Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: หม่อมหลวง, หม่อม, หลวง , then หมอม, หม่อม, หมอมหลวง, หม่อมหลวง, หลพง, หลวง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : หม่อมหลวง, 517 found, display 401-450
  1. เปียว : (โบ) ก. เป่า เช่น เปียวปี่แก้วเคนผสาร. (ม. คําหลวง มหาราช).
  2. ไปศาจ : น. ปิศาจ เช่น ก็ยังไปศาจผีเสื้อเนื้อแลนก. (ม. คําหลวง วนปเวสน์).
  3. ผงร : [ผะหฺงอน] ก. หงาย, ชูขึ้น, ทรงไว้, เช่น ข้าแต่พระผู้ผงรแผ่นแผ้ว. (ม. คําหลวง จุลพน); ชะเง้อขึ้น เช่น เสือผกผงร. (เสือโค). (ข. ผฺงาร).
  4. ผง่าน : [ผะหฺง่าน] ว. ผงาด เช่น ทั้งอกไหล่ก็ผายผึ่งผง่านโง. (ม. คําหลวง ชูชก).
  5. ผอก ๒ : ว. น่าเกลียด เช่น แลจะให้แก่พราหมณ์เถ้าผอกหงอกหลง. (ม. คําหลวง มหาราช).
  6. ผ่าน : ก. ล่วงจุดใดจุดหนึ่งไป เช่น รถผ่านสนามหลวง, อาการที่เคลื่อน จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง เช่น รถสายนี้ผ่านสามย่าน สีลม, ล่วงเลย เช่น เวลาผ่านไป ๕ ปี; โดยปริยายหมายความว่า เคย เช่น ผ่านตามาแล้ว ผ่านหูมาก่อน หรือ ชำนาญเชี่ยวชาญ เช่น ผ่านงานมามาก ผ่านศึกมาหลายครั้ง, ยอมให้ก่อน เช่น ผ่าน ไปก่อน, ยอมให้ล่วงเข้าไปได้ เช่น บัตรผ่านประตู, สอบได้ เช่น ผ่านชั้นประถมปีที่ ๑ แล้ว, ได้รับความเห็นชอบ เช่น พระราชบัญญัติงบประมาณผ่านสภาแล้ว, ตัดทาง, ลัดทาง, เช่น ห้ามเดินผ่านสนาม, ข้าม เช่น ไฟแดงห้ามผ่าน มองผ่านไป, เปลี่ยน เช่น ผ่านมือ, ครอบครอง เช่น ผ่านเมือง, บอกราคาสูง เกินไป ในความว่า บอกราคาผ่านมากไป, ล่วงพ้นไป เช่น เวลา
  7. ผึ้ง ๑ : น. ชื่อแมลงหลายชนิดในวงศ์ Apidae มีปีกบางใส ๒ คู่ ปีกคู่หลัง เล็กกว่าปีกคู่หน้า ปากใช้ทั้งกัดอาหารและดูดกินของเหลวได้ ท้องปล้องแรกที่ติดกับอกเล็กมาก ปล้องที่ ๒ มีขนาดไล่เลี่ยกัน ปล้องที่เหลือมีขนาดไล่เลี่ยกับอก ยกเว้นปล้องสุดท้ายที่มีขนาด เล็กกว่ามีขนปกคลุมตามลําตัว รวมตัวอยู่เป็นฝูง แบ่งชั้นวรรณะ เก็บเกสรและนํ้าหวานดอกไม้มาทํานํ้าผึ้ง เช่น ผึ้งหลวง (Apis dorsata) ผึ้งโพรง (A. cerana) ผึ้งมิ้ม (A. florea) ผึ้งเลี้ยง (A. mellifera) ผึ้งหอยโข่ง (Trigona spp.) และหลายชนิดในวงศ์ Megachilidae ซึ่งเป็นผึ้งที่อาศัยอยู่อย่างโดดเดี่ยว ไม่รวมตัวเป็นฝูง ไม่แบ่งชั้นวรรณะ ได้แก่ ผึ้งกรวย เช่น ชนิด Megachile griseopicta และผึ้งหลอด เช่น ชนิด Chalicodoma atrata, เผิ้ง ก็เรียก.
