Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: กิริยาอาการ, กิริยา, อาการ , then กรยา, กรยาอาการ, กิริย, กิริยา, กิริยาอาการ, อาการ, อาการะ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : กิริยาอาการ, 1612 found, display 801-850
  1. ปะหงับปะง่อน : ว. อาการที่โงนเงนทรงตัวไม่อยู่เพราะเจ็บป่วย เป็นต้น, ปะงับปะง่อน ก็ว่า.
  2. ปะหงับ, ปะหงับ ๆ : ว. อาการที่ปากอ้าและหุบลงเหมือนอยากจะพูดแต่ไม่มีเสียง, อาการที่ทำปากหงับ ๆ อย่างอาการของผู้ป่วยใกล้จะตาย เช่น นอนเจ็บปะหงับ ๆ.
  3. ปัจยาการ : [ปัดจะยา-] (แบบ) น. อาการที่เป็นเหตุต่อเนื่องกัน คือ ปฏิจจสมุปบาท. (ป. ปจฺจยาการ).
  4. ปัด ๆ : ว. อาการที่โกรธกระฟัดกระเฟียด, อาการที่ดิ้นพราด ๆ อย่างปลาที่ถูกตี.
  5. ปั้นจิ้มปั้นเจ๋อ : ว. แสดงอาการกินหมากจัดเอาอย่างเขา; เจ้าหน้าเจ้าตา, ดัดจริตเสนอหน้าหรือแสดงตัวผิดกาลเทศะ.
  6. ปับ : ว. เสียงดังอย่างเสียงถูกชกหรือต่อย; อาการที่เป็นไปอย่างฉับไว, ทันทีทันใด, เช่น วางปับ หยิบปับ, มักใช้เข้าคู่กับคำ ปุบ เป็น ปุบปับ.
  7. ปั๊บ : ว. อาการที่เป็นไปอย่างฉับไว, ทันทีทันใด, เช่น วางปั๊บ หยิบปั๊บ, มักใช้เข้าคู่กับคำ ปุ๊บ เป็น ปุ๊บปั๊บ.
  8. ปั๊ม : ก. ใช้เครื่องที่เป็นแบบพิมพ์ตอกลงหรือกดลงบนกระดาษหรือโลหะ เป็นต้นให้มีรูปหรือลวดลายตามแบบพิมพ์นั้น เช่น ปั๊มตรา ปั๊มกระดุม, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ปั๊มแบงก์ ปั๊มเงิน; ใช้เครื่องสูบหรือดูดของเหลวหรือแก๊ส เช่น ปั๊มน้ำ ปั๊มลม, ใช้เครื่อง ช่วยทำให้หัวใจกลับเต้นเป็นปรกติ เรียกว่า ปั๊มหัวใจ. น. เรียก เครื่องยนต์สำหรับสูบน้ำว่า เครื่องปั๊มน้ำ, เรียกเครื่องยนต์สำหรับ สูบลมหรือแก๊สว่า เครื่องปั๊มลม, เรียกเครื่องอุปกรณ์ที่ช่วยทำให้ หัวใจกลับเต้นเป็นปรกติว่า เครื่องปั๊มหัวใจ; (ปาก) สถานีบริการ น้ำมันเชื้อเพลิง, เรียกเต็มว่า ปั๊มน้ำมัน.
  9. ปากขม : ว. อาการที่รู้สึกขมในปากเมื่อเวลาเป็นไข้.
  10. ปากคัน : ว. อาการที่ปากอยู่ไม่สุข ชอบพูด ชอบฟ้อง, ปากตําแย หรือ ปากบอน ก็ว่า.
  11. ปากตำแย : ว. อาการที่ปากอยู่ไม่สุข ชอบพูด ชอบฟ้อง, ปากคัน หรือ ปากบอน ก็ว่า.
  12. ปากบอน : ว. อาการที่ปากอยู่ไม่สุข ชอบพูด ชอบฟ้อง, ปากคัน หรือ ปากตําแย ก็ว่า.
  13. ปากหวาน : ว. พูดจาไพเราะ (มักใช้ในทางที่ล่อใจหรือไม่จริงใจ); อาการที่รู้สึกหวานในปากเมื่อเวลาเป็นไข้.
  14. ปานดง : น. ชื่อโรคชนิดหนึ่ง ตามตําราแพทย์แผนโบราณว่ามีอาการ เจ็บปวดแล่นไปตามผิวหนัง.
  15. ป้าย ๒ : ก. ทําให้ติดเฉพาะที่ใดที่หนึ่ง, ทาอย่างหยาบ ๆ ไม่ต้องการประณีต บรรจง, ทําให้เปรอะเปื้อนด้วยอาการคล้ายเช่นนั้น, โดยปริยาย หมายถึงลักษณะอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ป้ายความผิดให้ผู้อื่น.
