Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: กิริยาอาการ, กิริยา, อาการ , then กรยา, กรยาอาการ, กิริย, กิริยา, กิริยาอาการ, อาการ, อาการะ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : กิริยาอาการ, 1612 found, display 1401-1450
  1. หน้ามืด : ว. อาการที่เป็นลมหมดสติ; โดยปริยายหมายถึงมัวเมาจนขาดสติ ทำสิ่งที่ไม่ควรทำ.
  2. หน้ายิ้ม ๆ : ว. อาการยิ้มน้อย ๆ อย่างมีเลศนัย.
  3. หน้าเริด : ว. อาการที่แสดงหน้าตาตื่น (ใช้แก่กริยาวิ่ง) เช่น เห็นแม่มา แต่ไกลก็วิ่งหน้าเริดเข้าไปหา,หน้าตั้ง ก็ว่า.
  4. หนาว : ว. เย็นจัด, อาการที่รู้สึกเย็นจัด.
  5. หนาว ๆ ร้อน ๆ : ก. ครั่นเนื้อครั่นตัว, มีอาการคล้ายจะเป็นไข้เพราะเดี๋ยว ร้อนเดี๋ยวหนาว, โดยปริยายหมายความว่า มีความเร่าร้อนใจกลัวว่าจะถูก ลงโทษหรือถูกตำหนิเป็นต้น, ร้อน ๆ หนาว ๆ หรือ สะบัดร้อนสะบัดหนาว ก็ว่า.
  6. หน้าเสีย : ว. มีสีหน้าแสดงอาการพิรุธหรือตกใจ เสียใจเป็นต้น เช่น เขา หน้าเสียเพราะถูกจับได้ว่าทำความผิด.
  7. หน้าหงาย : ว. อาการที่หน้าเงยแหงนขึ้น เช่น เขาถูกชกหน้าหงาย; โดย ปริยายหมายถึงอาการที่ถูกว่าย้อนกลับมาจนเสียหน้า เช่น ตั้งใจจะไป ขอยืมเงินเขา เขาบอกว่าหนี้เก่าก็ไม่ได้ชำระยังจะมาขอยืมอีก เลยต้อง หน้าหงายกลับมา; ที่ผิดไปจากที่คาดหวังไว้มาก เช่น เขาคุยว่าสอบเข้า มหาวิทยาลัยได้แน่ ๆ แต่พอประกาศผลแล้วไม่ได้ ก็หน้าหงายกลับมา.
  8. หน้าแหก : (ปาก) ว. อาการที่ต้องได้รับความอับอายขายหน้าอย่างยิ่งเพราะ ผิดหวังอย่างมากหรือเพราะถูกโต้ถูกย้อนกลับมาอย่างเถียงไม่ขึ้นเป็นต้น.
  9. หนืด : ว. อาการของสิ่งของที่เหนียวจนดึงไม่ใคร่จะออก เรียกว่า เหนียวหนืด, โดยปริยายหมายถึงตระหนี่มาก. (ภูมิ) น. เรียกหินที่อยู่ในสภาพหนืด ใต้เปลือกโลกว่า หินหนืด. (อ. magma).
  10. หนุบหนับ, หนุบหนับ ๆ, หนุบ ๆ หนับ ๆ : ว. อาการที่ยื้อแย่งกันซื้อของ เป็นต้น, อาการที่ปลาแย่งกันตอดเหยื่อ.
  11. หนุบ, หนุบ ๆ : ว. ลักษณะอาการตอด, อาการที่เจ็บในกายรู้สึกเต้นกระเทือนแต่น้อย ๆ; อาการที่ติดแน่นอยู่แล้วดึงออกมามีเสียงดังเช่นนั้น.
  12. หมดท่า : ว. หมดหนทาง, จนปัญญา, เช่น เขาหมดท่าไม่รู้ว่าจะโต้ตอบ อย่างไร; อาการที่ทำให้รู้สึกน่าสังเวช เช่น เขาแต่งตัวภูมิฐานแล้วเดิน หกล้ม หมดท่าเลย, หมดรูป ก็ว่า.
  13. หมดพุง, หมดไส้หมดพุง : ว. หมดความรู้ เช่น ครูสอนศิษย์จนหมดพุง; อาการที่เปิดเผยโดยมิได้ปิดบังอำพราง เช่น สารภาพจนหมดไส้หมดพุง, สิ้นไส้สิ้นพุง ก็ว่า.
  14. หมดรูป : ว. อาการที่ทำให้รู้สึกน่าสังเวช, หมดท่า ก็ว่า.
  15. หมดไส้หมดพุง : ว. หมดความรู้ เช่น ครูสอนศิษย์จนหมดพุง; อาการที่ เปิดเผยโดยมิได้ปิดบังอำพราง เช่น สารภาพจนหมดไส้หมดพุง, สิ้นไส้ สิ้นพุง ก็ว่า.