  8. ผูกภาษี : (โบ) ก. ว่าเหมาการเก็บภาษีไปทําเองแล้วให้เงินแก่หลวง ตามสัญญา.
  9. เผือน ๒ : (แบบ) ก. ขัดถู เช่น กูก็มิไปยังอย้าวเรือน เผือนถู. (ม. คําหลวง ชูชก).
  10. พก ๑ : น. ริมผ้านุ่งที่ดึงรวบขึ้นมาไขว้ไว้ที่บริเวณสะดือ มีลักษณะคล้ายถุง เล็ก ๆ เรียกว่า ชายพก ใส่เงินหรือหมากเป็นต้น; แผ่นดิน. ก. เอา เก็บหรือซ่อนไว้ในพกหรือในสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น พกมีด พกนาฬิกา, เรียกสิ่งที่นำติดตัวไปในลักษณเช่นนั้น เช่น มีดพก ปืนพก นาฬิกาพก; พัง, ทําลาย, เช่น ดุจพสุธาพังดังพสุธาพก. (ม. ร่ายยาว มหาราช); ผก, หก, ตก; (กลอน) วก เช่น ภายหลังมา จึงพราหมณ์ชูชก พกมาทวงทอง. (ม. คําหลวง ชูชก).
  11. พนธารา : [พะนะ] น. แถวต้นไม้ (เช่นตาม ๒ ข้างถนนหลวง). (ส. วนธารา).
  12. พระ : [พฺระ] น. คำใช้แทนชื่อเรียกภิกษุสงฆ์ เช่น วัดนี้มีพระกี่องค์ พระลง โบสถ์, พระพุทธรูป เช่น ชักพระ ไหว้พระในโบสถ์, พระพุทธเจ้า หรือ เนื่องด้วยพระพุทธเจ้า เช่น เมืองพระ คําพระ พระมาตรัส, ชื่อวันประชุมถือศีลฟังธรรมในพระพุทธศาสนา เดือนหนึ่งมี ๔ วัน คือ วันขึ้น ๘ ค่ำ ขึ้น ๑๕ ค่ำ แรม ๘ ค่ำ และแรม ๑๕ ค่ำ ถ้าเป็น เดือนขาดก็แรม ๑๔ ค่ำ เรียกว่า วันพระ; พระเจ้า, พระเยซู, (ตามที่ คริสต์ศาสนิกชนในเมืองไทยใช้อนุโลมเรียก) เช่น พระลงโทษ แม่พระ; นักบวช, นักพรต, เช่น พระไทยพระแขก พระฝรั่ง พระจีน พระญวน; ตัวเอกในเรื่องละคร เช่น ตัวพระตัวนาง; ใช้ประกอบ หน้าคําอื่นแสดงความยกย่อง ๑. เทพเจ้าหรือเทวดาผู้เป็นใหญ่ เช่น พระอิศวรพระนารายณ์ พระพิรุณ ๒. พระเจ้าแผ่นดินหรือของที่ เกี่ยวข้องกับพระเจ้าแผ่นดินและเจ้านายชั้นสูง เช่น พระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ ๓. สมณศักดิ์ชั้นราชาคณะ เช่น พระราชเวที พระเทพ เมธี ๔. นักบวช เช่น พระแดง ๕. สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น พระภูมิ; อิสริยยศ เจ้านาย เช่น พระรามคําแหง พระนเรศวร พระเทียรราชา; บรรดาศักดิ์ ข้าราชการสูงกว่าหลวง ต่ำกว่าพระยา เช่น พระสารประเสริฐ พระธรรมนิเทศทวยหาญ, ใช้ประกอบหน้าชื่อบรรดาศักดิ์พระสนม; โดยปริยายหมายถึงผู้ที่มีเมตตากรุณาทรงคุณงามความดีเหมือนพระ เช่น ใจพระ พ่อแม่เป็นพระของลูก. ส. คําใช้แทนผู้ที่เราพูดถึง ใช้กับ ผู้เป็นใหญ่ เช่น พระเสด็จโดยแดนชล, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓.
