Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: กิริยาอาการ, กิริยา, อาการ , then กรยา, กรยาอาการ, กิริย, กิริยา, กิริยาอาการ, อาการ, อาการะ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : กิริยาอาการ, 1612 found, display 1151-1200
  1. ล้งเล้งเอากับฉันใหญ่. : ว. อาการที่ส่งเสียงเอ็ดอึงราวกับทะเลาะ วิวาทกัน เช่น พูดกันล้งเล้ง.
  2. ลงส้น : ก. อาการที่เดินกระแทกส้นเท้าแสดงความไม่พอใจเป็นต้น.
  3. ลนลาน : ว. อาการที่กลัว ตกใจ หรือรีบร้อนเป็นต้นจนทำอะไรไม่ถูก เช่น ไฟไหม้ข้างบ้านเขาวิ่งหนีไฟลนลานเลยไม่ได้หยิบอะไรมา.
  4. ลนลาน ลุกลน ลุกลี้ลุกลน. : ว. อาการที่รีบร้อนจนไม่เป็นระเบียบ, สับสน, เช่น ทำอะไรลนไปหมด พูดลนจนฟังไม่รู้เรื่อง.
  5. ลบ : ก. ทำให้หายไปด้วยอาการเช็ดหรือถู, ทำให้หายไป เช่น น้ำลบฝั่ง; หักออก, ชักออก, (ใช้แก่วิธีเลข). ว. ที่เป็นไปในทางร้าย ทางไม่ดี หรือทางทําลาย เช่น มองในทางลบ. น. เรียกเครื่องหมายดังนี้ - ว่า เครื่องหมายลบ.
  6. ลบหลู่ : ก. แสดงอาการเหยียดหยามต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือต่อผู้มี อุปการคุณโดยถือว่าไม่สำคัญควรแก่การเคารพนับถือ เช่น ลบหลู่ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาที่ตนไม่ได้นับถือ ลบหลู่พ่อแม่ครูบาอาจารย์ นาย ก ลบหลู่บิดานาย ข.
  7. ลม ๆ : ว. ไม่เป็นแก่น, ไม่เป็นสาระ; อาการเป็นไปแห่งจิตใน ขณะหนึ่ง ๆ บางทีก็ดี บางทีก็ร้าย. ลมกรด น. กระแสลมแรงจัดในบรรยากาศชั้นบนในระดับสูง ตั้งแต่ ๑๐,๐๐๐-๑๕,๐๐๐ เมตร มีลักษณะเป็นลําคล้ายท่อรูปรี ขนาดใหญ่, โดยปริยายหมายความว่า เร็วมาก เช่น นักวิ่งลมกรด. ลมกระโชก น. ลมแรงที่เกิดในทันทีทันใดชั่วขณะหนึ่ง, ลมที่พัด แรงเป็นพัก ๆ.
  8. ล่ม : ก. กิริยาที่ทรงตัวไม่อยู่ เอียงจนตะแคง คว่ำ หรือจม เช่น เรือล่ม เกวียนล่ม, ทำให้ตะแคง คว่ำ หรือจม เช่น ล่มเรือ; ได้รับความ เสียหายมากเพราะน้ำท่วมหรือพายุพัดเป็นต้น เช่น นาล่ม สวนล่ม โป๊ะล่ม; ไม่สำเร็จ, ไม่รอดฝั่ง, เช่น โครงการล่ม.
  9. ลม ๑ : น. ธาตุอย่างหนึ่งในธาตุทั้ง ๔ ของร่างกาย คือ ดิน นํ้า ไฟ ลม, ถ้าลมในร่างกายแปรปรวนไม่ปรกติจะทําให้เกิดอาการต่าง ๆ ได้ เช่น เป็นลม; ลมหายใจ เช่น หมดลม สิ้นลม หมายความว่า ตาย; อากาศที่เคลื่อนที่; ชื่อโรคชนิดหนึ่ง มีอาการหลายอย่าง เช่น วิงเวียน หน้ามืด คลื่นเหียน, ถ้าอาการรุนแรงอาจถึงแก่สิ้นสติ หรือตายได้ เช่น เขาเป็นลมแน่นิ่งไป.
  10. ล้มกระดาน : ก. อาการที่ฝ่ายซึ่งเห็นว่าตนกำลังจะแพ้ในการเล่น หมากรุก จึงพาลคว่ำกระดานเลิกเล่นกันโดยแกล้งปัดตัวหมากรุก บนกระดานเป็นต้น, คว่ำกระดาน ก็ว่า, โดยปริยายหมายถึงการ ที่ฝ่ายมีอำนาจล้มเลิกการประชุมหรือกิจการใด ๆ เสียกลางคัน เช่น ประธานคุมเสียงสมาชิกไม่อยู่เลยล้มกระดานด้วยการเลิก ประชุม.
