Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: กิริยาอาการ, กิริยา, อาการ , then กรยา, กรยาอาการ, กิริย, กิริยา, กิริยาอาการ, อาการ, อาการะ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : กิริยาอาการ, 1612 found, display 401-450
  1. ง่วง : ก. อาการที่ร่างกายอยากนอน.
  2. ง่วงเหงาหาวนอน : ก. มีอาการซึมเซาอยากนอนมาก.
  3. งอ : ว. ลักษณะที่มีส่วนปลายหักโค้งเข้าหาตัวมันเองเช่นรูปอย่างขอ; เรียกหน้าซึ่งมีสีหน้าแสดงอาการโกรธ ไม่พอใจ หรือไม่ได้อย่างใจ เป็นต้นว่า หน้างอ. ก. ทําให้มีรูปหรือเป็นเช่นนั้น, เรียกอาการของ คนที่หัวเราะจนตัวงอว่า หัวเราะงอ.
  4. งอก ๑ : ก. อาการที่เมล็ดผลไม้แตกเป็นต้นขึ้น; ผลิออก, แตกออก, เช่น รากงอก ยอดงอก; เพิ่มปริมาณมากขึ้น (ใช้เฉพาะของบางอย่าง) เช่น เงินงอก แผ่นดินงอก เนื้องอก; เรียกหน้าผากที่กว้างยื่นงํ้าออกไปกว่าปรกติว่า หน้างอก.
  5. งอก่อ, งอก่องอขิง : ว. อาการที่ตัวงอหรือทําตัวงอ เพราะร้อนหรือ หนาวมากเป็นต้น.
  6. งอขี้กล้อง : (ปาก) ว. อาการที่ถูกทำร้ายบริเวณท้องจนล้มลงกับพื้นใน ลักษณะตัวงอคล้ายคนนอนสูบฝิ่น.
  7. ง่องแง่ง : ว. อาการที่ร่างกายไม่แข็งแรงทําให้เดินหรือเคลื่อนไหวไม่ถนัด, กระย่องกระแย่ง หรือ กระง่องกระแง่ง ก็ว่า. ก. ทะเลาะเบาะแว้งกัน, ไม่ปรองดองกัน.
  8. งอน ๑ : น. ส่วนปลายแห่งของบางอย่างที่เป็นรูปยาวเรียวและช้อยขึ้น เช่น งอนไถ. ว. ช้อยขึ้น, โง้งขึ้น. ก. แสดงอาการโกรธเคืองหรือไม่พอใจ เพื่อให้เขาง้อ, ทําจริตสะบัดสะบิ้ง.
  9. งอนหง่อ : ว. คู้ตัวงอตัว เป็นอาการของคนที่กลัวมากหรือหนาวมากเป็นต้น.
  10. ง่อย : ว. อาการที่แขนหรือขาพิการเคลื่อนไหวไม่ได้อย่างปรกติ. ง่อยเปลี้ยเสียขา ว. มีร่างกายพิการจนเดินไม่ได้อย่างปรกติ.
  11. งอหาย : ว. อาการที่ร้องไห้หรือหัวเราะจนเสียงเงียบหายไป.
  12. งัก ๆ, งั่ก ๆ : ว. อาการที่สั่นสะท้าน, อาการที่เดินสั่น ๆ มา.
  13. งัง ๆ : ว. อาการที่เดินโดยด่วน.
  14. งัน : ก. หยุดชะงัก เช่น นิ่งงัน, ไม่งอกงาม เช่น ต้นไม้งันไป, อาการที่ชะงัก นิ่งอึ้งไปชั่วขณะเพราะคาดไม่ถึง ในคำว่า ตะลึงงัน.
  15. งับ : ก. ปิดอย่างไม่สนิทหรือปิดอย่างไม่ลงกลอน เช่น งับประตู; อาการที่ อ้าปากคาบหรือกัดโดยเร็ว.
  16. งัวเงีย : ก. อาการที่คนแรกตื่นยังง่วงอยู่.