  13. พระองค์เจ้า : น. ยศสําหรับพระราชโอรสหรือพระราชธิดาของพระ มหากษัตริย์ที่ประสูติแต่สามัญชน, ยศสําหรับพระโอรสหรือที่ พระธิดาในพระองค์เจ้าลูกหลวงประสูติแต่พระมารดาเป็นพระองค์เจ้า, ยศสําหรับพระโอรสหรือพระธิดาในสมเด็จเจ้าฟ้าที่พระมารดาเป็นเจ้า, ยศสําหรับหม่อมเจ้าหรือผู้ที่ตํ่ากว่าหม่อมเจ้าที่ได้รับสถาปนา.
  14. พลี ๑ : [พะลี] น. การบวงสรวง, เครื่องบวงสรวง, ส่วย, การบูชา, (ตาม แบบมี ๕ คือ ญาติพลี สงเคราะห์ญาติ, อติถิพลี ต้อนรับแขก, เปตพลี ทําบุญอุทิศให้ผู้ตาย, ราชพลี ถวายเป็นหลวง มีเสียภาษี อากรเป็นต้น, เทวตาพลี ทําบุญอุทิศให้เทวดา, และแบ่งเป็น ๒ อย่าง คือ ธรรมพลี อุทิศกุศลให้ และ อามิสพลี ให้สิ่งของ). (ป., ส. พลิ ว่า เครื่องบวงสรวง).
  15. พัทธยา ๑ : น. จํานวนที่หักหรือริบเอาไว้เป็นภาคหลวง.
  16. พัทธยากร : น. ค่าภาคหลวง.
  17. พิดาน : น. เพดาน เช่น ด้วยพิดานดาวทอง. (ม. คําหลวง วนปเวสน์). (ป., ส. วิตาน).
  18. พิธี : น. งานที่จัดขึ้นตามลัทธิหรือความเชื่อถือตามขนบธรรมเนียม ประเพณีเพื่อความขลังหรือความเป็นสิริมงคลเป็นต้น เช่น พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ พิธีมงคลสมรส พิธี ประสาทปริญญา; แบบอย่าง, ธรรมเนียม, เช่น ทำให้ถูกพิธี; การกําหนด เช่น ก็อยู่จนสิ้นชนมายุพิธีในเทพพู้น. (ม. คําหลวง ทศพร). (ป., ส. วิธิ).
  19. พิธีธรรม : น. พระสงฆ์จํานวน ๔ รูปที่ได้รับสมมุติให้สวดภาณวาร หรือสวดอาฏานาฏิยสูตร ในงานพระราชพิธีตรุษสงกรานต์ หรือ สวดอภิธรรมในการศพของหลวง เรียกว่า พระพิธีธรรม.
  20. พินัย : น. เงินค่าปรับเป็นภาคหลวง. (ป., ส. วินย).
  21. เพคะ : ว. คํารับหรือคําลงท้ายที่ผู้หญิงใช้เพ็ดทูลเจ้านายตั้งแต่ชั้นหม่อมเจ้า ขึ้นไป.
  22. เพ็จ ๒ : ก. เผล็ด, ผลิ, เช่น พิเภทเพ็จผกากาญจน. (ม. คําหลวง จุลพน).
  23. เพณี : น. เวณิ, ผมซึ่งเกล้าไว้, สายที่ถัก เช่น อันว่าสร้อยสังวาลเพณี. (ม. คําหลวง ทศพร). (ป., ส. เวณิ).
  24. ไพชยนต์ : [ชะยน] น. ชื่อรถและวิมานของพระอินทร์; ปราสาททั่วไปของ หลวง; ธงของพระอินทร์. (ส. ไวชยนฺต, ไวชยนฺตี; ป. เวชยนฺต).
  25. ไพร่สม : (โบ) น. ชายฉกรรจ์ อายุครบ ๑๘ ปี เข้ารับราชการทหาร ฝึกหัดอยู่ ๒ ปี แล้วย้ายมาเป็นไพร่หลวง.
