Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: กิริยาอาการ, กิริยา, อาการ , then กรยา, กรยาอาการ, กิริย, กิริยา, กิริยาอาการ, อาการ, อาการะ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : กิริยาอาการ, 1612 found, display 251-300
  1. เกลื้อน : [เกฺลื้อน] น. ชื่อโรคผิวหนังเกิดจากเชื้อรา (Malassezia furfur) ขึ้นเป็นดวงขาว ๆ อาจมีอาการคัน, ขี้เกลื้อน ก็ว่า.
  2. เก้อเขิน : ว. อาการที่วางหน้าไม่สนิท, รู้สึกกระดากอาย.
  3. เกา : ก. เอาเล็บหรือสิ่งที่มีลักษณะคล้ายเล็บครูดผิวหนังเพื่อให้หายคันเป็นต้น, อาการที่สมอเรือครูดไปตามพื้นท้องน้ำ ไม่ยึดอยู่กับที่.
  4. เกาต์ : น. ชื่อโรคอย่างหนึ่ง เกิดขึ้นเพราะมีกรดยูริกในเลือดมากเกินไป เป็นผลให้เกิดการตกตะกอนเป็นเกลือยูเรตในเนื้อเยื่อบริเวณข้อ เช่น ที่ข้อนิ้วมือนิ้วเท้า ข้อเท้า หรือ บริเวณอวัยวะอื่น ทําให้มี อาการบวมและปวด. (อ. gout).
  5. เกาะ ๒ : ก. จับหรือยึดสิ่งใดไว้เพื่อทรงอยู่ เช่น นกเกาะกิ่งไม้ แมงมุมเกาะฝา, เอาสิ่งมีขอเป็นต้นเกี่ยวเข้ากับสิ่งอื่นเพื่อให้ติดอยู่ เช่น เอาขอเกาะต้นไม้, โดยปริยายหมายความถึงอาการที่เข้าไปติดแน่นอยู่ เช่น ปลิงเกาะ หรือเข้าเป็นหมู่หรือกลุ่มเดียวกัน เช่น ดินเกาะเป็นก้อนบินเกาะหมู่ วิ่งเกาะกลุ่ม; ไปเอาตัวมาโดยอํานาจศาลเป็นต้น เช่น ไปเกาะตัวมา.
  6. เกินเลย : ก. แสดงกิริยาวาจาต่อผู้อื่นโดยขาดสัมมาคารวะ, เหลื่อมล้ำทางจํานวน.
  7. เกี่ยง : ก. อาการที่ต่างฝ่ายต่างไม่ยอมทําเพราะกลัวจะเสียเปรียบกันเป็นต้น.
  8. เกี่ยว : ก. อาการที่สิ่งงอเป็นขอเกาะติดหรือเหนี่ยวไว้ เช่น ทอดสมอให้เกี่ยวแง่หินไว้, เอาของที่มีลักษณะเช่นนั้น เกาะติดหรือเหนี่ยวไว้ เช่น เอาขอเกี่ยว, ติดต่อผูกพัน, แตะต้อง, ยุ่งเกี่ยว, ข้องแวะ, เช่น เรื่องนี้อันตรายมากอย่าเอาตัวเข้าไปเกี่ยวเลย, เกี่ยวข้อง ก็ว่า; อาการที่สิ่งแหลมคมขูดขีด สะกิด เป็นต้น เช่น หนามเกี่ยว ตะปูเกี่ยว, ตัดด้วยเคียว เช่น เกี่ยวข้าว เกี่ยวหญ้า เกี่ยวแฝก; โดยปริยายหมายความว่า เนื่อง เช่น เกี่ยวด้วยเรื่องนี้.
  9. เกี่ยวก้อย : (สำ) ก. อาการที่แสดงความคุ้นเคยสนิทสนมกัน เช่น เขาเกี่ยวก้อยกันไปเที่ยวเชียงใหม่.
  10. แกล้ง : [แกฺล้ง] ก. ทําให้เดือดร้อนรําคาญ เช่น เขาแกล้งฉัน, แสร้ง เช่น เขาแกล้งทําเป็นปวดฟัน, จงใจทํา พูด หรือแสดงอาการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้เขาเสียหาย อาย เดือดร้อน ขัดข้อง เข้าใจผิด เป็นต้น เช่น ข้าพเจ้าไม่ได้ทําผิดเลยแต่เขาแกล้งใส่ร้าย; (โบ) ตั้งใจ, จงใจ, เช่น แกล้งประกาศแก่สงฆ์. (ม. คําหลวง วนปเวสน์).