  11. ลมขึ้น : ก. อาการที่ลมดันออกจากภายในร่างกาย ทําให้หาวเรอ หรือให้เกิดอาการวิงเวียน หน้ามืด และอาเจียน ในกรณีหลังนี้ บางทีก็เรียกว่า ลมขึ้นเบื้องสูง.
  12. ลมจับ : ก. มีอาการวิงเวียนหน้ามืดบางคราวถึงกับหมดสติ, เป็นลม หรือ เป็นลมเป็นแล้ง ก็ว่า.
  13. ลมแดกขึ้น : ก. อาการที่ลมในท้องดันขึ้นมา.
  14. ลมแดด : ว. อาการที่เป็นลมเพราะโดนแดดจัด.
  15. ลมตะกัง : น. ชื่อโรคลมชนิดหนึ่ง ตามตำราแพทย์แผนโบราณว่า ทำให้มีอาการปวดหัวเวลาเช้า ๆ ปวดกระบอกตา เมื่อเห็นแดด จะลืมตาไม่ขึ้น, ลมปะกัง ก็ว่า.
  16. ลมตีขึ้น : ก. อาการที่ลมในท้องตีขึ้นมา.
  17. ล้มทั้งยืน : ก. ล้มขณะที่ยืนอยู่ เช่น ถูกเตะล้มทั้งยืน เป็นลมล้มทั้งยืน, โดยปริยายหมายถึงอาการที่สิ้นเนื้อประดาตัวหรือผิดหวังอย่าง รุนแรงโดยไม่เคยคาดค ทันทีทันใดโดยไม่เคยคาดคิดมาก่อน เช่น พอ รู้ว่าลูกถูกรถทับตายเลยเสียใจแทบล้มทั้งยืน.
  18. ลมบ้าหมู ๒ : น. อาการหมดสติเป็นครั้งคราว และมักมีอาการชักเกร็ง นํ้าลายเป็นฟอง มือเท้ากํา เป็นผลเนื่องจากสมองทํางานผิดปรกติ.
  19. ลมเบ่ง : ก. อาการที่อยากเบ่งขณะที่มดลูกหดตัวและตำแหน่ง ของทารกอยู่ต่ำมากพร้อมที่จะคลอดออกมา.
  20. ลมพิษ : น. ผื่นคันเป็นพิษเห่อขึ้นตามผิวหนัง. ลมเพลมพัด น. อาการที่เจ็บป่วยโดยไม่รู้สาเหตุ มักเข้าใจกันว่า ถูกกระทํา.
  21. ล้มไม่ลง : ก. อาการที่ถูกฝ่ายตรงข้ามเตะซ้ายเตะขวาเลี้ยงไว้ไม่ให้ล้ม เช่น นายแดงถูกเตะล้มไม่ลง; หักล้างหรือโค่นผู้อื่นไม่สำเร็จ, โดย ปริยายหมายความว่า พยายามรักษาสถานภาพไว้ไม่ให้ซวดเซ เช่น ธนาคารล้มไม่ลง เพราะถ้าล้มประชาชนจะเดือดร้อน.
  22. ลมสว้าน : [–สะว่าน] ก. ลมแดกขึ้นอันเป็นอาการของไข้หนักจวน จะสิ้นใจ.
  23. ลมใส่ : (ปาก) ว. อาการที่รู้สึกว่าจะเป็นลมเนื่องจากตกใจหรือ ผิดหวังเป็นต้น เช่น เห็นผลสอบแล้วลมใส่.
  24. ลวก : ก. กิริยาที่ของเหลวหรือไอที่ร้อนจัดหรือไฟมากระทบ เช่น ไฟลวก น้ำร้อนลวก ถูกไอน้ำเดือดลวก, กิริยาที่ถูกน้ำร้อน ไอร้อน หรือไฟ พลุ่งมากระทบผิวเช่น หม้อน้ำระเบิด น้ำร้อนพลุ่งมาลวกทำให้พอง ไปทั้งตัว ไฟพลุ่งมาลวกเนื้อลวกตัว, รดหรือแช่ด้วยน้ำร้อน เช่น เอา น้ำร้อนมาลวกผัก ลวกผ้าหรือลวกชาม. ว. เรียกสิ่งที่รดหรือแช่ด้วย น้ำร้อน เช่น ไข่ลวก ผักลวก สะเดาลวก.
  25. ลวกปาก, ลวกปากลวกคอ : ก. อาการที่กินของร้อนจัดทำให้รู้สึกว่า ปากแทบพองชั่วระยะหนึ่ง.