  26. ไพร่ส่วย : (โบ) น. พวกไพร่หลวงที่ไม่ต้องการเข้าประจําการ แต่ต้องหาสิ่งของใช้ในราชการส่งมาแทนทุกปี.
  27. มนทิระ, มนทิราลัย : [มนทิระ] (แบบ) น. เรือนหลวง. (ป., ส.).
  28. มนเทียร : [มนเทียน] น. เรือนหลวง ใช้ว่า พระราชมนเทียร, โบราณใช้ว่า พระราชมณเฑียร. (ป., ส. มนฺทิร).
  29. มองโกเลีย : น. ชื่อประเทศอยู่ทางทิศเหนือและทิศตะวันออกของจีน มีเมืองหลวงชื่อ อูลานบาตอร์ เดิมเรียกว่า มองโกเลียนอก ส่วนมองโกเลียใน ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของประเทศสาธารณรัฐ ประชาชนจีน,เรียกประชาชนในประเทศนั้นว่า ชาวมองโกเลีย. (อ. Mongolia).
  30. มันทิระ, มันทิราลัย : น. มนเทียร, เรือนหลวง. (ป., ส.).
  31. มีดดาบ : น. มีดขนาดใหญ่ ใบมีดรูปยาวรีประมาณ ๑ ศอก ปลายงอน ขึ้นเล็กน้อย ด้ามทำด้วยไม้ยาว ๑ คืบ ดาบของหลวงปรกติสอดไว้ในฝัก ดาบเชลยศักดิ์ไม่นิยมทำฝักสำหรับสอดดาบ ใช้เป็นอาวุธ มีชื่อเรียก ต่างกันออกไปตามลักษณะปลายดาบ, ถ้าปลายแหลม หัวงอน เรียกว่า มีดดาบหัวปลาซิว, ถ้าปลายมนแหลมเรียกว่า มีดดาบหัวปลาหลด, ถ้าปลายตัดขวางเรียกว่า มีดดาบหัวตัด, ถ้าปลายแหลมตัดปลายสันเฉียง ปัดไปทางปลายดาบเรียกว่า มีดดาบหัวเผล้.
  32. มือสะอาด : (สํา) ว. มีความประพฤติดี, มีความซื่อสัตย์สุจริตไม่คดโกง หรือฉ้อราษฎร์บังหลวง.
  33. เมรุ, เมรุ- : [เมน, เม-รุ-] น. ชื่อภูเขากลางจักรวาล มียอดเป็นที่ตั้งแห่งเมืองสวรรค์ชั้น ดาวดึงส์ซึ่งพระอินทร์อยู่; ที่เผาศพ เดิมผูกหุ่นทำเป็นภูเขาตั้งที่เผาขึ้นบนนั้น ของหลวงทำเป็นเรือนโถง เครื่องยอดหรือมณฑปครอบที่เผา เรียกว่า พระเมรุ, ต่อมาเรียกที่เผาศพทั่วไปทั้งมียอดและไม่มียอดว่า เมรุ. (ป.).
  34. เมียน้อย : (ปาก) น. หญิงที่ชายเลี้ยงดูอย่างภรรยา แต่ไม่มีศักดิ์ศรีเท่าเมียหลวง หรือไม่ได้จดทะเบียน.
  35. โมกใหญ่ : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Holarrhena pubescens Wall. ex G. Don ในวงศ์ Apocynaceae ดอกสีขาว กลิ่นหอม เปลือกใช้ทํายาได้, มวกใหญ่ หรือ มูกหลวง ก็เรียก.
  36. โมงครุ่ม : น. การเล่นมหรสพอย่างหนึ่ง มีในงานหลวง เช่น ในพระราชพิธีโสกันต์เป็นต้น.
  37. ยาดา : น. หญิงที่เป็นสะใภ้ด้วยกัน เช่น หนึ่งคือนางศิริมหามายา ยาดานารถบพิตร ก็ดี. (ม. คําหลวง ทศพร). (ส. ยาตา).
  38. ยุกดิ, ยุกติ : (แบบ; กลอน) ก. ชอบ เช่น รุ่งนั้นธก็เสด็จโดยอุตราภิมุข ดําเนอรยุกติ ยูรยาตร. (ม. คําหลวง วนปเวสน์). (ส. ยุกฺติ; ป. ยุตฺติ).