  11. แกล้ม : [แกฺล้ม] น. ของกินกับเหล้า, กับแกล้ม ก็ว่า. ว. ไปด้วยกัน, ควบคู่กันไป, แกมกัน, (ใช้แก่กิริยากิน) เช่น กินแกล้มเหล้า.
  12. แกว่ง : [แกฺว่ง] ก. อาการที่เคลื่อนไหวไปทางโน้นทีทางนี้ทีโดยที่โคน หรือต้นของสิ่งนั้นติดอยู่กับสิ่งอื่น, โดยปริยายหมายความว่า ไม่อยู่กับที่, ไม่อยู่ในแนว, เช่น จิตแกว่ง.
  13. แก้ววิเชียร : น. ชื่อโรคซางละอองเป็นฝ้าบาง ๆ ที่ขึ้นตามลิ้น หรือเพดานหรือกระพุ้งแก้ม สีขาวดั่งเนื้อในมะพร้าว มีอาการท้องอืด ลงท้องนับหนไม่ถ้วน. (แพทย์).
  14. โก้ ๒, โก้หร่าน : ว. หรูหราภูมิฐาน (มักใช้แก่กิริยาแต่งตัวหรือการแสดงกิริยาอื่น ๆ).
  15. โกกเกก : ก. คดโกง, เกะกะระราน, เกกมะเหรก, เช่น มีกิริยาโกกเกกร้ายกาจ. (ม. กาพย์ กุมารบรรพ).
  16. โก๋เก๋ : ว. หรูหรางามเข้าที (มักใช้แก่กิริยาแต่งตัวหรือการแสดงกิริยาอื่น ๆ).
  17. โกง : ก. ใช้อุบายหรือเล่ห์เหลี่ยมหลอกลวง เช่น โกงเงิน, แสดงอาการดื้อไม่ยอมทําตาม เช่น เด็กโกง ม้าโกง. ว. โค้ง, ไม่ตรง, เช่น หลังโกง.
  18. โกย : ก. อาการที่ใช้มือหรือสิ่งอื่นคุ้ยหรือกวาดสิ่งต่าง ๆ เช่น ข้าว ถ่าน มาทีละมาก ๆ, ขนหรือรวบเอาไปเป็นจํานวนมาก; (ปาก) วิ่งหนีไปโดยเร็ว.
  19. ไก่แก่แม่ปลาช่อน : (สํา) น. หญิงค่อนข้างมีอายุที่มีมารยา และเล่ห์เหลี่ยมมาก และมีกิริยาจัดจ้าน.
  20. ขนหย็อง : น. ขนหัวตั้งชัน ตัวลีบ หางตก เป็นอาการของไก่หรือนก ที่รู้สึกกลัวไม่กล้าสู้. ก. โดยปริยายใช้แก่คนที่ไม่กล้าสู้, กลัว.
  21. ขนหัวลุก : (สำ) ว. อาการที่ตกใจหรือกลัวมากเป็นต้นจนรู้สึก คล้ายกับผมตั้งชันขึ้น.
  22. ขบ ๑ : ก. เอาฟันเน้นเพื่อให้แตก เช่น ขบเมล็ดแตงโม, เอาฟันเน้นกัน เช่น ขบฟัน; กัด เช่น หมาใดตัวร้ายขบบาทา. (โลกนิติ); อาการที่เมื่อยปวด เหมือนมีอะไรบีบหรือกดอยู่ที่ตรงนั้น เรียกว่า เมื่อยขบ, ลักษณะของสิ่ง ที่ยังเข้ากันได้ไม่สนิท ยังปีนหรือเกยกันอยู่ เช่น บานประตูขบกัน; อาการที่เล็บมือเล็บเท้ายาวจนกดเนื้อข้างเล็บ เรียกว่า เล็บขบ.
  23. ขบเขี้ยวเคี้ยวฟัน : ก. แสดงอาการโกรธเมื่อยังทําอะไรเขาไม่ได้.