  17. งาบ ๆ : ว. อาการที่อ้าปากแล้วหุบปาก, อาการที่หายใจทางปาก (เป็นอาการ ของคนและสัตว์ที่เหนื่อยหอบหรือใกล้จะตาย), พะงาบ พะงาบ ๆ ปะงาบ หรือ ปะงาบ ๆ ก็ว่า. [ไทยขาว งาบ ว่า อ้า, งาบสบ ว่า อ้าปาก (เพื่อหายใจ)].
  18. ง้ำ : ว. ยื่นออกไปเกินปรกติจนปลายโน้มลง, โน้มไปทางหน้า เช่น สวมชฎา งํ้าหน้า, เรียกหน้าที่มีสีหน้าแสดงอาการโกรธไม่พอใจหรือไม่ได้อย่างใจ เป็นต้นว่า หน้างํ้า.
  19. งึก ๆ : ว. อาการที่พยักหน้าเป็นการรับรู้, หงึก ๆ ก็ว่า.
  20. งุบ, งุบ ๆ : ว. อาการที่หัวก้มลงโดยเร็วเมื่อเวลาง่วนหรือเดินไป.
  21. งูสวัด : น. โรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง มีอาการอักเสบ อย่างเฉียบพลันที่ปมประสาทไขสันหลัง และพุเป็นเม็ดพองตาม ผิวหนังเป็นทางยาวพาดขวางลําตัวเป็นต้น ทําให้ปวดแสบปวดร้อน.
  22. เง้า : ว. เรียกหน้าซึ่งมีสีหน้าแสดงอาการโกรธ ไม่พอใจหรือไม่ได้อย่างใจ เป็นต้น ว่า หน้าเง้า.
  23. เงื้อ : ก. ยกมือขึ้นทําท่าจะทุบจะตี ในคำว่า เงื้อมือ, อาการที่มือยกสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ขึ้นทําท่าจะตีหรือฟันเป็นต้น เช่น เงื้อไม้ เงื้อมีด.
  24. เงือบ : ว. อาการที่ปลาขยับเหงือกหายใจ.
  25. แง่งอน : น. อาการที่แสร้งทําชั้นเชิงเพื่อให้ผู้อื่นเอาใจหรือให้เป็นที่พอใจตน.
  26. แง่น : ก. แยกเขี้ยวจะกัด (อย่างหมา). แง่น ๆ ว. แสดงกิริยาโกรธอย่างหมาจะกัด.
  27. โงก : ว. อาการที่หัวงุบลงเพราะง่วง.
  28. โงง, โงงเงง : ก. โคลง, ไหว, ตั้งไม่ตรง, โยกโคลง, ตั้งอยู่ด้วยอาการไม่มั่นคง.
  29. โง่ง ๆ, โง่งเง่ง : ว. โย่ง ๆ, อาการเดินก้าวยาว ๆ ของคนผอมสูง.
  30. โงเง : ว. อาการที่ลุกขึ้นนั่งหรือยืนโงกเงกของคนที่มึนงงหรือเพิ่งตื่นนอนใหม่, ยังงัวเงียอยู่.
  31. จบ ๒ : ก. ยกของขึ้นหรือพนมมือเหนือหน้าผากเพื่อตั้งใจอุทิศให้เวลาทำบุญทำทาน; กิริยาที่ช้างชูงวงขึ้นเหนือหัวทําความเคารพ ในคำว่า ช้างจบ.
  32. จรรยา : [จัน-] น. ความประพฤติ, กิริยาที่ควรประพฤติในหมู่ในคณะ เช่น จรรยาแพทย์, นิยมใช้ในทางดี เช่น มีจรรยา หมายความว่า มีความ ประพฤติที่ดี. (ส. จรฺยา; ป. จริยา).
  33. จริก ๑ : [จะหฺริก] (กลอน) ก. เอาปากสับและงับอย่างอาการนกสับ, กดลง. (แผลงมาจาก จิก).