  39. ยุคเข็ญ : น. คราวที่มีความเดือดร้อนลําเค็ญอย่างใหญ่หลวง.
  40. ยุ่บ, ยุ่บยั่บ : ว. อาการที่เคลื่อนไหวกระดุบกระดิบของสัตว์เล็ก ๆ อย่างหนอน มด ปลวก จำนวนมาก ๆ เช่น มดขึ้นยุ่บ หนอนไต่ยุ่บยั่บ, โดยปริยายใช้แก่ คนจำนวนมาก ๆ เช่น ที่สนามหลวงคนเดินขวักไขว่ยุ่บยั่บไปหมด.
  41. ระเบ็ง ๑ : น. การมหรสพชนิดหนึ่งของหลวง ที่แสดงในงานพระราชพิธีสมโภช เช่น พระราชพิธีโสกันต์.
  42. ระเบียง : น. พื้นเรือนที่ต่อออกไปทางด้านข้าง มีหลังคาคลุม; โรงแถวที่ล้อมรอบ อุโบสถหรือวิหาร, ถ้าเป็นอารามหลวง เรียกว่า พระระเบียง. ว. เรียง, เคียง, ราย.
  43. ราชทัณฑ์ : น. อาญาพระเจ้าแผ่นดิน, โทษหลวง, เช่น ต้องราชทัณฑ์, เรียกกรมที่มีหน้าที่ลงโทษจำคุกผู้กระทำผิดตามตัวบทกฎหมายควบคุม อบรมฝึกวิชาชีพให้แก่ผู้กระทำผิด พักการลงโทษและคุมประพฤติ และขอพระราชทานอภัยโทษ ปลดปล่อยและสงเคราะห์ผู้พ้นโทษ เป็นต้น ว่า กรมราชทัณฑ์. (ป., ส.).
  44. ราชธานี : น. เมืองหลวง.
  45. ราชบัณฑิต : [–บันดิด] น. นักปราชญ์หลวงมีความรู้ทางภาษาบาลี; สมาชิกองค์การวิทยาการของรัฐที่เรียกว่า ราชบัณฑิตยสถาน.
  46. ราชบาตร : น. คําสั่งหลวง.
  47. ราชปะแตน : [ราดชะปะแตน] น. เสื้อนอกคอปิดมีกระดุม ๕ เม็ดกลัด ตลอดอย่างเครื่องแบบปรกติขาวของข้าราชการ. (เดิมเรียกว่า ราชแปตแตน มาจากคําบาลีผสมอังกฤษว่า Raj pattern แปลว่า แบบหลวง).
  48. ราชยาน : [ราดชะยาน] น. ยานชนิดคานหามของหลวง, เรียกว่า พระยาน ก็มี เช่น พระยานมาศ, เรียกว่า พระราชยาน ก็มี เช่น พระราชยานกง พระราชยานถม, เรียกว่า พระที่นั่งราชยาน ก็มี เช่น พระที่นั่งราชยาน พุดตานทอง, หรือเรียกเป็นอย่างอื่นก็มีคือ พระที่นั่งราเชนทรยาน. (ส.).
  49. ราชวงศ์ : น. ตระกูลของพระราชา เช่น ราชวงศ์พระร่วง ราชวงศ์บ้าน พลูหลวง; ตําแหน่งเจ้านายในเมืองประเทศราชฝ่ายเหนือ เรียกว่า เจ้าราชวงศ์. (ส.).
  50. ราชวรมหาวิหาร : [ราดชะวอระมะหาวิหาน] น. เรียกพระอารามหลวง ชั้นเอกชนิดสูงสุดว่า ชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร เช่น วัดพระเชตุพน วัดมหาธาตุกรุงเทพมหานคร, เรียกพระอารามหลวงชั้นโทชนิดสูงสุด ว่า ชั้นโทชนิดราชวรมหาวิหาร มี ๒ วัด คือ วัดสระเกศ และวัดชนะ สงคราม.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | [401-450] | 451-500 | 501-517

(0.0911 sec)