  16. หมับ : ว. คำสำหรับประกอบกิริยาที่เอาอะไร ๆ ไปอย่างฉับไวไม่รีรอ เช่น คว้า หมับ ฉวยหมับ หยิบหมับ, มับ ก็ว่า.
  17. หมับ ๆ : ว. อาการของปากที่หุบเข้าแล้วอ้าออกอย่างเร็ว, มับ ๆ ก็ว่า.
  18. หมาง : ก. (โบ) กระดาก เช่น หมางกัน คือ กระดากกัน หมางหน้า คือ กระดาก หน้า, อาการที่ห่างเหินกันเพราะขุ่นเคืองใจหรือผิดใจกันเป็นต้น เช่น คนคู่นี้แต่ก่อนก็ดูสนิทสนมกันดี แต่เดี๋ยวนี้ดูเขาหมางกันไป, หมาง ๆ ก็ว่า, มักใช้เข้าคู่กับคำอื่น เช่น บาดหมาง หมองหมาง หมางใจ.
  19. หมาหยอกไก่ : (สํา) น. เรียกอาการที่ชายหยอกล้อหญิงในทำนองชู้สาว เป็นทีเล่นทีจริง.
  20. หมิ่น ๑ : ก. แสดงกิริยาท่าทาง พูดจา หรือเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร เป็นเชิงดูถูก ว่ามีฐานะต่ำต้อยหรือไม่ดีจริงไม่เก่งจริงเป็นต้น, ดูหมิ่น หรือ ดูหมิ่น ถิ่นแคลน ก็ว่า.
  21. หมิ่นประมาท : ก. แสดงกิริยาวาจาดูถูกเหยียดหยามผู้อื่น. (กฎ) น. ชื่อ ความผิดทางอาญาฐานใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่า จะทําให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง.
  22. หมิ่นเหม่ : ว. อาการที่เข้าไปหรืออยู่ในสถานที่หรือสถานการณ์ใกล้อันตราย หรือเสียหายเป็นต้น, ล่อแหลม.
  23. หมุบหมับ : ว. อาการที่หยิบฉวยหรือกินโดยเร็ว เช่น แย่งกันกินหมุบหมับ, บางทีก็ใช้แยกกัน เช่น คว้าคนละหมุบคนละหมับ.
  24. หมุบหมิบ : ว. อาการที่ริมฝีปากเผยอขึ้นและหุบลงโดยเร็ว, อาการของ ปากที่พูดอย่างไม่ออกเสียง เช่น ทำปากหมุบหมิบ สวดมนต์หมุบหมิบ, ขมุบขมิบ ก็ว่า.
  25. หมุบ, หมุบ ๆ : [หฺมุบ] ว. อาการที่หยิบ กัด หรือเคี้ยวโดยเร็ว เช่น พอได้โอกาสก็คว้าหมุบ ปลาฮุบเหยื่อหมุบ ๆ.
  26. หย่อง : น. สิ่งสําหรับใส่หมากพลู มีรูปเหมือนถาดขอบสูง มีตีน โดยมากทําด้วย ทองเหลือง; เครื่องรองรับไม้แม่กำพองประจำช่องหน้าต่าง; ส่วนประกอบ ของเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย เช่น ซอสามสาย ซอด้วง ขิม ไวโอลิน ใช้รองรับสายเพื่อรับแรงสั่นสะเทือนจากสายลงสู่เครื่องดนตรีให้เสียง กังวานขึ้น, ส่วนประกอบของจะเข้ ใช้หนุนสายเพื่อมิให้แตะนมจะเข้. ว. อาการที่นั่งชันเข่าทั้ง ๒ ข้างโดยก้นไม่ถึงพื้น เรียกว่า นั่งหย่อง หรือ นั่งยอง ๆ.
  27. หย่อง ๆ : ว. เหย่า ๆ (ใช้แก่กิริยาวิ่ง).
  28. หย็อง ๑ : ก. กลัว, ไม่สู้, หวาดกลัว, เช่น พอเห็นคู่ต่อสู้ก็หย็องเสียแล้ว. ว. มีอาการ หวาดกลัว เช่น พอถูกขู่เข้าหน่อยก็ทําท่าหย็อง.
  29. หย็อย, หย็อย ๆ : ว. อาการที่เต้นหรือกระโดดเร็ว ๆ เรียก เต้นหย็อย ๆ, อาการที่เคลื่อนไหว น้อย ๆ อย่างเร็ว เช่น วิ่งหย็อย ๆ โบกมือหย็อย ๆ ลมพัดผมปลิวหย็อย ๆ.