  34. จริย- : [จะริยะ-] น. ความประพฤติ, กิริยาที่ควรประพฤติ, ใช้ในคำสมาส เช่น จริยศึกษา. (ป.).
  35. จริยวัตร, จริยาวัตร : น. หน้าที่ที่พึงประพฤติปฏิบัติ; ความประพฤติ ท่วงทีวาจา และกิริยามารยาท.
  36. จริยา : [จะ-] น. ความประพฤติ, กิริยาที่ควรประพฤติ, ใช้ในคําสมาส เช่น ธรรมจริยา.
  37. จ้อ : ว. อาการที่พูดหรือคุยเรื่อยไปไม่หยุดปาก เช่น พูดจ้อ.
  38. จองหง่อง : ว. อาการที่นั่งอย่างหงอยเหงา.
  39. จองหองพองขน : ว. เย่อหยิ่งแสดงอาการลบหลู่.
  40. จอนจ่อ : ว. อาการนั่งชันเข่าค้อมหลังลง.
  41. จะกรัจจะกราจ : (กลอน) ว. เสียงขบฟันกรอด ๆ, ทําอาการเกรี้ยวกราด, เช่น ขบฟันขึงเขียว จะกรัจจะกราจคึกคาม. (สุธนู), เขียนเป็น จะกรัดจะกราด ก็มี.
  42. จ๊ะจ๋า : ว. เรียกอาการที่เด็กเริ่มหัดพูดพูดอย่างน่ารักน่าเอ็นดู เช่น ลูกฉันเริ่มหัดพูด จ๊ะจ๋าแล้ว. ก. อาการที่คู่รักพูดคุยกันอย่างมีความสุข เช่น สองคนนั้นเขา กำลังจ๊ะจ๋ากันอยู่อย่าไปกวนเขา.
  43. จักขุสัมผัส : น. อาการที่ตากับรูปและจักขุวิญญาณประจวบกัน.
  44. จังงัง : ว. อาการที่ตกตะลึงนิ่งงันอยู่.
  45. จับไข้ : ก. อาการที่เป็นไข้.
  46. จับมือ : ก. ทักทายตามธรรมเนียมตะวันตกโดยบุคคล ๒ คน ประสานมือขวา ของกันและกันแล้วเขย่า, เรียกอาการที่ครูสอนโดยจับมือผู้เริ่มเรียนให้ทำตาม ในการสอนบางวิชาเช่น ฟ้อนรำ ดนตรี หรืองานฝีมือบางอย่าง เช่น จับมือรำ, จับมือตีระนาด, โดยปริยายหมายถึงร่วมมือกัน เช่น ชาวบ้านจับมือกันพัฒนา แหล่งน้ำ.
  47. จับสั่น : น. ชื่อไข้ที่เกิดเพราะถูกยุงก้นปล่องที่มีเชื้อมาลาเรียกัด มีอาการหนาวและสั่น, ไข้จับสั่น หรือ ไข้มาลาเรีย ก็เรียก. (อ. malaria fever, malaria, paludism).
  48. จับหืด : ก. อาการที่คนกำลังหอบหายใจไม่ทันเนื่องจากหืดกำเริบ.
  49. จาม ๒ : ก. อาการของลมที่พุ่งออกมาทางจมูกและปาก มักจะเป็นห้วง ๆ ใน ทันทีทันใดโดยไม่ตั้งใจ เพราะเกิดระคายเคืองในจมูก; ฟันลงไปเต็มที่ เช่น เอาขวานจามหัว.
  50. จ้ำ ๑ : ก. พายเรือแจวถี่ ๆ เช่น เขาจ้ำเรือข้ามฟาก, ฟันหรือแทงถี่ ๆ เช่น ผู้ร้ายจ้ำแทง. ว. อาการที่ทำเร็ว ๆ ถี่ ๆ เช่น พายเรือจ้ำเอา ๆ เขียนหนังสือจ้ำเอา ๆ.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | [401-450] | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1612

(0.1143 sec)