  24. ข่ม : ก. ใช้กําลังกดลงไม่ให้เผยอขึ้น; สานลายด้วยการใช้เส้นตอกเป็นต้น ที่เป็นเส้นสานขัดทับอยู่ข้างบนเส้นตอกที่เป็นเส้นยืน ตรงข้ามกับคำ ยก คือ ใช้เส้นสานลอดใต้เส้นยืน เช่น ยก ๒ ข่ม ๒; โดยปริยายหมาย ความว่า แสดงกิริยาวาจาให้เห็นว่าเหนือกว่า หรือทำให้อีกฝ่ายหนึ่งรู้สึกว่า ด้อยกว่า เช่น แต่งตัวข่มเพื่อน พูดข่ม, บังคับ เช่น ข่มใจ ข่มอารมณ์; ครอบ.
  25. ขมุบขมิบ : [ขะหฺมุบขะหฺมิบ] ก. อาการที่ริมฝีปากเผยอขึ้นและหุบลงโดยเร็ว, อาการของปากที่พูดอย่างไม่ออกเสียง เช่น ทำปากขมุบขมิบ สวดมนต์ ขมุบขมิบ, หมุบหมิบ ก็ว่า.
  26. ขยอก ๒ : [ขะหฺยอก] ก. อาการที่ค่อย ๆ กลืนอาหารที่คับคอลงไปทีละน้อย, กระเดือกเข้าไป.
  27. ขย้อน : [ขะย่อน] ก. ทําอาการจะอาเจียน; ถอยกลับ.
  28. ขยักขย้อน : [-ขะย่อน] ก. มีอาการพะอืดพะอมจวนจะอาเจียน.
  29. ขยุกขยิก : [ขะหฺยุกขะหฺยิก] ก. ไม่อยู่นิ่ง ๆ ขยับไปขยับมา (ใช้ในอาการที่แสดง ถึงความไม่เรียบร้อย) เช่น นั่งขยุกขยิก, โดยปริยายหมายถึงลักษณะ ที่เขียนไม่เรียบร้อย อ่านยากหรืออ่านไม่ออก เช่น เขียนลายมือขยุกขยิก.
  30. ขยุ้ม : [ขะยุ่ม] ก. เอาปลายนิ้วทั้ง ๕ หยิบรวบขึ้นมาเพื่อให้ได้มาก, โดยปริยาย ใช้ในอาการอย่างนั้น เช่น แมงมุมขยุ้มหลังคา. น. ปริมาณของที่ขยุ้มมา ได้ครั้งหนึ่ง ๆ เรียกว่า ขยุ้มหนึ่ง.
  31. ขรึม : [ขฺรึม] ว. มีอาการนิ่งอย่างตรึกตรอง.
  32. ขวักไขว่ : [ขฺวักไขฺว่] ว. อาการที่เคลื่อนไหวสวนกันไปมาอย่างสับสน เช่น เดินขวักไขว่ บินขวักไขว่.
  33. ขอด ๒ : ก. ทำให้สิ่งที่ติดอยู่ออกมาด้วยอาการอย่างขูด เช่น ขอดเกล็ดปลา, เหลืออยู่น้อยจนถึงกับต้องขูดเอา เช่น น้ำขอดคลอง น้ำขอดโอ่ง ข้าวขอดหม้อ.
  34. ขัดลำ : ก. อาการที่กระสุนปืนค้างติดในลำกล้อง.
  35. ขัน ๓ : ก. อาการร้องอย่างหนึ่งของไก่หรือนกบางชนิด เฉพาะในตัวผู้ เช่น ไก่ ไก่ฟ้า นกเขา ใช้เป็นสัญญาณติดต่อสื่อสารในสัตว์ประเภทเดียวกัน จะร้องมากในระหว่างฤดูผสมพันธุ์ หรือในเวลาจำเพาะเช่นเช้าตรู่.
  36. ขาขวิด : ว. อาการที่เดินสะดุดขาตัวเองเพราะอายหรือรีบร้อน เรียกว่า เดินขาขวิด.