  16. ปาว ๆ : ว. อาการที่พูดดัง ๆ ซ้ำ ๆ ซาก ๆ แต่ไม่มีใครสนใจฟัง เช่น ครูสอนอยู่ปาว ๆ มีคนมาตะโกนเรียกอยู่ปาว ๆ.
  17. ปีน ๑ : ก. ไต่โดยใช้มือและเท้าเกาะยึดขึ้นไป เช่น ปีนต้นไม้ ปีนเขา, ใช้ใน อาการที่ไต่ลงก็มี เช่น ปีนลงทางหน้าต่าง; โดยปริยายหมายความว่า ออกนอกที่นอกทาง เช่น ปีนทาง.
  18. ปึ่ง ๑ : ว. ทําท่าไว้ยศไม่อยากพูดจาด้วย; ทําทีเฉยแสดงอาการคล้าย กับโกรธ, ปึ่งชา ก็ว่า.
  19. ปึ่งชา : ว. ทําทีเฉยแสดงอาการคล้ายกับโกรธ, ปึ่ง ก็ว่า; วางท่าเฉยเมย อย่างไว้ยศ เช่น เมียเจ้ารูปทองสิบสองหนัก ยศศักดิ์ปึ่งชาหาน้อยไม่. (สังข์ทอง).
  20. ปื้น : ว. อาการที่ผิวหนังเห่อขึ้นเป็นแผ่นหรือเป็นผื่นเป็นแนวหนา เช่น ลมพิษขึ้นเป็นปื้น, โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น คอเสื้อดําเป็นปื้น. น. ลักษณนามใช้กับเลื่อย เช่น เลื่อยปื้นหนึ่ง เลื่อย ๒ ปื้น.
  21. ปุบ : ว. อาการที่เป็นไปอย่างฉับไว, ทันทีทันใด, เช่น ฉวยปุบ, มักใช้เข้าคู่กับคำ ปับ เป็น ปุบปับ.
  22. ปุ๊บ : ว. อาการที่เป็นไปอย่างฉับไว, ทันทีทันใด, เช่น วางปุ๊บ เปิดปุ๊บ, มักใช้เข้าคู่กับคำ ปั๊บ เป็น ปุ๊บปั๊บ.
  23. ปุบปับ, ปุ๊บปั๊บ : ว. เสียงซึ่งเกิดจากอาการรีบร้อนลุกลนหรือเสียงที่แสดงอาการเช่นนั้น; อาการที่ทำโดยรีบร้อนทันทีทันใด, อาการที่เป็นไปโดยกะทันหัน เช่น ปุบปับก็ตาย.
  24. ปุ๋ย ๒ : ว. อาการที่เชือกขาดไปโดยง่ายดาย เช่น ขาดปุ๋ย; อาการที่หลับ ง่ายดายอย่างสบาย เช่น หลับปุ๋ย.
  25. เป็นควัน : ว. อาการที่ปฏิเสธข้อกล่าวหาอุตลุดเป็นพัลวัน.
  26. เป็นคุ้งเป็นแคว : ว. อาการที่เล่าเป็นเรื่องเป็นราวยืดยาวติดต่อกัน เหมือนกับรู้เห็นมาด้วยตนเอง.
  27. เป็นตายเท่ากัน : ว. มีอาการปางตาย, ไม่แน่ว่าจะเป็นหรือจะตาย.
  28. เป็นตุเป็นตะ : ว. อาการที่เล่าเป็นจริงเป็นจังเหมือนกับรู้เห็นมาด้วย ตนเอง เช่น พูดเป็นตุเป็นตะ.
  29. เป็นที่ ๑, เป็นที่เป็นทาง : ว. มีที่อยู่เป็นหลักแหล่งแน่นอน เช่น เขาอยู่ไม่เป็นที่เป็นทาง; อาการที่เก็บของไว้ตามที่อย่างเป็น ระเบียบเช่น เก็บของไม่เป็นที่ เก็บของเป็นที่เป็นทาง.
  30. เป็นเบื้อ : ว. อาการที่นั่งนิ่งเฉย.
  31. เป็นเพื่อน : ว. อาการที่อยู่ด้วยหรือไปด้วยเพื่อให้มีความอุ่นใจ.
  32. เป็นมัน : ว. อาการที่มองดูด้วยความอยากได้หรือพออกพอใจ เช่น เห็นผู้หญิงสาวสวยดูตาเป็นมัน เห็นเงินตาเป็นมัน.
  33. เป็นลม, เป็นลมเป็นแล้ง : ก. มีอาการวิงเวียนหน้ามืด บางคราว ถึงกับหมดสติ.
  34. เป็นสัด : ก. อาการกระหายใคร่สืบพันธุ์ของสัตว์ที่เป็นไปตามฤดูกาล.
  35. เปรย, เปรย ๆ : [เปฺรย] ก. กล่าวขึ้นมาลอย ๆ เพื่อให้ผู้อื่นได้ยิน. ว. อาการที่กล่าว ขึ้นมาลอย ๆ เพื่อให้ผู้อื่นได้ยิน เช่น เคยพูดเปรยไว้ พูดเปรย ๆ.
