกลองแขก ใช้ตีด้วยไม้ ใช้เฉพาะในงานหลวง.
  19. ชมไช : (กลอน) ก. ชื่นชมยินดี, รื่นเริง, เช่น พนคณนกหคชมไช. (ม. คําหลวง มหาพน).
  20. ชมเลาะ : (โบ) ก. ทะเลาะ เช่น ความชมเลาะกันก็จแรก. (ม. คําหลวง วนปเวสน์). (ข. เฌฺลาะ ว่า ทะเลาะ).
  21. ชร ๒ : [ชอน] น. น้ำ เช่น ชรเซาะเขาเราตกแต่ง. (คําฤษดี), ชรธารา. (ม. คําหลวง วนปเวสน์).
  22. ชรออบ : [ชฺระ] (กลอน) ก. ชอบ เช่น ธมาพักชรออบ คืนเดียวชอบ ชีนอน. (ม. คําหลวง กุมาร).
  23. ชรอัด : [ชฺระ] (กลอน) ว. ชัด เช่น ลางหมู่งาชรอัดชรแอ้น. (ม. คําหลวง มหาราช).
  24. ชระงม : [ชฺระ] (กลอน) น. ป่ากว้าง, ป่าใหญ่. ว. เปลี่ยวเปล่า, เงียบสงัด, เช่น อยู่ชระงมนั้น. (ม. คําหลวง มหาราช).
  25. ชระลอง, ชระล่อง : [ชฺระ] น. ทางล่อง, ซอกเขา, ลําธาร, เช่น ผู้ชระลองล่วงห้วง มหรรณพ. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์).
  26. ชระลั่ง : [ชฺระ] (กลอน) ก. ทะลึ่งทะลั่ง เช่น จงสองเจ้าอย่าได้ ทะลิ่นชระลั่งคอยนั่งเฝ้าพระบาท. (ม. คําหลวง กุมาร).
  27. ชระเอม : [ชฺระ] (กลอน) ว. ร่มเย็น เช่น ดั่งฤๅดั่งไทรชระเอมชรอื้อ. (ม. คําหลวง ชูชก).
  28. ชรัด : [ชฺรัด] (กลอน) ก. ซัด เช่น หมู่หนึ่งชรัดด้วยทองแดง. (ม. คําหลวง มหาราช).
  29. ชรุก : [ชฺรุก] (กลอน) ก. ซุก, แอบ, แทรก, เอาของไปแอบแฝงไว้, เช่น ช่อช้อยชรุกระโยงยาน. (ม. คําหลวง จุลพน).
  30. ชลชาติ : น. นํ้า เช่น ประพรมพระเจ้าด้วยชลชาติ. (ม. คําหลวง มัทรี); สัตว์นํ้า เช่น ลงดําสํ่ามัจฉา ชลชาติ. (โลกนิติ).
  31. ชวา : [ชะ] น. ชื่อเกาะสําคัญที่สุดและเป็นที่ตั้งเมืองหลวงของ ประเทศอินโดนีเซีย, (โบ) ใช้ว่า ยะวา ก็มี, เรียกประชาชน ที่พูดภาษาชวาว่า ชาวชวา; ชื่อปี่ชนิดหนึ่ง เรียกว่า ปี่ชวา.
  32. ชัฏ : [ชัด] (แบบ) น. ป่าทึบ, ป่ารก, เซิง, เช่น ตัวก่านกาจ ชาติชัฏขน. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์). (ป., ส. ชฏา).
  33. ชายา ๑ : (ราชา) น. หม่อมเจ้าหญิงซึ่งเป็นภรรยาของพระราชวงศ์, ถ้าพระองค์เจ้าหญิงซึ่งเป็นภรรยาของพระราชวงศ์ เรียกว่า พระชายา.
  34. ชำงือ : (โบ) ก. คิดเป็นทุกข์, วิตก, ป่วย, เป็นไข้, เป็นโรค, เช่น ตาชุ่มชื่นชํางือใจ. (ม. คําหลวง ฉกษัตริย์). (ข. ชํงื ว่า ความไข้, ออกจาก; ฌื ว่า เจ็บ, ไข้).
  35. ชีพิตักษัย : (ราชา) น. การสิ้นชีวิต. ก. ตาย, ใช้แก่หม่อมเจ้า ว่า ถึงชีพิตักษัย. (ส. ชีวิตกฺษย; ป. ชีวิตกฺขย).