  37. ขายทอดตลาด : (กฎ) น. การขายทรัพย์สินที่กระทําโดยเปิดเผยแก่บุคคล ทั่วไปด้วยวิธีเปิดโอกาสให้ผู้ซื้อสู้ราคากัน ผู้ใดให้ราคาสูงสุดและผู้ทอด ตลาดแสดงความตกลงด้วยเคาะไม้หรือด้วยกิริยาอย่างอื่นตามจารีต ประเพณีในการขายทอดตลาด ผู้นั้นเป็นผู้ซื้อทรัพย์สินนั้น.
  38. ขาลาก : ว. อาการที่เดินยกขาไม่ขึ้น.
  39. ข้าวใหม่ใหญ่ : น. ชื่อไข้ชนิดหนึ่ง มีอาการคล้ายไข้ข้าวใหม่น้อย.
  40. ขี้ : ก. กิริยาที่ถ่ายกากอาหารออกทางทวารหนัก, ถ่ายอุจจาระ, ราชาศัพท์ว่า ลงพระบังคนหนัก. น. กากอาหารที่ร่างกายไม่ต้องการแล้วขับถ่ายออก ทางทวารหนัก, อุจจาระ, สิ่งที่ร่างกายขับถ่ายออกมาเกรอะกรังอยู่ เช่น ขี้ไคล ขี้รังแค ขี้หู ขี้ตา, โดยปริยายหมายความถึงสิ่งที่ไม่ต้องการ เช่น ขี้ตะกั่ว, เศษหรือกากที่ออกมาจากสิ่งนั้น ๆ เช่น ขี้กบ ขี้เลื่อย. ว. ใช้ ประกอบหน้าคําที่แสดงความหมายในทางที่ไม่ดี เช่น ขี้เกียจ ขี้เหนียว, หรือมักเป็นเช่นนั้น เช่น ขี้หัวเราะ ขี้ขอ.
  41. ขี้กลาก : น. ชื่อโรคผิวหนังอย่างหนึ่ง มีหลายชนิด เกิดจากเชื้อรา ขึ้นเป็นวง มีอาการคัน, กลาก ก็ว่า.
  42. ขี้เกลื้อน : น. ชื่อโรคผิวหนังเกิดจากเชื้อรา Malassezia furfur ขึ้น เป็นดวงขาว ๆ อาจมีอาการคัน, เกลื้อน ก็ว่า.
  43. ขึง : ก. ทําให้ตึง เช่น ขึงเชือก ขึงจอภาพยนตร์, ผูกสิ่งเป็นเส้นให้ยาวเหยียด ออกไปเป็นราว เช่น ขึงราว, โดยปริยายหมายถึงอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น หน้าขึง.
  44. ขึงตา : ก. จ้องดูอย่างเขม็งด้วยอาการโกรธ หรือด้วยประสงค์จะห้าม.
  45. ขุดด้วยปากถากด้วยตา : (สํา) ก. แสดงอาการเหยียดหยามทั้งด้วย วาจาและสายตา.
  46. ขู่ : ก. แสดงอาการให้อีกฝ่ายหนึ่งเกรงกลัว เช่น ผู้ใหญ่ขู่เด็ก งูขู่ฟ่อ ๆ.
  47. ขู่กรรโชก : ก. ทําให้กลัวโดยแสดงกิริยาอาการจะทําร้าย.
  48. ขู่เข็ญ : ก. ทําให้กลัวโดยบังคับ; (กฎ) แสดงกิริยาหรือวาจาให้ผู้อื่น ต้องกลัวว่าจะเป็นอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียง หรือ ทรัพย์สินของผู้นั้น หรือของบุคคลที่สาม.
  49. เขน ๒ : น. เรียกตัวแสดงโขนพวกหนึ่งซึ่งเป็นพลรบ มีหน้าที่ออกเต้น ในเวลายกทัพ ว่า พลเขน, เรียกอาการเต้นของพลเขนว่า เต้นเขน.
  50. เขม่น : [ขะเหฺม่น] ก. อาการที่กล้ามเนื้อกระตุกเต้นเบา ๆ ขึ้นเอง ตามความเชื่อ โบราณถือว่าเป็นนิมิตบอกเหตุร้ายหรือดีได้, กระเหม่น ก็ว่า; (ปาก) รู้สึกไม่ชอบหน้า หรือไม่พอใจ.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | [251-300] | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1612

(0.1070 sec)