  36. เปราะแประ : [-แปฺระ] ว. อาการที่ฝนตกมีเม็ดห่าง ๆ แต่เล็กน้อย, เปาะแปะ ก็ว่า.
  37. เปรียบปราย, เปรียบเปรย : ว. อาการที่พูดว่ากระทบกระเทียบไม่เจาะจง.
  38. เปรียะ, เปรี๊ยะ : [เปฺรียะ, เปฺรี๊ยะ] ว. เสียงที่เกิดจากสิ่งของที่แตกหรือขาดเป็นต้น ซึ่งมีเสียงดังเช่นนั้นอย่างแก้วแตก; อาการที่แก้วหูลั่นเพราะขึ้นไป บนที่สูง ๆ เป็นต้น; โดยปริยายหมายความว่า คล่องไม่ติดขัด เช่น พูดเปรี๊ยะ, มากเกินไป เช่น ตึงเปรี๊ยะ.
  39. เป่า : ก. พ่นลมออกมาทางปาก, อาการที่ลมพุ่งเข้ามาหรือออกไปเช่นนั้น เช่น ตรงหน้าต่างลมเป่าดี, ทําให้เครื่องดนตรีหรือสิ่งอื่นเกิดเสียง โดยใช้ลมปากเช่น เป่าขลุ่ย, ทําให้สิ่งที่อยู่ในลํากล้องเช่นกล้องเป่า เป็นต้น ออกจากลํากล้องโดยวิธีเป่า เช่น เป่ายานัตถุ์ เป่าลูกดอก.
  40. เป่าคอ : ก. เป่ายาเข้าไปในคอ; อาการที่แก๊สในท้องพุ่งขึ้นมาทางลำคอ เนื่องจากร้อนใน เรียกว่า ลมเป่าคอ.
  41. เปาะแปะ : ว. อาการที่ฝนตกมีเม็ดห่าง ๆ แต่เล็กน้อย, เปราะแประ ก็ว่า.
  42. เปิดเปิง : ว. อาการที่ไปอย่างไม่มีที่หมาย ไม่มีทิศทาง, มักใช้เข้าคู่ กับคำ เตลิด เป็น เตลิดเปิดเปิง เช่น วิ่งเตลิดเปิดเปิง.
  43. แประ : [แปฺระ] ว. อาการที่เพียบจวนจะจม (ใช้แก่เรือ) ในคำว่า เพียบแประ, เต็มที่ เช่น เมาแประ.
  44. แปลบ, แปลบ ๆ, แปล๊บ, แปล๊บ ๆ : [แปฺลบ] ว. ปลาบ, แวบ, วาบ, (ใช้แก่แสงสว่าง) เช่น ฟ้าแลบแปลบ; อาการที่รู้สึกเจ็บแวบแล่นเข้าไปในกาย, อาการที่รู้สึกวาบเข้าไปใน หัวใจ, อาการที่สะดุ้งวับขึ้น.
  45. แป้ว : ว. เบี้ยว, แฟบ, (มักใช้แก่ของที่มีลักษณะกลม ๆ) เช่น ขวดแป้ว ผลไม้แป้ว; อาการที่ใจฝ่อหรือหดหู่ลง ในคำว่า ใจแป้ว.
  46. โป้ง : ว. อาการที่พูดโพล่งออกมาโดยไม่ระมัดระวังปาก หรือพูดเปิดเผย สิ่งที่ไม่สมควรออกมาโดยไม่คํานึงถึงความผิดพลาดเสียหาย; ใหญ่ เช่น หัวโป้ง; เสียงดังอย่างเสียงปืนเป็นต้น.
  47. โปรย : [โปฺรย] ก. ตกลงมาเป็นเม็ด ๆ กระจายทั่วไป เช่น ฝนโปรย, ทําให้ ตกลงมาด้วยอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น โปรยข้าวตอกดอกไม้.
  48. ผงก : [ผะหฺงก] ก. ยกหัวขึ้นน้อย ๆ, ก้มหัวลงแล้วเงยขึ้นโดยเร็วแสดง อาการยอมรับหรือเห็นด้วย.
  49. ผงะ : [ผะหฺงะ] ก. แสดงอาการชะงักงันหรือถอยไปข้างหลังเมื่อประสบ เหตุการณ์ประจันหน้าโดยกะทันหันไม่ทันรู้ตัวหรือคาดหมายมาก่อน.
  50. ผด : น. ชื่อโรคผิวหนังชนิดหนึ่ง ขึ้นเป็นผื่นเม็ดเล็ก ๆ ตามผิวหนัง มักเกิดในเวลาที่มีอากาศร้อนอบอ้าว มีอาการคัน.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | [801-850] | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1612

(0.1146 sec)