  26. ล้วงกระเป๋า : ก. เอามือสอดเข้าไปในกระเป๋า, ถ้ายืนเอามือล้วง กระเป๋าเวลาอยู่ต่อหน้าผู้หลักผู้ใหญ่ถือว่าเป็นการแสดงกิริยาที่ ไม่สุภาพ; ลักทรัพย์ในกระเป๋าของผู้อื่น เช่น เขาถูกล้วงกระเป๋า ระวังถูกล้วงกระเป๋า.
  27. ล้อ ๒ : ก. แสดงกิริยาวาจาหยอกเย้า เย้าแหย่ให้เขาเกิดรําคาญให้อายหรือ ให้โกรธเป็นต้น; ทำให้คล้ายคลึงแบบ เช่น เขียนข้อความให้ล้อกัน.
  28. ล่อง : น. ช่องตามพื้นที่ทําไว้สําหรับให้สิ่งของลอดลงได้. ก. ลงมาตามนํ้า เช่น ล่องเรือ ล่องแพ, ไปตามลม เช่น ล่องลม; โดยปริยายหมายความ ว่า ด้นดั้นไป เช่น ล่องป่า ล่องไพร. ว. อาการที่แล่นไปตามทางจาก เหนือลงใต้ เช่น รถล่อง ขาล่อง.
  29. ลอม : ก. รวมตะล่อมกันขึ้นไปให้เป็นจอม; อาการที่โค้งเข้าหากันเป็นวง เช่น ควายเขาลอม, รอม ก็ว่า. น. เรียกกองฟางกองข้าวเป็นต้นซึ่งมี ลักษณะเช่นนั้นว่า ลอมฟาง ลอมข้าว.
  30. ลอย ๆ : ว. ไม่เจาะจงผู้ใดโดยเฉพาะ เช่น ด่าลอย ๆ; ไม่มีเหตุผล หรือหลักฐาน เช่น เขียนกฎขึ้นมาลอย ๆ พูดลอย ๆ ไม่มีที่อ้างอิง; อาการที่พูดห้วน ๆ ไม่มีหางเสียงไม่มีคำลงท้าย เช่น พูดลอย ๆ ไม่มีคะขา.
  31. ลอยหน้า, ลอยหน้าลอยตา : ก. ทำหน้าเชิดไปมา, โดยปริยาย หมายความว่า มีลักษณะอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ทำผิด แล้วยังมาลอยหน้าเถียงอีก.
  32. ล้อเล่น : ก. กิริยาหรือวาจาล้อเพื่อความสนุก เช่น พูดล้อเล่นอย่าถือ เป็นจริงจัง, หลอกเล่น ก็ว่า.
  33. ล้อเลียน : ก. เอาอย่างเพื่อยั่วเย้าเล่น เช่น พูดทำเสียงล้อเลียนคน ติดอ่างหรือคนพูดไม่ชัด แสดงกิริยาเดินขากะเผลกล้อเลียนคนขาเป๋.
  34. ละ ๑ : ก. อาการที่แยกตัวให้พ้นจากสิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งเกี่ยวข้องอยู่ เช่น ละถิ่น ละบ้าน ละสมณเพศ; ทิ้งไว้, ปล่อยไว้, เช่น ละไว้ในฐาน ที่เข้าใจ ละพยศ; เว้นว่างคําหรือข้อความไว้ไม่กล่าวให้เต็ม โดย ใช้เครื่องหมาย ฯ หรือ ฯลฯ เรียกว่า ไปยาลน้อย หรือ ไปยาลใหญ่ หรือเขียนว่างเป็นจุด ๆ ดังนี้ … หรือเว้นว่างไว้โดยใช้เครื่องหมาย ดังนี้ – ''– แสดงว่ามีคําหรือข้อความซํ้ากับบรรทัดบน. ว. คําประกอบ คํานามให้รู้ว่าเป็นหน่วยหนึ่ง ๆ หรือส่วนหนึ่ง ๆ ในจํานวนรวม ซึ่งกําหนดเป็นราย ๆ ไป เช่น คนละ ปีละ, คําประกอบกริยาเพื่อ เน้นความให้มีนํ้าหนักขึ้น เช่น ไปละ เอาละ.
  35. ละมุนละม่อม : ว. อ่อนโยน, นิ่มนวล, เช่น เขามีกิริยาท่าทางละมุน ละม่อม.
  36. ละมุนละไม : ว. อ่อนนุ่มพอดี ๆ ไม่สวยและไม่แฉะ เช่น หุงข้าวได้ ละมุนละไม ข้าวเหนียวมูนได้ละมุนละไม; เรียบร้อย, นุ่มนวล, เช่น เด็กคนนี้มีกิริยามารยาทละมุนละไม.
  37. ละเมียดละไม : ก. สุภาพนุ่มนวล เช่น กิริยามารยาทละเมียดละไม สำนวนละเมียดละไม, แนบเนียนไม่ขัดเขิน เช่น เข้าพระเข้านาง ได้ละเมียดละไม.