  36. ชีพุก : น. พ่อ, ท่านพ่อ, เช่น ด่งงจริงชะรอยชีพุก หากทำทุกข์ แก่มึงอย่าเลอย. (ม. คําหลวง ชูชก). (เทียบ ข. โอวพุก ว่า พ่อ).
  37. ชื่อว่า : สัน. แม้ว่า, เรียกว่า, นับว่า, เช่น ชื่อว่าเรือนมึงงาม ดังเรือนท้าว. (ม. คําหลวง ชูชก).
  38. ชุ : (กลอน) น. ต้นไม้ เช่น กินลูกชุลุเพรางาย. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์). (ต. ชุ ว่า ต้นไม้).
  39. เชอ : ก. เป็นคําใช้เข้าคู่กับคํา บําเรอ เช่น อันว่าอมิตดาก็อยู่บําเรอ เชอภักดิ์. (ม. คําหลวง ชูชก), จํานําบําเรอเชอถนอม. (สรรพสิทธิ์).
  40. เช้า ๒ : (โบ) น. กระเช้า เช่น ครั้นเช้าก็หิ้วเช้า. (ม. คําหลวง มัทรี).
  41. เชิงเวียน : น. ชื่อลายชนิดหนึ่ง เช่น เอาพระจําเจิมเฉลิมเชิงเวียน. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์).
  42. เชีย : (โบ) ก. ไหว้ เช่น เชียเชิงเจ้าพ่อผัวแม่แง่. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์).
  43. เชื้อ ๒ : ก. เชิญ เช่น สาวใช้เชื้อชูไป. (ม. คําหลวง ทศพร), มักใช้เข้าคู่ กับคํา เชิญ เป็น เชื้อเชิญ; ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่งที่มักใช้ เนื่องในการอธิษฐาน.
  44. เชื่อวัน : ว. คําใช้เข้าคู่กับคํา ทุกเมื่อ เป็น ทุกเมื่อเชื่อวัน หมายความว่า ทุกขณะ, ทุกวัน, เสมอ. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์).
  45. แชะ : (โบ) ว. แฉะ เช่น บเปื้อนแชะชํชล. (ม. คําหลวง วนปเวสน์).
  46. ซรอกซรัง : [ซฺรอกซฺรัง] (แบบ) ก. ซุกซ่อน, ซ่อนเร้น, เช่น อย่าทันเห็นแม่ออก ชีสู่ซรอกซรังไป. (ม. คําหลวง กุมาร), ซอกซัง ก็ว่า.
  47. ซวด : (โบ) ก. เกินขนาด, นูนขึ้นสูงขึ้น, เช่น อันว่าสวภาพท้อง บมิซวดเสมออก. (ม. คําหลวง ทศพร).
  48. แซง ๒ : น. เรียกม้าที่มีหน้าที่แทรกขนานไปข้าง ๆ ในกระบวนแห่หรือ กองทัพว่า ม้าแซง, ชื่อช้างศึกพวกหนึ่ง มีหน้าที่สอดแทรกเข้าไปข้าง กระบวนทัพคอยช่วยระวังรักษาทัพ, ช้างแทรก ก็เรียก, เรียกเรือกราบ ซึ่งจัดเข้าร่วมไปในกระบวนเรือหลวง มีหน้าที่ป้องกันภัยกระบวนเรือ พระที่นั่งโดยแซงขนาบอยู่ ๒ ข้างและปิดท้ายกระบวน ว่า เรือแซง. ก. เบียดหรือเฉียดเพื่อจะขึ้นหน้า เช่น เดินแซง ขับรถแซง แซงคิว; สอดแทรกเข้ามาในระหว่าง เช่น พูดแซง.
  49. ฐกัด : [ถะกัด] ก. ตระกัด, ยินดี, เช่น ฐกัดนี้แก่เถ้าตุ่ยต่วมฤๅจตรู. (ม. คําหลวง ชูชก).
  50. ดนุช : น. ผู้บังเกิดแต่ตน, ลูกชาย, เช่น ใกล้หัตถ์ดลดนุช. (ม. คําหลวง วนปเวสน์). (ป., ส.).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | [251-300] | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-517

(0.0913 sec)