  30. หยักรั้ง : ว. อาการนุ่งผ้าถุงหรือผ้าโสร่งรั้งผ้าทางด้านข้างมาเหน็บเอว ทั้ง ๒ ข้างให้ชายผ้าร่นสูงขึ้น.
  31. หยับ, หยับ ๆ : ว. อาการที่เคี้ยวเนิบ ๆ เช่น คนแก่เคี้ยวหมากหยับ ๆ; อาการขึ้นลงเนิบ ๆ เช่น พายอ่อนหยับจับงามงอน (เห่เรือ); อาการที่หัวเรือโต้คลื่นเหยิบ ๆ.
  32. หยาบคาย : ว. ไม่สุภาพ เช่น พูดจาหยาบคาย กิริยาหยาบคาย.
  33. หยาบโลน : ว. ที่ไม่สุภาพและลามก เช่น พูดจาหยาบโลน แสดงกิริยา หยาบโลน.
  34. หยาบ, หยาบ ๆ : ว. ไม่ละเอียด เช่น ทรายหยาบ แป้งหยาบ; ไม่สุภาพ เช่น กิริยาหยาบ พูดหยาบ, ไม่เรียบร้อย เช่น เก็บข้าวของสุมไว้หยาบ ๆ, สาก ๆ เช่น ฝ่ามือฝ่าเท้าหยาบ.
  35. หยาบหยาม : ก. กล่าวคําหรือแสดงกิริยาไม่สุภาพและเป็นการดูถูก.
  36. หยำเป : (ปาก) ว. มีความประพฤติเละเทะหมกมุ่นในอบายมุข เช่น เขาเป็นคน หยำเป; อาการที่เมามายจนครองสติไม่อยู่ ในคำว่า เมาหยําเป.
  37. หยำเหยอะ, หยำแหยะ : [หฺยําเหฺยอะ, หฺยําแหฺยะ] ว. อาการที่เคี้ยวซ้ำ ๆ น่ารังเกียจ, อาการที่พูด ซ้ำซากน่าเบื่อ.
  38. หยิม ๆ : ว. อาการที่ฝนตกพรําประปราย.
  39. หยุ : [หฺยุ] (โบ) ว. น่วม, อาการที่อ่อนจนกดบู้ลงได้.
  40. หยุบ ๆ : ว. อาการที่ขึ้น ๆ ลง ๆ เช่น นกเด้าลมทำหางหยุบ ๆ.
  41. หรอย ๆ : ว. ต้อย ๆ, หย็อย ๆ, (ใช้แก่กิริยาที่เด็กวิ่ง).
  42. หรับ ๆ : ว. เร่า ๆ, สั่นรัว, (ใช้แก่กิริยาดิ้นเป็นต้น), หรบ ๆ ก็ว่า.
  43. หรุบ ๆ : ว. อาการของสิ่งที่ร่วงลงมาพรู เรียกว่า ร่วงหรุบ ๆ.
  44. หฤทัยกัปน์, หฤทัยกัมป์ : น. อาการเต้นแห่งใจ. (ส.).
  45. หลอกเล่น : ก. แสดงกิริยาหรือวาจาเพื่อความสนุก, ล้อเล่น ก็ว่า.
  46. หลอกหลอน : ก. เกิดปรากฏการณ์ที่ทำให้สะดุ้งตกใจกลัว เช่น ถูกผีหลอก หลอน, อาการที่ภาพหรือเสียงอันน่ากลัว น่าหวาดเสียว หรือสะเทือนใจ ที่ตนเคยประสบมา คอยรบกวนจิตใจอยู่ เช่น ภาพเด็กที่ถูกรถชนตายมา คอยหลอกหลอนจิตใจอยู่ตลอดเวลา.
  47. หลอน : [หฺลอน] ก. อาการที่ภาพซึ่งน่ากลัวหรือน่าสะเทือนใจคงอยู่ในมโนภาพ เช่น ภาพที่เด็กถูกรถทับตายต่อหน้าต่อตามาหลอนอยู่ตลอดเวลา.
  48. หละ : [หฺละ] น. ชื่อโรคที่เป็นแก่เด็กอ่อน เกิดจากสายสะดือเป็นพิษ มีอาการ ลิ้นกระด้างคางแข็ง.
  49. หลั่งไหล : ก. ไหลมาเทมา, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ผู้คนหลั่งไหลกันมามืดฟ้ามัวดิน.
  50. หลั่น : ว. สูงตํ่าหรือก่อนหลังกันเป็นลําดับ, มักใช้เข้าคู่กับคํา ลด เป็น ลดหลั่น. ก. อาการที่ควั่นปลายเสาให้เหลือเป็นเดือยสำหรับรับขื่อ เรียกว่า หลั่นหัวเทียน.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | [1401-1450] | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1612

(0.1109 sec)