  38. ละลาย : ก. อาการที่ของแข็งเปลี่ยนสภาพเป็นของเหลวด้วยความร้อน เช่น นํ้าแข็งละลาย; คลายตัวหรือทําให้คลายตัวซึมซาบสลายไปในนํ้า หรือของเหลว เช่น ยาละลาย เกลือละลายในนํ้า ละลายยาหอม ละลายนํ้าตาลในนํ้ากะทิ, โดยปริยายหมายความว่า หายไป, หมดไป, เช่น พอเห็นนํ้าตา ความโกรธแค้นก็ละลายหายไป เอาเงินไปละลาย ในวงไพ่หมด; (วิทยา) อาการที่สารอย่างหนึ่งแผ่กระจายในสารอีก อย่างหนึ่งอย่างสมํ่าเสมอโดยไม่มีปฏิกิริยาเคมีต่อกัน เช่น คาร์บอน ละลายในเหล็ก แอลกอฮอล์ละลายในนํ้า แก๊สออกซิเจนละลายใน แก๊สไนโตรเจน ผลที่ได้เรียกว่า สารละลาย.
  39. ละล่ำละลัก : ก. อาการที่พูดไม่ได้เร็วอย่างใจกระอึกกระอักติด ๆ ขัด ๆ เพราะ เหนื่อย ตกใจ ดีใจ หรือรีบร้อน เป็นต้น.
  40. ละเลงเลือด : ว. อาการที่ต่อสู้กันจนเลือดออกมากเปรอะไปด้วยกัน เช่น ทั้ง ๒ ฝ่ายต่อสู้กันถึงขั้นละเลงเลือด.
  41. ละห้อย : ว. อาการที่พูดเว้าวอนด้วยน้ำเสียงอ่อย ๆ ก่อให้เกิดความสงสาร เห็นอกเห็นใจ เช่น เสียงละห้อย; โศกเศร้าเพราะความผิดหวังหรือ คิดถึง เช่น หน้าละห้อย.
  42. ละห้อยละเหี่ย : ว. อาการที่อ่อนอกอ่อนใจเพราะผิดหวังหรือเหนื่อย มากเป็นต้น เช่น เดินละห้อยละเหี่ย.
  43. ลัก : ก. เอาสิ่งของที่เขาไม่ให้ไปด้วยอาการซ่อนเร้น, ขโมย, เช่น ลักทรัพย์, แอบทำ, ลอบทำ, เช่น ลักกินขนมในห้องเรียน ลักสูบบุหรี่ในห้องน้ำ. ว. เว้นข้ามไปทำให้เสียระเบียบ เช่น รถไฟลักหลีก ทำให้รถ ๒ ขบวนชนกัน.
  44. ลักซ่อน : ก. อาการที่คล้ายมีอะไรบางอย่างมาทำให้มองไม่เห็น หรือหาไม่พบ เชื่อกันว่าถูกผีลักไปซ่อนหรือผีบังตา.
  45. ลักตา : ว. อาการที่จงใจลักเดินตัวหมากรุกให้ผิดตาเพื่อเอาเปรียบ คู่ต่อสู้ ในคำว่า เดินลักตา.
  46. ลักปิดลักเปิด : [ลักกะปิดลักกะเปิด] น. ชื่อโรคที่มีอาการเลือดออกตามไรฟันและ เหงือกน่วมเนื่องจากขาดวิตามินซี.
  47. ลัดเลาะ : ก. อาการที่เลียบทางไป เช่น เดินลัดเลาะไปตามตลิ่ง ขี่ม้า ลัดเลาะไปตามชายป่า, หลบเลี่ยงเพื่อไม่ต้องเผชิญกับสิ่งกีดขวาง หรืออันตราย เช่น เดินทางลัดเลาะหลบข้าศึก, เลาะลัด ก็ว่า.
  48. ลา ๓ : ก. จากไปโดยแสดงให้ทราบด้วยกิริยาท่าทาง คําพูด หรือด้วย หนังสือ; ขออนุญาตหยุดงานชั่วคราว เช่น ลากิจ ลาป่วย ลาพักผ่อน ลาไปศึกษาต่อ; ขอคืนของที่บูชาหรือบนไว้ เช่น ลาข้าวพระภูมิ ลาของที่บนไว้.
  49. ลากเสียง : ก. อาการที่พูดยานคางในความว่า พูดลากเสียง.
  50. ลาด : ก. ปูแผ่ออกไป เช่น ลาดพรม ปูลาดอาสนะ, โดยปริยายหมายถึง สิ่งที่มีอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ถนนลาดยาง. ว. เทตํ่าหรือ เอียงขึ้นน้อย ๆ เช่น ที่ลาด.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | [1151-1200] | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1612

(0.1153 sec)